EP.13 จับให้ได้ไล่ (API)ให้ทัน ด้วย Proxyman

Warittaya W.
WeLoveBug dot Com
Published in
2 min readOct 9, 2023

เส้นทางสู่การเป็น Tester 🐞 Bootcamp by WeLoveBug (4–8 กันยายน 2566)

Image by Author

เนื่องจากจำนวนงานที่สวนทางกับจำนวนประชากร ก่อให้เกิดความล่าช้าในการทำงานขึ้น ทำให้เราได้มีโอกาสเข้าไปให้ความช่วยเหลือกับทีมอื่น ซึ่งโปรเจคสำหรับทีมนี้คือ “การสร้างระบบการเรียนรู้สำหรับพนักงานในบริษัท” ซึ่งเป็นส่วนของการทำ Automation Test ด้วย Postman ทั้งหมด

ส่วนที่ได้เข้าไปช่วยนั้นเป็นการรช่วยเปลี่ยน Test Scenarios ที่มีอยู่แล้วให้เป็น Test Source Code บน Postman ความยากของงานบ้านนี้คือ ลูกค้าไม่มีเส้น API มาให้ ดังนั้น เพื่อให้รวดเร็วในการหาจึงต้องใช้เครื่องมือเข้ามาช่วยในการดักจับเส้น API ที่ต้องการ เครื่องมือหรือ Tool ตัวนี้มีชื่อว่า “Proxyman”

Proxyman คืออะไร?

Proxyman เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการดักจับและตรวจสอบสิ่งที่เกิดขึ้นใน Network โดยเราจะทำการ Install และเปิดใช้งาน Proxyman พร้อมกับการใช้งานบนหน้าเว็บต่างๆ จากนั้นเราจะได้เส้น API ที่มีการเชื่อมต่อกันของระบบ แถมยังได้ Request Body และ Response Body ที่เราส่งและรับอีกด้วย

การติดตั้ง Proxyman

ขั้นตอนการติดตั้งนั้นแสนจะง่ายดายแค่ปลายนิ้ว เพียงแค่เข้าไปที่ https://proxyman.io/ ที่มีทั้ง MacOS หรือ Window ให้เลือกติดตั้ง

เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้วจะได้หน้าจอที่แสดงผลดังภาพด้านล่าง ภายในหน้าจอแสดงผลของ Proxyman ก็จะประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่

  1. Source List: App หรือ Domain ที่เป็นเรากำลังเปิดใช้งาน เราสามารถปัก Pin เพื่อให้ตรวจจับแค่ App หรือ Domain ที่เราต้องการได้
  2. Flow List: เส้น API ทั้งหมดที่ได้จากการใช้งานบน App หรือ Domain ที่เราสนใจ
  3. Flow Content: ประกอบด้วย Status HTTP Code, Request Body และ Response Body
หน้าตาของเจ้า Proxyman

การใช้งาน Proxyman

1. เปิด Proxyman และApp หรือ Domain ที่เราต้องการตรวจจับการเชื่อมต่อ API ในที่นี้ขอยกตัวอย่างเป็นการตรวจจับเว็บไซต์ www.google.com ซึ่งจะอยู่ใน หัวข้อ Domains

2. ทำการคลิกขวาและเลือก Pin เว็บไซต์ที่เราต้องการ การ Pin เป็นการปักหมุด ตัวที่เราสนใจให้อยู่ในรายการ Favourite ขั้นตอนนี้จะต้องทำการ Enabled Domain นั้นๆ เพื่อให้เรามองเห็นข้อมูลต่างๆ ที่มีการส่งไป-กลับ ถือเป็นอันเสร็จสิ้น

Proxyman จะทำหน้าที่ตรวจจับเส้น API และข้อมูลที่มีการเชื่อมต่อกัน ซึ่งข้อมูลส่วนที่เราจะนำไปใช้คือ URL และ Method โดยเส้นที่จะนำไปใช้นั้นจะต้องมี Status: Completed เท่านั้น

3. ทำการ Copy URL ที่ต้องการไปร้อยเรียงกันภายใต้ Collection หรือ Request ตามโครงสร้างที่เราวางไว้บน Postman และเขียน Test Source Code โดยการสร้างชุดการทดสอบหรือ Test Source Code นี้จะล้อไปกับ Test Sceanrios ที่มีทั้งหมด

สำหรับสัปดาห์นี้ก็เป็นการหาเส้น API พร้อมเขียน Test Soure Code ตาม Test Scenarios วนไปทั้งสัปดาห์

ซึ่ง ณ ตอนนี้ยังเป็นการนำ Proxyman มาใช้ในการตรวจจับเส้น API เท่านั้น แต่ยังมีการใช้งานอื่นๆ ที่จะต้องศึกษาเพิ่มขึ้น หากในอนาคตมีโอกาสได้ใช้งานอีกจะมาแชร์ให้ทุกท่านเพิ่มเติมอีกนะฮะ

สำหรับใครที่ไปลองเล่นกันแล้วสามารถคอมเมนต์หรือแชร์กันได้นะคะ 👩🏼‍🚀

Photo by NASA on Unsplash

--

--