สหกิจซีรี่ย์ —หนังสือจอมเวทย์ mdBook

Thanachan GNR
WeLoveBug dot Com
Published in
3 min readJul 17, 2023

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากสัปดาห์ที่ 6

สวัสดีครับนักอ่านทุกท่าน ในครั้งนี้เราจะมาบอกเล่าเกี่ยวกับ…

หนังสือจอมเวทย์ Md Book กันนะครับ (ฮา) โดยหนังสือตัวนี้ที่เราได้ไปเรียนรู้เบื้องต้น จะใช้ภาษา Markdown ในสำหรับการเขียนนะครับ จะเป็นยังไงเราไปทำความรู้จักกับเจ้าหนังสือจอมเวทย์ md Book กันเลย!!

สำหรับเจ้าตัว Markdown จะมีไว้สำหรับการเขียน, การจัดทำเอกสาร หรือไว้ใช้สำหรับเขียนคู่มือของโปรเจคที่เราทำและจะถูกอัพโหลดขึ้นไปไว้บน Github

โดยจะมีไฟล์นามสกุลเป็น “.md” ตามภาพข้างล่างนี้เลย

ภาพอ้างอิงนามสกุลไฟล์ Markdown

โดยตัว Markdown จะเป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนเอกสารหรือเนื้อหาต่างๆตามที่เราบอกไปก่อนหน้านี้ ซึ่งสามารถจัดรูปแบบให้กับข้อความได้สะดวก ไม่ซับซ้อน และสามารถแปลงกลับมาเป็นภาษา HTML หรือรูปแบบอื่นๆได้ ซึ่งทำให้เหมาะกับสำหรับการใช้งานบนเว็บไซต์, บล็อก, หนังสือในรูปแบบออนไลน์ หรือเนื้อหาอื่นๆที่ผู้เขียนต้องการที่จะเขียนลงไป นอกจากนั้น เจ้าตัว Markdown ยังช่วยให้ผู้เขียนสามารถอ่านเข้าใจได้ง่ายและสามารถเริ่มต้นใช้งานได้ง่ายไม่ซับซ้อน

ต่อไปเราจะไปโชว์วิธีการติดตั้งและใช้งานเบื้องต้นกันนะครับ!

ก่อนอื่นเลยเครื่องมือที่เราใช้หลักๆจะเป็นเจ้าตัว Vs code หรือ Visual Studio code

ที่มา: Top 7 VS Code Extensions (shanebart.com)

และเครื่องมืออีกหนึ่งตัวก็คือ Command Prompt ไว้สำหรับ Install package ตัวที่เกี่ยวข้องในการทำ Markdown

  1. ขั้นแรกเราต้องติดตั้ง Rust ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราก่อนนะครับ โดยตัว Rust จะเป็นการติดตั้งภาษา เพื่อเตรียมในการใช้เจ้าตัว mdBook นั้นเองครับ
ที่มา: Install Rust — Rust Programming Language (rust-lang.org)

พอเราติดตั้ง Rust เสร็จแล้ว เราจะได้รับโปรแกรม Cargo มาด้วย เจ้าตัว Cargo จะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการโปรเจคและการสร้าง จำเป็นสำหรับในการสร้าง mdbook ครับ

2. ต่อไปเราจะใช้คำสั่ง Cargo ใน Command Prompt กันนะครับ

ภาพอ้างอิงในการทำ mdBook

โดยคำสั่งนี้ระบบจะทำการดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม mdBook และจะทำให้เราสามารถใช้คำสั่ง mdBook ใน Command Prompt หรือ Terminal ได้นั้นเองครับ

3. จากนั้นเราจะใช้คำสั่ง

ภาพอ้างอิงในการทำ mdBook

เมื่อใช้คำสั่งนี้ไดเรกทอรีจะถูกสร้างโดยใช้ชื่อว่า my-book ซึ่งมันจะอยู่ในไดเรกทอรีปัจจุบัน โดยเจ้าตัวไดเรกเทอรี my-book จะเป็นตัวหลักของการสร้าง mdBook โดยจะมีไดเรกทอรี src ที่ใช้สำหรับการเก็บไฟล์ Markdown ที่เป็นส่วนของเนื้อหา ตามภาพข้างล้างนี้เลย!

