สหกิจซีรี่ย์-ไม่ยากถ้าอยากรู้จัก MySQL

Thanachan GNR
WeLoveBug dot Com
Published in
Jul 3, 2023

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากสัปดาห์ที่ 4

ในครั้งนี้เราก็จะมาพูดถึงตัว SQL ที่เราได้เข้าไปทำใน Workshop กันมานะครับ!

ก่อนอื่นเราไปทำความรู้จักเจ้าตัว MySQL กัน!

MySQL จะมีการทำงานเป็น Function Relational Database โดย SQL จะใช้ภาษา SQL ในการสื่อสารและตัว SQL สามารถใช้ได้ทั้งระบบปฏิบัติการ Linux, UNIX และ ระบบปฏิบัติการ Windows ต่อไปเราจะกลับไปพูดถึงตัว Relational Database กัน

Relational Database เป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบของตารางแทนการเก็บข้อมูลลงในไฟล์ ตามภาพตัวอย่างด้านล่างนี้เลย

ที่มาของภาพ: Relational vs non-relational databases: advantages and disadvantages — Clockwise Software

โดยในตารางจะมีการแบ่งออกเป็นแถวๆหรือที่เรียกกันว่า “Row” แล้วในแต่ละแถวก็จะแบ่งออกเป็น “Column” โดยแต่ละตารางจะเป็นข้อมูลหนึ่งข้อมูลที่เราทำการเก็บ Database หนึ่งตัวหรือที่เรียกว่า “Table” และใน Database หนึ่งตัวจะมีหลายๆตารางที่มาอยู่รวมกันและจะมีการใช้เส้นเป็นตัวในการเชื่อมโยง เพื่อเชื่อมตารางแต่ละตารางเข้าหากัน ตามภาพข้างล้างนี้ได้เลยครับ

ที่มาของภาพ: Designing a Relational Database and Creating an Entity Relationship Diagram | by Craig Dickson | Towards Data Science

โดยเส้นที่เชื่อมโยงจะมีตัวที่เป็น

  1. One-to-one (1:1)
  2. One-to-many (1: N)
  3. Manny-to-many (N:N)

ต่อไปเราจะไปพูดถึงเรื่อง SQL Commands กันนะครับ ซึ่ง ตัว SQL Commands จะมีด้วยกัน 5 ประเภท แต่เดี๋ยวเราจะไปทำความรู้จักตัว Commands ที่เราได้เข้า Workshop ในสัปดาห์นี้แค่สองตัวกันก่อนนะครับ!

Data Definition Language — DDL

เป็นภาษาสำหรับในการจัดการและนิยามโครงสร้างของฐานข้อมูลไม่ว่าจะเป็นการสร้างฐานข้อมูล, แก้ไข หรือ การลบฐานข้อมูล โดยภาษา DDL จะมีคำสั่งต่อไปนี้

1.CREATE เป็นคำสั่งสำหรับการสร้างฐานข้อมูล

ที่มาของภาพ: workshop-sql/doc/04-table.md at main · Thammasok/workshop-sql · GitHub

2.ALTER เป็นคำสั่งสำหรับในการแก้ไขโครงสร้างของตารางฐานข้อมูล

ที่มาของภาพ: workshop-sql/doc/04-table.md at main · Thammasok/workshop-sql · GitHub

จากภาพด้านบนจะเป็นการใช้คำสั่ง ALTER แล้วตามด้วยคำสั่ง ADD คือมีการเพิ่ม Column ให้กับตัวฐานข้อมูล

3.DROP เป็นคำสั่งสำหรับลบตารางข้อมูล

ที่มาของภาพ: workshop-sql/doc/04-table.md at main · Thammasok/workshop-sql · GitHub

4.TRUNCATE เป็นคำสั่งสำหรับใช้ลบข้อมูลทั้งหมดในตาราง

ที่มาของภาพ: workshop-sql/doc/04-table.md at main · Thammasok/workshop-sql · GitHub

Data Manipulation Language — DML

เป็นภาษาสำหรับการจัดการข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในตารางข้อมูลซึ่งจะครอบคลุมการจัดการข้อมูลทั้งหมด โดยคำสั่งต่างๆจะมีดังนี้

1.INSERT เป็นคำสั่งสำหรับการเพิ่มข้อมูลลงไปในตารางข้อมูล เช่นการเพิ่ม ข้อมูลของสินค้า หรือ การเพิ่มข้อมูลของพนักงานบริษัท

ที่มาของภาพ: workshop-sql/doc/04-table.md at main · Thammasok/workshop-sql · GitHub

2.UPDATE เป็นคำสั่งสำหรับการปรับปรุงหรือการแก้ไขข้อมูลในตารางข้อมูล และยังสามารถใช้ร่วมกับคำสั่ง WHERE เพื่อเพิ่มเงื่อนไขในการแก้ไขข้อมูล

ที่มาของภาพ: workshop-sql/doc/04-table.md at main · Thammasok/workshop-sql · GitHub

3.DELETE เป็นคำสั่งสำหรับการลบข้อมูลในตารางข้อมูลและสามารถใช้งานร่วมกับคำสั่ง WHERE เพื่อเพิ่มเงื่อนไขในการลบข้อมูล

ที่มาของภาพ: workshop-sql/doc/04-table.md at main · Thammasok/workshop-sql · GitHub

ถึงคนที่ค่อยๆอ่านที่ละบทความกลับมาเจอกันอีกแล้วนะครับ ส่วนคนที่อ่านรวดเดียวยินดีที่ได้รู้จักครับ บทความในครั้งนี้จะเป็นการเขียนถึงสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากการเข้า Workshop MySQL ที่สอนโดยพี่นัท ในสัปดาห์นี้นะครับ นับว่าเหมือนได้ฟื้นฟูบางชุดคำสั่งที่เคยได้เรียนรู้ในห้องเรียนมาและได้เรียนรู้ในเรื่องของคำสั่งตัวใหม่ที่เราไม่รู้และไม่คุ้นเคยแต่เรารู้สึกว่ามันสนุกและสามารถพอทำความเข้าใจกับมันได้เร็วอยู่ครับ!

ถ้าเช่นนั้น ก็ขอหยุดพิมพ์หน้ากระดาษลงตรงนี้

พร้อมกับหวังว่าจะได้เปิดเนื้อหาในครั้งต่อไป

ขอขอบคุณที่เข้ามาอ่านมากนะครับ!

อ้างอิง

https://www.amplysoft.com/

--

--