EP.10 จงอย่าเป็นหมูสนามจริงหรือสิงห์สนามซ้อม

Warittaya W.
WeLoveBug dot Com
Published in
2 min readAug 29, 2023

เส้นทางสู่การเป็น Tester 🐞 Bootcamp by WeLoveBug (15–19 สิงหาคม 2566)

หมดไปแล้วกับ Long Weeken วันแม่แห่งชาติพร้อมพลังงงานที่เต็มเปี่ยม การทำงานในสัปดาห์นี้เป็นการทำงานแบบออนไลน์ร่วมกับทีมลูกค้าตลอดทั้งสัปดาห์ เน้นไปที่การออกแบบในขาของ Tes Design นั่นคือ การวิเคราะห์และออกแบบ Test Case และ Test Scenarios ของ Sprint 1 ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 Features

Day 1 🗓️ 15 สิงหาคม 2566

ในการทำงานวันนี้ มีพี่หนุ่มมาเป็นโค้ชในการวิเคราะห์และออกแบบในขาของ Test Design ทำให้เราเล็งเห็นปัญหาที่เกิดกับตัวเราและทีมอย่างชัดเจน โดยขอสรุปออกมาเป็นหัวข้อของ “สิ่งที่ได้เรียนรู้จากเหตุการณ์ในวันนี้”

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

  • การสื่อสารและการ Resheck งานที่อยากจะได้นั้น ยังทำออกมาได้ค่อยข้างแย่และไม่ชัดเจน ซึ่งในครั้งต่อไปไม่ว่าจะได้รับมอบหมายงานใดจะต้องมี Recheck สิ่งที่อยากได้ด้วยการการวาดภาพหรือสร้างตัวอย่างให้ทั้งผู้จ่ายงานและผู้รับงานเห็นภาพตรงกันเสียก่อน
  • ทุกคนไม่มีการฝึกวิเคราะห์และออกแบบ Test design ซ้ำๆ และไม่นำสิ่งที่เรียนมาใช้กับงานจริง ฉะนั้น ควรทบทวนความรู้และหมั่นฝึกตัวเองอย่างสม่ำเสมอ
  • การลนลานและวิตกกังวลเมื่อทำงานภายในความกดดัน ดังนั้น ควรมีสติในการทำงานมากกว่านี้
  • อย่ากลัวที่จะพูดแทรกหรือถาม หากมีคำถามหรือมีสิ่งที่จำเป็นต้องพูดก็ควรจะพูดออกมา

Day 2 🗓️ 17 สิงหาคม 2566

หลังจากที่รวบรวมสติและสมาธิกันได้แล้ว ก็มาต่อกันที่งานที่ค้างกันเอาไว้ นั่นคือ Test Case โดยเราจะนำเงื่อนไขที่ได้จากการเก็บ Requirements มาออกแบบ Test Case และจัดทำตาราง Test Scenarios

สำหรับ Test Case จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

  1. Field Validate
  2. Test by Feature แบ่งออกเป็น Success Case, Alternative Case และ Optional Test
  3. E2E Test
ตัวอย่างการออกแบบ Test Case 3 ส่วน

ในวันนี้เราได้เทคนิคในการวิเคราะห์และนับจำนวน Test Case ที่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ โดยวงกลม 1 วง == 1 เงื่อนไข และจะนับส่วนที่ทับซ้อนกันของวงกลมทั้งหมด == จำนวน Test Case ที่จะเกิดขึ้น

ตัวอย่างแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

  • การเรียงลำดับความสำคัญของเงื่อนไข ควรจะเรียงจากเงื่อนไขที่ใหญ่ไปเล็ก

เทคนิคในการหาลำดับความสำคัญของเงื่อนไข คือ ทดลองจัดลำดับหลายๆ แบบเพื่อให้เห็นความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น นำเงื่อนไขที่ 1 ขึ้นก่อนเงื่อนไขที่ 2 หรือนำเงื่อนไขที่ 2 ขึ้นก่อนลำดับที่ 1 ถ้าแบบไหนที่ทำให้เห็นภาพง่ายและไม่แปลก นั่นถือเป็นสัญญาณที่ดีว่า เราอาจจะมาถูกทางแล้ว

Day 3 🗓️ 18 สิงหาคม 2566

การประชุมวันนี้เน้นการไล่เคลียร์การ์ดคำถามสีดำที่ยังไม่มีคำตอบใน Sprint 1 และพูดคุยร่วมกับทีม Dev ถึงแนวทางและวิธีการทดสอบสำหรับ Sprint 1 ซึ่งจะใช้วิธีการสร้าง Temp หรือ Temporary ของหน้าจอในบาง Feature กรณีที่แต่ละ Feature ใน Sprint นั้นไม่ได้ทำงานต่อกัน เพื่อทำให้การทดสอบครอบคลุมและเกิดขึ้นได้ตาม E2E Flow

