EP.9 ยินดีต้อนรับสู่ The real world

Warittaya W.
WeLoveBug dot Com
Published in
3 min readAug 28, 2023

เส้นทางสู่การเป็น Tester 🐞 Bootcamp by WeLoveBug (7–11 สิงหาคม 2566)

ได้เวลาก้าวสู่โลกของการทำงานจริง ก่อนอื่นขอเปิดตัวผู้มากประสบการณ์ที่จะมาเป็น โค้ชในการลงสนามครั้งนี้ ท้าดาาา “พี่บอม” นั่นเองค่ะ งานนี้เราได้รับมอบหมายโปรเจคสร้างแอพพลิเคชันของธนาคารแห่งหนึ่ง ซึ่งจะต้องร่วมทำงานกับทีมพัฒนาของธนาคารเป็นระยะเวลา 1 เดือนเต็มในบทบาทของ Tester โดยมีพี่บอมเป็นโค้ชในการพัฒนา ส่วนลักษณะการทำงานเป็นการทำงานแบบ Hybrid กล่าวคือ มีทั้ง Online และ Onsite สลับกันไป

ในระหว่างการเก็บชั่วโมงบินและประสบการณ์การทำงานนี้ พี่บอมได้ให้การบ้าน 3 ข้อ ซึ่งจะต้องส่งก่อน 9.00 น. ของวันถัดไป ประกอบไปด้วย

  1. วันนี้มีสิ่งที่คิดว่า เราทำได้ดี และทำได้ไม่ดีอะไรบ้าง แล้วจะแก้ไขอย่างไร
  2. สิ่งไหนที่คิดว่า เราสามารถนำไปใช้ได้ในโปรเจคอื่น เหตุผลเพราะอะไร
  3. สิ่งไหนที่คิดว่า เราจะไม่ทำตาม

Day 1 🗓️ 7 สิงหาคม 2566

เริ่มวันแรกกับการประชุมเพื่อขุดเซาะเจาะหาความต้องการของทีมธนาคาร ก่อนหน้านี้ทางทีมเราได้มีการเตรียมตัวและทำการบ้านด้วยการอ่านและศึกษา Work Flow ของหน้า UI ที่ร้อยเรียงกันตั้งแต่ต้นจนจบ และได้ทำการแปะการ์ดสีดำพร้อมคำถามไว้ในแต่ละจุด

สำหรับการบ้านวันที่ 1 จะเน้นไปที่เทคนิคและวิธีการตั้งคำถามเพื่อเซาะหาปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า วันนี้จึงขอแชร์เทคนิคต่างๆ ที่ Tester อย่างเราสามารถนำไปประยุกต์ใช้เข้ากับทุกงานได้

คำถามไหนที่ตัวเองต้องมีโอกาสใช้ บ่อยๆ

  • หากระบบขาดการเชื่อมต่อกับระบบภายนอก การ Lost หรือการล่มของระบบในจุดต่างๆ จะเป็นอย่างไร
  • Validation ของ Field รองรับข้อมูลหรือรูปแบบการพิมพ์แบบไหน และ Field นั้นๆ เป็น Required Field หรือ Optional Field
  • หากเกิดเหตุการณ์หนึ่งที่เป็น Unhappy Case ระบบจะเป็นอย่างไรและมีวิธีรับมือกับ Case นี้อย่างไร
  • การตั้งคำถามควรการยกตัวอย่างเพื่อให้ทุกคนเห็นภาพและสามารถคิดต่อยอดและหาวิธีรับมือได้

Day 2 🗓️ 8 สิงหาคม 2566

เช้านี้ทีมเราต้องเดินทางไป Onsite ณ ออฟฟิศของลูกค้า เพื่อเป็นการทำความรู้จัก และทำงานร่วมกัน โดยประเด็นหลักเป็นเรื่องแผนงานที่ทำงานเป็น Sprint แบ่งออกเป็น 7 Sprint และยังคงเป็นพิธีกรรมการขุดเซาะเจาะหาความต้องการร่วมกันเช่นเดิม

รูปแบบการทำงานที่เราจัดวันนี้เป็นการแบ่งกลุ่มจำนวน 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะต้องประกอบไปด้วยทุก Role ไม่ว่าจะเป็น BA, QA, Dev, PO และ UX/UI เพื่อให้ทุกคนได้พูดคุยและหาข้อสรุปร่วมกันในแต่ละเรื่อง

