Leadership Boot Camp Day1: Lead Self จะเป็นผู้นำต้อง เข้าใจตัวเองก่อน!

Nuttarpon Y.
WeLoveBug dot Com
Published in
5 min readOct 21, 2023

สวัสดีครับ วันนี้จะมาบอกเล่าเนื้อหาเกี่ยวกับการเป็นผู้นำ แต่ก่อนที่จะนำผู้อื่นได้นั้นเราต้องสามารถนำตนเองหรือควบคุมตัวเองให้ดีซะก่อน ดังนั้นเราจึงควรทำความรู้จักลักษณะบุคลิกของเราให้ท่องแท้ซะเองก่อน ในเมื่อเรา “รู้เรา” แล้ว ก็เหลือ “รู้เขา” ดังสุภาษิตที่ว่า

รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง

เคยไหม? ครับ กับสถานการณ์ที่ว่า “เราอยู่ในกลุ่มคน กลุ่มหนึ่ง แล้วเจอสถานการณ์ที่ ไม่มีใครกล้าตัดสินใจหรือลงมือทำอะไรบางอย่างเลย ต่างคนต่างเกร็งจนไม่กล้าทำอะไรเลย” หรือจะเป็น “ต่างคนต่างแสดงความคิดเห็นของตนเองโดยไม่สนใจ ความคิดเห็นของกันและกันจนทำให้ ไม่เห็นเป้าหมายร่วมกันสักที” สิ่งเหล่านี้ ทำให้งานหยุดชะงักไปต่อไม่ได้ ดังนั้น จึงต้องมีผู้นำคอยมาสั่งการ หรือนำพากลุ่มคนเหล่านี้ให้บรรรลุ ตามเป้าหมายต่างๆ ดังนั้นการเป็นผู้นำ หรือ มีภาวะผู้นำ จึงสำคัญอย่างมาก ต่อการทำงานเป็นกลุ่ม ทั้งแบบกลุ่มขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ระดับองค์กร

อันนี้ไม่ค่อยเกี่ยวมากเท่าไหร่แต่ คิดว่าตลกดีครับเลยใส่มา อ้างอิง https://www.bms.co.in/top-5-absurd-funny-leadership-quotes-sayings-for-whatsapp-facebook/

แล้วเคยไหม?ครับ กับการตั้งคำถาม เกี่ยวกับการเป็นผู้นำนั้นเราจะต้อง…

นำอะไร? นำที่ไหน? นำเมื่อไหร่? นำทำไม? และ นำกับใคร?

สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ตั้งคำถามได้เสมอ ในทุกสถานการณ์ที่เราพบเจอมาตลอด แต่หนึ่งสิ่งที่สามารถจะช่วยตรงนี้ได้ไม่มากก็น้อย นั้นก็คือ การเข้าใจในลักษณะนิสัยของตัวเองและผู้อื่น เพื่อที่จะสามารถปรับรูปแบบการกระทำหรือมุมมองต่อคนเหล่านั้น หรือสามารถรู้วิธีเข้าหาพูดคุยและใช้งานจากลักษณะนิสัยของแต่ละคน นั้นๆให้เหมาะกับทั้งตัวเขาและตัวงานได้ เราสามารถเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ได้จากการทำ MBIT เป็นต้น

“Put The Right Man on The Right Job”

จากรูปนี้เปรียบได้เหมือนกับใส่สิ่งของไปในช่องที่มันพอดีจริงๆ ดั่งสำนวนข้างต้น อ้างอิง https://iconscout.com/illustrations/put-right-man-in-the-right-job

MBIT คืออะไร?

“MBTI หรือ Myers-Briggs Type Indicator” เป็นแบบทดสอบประเภทบุคลิกภาพ ตามทฤษฎีทางจิตวิทยาที่สามารถประเมินได้ด้วยตนเอง โดยมุ่งเน้นให้เกิดความเข้าใจตัวเองและผู้อื่น แต่ ณ ที่นี้อาจจะหมายถึง ลักษณะนิสัยที่ถนัดมากกว่า และไม่ได้หมายถึงว่าจะมี ลักษณะนิสัยแบบนั้นเสมอไป

แล้ว MBIT เกิดขึ้นได้ยังไง?

