เพิ่มสีสันให้กับการกำหนดความรุนแรงของ Bug

Prathan D.
WeLoveBug dot Com
Published in
2 min readAug 11, 2014

รูปจาก http://www.jachestudio.com

กราบสวัสดีเย็นย่ำวันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2557 วันที่หลายๆ คนหยุดพักอยู่บ้าน ขณะที่หลายๆ คนนั่งทำงานอยู่ พอดีนั่งอ่าน tweet ไปเรื่อยๆ จนมาเจอกับ Blog ของ Tester ฝรั่งท่านหนึ่งในนามปากกาว่า TestSheepNZ จั่วหัวเรื่องว่า A new defect severity hierarchy … พอเข้าไปนั่งอ่านดู เฮ้ย!!! เขาคิดได้ไงเนี่ย ชอบๆ เลยขอหยิบมาเขียนเป็นภาษาไทย สำหรับคนที่อยากอ่านต้นฉบับก็ Click ที่ นามปากกา หรือ ที่หัวเรื่องด้านบนได้เลยนะจ๊ะ

พออ่าน Blog นี้ A new defect severity hierachy แล้วก็ทำให้หยุดคิดว่า เออ…เวลาอธิบายถึงเรื่องระดับความรุนแรงของ Defect ผมก็มักจะยกตัวอย่างโดยอ้างอิงถึงการทำงานที่ผิดพลาดของ Software เสมอๆ แต่ถ้าไม่ใช่คนแบบ IT จ๋า จ๋า จ๋า และจ๋า เลยล่ะ จะอธิบายยังไง?

เวลาทำงานเราก็มักจะนิยมกำหนดระดับความรุนแรง (Severity) ของ Defect หรือ Bug เป็น Critical, High, Medium และ Low จะอ้างอิง หรือเทียบเคียงอะไรก็ว่ากันไปแล้วแต่ บุคคล หรือ องค์กร

ท่าน TestSheepNZ ได้เขียนยกตัวอย่างการกำหนดระดับความรุนแรง (Severity) ไว้แบบน่ารักๆ ดังนี้

Severity 1: OMFG (Oh…My Fucking God)

เหี้ยแล้วงานเข้า…ไฟไหม้รถหนู!!! วอดวายทั้งคันเลยรถ ไปไหนก็ไม่ได้ ข้าวของก็อยู่ในรถ เวรแท้ๆ

sev1

Severity 2: WTF (What The Fuck)

แม่ง…ใครชน!?! แล้วหนูจะกลับบา้นยังไงล่ะเนี่ย!!!

sev2

Severity 3: Uh?

ขับๆ ไปก่อนละกัน ถือว่าเป็น แนวการแต่งรถใหม่

sev3

Severity 4: Meh

เฮ้อ!!! รอเคลมรอบคันทีเดียว ขับๆ ไปก่อน

sev4

เพื่อนพ้องน้องพี่ท่านใด สนใจจะหยิบการกำหนดระดับความรุนแรงของ Bug แบบนี้ หรือนำแนวคิดไปใช้ต่อยอดก็เชิญได้ตามสบาย แต่แวะกลับมาบอกกันบ้างว่าใช้แบบไหนนะครับ :)

วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2557 เวลา 18:20น.
แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

--

--

Prathan D.
WeLoveBug dot Com

Writer, Speaker, Tester, Coach, Facilitator, Graphic Recorder, Agile, Scrum, ITIL, Software Tester, Basketball, Linkin Park, Coffee