OKRs

Trong (Muan) Longsomboon
WEDO
Published in
2 min readAug 8, 2020

achieve more goals than ever

OKRs คืออะไร? แล้วต่างจาก KPI ยังไง?

คำถามโลกแตกที่คงไม่ได้มีนิยามตายตัว

วันนี้มีมุมมองดีๆ จากพี่อาร์ท CDO ของ SCG Cement-Builiding Materials ที่มา share นิยามของ OKRs ในแบบของนักฝันและนักลงมือทำ ที่มีเป้าหมายอันท้าทายในการ transform องค์กรที่ยิ่งใหญ่มาฝากกัน

“A goal without measurement is simply a desire”

การทำอะไรโดยขาดการตั้งเป้าหมายและวัดผลที่ดี บางครั้งก็เปรียบเสมือนแค่ภาพลวงตาที่ความน่ากลัวของมันคือ เราไม่รู้ว่าด้วยซ้ำว่าที่เราลงทุนทำไป มันไม่ได้พาเราไปถึงเป้าหมาย

OKRs คืออะไร?

พูดง่ายๆ ก็คือเครื่องมือที่ช่วยให้เกิดการทำงานร่วมกันที่ align สู่เป้าหมายที่สามารถวัดผลได้ ซึ่งเราจะแบ่งเป็น O (Objective) และ KRs (Key Results)

การตั้ง Objective

  • เป็นที่จดจำ เข้าใจง่ายชัดเจน
  • inspiration ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการ achieve
  • challenge และ motivateในการลงมือทำ
  • flexible and agile สามารถปรับได้ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น covid19

การตั้ง Key results

  • สามารถวัดผลได้ง่าย
  • แต่ละทีมสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง
  • ควรมีประมาณ 3–5 KRs ต่อ objective

KRs มีอยู่ 2 ประเภทคือ

1. Activity-based KRs คือ การวัดผลว่าทำงานที่ตั้งไว้เสร็จหรือไม่

2. Value-based KRs คือ การวัดที่ผลลัพธ์ที่ออกมาจากงานที่ทำ

ความหมายที่ลึกซึ้งของการวัดผลด้วย Value-based KRs

“Success isn’t a checkbox, success is having an impact”

สิ่งสำคัญคือผลลัพธ์ที่ออกมา ไม่ใช่วิธีการที่ลงมือทำ บางครั้งการจำกัดด้วยวิธีการอาจทำให้เราพลาดโอกาสสร้างสรรค์วิธีการใหม่ๆ ที่สามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีกว่าก็ได้

ความแตกต่างของ OKRs และ KPI

  • O (Objective) การตั้งเป้าหมาย
  • KRs (Key Results) การจะไปถึงเป้าหมายนั้นต้องทำอะไรบ้าง(ที่วัดผลได้)
  • KPI (Key Performance Indicator) การวัดผลว่าเรามีโอกาส achieve เป้าหมายนั้นหรือไม่ performance ของเราเป็นอย่างไร

โดยพี่อาร์ทได้ยกตัวอย่าง OKRs และ KPI ในการพิชิตยอดเขาเอเวอร์เรสเอาไว้ได้เห็นภาพชัดมากๆ

การนำ OKRs ไปประยุกต์ใช้

ส่วนตัวม่วนมองว่าสิ่งสำคัญของ OKRs คือ concept และ mindset ของการวัดผล ดังนั้นวิธีการสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งต่างๆ ได้มากมายเช่น สมการ value VS friction ของพี่อาร์ท BMC Lean Startup

.

องค์กรแห่งการสร้างนวัตกรรมอย่าง SCG Digital Office หรือ WEDO นั้นก็ต้องมีการแบ่ง zone ในการวัดผล เนื่องจากแต่ละ zone ของธุรกิจก็มีจุดประสงค์และเป้าหมายที่ต่างกัน

การตั้ง OKRs ให้เหมาะสมในแต่ละ zone จึงสำคัญมากเพื่อสร้าง environment ที่เหมาะสมในการทำงานสู่เป้าหมายนั้นๆ

อ่านเพิ่มได้จากหนังสือ “zone to win”

สุดท้าย ในมุมมองของม่วน การทำอะไรโดยขาดการตั้งเป้าหมาย และการวัดผลที่ชัดเจน ม่วนว่ามันง่ายแล้วเราก็สบายใจที่ได้ลงมือทำตามเป้าหมานของเรา แต่บางทีมันก็เป็นแค่ภาพลวงตาว่าเราจะไปถึงจุดนั้น

แต่หากต้องการให้มันเป็นจริง เราคงต้องกล้าที่จะวัดผลแล้วยอมรับ ปรับปรุงและพัฒนา สิ่งสำคัญคือการลงมือทำและมีวินัยกับตัวเอง ลองหยิบเอาเครื่องมือเหล่านี้ไปใช้ดูนะครับเหล่า dreamer และ doer ทุกคน

OKRs Canvas

ทุกความฝันล้วนเป็นจริงได้เสมอ ม่วนว่ามันสำคัญที่จะเชื่อแบบนั้น :-)

--

--

Trong (Muan) Longsomboon
WEDO
Writer for

Startup Founder l VC Fellows l Corporate Innovation