เริ่มต้นจาก นักจิตวิทยาชาว Switzerland คนหนึ่ง ชื่อ Carl Jung ได้พัฒนาทฤษฎีบุคลิกภาพ ที่ความแตกต่างระหว่างคนนั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่บังเอิญ สิ่งเหล่านี้มีรูปแบบจับต้องได้แล้ว ยังสามารถแยกออกเป็นประเภทได้ด้วย

อ้างอิง https://www.pinterest.com/pin/AdkTrJxpszUHefOob2p59wPvNCjsBoL5YrX5nqg_tQY7dK-aCI00xwc/

ต่อมา มีคน American นามว่า Katharine Cook Briggs เธอได้อ่านหนังสือจิตวิทยาของ Carl G. Jung แล้วได้นำทฤษฎี ของเขามาต่อยอดและศึกษาร่วมกับลูกสาวของเธอ นามว่า Isabel Briggs Myers

เพื่อต้องการช่วยเหลือผู้คนให้เข้าใจตนเองและเข้าใจผู้อื่นมากกว่าเดิมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 Isabel เลยตั้งใจที่จะประดิษฐ์แบบทดสอบที่จะช่วยจำแนกลักษณะของบุคลิกภาพให้แต่ละคนได้รับรู้ถึงลักษณะบุคลิกภาพของตนเอง

อ้างอิง https://www.annesimone.com/brand-archetypes-carl-jung/

มารู้จักกับ ประเภทของ MBTI กัน!(Personality Style)

โดยบุคลิกโดยทั่วไปของเราจะมีทั้งหมด 16 ประเภท และสามารถแบ่งย่อยเป็น 4 ตัวชี้วัด ได้แก่

อ้างอิง https://www.blockdit.com/posts/62b2be77b33ab305558b3cc2
อ้างอิง https://developerexperience.io/articles/16personalities

1.ความถนัดด้านการได้รับพลังงาน หรือบุคลิกภาพ :

Extraversion (E)

ส่งโฟกัสและพลังงานออกไปสู่ภายนอก
สนใจโลกภายนอกและกิจกรรม

  • เข้ากับคนอื่นได้ง่าย #เมาส์มอย
  • มีความสนใจแบบเผิน ๆในหลายเรื่อง
  • พร้อมที่จะมีความคิดริเริ่มในการทำงานและสัมพันธภาพ #ทำ-คิด-ทำ
  • เวลาพิจารณาบางอย่างชอบคิดรอบด้าน

Introversion (I)

ดึงโฟกัสและพลังงานเข้าสู่ภายใน
สนใจโลกภายในแห่งความคิด

  • มีความเป็นส่วนตัวสูงและเก็บตัว #
  • มีความสนใจในสิ่งที่ชอบอย่างลึกซึ้ง
  • พร้อมที่จะมีความคิดริเริ่มในสถานการณ์ที่สำคัญต่อตนเอง #คิด-ทำ-คิด
  • มี โอกาสสูง ที่จะได้ Idea จากคนกลุ่มนี้มาก ในที่ประชุม (แต่ถ้าเขาไม่กล้าแสดงออกหรือไม่มีใครถามเขา โอกาสก็ที่จะได้ idea ก็จะไม่มีหรือลดลง)
  • สามารถเป็น Active Listening ได้ (ไม่ค่อยชอบพูดเลย ได้ฟังเยอะกว่า)

แต่เดี๋ยวก่อน!!! ยังมีประเภทที่เป็นได้ทั้ง Extrovert และ Introvert นั้นก็คือ…

Ambivert (Both I & E)

ปรับตัวเองเก่ง หากต้องให้เข้าร่วมสังคม เนื่องจากการทำงาน หรือความรับผิดชอบบางอย่างก็สามารถทำได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังโหยหาความเป็นส่วนตัว หรือหากต้องอยู่ในสภาวะที่ต้องคิดวิเคราะห์ หรือทำงานคนเดียวก็ยังสามารถทำได้ดี

