10 สาเหตุของการบริหารเว็บที่สุดแย่.! (มั่กๆ) ตอนที่ 2

Prathan D.
WeLoveBug dot Com
Published in
1 min readJan 17, 2008

ได้มีเวลา หลังจากงานประจำวันที่มี แอบมานั่งจรดปลายนิ้วลงบนคีย์บอร์ด และบรรเลงเขียน Blog ต่อในตอนที่ 2 ของ “10 สาเหตุของการบริหารเว็บที่สุดแย่.! (มั่กๆ)” หลังจากที่เขียนตอนที่ 1 ไปเมื่อไม่กี่วันมานี้ ถึงแม้จะมีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นไว้เพียง 2 ท่าน แต่ก็ดีแล้ว สำหรับเว็บไซต์ใหม่แบบนี้ที่กำลังจะเกิดขึ้นครับ ^^

ความเดิมจากตอนที่แล้ว สรุปคราวๆ ได้ดังนี้

  • เว็บไซต์ของคุณหรือองค์กรของคุณ ควรจะให้ประโยชต์กับผู้เข้ามาเยี่มมชม
  • อย่าทำเว็บไซต์เอาใจเจ้าของมากไป การสร้างและออกแบบเว็บไซต์ที่ดี ควรศึกษาความต้องการของผู้ที่ใช้เว็บไซต์ ว่าเขาเหล่านั้นต้องการอะไรจริงๆ กันแน่
  • ดูให้แน่ชัดว่ากลุ่มเป้าหมายของผู้ที่มาใช้เว็บไซต์ของคุณเป็นใคร และพยายามออกแบบสร้างภาษา และการใช้งานให้เหมาะสมกับคนกลุ่มนั้นๆ อย่าเอาตัวเองมาวัดมากเกินไป
  • อย่าเอาอะไร ต่อมิอะไร ในเว็บของคุณมาไว้ที่หน้าแรกของเว็บไซต์จนเบียดเสียดแน่นเอี๊ยด จนหาอะไรก็ไม่เจอ ควรแบ่งหมวดหมู่ของข้อมูลให้เป็นสัดเป็นส่วน แบ่งความเก่าใหม่ และความน่าสนใจของข้อมูล
  • ควรมีคนดูลแในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ และควรเข้าไปตรวจดูความถูกต้องของข้อมูลทุกๆ ครั้งก่อนที่จะนำข้อมูลนำเสนอผ่านเว็บไซต์

ว่าแล้วเราก็มีดูต่ออีก 5 ข้อกันเลย ว่ามันมีอะไรอีกสำหรับ “10 สาเหตุของการบริหารเว็บที่สุดแย่.! (มั่กๆ)” …

6. เปลี่ยนรุปแบบเว็บไปเรื่อย

บางเว็บไซต์เจ้าของอาจจะเป็นศิลปิน ชอบเปลี่ยนรุปแบบของเว็บไซต์ไปเรื่อย บางแห่งเปลี่ยนทุกเดือน ซึ่งหากเป็นการเปลี่ยนแปลงแค่หน้าตา รูปภาพหรือข้อมูลบางส่วนก็ยังพอโอเค แต่บางแห่งถึงกับเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้งาน การวางเลย์เอาท์ของหน้าเว็บไซต์ ปุ่มหรือเมนูต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้เกิดความสับสน งงงวย กับความบ้าพลังของเจ้าของเว็บไซต์ที่อยากเปลี่ยนแปลงรูปแบบเว็บไซต์อยู่บ่อยๆ

จริงๆ แล้วการเปลี่ยนแปลงรุปแบบเว็บไซต์ทั้งหมด (Major Change) ไม่ควรทำบ่อยจนเกินไป หากต้องการเปลี่ยนแปลงอาจจะทำนานๆ ครั้งเช่น 1 หรือ 2 ปีเปลี่ยนที