การบ้านวันนี้ 🏠

  1. วันนี้มีสิ่งที่คิดว่า เราทำได้ดีและทำได้ไม่ดีอะไรบ้าง แล้วจะแก้ไขอย่างไร
  • สิ่งที่ทำได้ดี คือ การค่อยๆ พูดและค่อยๆ อธิบายให้ทีมเข้าใจสิ่งที่กำลังทำอยู่
  • สิ่งที่ทำได้ไม่ดี คือ ไม่สามารถรวมสมาชิกในกลุ่มให้มีปฏิสัมพันธ์และการพูดคุยเป็นหนึ่งเดียวกันได้

การแก้ไข เพิ่มความมั่นใจของตัวเองและพูดคุยกับสมาชิกในทีมให้มากขึ้น เพื่อให้ทุกคนไม่เกร็งเวลาทำงานร่วมกันและเพื่อนำพาและเชื่อมทีมเข้าด้วยกัน

2. สิ่งไหนที่คิดว่า เราสามารถนำไปใช้ได้ในโปรเจคอื่น เหตุผลเพราะอะไร

  • การพาทำ E2E Flow โดยการไล่ทีละ Step การทำงานตั้งแต่ต้นจนจบร่วมกัน
  • เหตุผล การพาทำ E2E Flow เป็นการตรวจสอบความถูกต้องและความเข้าใจของเราและเขาว่าตรงกันหรือไม่ และ Flow ก็เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนา หาก Flow ผิดก็จะทำให้เราออกแบบ วิเคราะห์และสร้าง Test scenarios แบบผิดๆ ได้
  • การตั้งคำถามว่า ทุกคน Agree ในแต่ละส่วนใช่หรือไม่
  • เหตุผล หากไม่มีตั้งคำถามนี้ อาจทำให้พลาดความคิดและมุมมองของทุกคนในทีม และเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้ลองออกความเห็นและหาข้อสรุปที่ Happy ร่วมกันทุกฝ่าย
  • การเบรกในสิ่งที่อยู่นอกเหนือสิ่งที่เรากำลังทำ เช่น การเตรียม Data test หากจุดไหนที่ยังไม่รู้หรือไม่แน่ใจ อย่าพยายามหาคำตอบ เราสามารถหาคำตอบของเรื่องนั้นภายหลังได้
  • เหตุผล ด้วยเวลาที่มีอย่างจำกัด หากมีการทำในสิ่งที่นอกเหนือจากสิ่งที่ต้องการ จะทำให้หลุดโฟกัสและเสียเวลาโดยใช่เหตุ
  • การสรุป หลังจากทุกคนพูดคุยร่วมกันในเรื่องต่างๆ
  • เหตุผล เพื่อไม่ให้ทุกคนหลงทางและเข้าใจประเด็นที่ทุกคนพูดคุย

2.2 สิ่งไหนที่เราคิดว่า จะไม่ทำตาม
— ไม่มี

Day 3 🗓️ 9 สิงหาคม 2566

สืบเนื่องจากเมื่อวานเราได้รับมอบหมายให้ทำการเตรียม Data Test ในแต่ละ Process โดยเริ่มจากการศึกษาหน้า UI ว่า มีการใส่ Data ใดเข้าไปและมี Input หรือ Output อะไรบ้าง วันนี้เราจึงอยู่กับขั้นตอนการเตรียมข้อมูลและจำลองข้อมูล แต่ด้วยทางทีมไปโฟกัสใจความสำคัญของงานนี้ผิดพลาด ซึ่งเราไปเน้นที่ Input และ Output แต่ประเด็นอยู่ที่ “Datat Test” ทำให้ผลงานของวันนี้ไม่เป็นที่น่าพอใจนัก เรียกได้ว่า “ไม่ตรงปก” นั่นเอง

จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เราสรุปข้อผิดพลาดและวิธีแก้ไขออกมาได้ดังนี้

  • ในการทำงานและมอบหมายงานต้องมีการ Recheck ความเข้าใจของทั้งสองฝ่าย ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารว่า เข้าใจตรงกันจริงๆ ใช่หรือไม่ อีกทั้งการใช้เวลาทั้งวันในการทำงานที่ไม่ได้มีความซับซ้อน ไปกับเรื่องของการตั้งคำถามและเดาคำตอบกันเอง