  • มีความสามารถในการสร้างความสมดุลได้ดี
  • เป็นผู้ฟังที่ดี และสามารถสื่อสารได้ดี
  • มีความเห็นอก เห็นใจ ซึ่งเป็นไปอย่างเป็นธรรมชาติ
  • เหมาะที่จะทำงานได้หลากหลาย โดยเฉพาะการเป็นคนตรงกลางที่ช่วยไกล่เกลี่ยได้ดี
  • เหมาะกับการทำธุรกิจต่าง ๆได้มากพอสมควร เพราะมีความยืดหยุ่นสูง
อ้างอิง https://max-drive.medium.com/lifestyle-introvert-extrovert-and-ambivert-pros-and-cons-70f9877b3fc9

เนื้อหาพิเศษเพิ่มเติม

  • Culture หรือวัฒนธรรม นั้นส่วนใหญ่มีผลกับ MBIT เพราะ ชาวตะวันตกนั้นส่วนใหญ่จะเป็น Extrovert แต่กลับกัน ส่วนใหญ่ของชาวตะวันออกจะเป็น Introvert
อ้างอิง https://www.reddit.com/r/mbti/comments/105x34f/if_countries_were_people_16_personality_types_by/?rdt=46028
  • Environment หรือสภาพแวดล้อม นั้นก็อาจมีส่วนให้มีผลกับ MBIT เช่นกันเพราะ สภาพแวดล้อมต่างๆได้ หล่อหลอม หรือปลูกฝัง คนๆนึงให้มี ลักษณะนิสัยแบบนั้นเกิดขึ้นได้

2. ความถนัดด้านการรับรู้สิ่งต่าง ๆ (Mental Function) :

Sensing (S)

อยู่กับความเป็นจริงในปัจจุบัน
ข้อเท็จจริงที่ยืนยันได้ และประสบการณ์

  • มีสมาธิกับสิ่งที่จับต้องได้
  • ชอบข้อเท็จจริง ความเป็นรูปธรรมและการลำดับเรื่องราว
  • เชื่อในประสบการณ์
  • สามารถทำ Data Driven ได้ง่าย (รับข้อมูลอย่างระมัดระวังและครบถ้วนก่อนสรุป)
  • ชอบสร้างนวัตกรรม อย่างมี System

Intuitive (N)

จดจ้องกับความเป็นไปได้ในอนาคต
ภาพรวมและความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง

  • มีสมาธิกับแบบแผนและความหมาย
  • จดจำจากการเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกัน
  • เชื่อในความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
  • เชื่อมโยงข้อมูล (มองภาพรวม)
  • ชอบสร้างนวัตกรรม อย่างมี Creative

3. ความถนัดด้านการตัดสินใจ :

Thinking (T)

ตัดสินใจโดยใช้ตรรกะ และเหตุผล ไม่ใช่อารมณ์

  • มองปัญหาในฐานะคนนอกอย่างเป็นกลาง
  • วิเคราะห์
  • ใช้เหตุและผล
  • ยุติธรรม อยากให้ทุกคนเท่าเทียม

Feeling (F)

ตัดสินใจโดยใช้ความเชื่อ ความชอบ
อนุญาตให้อารมณ์มามีส่วนร่วม

  • มองปัญหาในฐานะคนที่เกี่ยวข้อง
  • เห็นอกเห็นใจ (Empathy สูงปรี๊ด)
  • ถูกชักจูงด้วยค่านิยมของตนเองและกลุ่ม
  • ยุติธรรม อยากให้ทุกคนได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ

4. ความถนัดด้านไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต :

Judging (J)

ต้องการให้โลกภายนอกมีแต่ความเรียบร้อยและเป็นระเบียบ
มองดูโลกและเห็นการตัดสินใจที่ต้องทำ

  • มีวินัย ระเบียบเรียบร้อย มีความเป็นระบบ
  • วางแผนทั้งระยะสั้นและยาว และทำตามแผน
  • ชอบความเด็ดขาดและตายตัว
  • พยายามไม่ทำอะไร นาทีสุดท้าย (ไม่ชอบ deadline)

