สหกิจซีรี่ย์ — มาทำความรู้จัก GitHub กัน

Thanachan GNR
WeLoveBug dot Com
Published in
1 min readAug 16, 2023

สวัสดีครับนักอ่านทุกท่านกลับมาเจอกันอีกแล้วนะครับ โดยในเนื้อหาครั้งนี้จะเป็นเรื่องของการมาทำความรู้จักกับ GitHub และ Git Command กันนะครับผม Let’s go!!

ก่อนอื่นเลยเราไปทำความรู้จักกับเจ้าตัว Git และ GitHub กัน

ที่มาของภาพ: https://pythonforundergradengineers.com/

Git

สำหรับตัวของ Git นั้นมันก็คือ Software ที่มาในรูปแบบ Version Control ที่จะคอยดูว่าภายใน Code หรือ Project ของเรามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ และยังสามารถใช้เพื่อบันทึกการเลี่ยนแปลงได้ด้วยคำสั่ง Commit เอาง่ายๆมันก็คือเครื่องมือที่มีเอาไว้ใช้สำหรับ Remote ตัว Project ของเราที่เป็นไปตามชุดคำสั่งของตัวมันเอง

GitHub

สำหรับเจ้าตัว GitHub เองก็สามารถเก็บเจ้าตัว Project หรือ สามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไขข้อมูล แล้วบันทึกการเปลี่ยนแปลงได้เหมือนกัน แตกต่างกันตรงที่ เจ้าตัว GitHub นั้นใช้งานบน Server และจะรับ Project งานต่างๆมาจากเครื่อง หรือ laptop ของเรานั้นเอง และยังสามารถให้นักพัฒนาสามารถทำงานร่วมกันได้ โดยการแชร์ Project Code ได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น

โดยเจ้าตัว GitHub เป็นเว็บไซต์และแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่ให้ผู้ใช้สร้างตัว

Git repositories และยังสามารถจัดเก็บตัว Code หรือ Project ต่างๆไว้บน Server

วงจรการทำงานของ Git

  1. Working Directory (Untracked)

มันก็คือ Folder บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราที่เอาไว้ใช้เก็บ Code หรือ File Project ในสถานะปัจจุบัน หรือก็คือ Folderที่เรากำลังทำงานและมีการแก้ไข้ข้อมูลหรือแก้ไข Code ในขณะนั้น

2. Working Directory (Tracked)

เมื่อมีการประกาศคำสั่ง

git init” จะเป็นการสร้าง Git repository เพื่อมาตรวจสอบไฟล์ หรือ Project ของเรา ว่าจะมีการเริ่มต้นการ Tracked ไฟล์ เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงหรือการแก้ไขข้อมูลในตัว Project ของเรานั้นเอง

3. Staging Area

คือขั้นตอนระหว่าง Working Directory และ Git Repository ในกระบวนการการ Commit การเปลี่ยนแปลง Code หรือไฟล์ของเรา

เมื่อเรามีการแก้ไขหรือการเพิ่มข้อมูลลงใน Working Directory และต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้น เราจำเป็นที่จะต้องผ่านขั้นตอนของ Staging Area ก่อน โดยมีการใช้คำสั่ง

“git add” เพื่อเพิ่มไฟล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงลงไปใน Staging Area เพื่อให้เตรียมไฟล์เหล่านั้นสำหรับการ commit

4. Local Repository

จะเป็นขั้นตอนเมื่อใช้คำสั่ง

“git commit” เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลงลงใน Git Repository หรือการบันทึกเก็บข้อมูลการแก้ไขไว้ที่เครื่องของผู้พัฒนานั้นเอง

5. Remote Repository

จะเป็นขั้นตอนเมื่อใช้คำสั่ง

“git push” ก็คือการ Push เจ้าตัว Local Repository ที่มีการบันทึกข้อมูล หรือ มีการบันทึกการเปลี่ยนแปลงต่างๆใน Project ของเรา ขั้นไปยังบน Server ของ GitHub นั้นเอง และยังสามารถใช้คำสั่ง “git pull” เพื่อดึงข้อมูลที่มีการอัพเดทบน Server GitHub ลงมายัง Local Repository ของเราเพื่อให้ Project ของเรานั้น สามารถอัพเดทตาม version บน Server ได้อีกด้วย

ถึงคนที่ค่อยๆอ่านทีละบทความกลับมาเจอกันอีกแล้วนะครับ ส่วนคนที่อ่านรวดเดียวยินดีที่ได้รู้จักครับ สำหรับบทความในครั้งนี้จะเขียนถึงเจ้าตัว Git และ GitHub ที่ได้ไปศึกษามามานะครับ ก็มาได้รู้การทำงานจริงๆของมันก็ตอนนี้แหละครับ (ฮา) ได้ความรู้มาเยอะอีกเช่นเคยเลยครับสำหรับสัปดาห์นี้

ถ้าเช่นนั้น ก็ขอหยุดพิมพ์หน้ากระดาษลงตรงนี้

พร้อมกับหวังว่าจะได้เปิดเนื้อหาในครั้งต่อไป

ขอขอบคุณที่เข้ามาอ่านมากนะครับ!

--

--