การแก้ไข

  • การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น ทุกครั้งจะต้องมีการ Recheck สิ่งที่ต้องทำและสิ่งที่ต้องได้เพื่อให้เห็นภาพตรงกัน
  • ไม่ควรทำตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญ เช่น การเดาคำตอบไปเองในเรื่องที่สงสัย และใช้วิธีการแปะการ์ดคำถามสีดำเพื่อนำกลับมาหาคำตอบกับผู้เชี่ยวชาญในเแต่ละเรื่อง

Day 4 🗓️ 10 สิงหาคม 2566

ออนไซต์ออนใจอีกเช่นเคยสำหรับวันนี้ รูปแบบการทำงานที่เราจัดคือการแบ่งกลุ่มจำนวน 3 กลุ่มเช่นเดิม ประเด็นที่เราจะพูดคุยร่วมกันวันนี้เป็นเรื่อง Data Test ที่ทางทีมเราจัดเตรียมไว้ ซึ่งถือว่าเป็นการเจาะความต้องการไปพร้อมๆ กัน

การบ้านวันนี้ 🏠

  1. วันนี้มีสิ่งที่คิดว่า เราทำได้ดีและทำได้ไม่ดีอะไรบ้าง แล้วจะแก้ไขอย่างไร
  • สิ่งที่ทำได้ดี คือ กล้าที่จะพูดคุยกับสมาชิกในกลุ่มและกล้าที่จะถามในสิ่งที่สงสัย
  • สิ่งที่ทำได้ไม่ดี คือ ยังไม่สามารถหาจังหวะในการเบรกเพื่อไม่ให้เกิดการถกเถียงและพูดคุยที่ยืดเยื้อในการหาคำตอบในเรื่องที่ไม่สามารถหาคำตอบและข้อสรุปร่วมกันได้

การแก้ไข ค่อยๆ ฝึกสังเกตพฤติกรรมของทุกคนและฝึกจับจังหวะการเบรก

2. สิ่งไหนที่คิดว่า เราสามารถนำไปใช้ได้ในโปรเจคอื่น เหตุผลเพราะอะไร

  • การพาทำ ตรวจสอบ แก้ไข Data test, Expected Results และสิ่งที่เขาจะเห็น ด้วยการหยอด Data ลงในแต่ละ State ของ E2E Flow พร้อมแมพเข้ากับหน้า UI ซึ่งทำให้ทุกคนเห็นภาพตรงกันและเห็นภาพง่ายขึ้น
  • เหตุผล การหยอด Data เข้าไปในแต่ละ Process และหน้า UI ทำให้ภาพการทำงานของแต่ละ Process ชัดเจนมากขึ้นส่งผลให้ทุกคนเกิดความเอ๊ะและทำให้เราได้ Requirements ที่ตรงจุดและแคบขึ้น และในทุกงานจะมีวิธีการทำงานที่คล้ายกัน ดังนั้น ต้องมีการเตรียม Data Test ก่อนทุกครั้ง เพื่อนำกลับไปตรวจสอบความถูกต้องและตรวจสอบความเข้าใจของเงื่อนไขร่วมกับทุกคน
  • วิธีและจังหวะในการเบรกเมื่อทุกคนโฟกัสและพยายามหาคำตอบหรือหาข้อสรุปไม่ได้ คือ เริ่มจากการส่งสัญญาณทางภาษากาย เช่น การยกมือ >> เพิ่มสัญญาให้รุนแรงขึ้น (ค่อยๆ แทรกตัวเองเข้าไป) >> ส่งสัญญาณเสียงเพิ่ม (ระวังระดับนี้หน่อย)
  • เหตุผล ทุกที่และทุกงานมีการถกเถียงกันเป็นเรื่องปกติ แต่การเบรกจะทำให้ไม่หลุดประเด็นและเป็นการบริหารเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด หากไม่มีการเบรกจะทำให้เราไม่สามารถไปต่อในเรื่องอื่นได้

3. สิ่งไหนที่คิดว่า เราจะไม่ทำ
— ไม่มี

Day 5 🗓️ 11 สิงหาคม 2566

ส่งท้ายวันศุกร์ก่อนวันหยุดยาวด้วยการออนไซต์ ณ ออฟฟิศลูกค้าเช่นเคย สิ่งที่ทีมเราเตรียมไปนำเสนอวันนี้คือ Test Case ของงาน Sprint 1 จากพิธีกรรมขุดเซาะเจาะหาความต้องการตลอดหลายวันที่ผ่านมานี้ ทำให้เราสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และออกแบบ Test Case ต่อได้แต่เนื่องด้วยยังมีคำถามที่ยังไม่ได้คำตอบและข้อสรุปอยู่เยอะพอสมควร บวกกับระยะเวลาที่มีอย่างจำกัด ทำให้เวลาในวันนี้คงหมดไปกับการเคลียร์คำถามต่างๆ แทน