Perceiving (P)

ชอบที่จะหาประสบการณ์โลก ไม่ใช้การจัดการให้มันเป็นระเบียบ
เสาะแสวงหาทางเลือก

  • ปรับตัวง่ายและขี้สงสัย #ซน
  • ทำตัวสบายๆ #ชิวเกิ้น
  • ไม่จำกัดตัวเอง
  • ยืดหยุ่นต่อข้อมูลใหม่ๆและการเปลี่ยนแปลง
  • ชอบทางเลือกใหม่ๆ
  • มีพลังงานจากแรงกดดันเมื่อต้องทำอะไรนาทีสุดท้ายหรือใกล้เส้นตาย #ไฟลน

เพิ่มเติมอีกนิด

  • จาก Research “MBTI ของคนที่ สังคม(ทั่วโลก)ต้องการให้เป็น คือ ESTJ” เพราะว่า เป็นบุคลิกที่ Extrovert เข้ากับคนง่าย S อยู่กับความเป็นจริง T ตัดสินด้วยเหตุผล และ J มีความเป็นระเบียบ เรียบร้อย สามารถทำสิ่งที่ต้องทำได้
อ้างอิง https://excellenceassured.com/16-personality-types/estj-personality-type

ในเมื่อเรารู้จัก MBTI หรือบุคลิกทั้ง 16 ประเภทแล้ว สามารถลองทำแบบทดสอบได้ เพื่อที่จะได้รู้จักตัวเราเองหรือเพื่อน ๆ ของเรานั้นว่ามีผล MBTI เป็นแบบใด

จิ้มลิงค์นี้เลย → http://www.minddojo.info/assessment/register

การสังเกตบุคลิก หรือ MBTI Recognising

การที่เรานั้นอยากจะรู้จัก MBTI ของผู้อื่นนั้น บางทีเราไม่สามารถที่จะเข้าไปขอ ลักษณะ MBTI ของผู้อื่นได้ ดังนั้นจึงต้องเกิดจากการสังเกต ดังต่อไปนี้

  1. สังเกตพฤติกรรม
  2. สังเกตความถี่ของพฤติกรรมนั้น ๆ
  3. ถ้าเป็นไปได้สังเกตพฤติกรรมดิบ จะเห็นลักษณะบุคลิกที่อยู่ลึกๆของคนๆนั้นได้

ต่อไป ขั้นตอนการสังเกตว่าเขาเป็นคนบุคลิกแบบไหน เริ่มจากสิ่งที่สังเกตได้ง่ายที่สุดไปยากที่สุด
เป็น (E)xtrovert หรือ (I)ntrovert
ต่อไป เป็น (P)erceiving หรือ (J)udging
สองข้อนี้จะสามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมภายนอกและเห็นได้ง่ายที่สุด เช่น วิธีการพูด การเข้าสังคม วิธีคิด ความคิดเห็นต่างๆ

สองข้อต่อไป จะเป็นส่วนที่สังเกตได้ยากที่สุด
เป็น (S)ensing หรือ i(N)tuitive อาจสังเกตได้จาก วิธีการคิด หรือ สิ่งที่เขาวิเคราะห์
และสุดท้าย (T)hinking หรือ(F)eeling อาจสังเกตได้จาก วิธีการทำงาน หรือ การตัดสินใจ

วิธีสังเกตง่ายๆ รึเปล่า!? อ้างอิง https://www.reddit.com/r/mbti/comments/mq3g62/how_to_determine_someones_mbti_type/

Mental Function ระบบวิเคราะห์ความคิด

คือ กระบวนการที่สมองใช้ประมวลผลผ่านการรวบรวมข้อมูล และการตัดสินใจ

  • ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ S & N
  • ใช้ในการตัดสินใจ คือ T & F