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

Temporary เป็นการจำลองหน้า UI ขึ้นมา ซึ่งในหน้าจอที่จำลองขึ้นมานั้นจะประกอบไปด้วย รูปภาพและปุ่มกดหรือ Field Text ต่างๆ และปุ่มกด เพื่อจำลองการทำงานจริงของระบบ โดยไม่ได้สนใจว่า แต่ละ Field นั้นกรอกถหรือทำงานถูกต้องหรือไม่ สิ่งที่เราสนใจและเน้นคือ หน้าจอนั้นสามารถเปลี่ยนไปยังหน้าจอที่เราต้องการได้ก็พอ

Day 4🗓️ 19 สิงหาคม 2566

วันเสาร์ก็ไม่ปล่อยให้เหงาอยู่บ้าน เพราะวันนี้เป็นวันพิเศษ ทุกคนเดินทางเข้า Dojo เพื่อเรียนรู้และฝึกการใช้งาน Git ส่งมอบประสบการณ์และความรู้โดยพี่บอยและพี่หนุ่ม พี่บอยสอนพาร์ทของทฤษฎีและพาร์ทปฏิบัติควบคู่กันไป

พาร์ทของการปฏิบัติมีโจทย์ดังนี้ คือ ทุกคนจะต้องแต่งนิทานร่วมกัน โดยทุกคนรับผิดชอบในการเขียนเนื้อหาในนิทานคนละ 2 บรรทัดและให้ทำการ Push เนื้อหาของตนขึ้นไปบน Github ที่มีการสร้าง Repository ส่วนกลางไว้ ซึ่งเท่ากับว่าใคร Push ก่อนก็เสร็จก่อน แต่!!!! มันไม่ง่ายขนาดนั้นน่ะสิคะ เพราะขณะนี้เกิดปัญหาสำหรับคนที่ Push เนื้อหาทีหลัง เนื่องจากทุกคนไม่มีการสื่อสารและพูดคุยกันถึง ลำดับของการ Push ข้อมูลไปยัง Github ทำให้เกิดปัญหา เช่น ข้อมูลของบรรทัดที่ Push แล้วเกิดการทับซ้อนกับบรรทัดที่จะ Push ภายหลังและบรรทัดเกิดการเลื่อน

นอกจาก Git แล้วยังมีการส่งมอบประสบการณ์จากพี่หนุ่ม หัวข้อ How to change from Manual to Automation เน้นความเข้าใจและคอนเซปต์ในการใช้ Automation Test ด้วยการเปรียบเทียบ Manual Test == การซักผ้าด้วยมือ และ Automation Test == การซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้าอัตโนมัติ

สำหรับการส่งมอบประสบการณ์ครั้งนี้ ช่วยแก้ไขความเข้าใจในเรื่องบทบาทการทำงานแบบ Manual และ Automation Test ของเรามากขึ้น และการทำ Automation Test ควรคำนึงถึงเครื่องมือที่จะนำมาใช้กับงานนั้นๆ เช่น เครื่องมือนั้นเหมาะที่จะใช้ภาษาที่ใช้ในการ Coding หรือไม่ ซึ่งใจความสำคัญที่แท้จริงคือ “ทุกคนจะต้องสามารถทำ Automation Test ได้ ไม่ใช่แค่ Tester” และ “เครื่องมือต้องบำรุงรักษาและซ่อมแซมง่าย และใช้งานได้ในระยะยาว”

สัปดาห์นี้ถือว่าหนักหน่วงพอสมควร เนื่องจากการทำงานภายใต้แรงกดดันที่มากขึ้นแต่ก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีและทำให้ได้เห็นมุมมองการทำงานที่หลากหลาย ซึ่งจะทำให้เราแข็งแกร่งและเก่งขึ้นอย่างแน่นอน ส่วนเรื่องที่ควรปรับปรุงและแก้ไขคงหนีไม่พ้นเรื่องของการที่ต้องฝึกฝนตัวเองอยู่ตลอดเวลาในเรื่องของ Test Design เพื่อให้ตัวเองได้ย้ำคิดย้ำทำบ่อยๆ และจะช่วยให้เราวิเคราะห์ได้ไวขึ้นต่อไป

สำหรับใครที่กำลังเหนื่อยหรือท้อใจ ขอให้ทุกคนสู้เข้าไว้นะคะ ถ้าคุณผ่านและอดทนกับมันได้เรามั่นใจว่า คุณจะเป็นคุณในเวอร์ชั่นที่เก่งและดีที่สุดได้อย่างแน่นอน ✌🏼

Photo by Nick Fewings on Unsplash

--

--