Thanachan GNR
WeLoveBug dot Com
Published in
Jun 16, 2023

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการฝึกทำ Design Test Scenario รวมถึงวิธีการทำงานและให้ได้มาซึ่งข้อมูลในการทำ Test จากการฝึกสหกิจศึกษาที่ WeLoveBug

สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 6 มิถุนายน — 15 มิถุนายน 2566)

วันนี้จะพาทุกคนไปดูวิธีการทำ Design Test Scenario จากการที่ได้ไปฝึกทำรวมถึงวิธีการทำงานและการที่เราจะสามารถดึงข้อมูลของลูกค้าในการที่จะนำมาออกแบบตัว Test Scenario เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดและครบถ่วนมากที่สุด

ก่อนที่เราจะพูดถึงตัว Design Test Scenario เราไปคุยเรื่องการทำงานกันก่อนเลย!

ในการทำงานที่ WeLoveBug ในสัปดาห์ที่สองนี้ทำให้รู้ว่าในการทำงานเราจะต้องคำนึงถึงรูปแบบที่ใช้ในการทำงาน รูปแบบในที่นี้หมายถึง ข้อตกลงในการทำงาน เพราะว่าเราทำงานกันเป็นทีม เราต้องมีข้อตกลงในการใช้รูปแบบทำงานที่เหมือนกัน Tools หรือ เครื่องมือ รวมถึงสัญลักษณ์ สี ขนาดตัวอักษร รูปแบบตัวอักษรที่ต้องเหมือนกันเพื่อให้สมาชิกในทีมรวมถึงทีมอื่นสามารถทำงานไปในทิศทางเดียวกันได้

อ้างอิงภาพตัวอย่างในการกำหนดข้อตกลงในการทำงาน

หลังจากพูดถึงเรื่องของข้อตกลงในการทำงานไปแล้วต่อไปเราจะมาพูดถึงวิธีการดึงขอมูลของลูกค้าเพื่อนำมาออกแบบเป็น Test Scenario กันครับ

การที่เราจะสามารถดึงข้อมูลมาได้นั้นเราจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจในตัว

Business Domain ของลูกค้าของเราก่อนว่าการจัดการ โครงสร้าง จุดประสงค์คืออะไรถึงจะสามารถเห็นภาพได้ตรงกกันกับลูกค้า

แต่ถ้า…ยังมีบางจุดที่เรายังไม่เข้าใจในตัวระบบของการทำงานตรงไหน

พี่หนุ่ม ประธาน บอกไว้ว่า “ เราต้องนึกถึงชีวิตจริงหรือสิ่งที่เราเคยเจอแล้วเอามาเป็นตัวอย่างเพื่อให้เราเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น”

ที่มา Think Stock Photos, Royalty Free Think Images | Depositphotos

การตั้งคำถาม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดมากขึ้นเพราะบางกระบวนการลูกค้าอาจจะอธิบายหรือให้ข้อมูลมาไม่ครบ เราจึงต้องคอยถามในแต่ละจุดเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนและสามารถมองเห็นกระบวนการทำงานเป็นภาพเดียวกันได้และเพื่อไม่ให้บางข้อมูลที่สำคัญต้องตกหล่นไป

เราก็มาถึงส่วนของการฝึกและลงมือทำกันแล้วในส่วนของสองสัปดาห์ที่ผ่านมา!

เราจะมาพูดถึงตัวอย่างโจทย์ที่ได้ฝึกทำกันนะครับ

อ้างอิงภาพโจทย์ฝีกของพี่หนุ่ม

จากนั้นอย่างแรกเราจะมาวิเคราะห์ในเงื่อนไขของในแต่ละข้อโดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า Test Design Techniques เพื่อให้ได้เข้าใจเงื่อนไขและเห็นภาพได้มากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างของการใช้เทคนิค BVA ในการทำเงื่อนไขแรก

เมื่อทำการแตก Test case ทั้งหมดแล้วต่อไปเราก็จะเอาเคสทั้งหมดมาเรียบเรียงจะได้ตามภาพต่อไปนี้

ตัวอย่างของ Test Case ที่แตกออกมาแล้วเป็น Success

พอเราแยกได้เห็นภาพแบบนี้เราก็จะนำข้อมูลทั้งหมดนี้ไปทำเป็นตัว Test Scenario จะได้ตามภาพข้างล่างเลยนะครับ!

ตัวอย่างการนำ Test Case มาเป็นตัว Test Scenario

สรุปเรื่องที่ได้เรียนรู้: ได้เรียนรู้เรื่องเทคในการออกแบบให้ได้ตัว Test Case และเรื่องการวางแผนในการทำงานร่วมกับทีมที่ต้องมีข้อตกลงในการทำงาน ในการทำงานต้องมีความละเอียดและเเม่นยำเพื่อให้ทีมสามารถดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกันได้

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านนะครับ!

--

--