ผลทั้งหมดออกมาได้ทั้งหมด 4 คู่

  • ST
    ใช้ได้จริง, ข้อเท็จจริง และ ระมัดระวัง
  • SF
    เข้าอกเข้าใจ, เป็นมิตร และ มองเห็นรายละเอียดจากประสบการณ์ของผู้อื่น
  • NT
    มีเหตุผล, มีไหวพริบ และ เป็นนักวางกลยุทธ์โดยธรรมชาติ
  • NF
    กระตือรือร้น, มี Vision ที่เฉียบคม และ มองโลกในแง่ดี

การเป็นผู้นำของทั้ง 4 ประเภท (Leadership Style)

  • ผู้นำ ST (Consistent) เน้นที่ ความสม่ำเสมอ มั่นคง
    ชอบคุณภาพ, มีประสิทธิภาพ และ พยายามสร้างทักษะ
ในเนื้อหาเป็น ST อ้างอิง https://www.urbinner.com/post/mbti-temperament-leadership-and-development
  • ผู้นำ SF (Cooperation) เน้นที่ การให้ความร่วมมือ
    ชอบการบริการ, มีความจริงใจ และ พยายามทำตัวให้เป็นประโยชน์
ในเนื้อหาเป็น SF Cinema ไม่ช่ายยย แค่ SF อ้างอิง https://www.urbinner.com/post/mbti-temperament-leadership-and-development
  • ผู้นำ NT (Inspiration) เน้นที่วิสัยทัศน์ ระบบ นวัตกรรม
    ชอบนวัตกรรม, มีจรรยาบรรณ และ พยายามสร้างคุณสมบัติ
ในเนื้อหา… ถูกอยู่แล้วนี่ อ้างอิง https://www.urbinner.com/post/mbti-temperament-leadership-and-development
  • ผู้นำ NF (Achievement) เน้นที่ ศักยภาพของคน
    ชอบการพัฒนา, มีความถูกต้อง และ พยายามให้เห็นถึงความสามารถที่มี
อ้างอิง https://www.urbinner.com/post/mbti-temperament-leadership-and-development

Growth Mindset แนวคิดแห่งการเติบโต

เป็นแนวคิดที่จะช่วยให้ตนเองเชื่อว่า คนเราสามารถพัฒนาได้อยู่เสมอๆ ทำให้เราสามารถเรียนรู้จากข้อผิดพลาดได้ ชอบ Challenge และ ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ระหว่างกระบวนการมากกว่าสำเร็จ

อ้างอิง https://www.linkedin.com/pulse/growth-mindset-concept-over-misused-anna-simon/

Fixed Mindset แนวคิดแบบยึดติด

เป็นแนวคิดขั้วตรงข้ามกับ Growth Mindset ชอบมั่นใจในทักษะและประสบการณ์มักปิดโอกาสในการเรียนรู้และ พัฒนาต่างๆ มักคำนึงถึงผลลัพธ์ตลอด ไม่ได้ให้ความสำคัญการเรียนรู้ระหว่างทาง มักชอบอยู่กับที่ ที่คิดว่าดีอยู่แล้ว ยอมแพ้ง่าย ชอบ คิดเป็นเรื่องส่วนตัว มักปกป้องตนเอง เกลียดความผิดพลาด หลีกเลี่ยงสิ่งใหม่ๆ

ทั้งนี้ทั้งนั้น การตีความ Growth Mindset และ Fixed Mindset นั้นขึ้นอยู่กับบริบทด้วย อย่างเช่น การได้รับคำชมที่ไม่จริงใจ ซ้ำๆบ่อยๆ ที่ตอนแรกเหมือนจะเป็น Growth Mindset แต่ท้ายสุดแล้วอาจจะเป็น Fixed Mindset ก็ได้ เพราะอาจทำให้ เกิดความมั่นใจแบบผิดๆ จนเกิดเป็นคนที่มี อีโก้ตามมาได้

วิธีการพัฒนา Growth Mindset

  • ระวังเสียงในความคิดของเราเอง (สมองคนเราคิดเรื่อง Negative ได้ง่ายกว่า Possitve)
  • รู้ถึงตัวกระตุ้น (เรียนรู้ ทำความรู้จักกับมัน เพื่อหาวิธีรับมือ)
  • ยอมรับคำติชม (การชมเรื่อง เล็กๆ น้อยๆ ช่วยเสริมสร้าง Growth Mindset)
  • ลองทำสิ่งใหม่เสมอ
  • ลงมือทำให้เกิดผลลัพธ์