7. ลูกค้าติดต่อมา ไม่เคยตอบ

หลายๆ ครั้งที่ลูกค้ามักติดต่อเข้ามาผ่านหน้าเว็บไซต์ บ้างติดต่อผ่าน e-mail เข้ามา แต่บังเอิญ e-mail ที่ติดต่อเข้ามา ไม่มีคนคอยดูแล คอยตอบกลับ ซึ่งจะทำให้ลูกค้าต่างรอคำตอบจากการสอบถามเข้ามา หรือบางแห่งอาจจะมีเว็บบอร์ดไว้สำหรับสื่อสารกับลูกค้า แต่ปรากฏว่ามีแต่ลูกค้าสอบถามเข้ามา แต่ไม่มีคนมาตอบเลย ซึ่งจะทำให้ภาพลักษณ์ของเว็บไซต์ดูแย่ และไม่ประทับใจแก่ผู้ที่เข้ามาอีกด้วย

ดังนั้นควรให้ความสำคัญกับการติดต่อเข้ามาของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ หรือมีการจัดหน้าที่คอยดูแลเรื่องนี้ไปเลย

8. ให้ความสำคัญกับเว็บไซต์น้อยเกินไป

บางครั้งคุณอาจจะให้ความสำคัญกับสื่ออื่นๆ มากเกินไป จนลืมสื่อเว็บไซต์ไปเลย ซึ่งความจริงแล้วสื่อเว็บไซต์ที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ง่ายมาก และสามารถให้ข้อมูลได้ลึกและมากกว่าสื่ออื่นๆ

ดังนั้นทุกครั้งที่มีการออกสื่ออื่นๆ ควรจะมีการใช้เว็บไซต์เป็นสื่อสนับสนุนและควบคู่ไปกับสื่ออื่นๆ ด้วย

9. โดเมน โฮสติ้งหมดอายุโดยไม่รู้ตัว

โดเมนเนม และการเช้าพื้อนที่โฮสติ้งจะมีอายุการจดทะเบียนและการใช้งานเป็นปีๆ บางคนอาจจะใช้ติอต่อหลายปี แต่บางคนอาจจะสมัครใช้บริการทีละปี ซึ่งบางครั้ง คุณดันลืมติดตามหรือต่ออายุของโดเมนเนมและโฮสติ้ง ซึ่งผลจะทำให้เว็บไซต์ของคุณเข้าไม่ได้ บางคนโลคร้ายถึงกับโดเมนโดนคนอื่นแย่งเอาไป หรือข้อมูลภายในเว็บไซต์ถุกลบออกหมดเลย เพราะไม่ได้เข้าไปติดตามดูเว็บไซต์อยู่บ่อยๆ

ทางที่ดีคุณควรให้ข้อมูลติดต่อที่สามารถติดต่อได้กับผู้ใช้บริการโดเมนหรือดฮสติ้งและหมั่นเข้าไปดูเว็บไซต์อยู่บ่อยๆ หรือต่ออายุเว็บไซต์ของคุณล่วงหน้านานๆ และอย่าลืมจดวันที่เว็บไซต์ของคุณจะหมดอายุ ครั้งต่อไปไว้ด้วย

10. เว็บร้าง…ไม่มีคนดูแล

ข้อนี้หนักสุด เพราะเว็บไซต์บางแห่งถูกสร้างขึ้นมาแล้ว แต่ก็ไม่เคยมีการดูแลเปลี่ยนแปลงข้อมูลอีกเลย บางแห่งเจ้าของคิดว่าไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงข้อมูลอะไร

บางแห่งหนักกว่านั้น คือเจ้าของลืมไปแล้วว่าตัวเองมีเว็บอยู่ เฮ้อ แล้วแบบนี้จะมีเว็บไซต์ไปทำไมหนอ?

ร่ายยาวมาจนจบทั้ง 10 ข้อแล้วครับ เช่นไรคุรๆ ทั้งหลายลองคิดดูว่าเว็บไซต์ที่คุณมี หรือดูแลอยู่นั้น จะต้องมีอะไรปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขตาม 10 ข้อที่กล่าวมาหรือไม่ หากพบว่าตรงกับคุณเกินครึ่ง ผมแนะนำว่า รีบกลับไปดูแลเว็บไซต์ของคุณอย่างใกล้ชิดดีกว่า หรือไม่ก็ปิดเว็บไซต์ไปเถอะ …

Related articles:
10 สาเหตุของการบริหารเว็บที่สุดแย่.! (มั่กๆ) ตอนที่ 1

--

--

Prathan D.
WeLoveBug dot Com

Writer, Speaker, Tester, Coach, Facilitator, Graphic Recorder, Agile, Scrum, ITIL, Software Tester, Basketball, Linkin Park, Coffee