การบ้านวันนี้ 🏠

  1. วันนี้มีสิ่งที่คิดว่า เราทำได้ดีและทำได้ไม่ดีอะไรบ้าง แล้วจะแก้ไขอย่างไร
  • สิ่งที่ทำได้ดี คือ เริ่มจับจังหวะและกล้าแสดงการส่งสัญญาณเมื่อต้องการพูดหรือถามในเรื่องที่กำลังพูดคุยและถกเถียงกัน
  • สิ่งที่ทำได้ไม่ดี คือ ไม่สามารถจับประเด็นและสรุปเรื่องที่ทุกคนถกเถียงกัน เนื่องจากทุกคนต่างคนต่างพูด ทำให้เราสับสนว่าเรื่องที่เขาพูดกันนั้นเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่และข้อสรุปหรือคำตอบของคำถามนี้คืออะไร
  • การแก้ไข ฝึกฟังให้มากขึ้นและต้องฟังอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้จับจุดประเด็นที่ต้องการไว้ให้แน่นแล้วค่อยๆ ฟังและคิดตาม

2. สิ่งไหนที่คิดว่า เราสามารถนำไปใช้ได้ในโปรเจคอื่น เหตุผลเพราะอะไร

  • การวางแผนและจัดลำดับ Features ต่างๆ โดยลำดับจากความเสี่ยงที่ทุกคนให้ความเห็นพ้องตรงกัน
  • เหตุผล เพื่อให้งานมีแบบแผนในการทำงาน เรื่องการจัดลำดับความสำคัญจึงมีความสำคัญมาก และทำให้ทุกคนสามารถโฟกัสงานและลงลึกถึงเงื่อนไขในแต่ละจุดได้อย่างชัดเจน
  • การแปะ Role บนคำถามเพื่อแสดงให้เห็นว่า คำถามนั้นใครจะต้องเป็นผู้หาคำตอบ และมีการแยกสีแต่ละ Role ไว้ชัดเจน
  • เหตุผล ทุกงานมักมีเกิดคำถามที่ไม่สามารถหาคำตอบได้ทันทีหรืออาจจะเป็นเรื่องที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนจึงไม่สามารถหาข้อสรุป ดังนั้น การแปะ Role ถือเป็นการระบุความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล ซึ่งอาจจะเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือเป็นผู้เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นๆ เมื่อทุกคนไปหาคำตอบก็จะส่งผลให้ได้เงื่อนไขที่ครอบคลุมและชัดเจนขึ้น
  • การจดคำศัพท์เฉพาะ (Technical term) ที่เราไม่รู้ แล้วนำมาหาคำตอบและคำอธิบายภายหลัง
  • เหตุผล หากเราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ การไม่รู้และไม่เข้าใจในความหมายของคำศัพท์จึงเป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้น หากไม่รู้ก็จงทำการบ้าน หาความหมายของคำนั้นด้วย

2.2 สิ่งไหนที่คิดว่าจะไม่ทำ
— ไม่มี

สัปดาห์นี้เรียกได้ว่า ชีพจรลงเท้ากันสุดเพราะการออนไซต์ออนใจ ณ ออฟฟิศย่านพระราม 3 อีกทั้งยังต้องพบเจอกับความแออัดของประชากรบนขนส่งสาธารณะอย่าง MRT ที่แน่นจนแทบจะขาดอากาศหายใจ แต่พูดได้เลยว่า พอได้ออกมาเจอการทำงานร่วมกับลูกค้าแล้ว ทำให้เราได้ประสบการณ์การทำงานและโอกาสดีๆ รวมถึงการมีพี่บอมเป็นโค้ชในการทำงานครั้งนี้ยิ่งทวีคูณความรู้และเทคนิคต่างๆ จากพี่บอมเพิ่มขึ้นไปอีกและสัญญากับตัวเองว่าจะสู้และเก็บเกี่ยวให้ได้มากที่สุดแน่นอน

--

--