ภาพอ้างอิงไดเรกทอรีใน my-book

หลังจากที่เรา Install เครื่องมือที่ไว้ใช้สำหรับการทำ mdBook เสร็จแล้ว ต่อไป เราจะไปทำขั้นตอนของการทำกันเลยดีกว่าครับ!!

  1. ให้เราเข้าไปที่ไดเรกทอรีหรือโฟลเดอร์ของ my-book ใน Terminal โดยใช้คำสั่งต่อไปนี้
ภาพอ้างอิงการเข้า ไดเรดทอรี My_book

จากคำสั่ง cd ตามด้วยชื่อไดเรกทอรีที่เราต้องการจะเข้าไปใช้งาน

2. จากนั้นใช้คำสั่ง

ภาพอ้างอิงการใช้คำสั่ง serve

สำหรับคำสั่งนี้จะเป็นการใช้เพื่อเปิดเซิร์ฟเวอร์เจ้าตัว mdBook และสามารถเรียกดูเนื้อหาของเจ้าตัว mdBook ผ่านทางเว็บโดยใช้ URL ที่แสดงขึ้นใน Terminal หลังใช้คำสั่งไปแล้ว เช่น http://localhost:3000 ตามภาพข้างล่าง

ภาพอ้างอิงการใช้คำสั่ง serve

3. ต่อไปเราจะไปต่อกันในตัว Visual Code studio กันนะครับ

ก่อนอื่นให้เราเปิดตัวไดเรกทอรีของ My_book ในตัว Vs code กันก่อนนะครับ

จะได้หน้าตาแบบนี้

ภาพอ้างอิงการเปิดไดเรกเทอรี My_book ใน Vs code

เท่านี้ก็สามารถเขียนเนื้อหาหรือเอกสารตามที่ต้องการได้แล้วครับ

ต่อไปเราจะพาไปดูตัวอย่างการใช้รูปแบบของ Markdown กันนะครับ

‘ # ’ ใช้สำหรับการกำหนดหัวข้อโดยจะแบ่งเป็นลำดับของ Header นั้นเอง

ภาพอ้างอิงการการใช้รูปแบบ ‘#’
ภาพอ้างอิงการการใช้รูปแบบ ‘#’

‘1.’, ‘2.’, ‘3.’ ใช้สำหรับสร้างรายการแบบเป็นลำดับ

ภาพอ้างอิงการการใช้รูปแบบ ‘1.’, ‘2.’, ‘3.’
ภาพอ้างอิงการการใช้รูปแบบ ‘1.’, ‘2.’, ‘3.’

“-” ใช้สำหรับสร้างรายการแบบไม่เป็นลำดับหรือแสดงเป็น Bullet

ภาพอ้างอิงการการใช้รูปแบบ “-”
ภาพอ้างอิงการการใช้รูปแบบ “-”

**Bold Text** คือการใช้เน้นตัวที่หนา

ภาพอ้างอิงการการใช้รูปแบบ **Bold Text**
ภาพอ้างอิงการการใช้รูปแบบ**Bold Text**

![markdown]( URL ) คือการดึงรูปภาพมาใช่

ภาพอ้างอิงการการใช้รูปแบบ ![markdown]( URL )
ภาพอ้างอิงการการใช้รูปแบบ ![markdown]( URL )

ถึงคนที่ค่อยๆอ่านที่ละบทความกลับมาเจอกันอีกแล้วนะครับ ส่วนคนที่อ่านรวดเดียวยินดีที่ได้รู้จักครับ บทความในครั้งนี้เป็นเรื่องที่เราได้ไปเรียนรู้และได้ลองเล่นเจ้าตัว Markdown หรือ mdBook นั้นเอง พอได้ลองทำแล้วรู้สึกว่าตัวภาษาของมันที่ใช้มีความเข้าได้ง่ายและไม่ซับซ้อน แต่ไปติดอยู่ตรงการติดตั้งมากกว่า (ฮา) นอกจากนี้ยังทำให้ได้รู้ในเรื่องของการใช้รูปแบบต่างๆในการจัดทำตัวเอกสารอีกด้วย!

ถ้าเช่นนั้น ก็ขอหยุดพิมพ์หน้ากระดาษลงตรงนี้

พร้อมกับหวังว่าจะได้เปิดเนื้อหาในครั้งต่อไป

ขอขอบคุณที่เข้ามาอ่านมากนะครับ!

--

--