Emontional Quotient (EQ)

ความฉลาดทางอารมณ์ ที่หมายถึงความสามารถในการตีความ เข้าใจ และจัดการอารมณ์ ของทั้งตนเองและคนรอบข้างได้ สามารถควบคุมอารมณ์ในสถานการณ์ที่กดดัน ช่วยให้ผู้อื่นรู้สึกสบายใจขึ้น บุคคลที่มี EQ สูง จะมีความยืดหยุ่น ปรับตัวได้ดี มีแรงผลักดัน

5 Component of EQ

1. Self-Awareness (การตระหนักรู้ตนเอง)

  • สามารถประเมินได้อย่างเป็นกลาง และรับรู้มุมมองที่คนอื่นมองเข้ามาหาเรา
  • เข้าใจ Strenght, Weakness และ Value ของตัวเองได้ดี

2. Self-Regulation (การควบคุมตนเองได้)

  • ไม่ยอมให้ตัวเองยึดติดกับปัจจัยภายนอก และมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ต้องการได้
  • รู้ว่าจะ Comment หรือ เสนอ Idea เหล่านั้นอย่างไรและ เมื่อใด
  • รับมือกับอารมณ์ได้ และ คิดก่อนพูด คิดก่อนทำ

3. Motivation (การสร้างแรงจูงใจ)

  • การกำหนดเป้าหมายและ ไล่ตามเป้าหมายจนสำเร็จด้วย ความสนใจและความพอใจ ส่วนตัว
  • มีความทะเยอทะยานส่วนตัวช่วยให้ ทำงานได้ดีขึ้นและสร้างสิ่งที่มีคุณภาพ
  • ความมุ่งมั่นเพื่อให้ได้รับการชื่นชมและประสบความสำเร็จ แล้วพอใจกับชีวิตการทำงาน

4. Empathy (การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น)

  • มีความพยายามเข้าใจ อารมณ์ของผู้อื่น
  • เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น
  • ให้ความสำคัญกับอารมณ์ ความคิดเห็นของคนอื่นที่ไม่เห็นด้วย
  • ดูสิ่งต่าง ๆ จากมุมมองคนรอบข้าง

5. Social Skill (การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี)

  • การเข้าถึง มีส่วนร่วม ความโปร่งใส และแน่ใจว่าคนที่เราพูดคุยอยู่ด้วยความรู้สึก สบายใจและมีคนรับฟังเขาอยู่
  • หลีกเลี่ยงการ เป็นผู้เพิกเฉยในการสนทนา
  • มีส่วนร่วม มีความกระตือรือร้นในการพูดคุย และแสดงความสนใจและเต็มใจ ที่จะรับรู้

การพัฒนา EQ

  • จดบันทึกและพยายามทำความเข้าใจ อารมณ์ของตนเองใน stage ต่างๆ ที่ต่างกัน
  • พยายามเริ่มต้นพูดคุยกับคนอื่นๆ และเรียนรู้คู่บทสนทนานั้นรู้สึกอย่างไร
  • รู้เท่าทันถึงปัจจัยที่ทำให้อารมณ์ตนเองไม่ดีในแต่ละครั้ง
  • เมื่อรู้สึกโกรธและเหมือนจะควบคุมอารมณ์ไม่ได้ให้นับเลขในใจ
  • เลิกพฤติกรรมการบ่น และตั้งหน้าตั้งตาทำในสิ่งที่ต้องทำ
  • ถามเพื่อนร่วมงานและหัวหน้างานโดยตรงถึงสิ่งที่เราต้องปรับปรุง

สรุปคร่าวๆ

ได้รู้ว่า MBTI บุคลิกทั้งหมด ทั้ง 16 บุคลิก นั้นว่าประเภทไหนชอบอะไร ถนัดกับสิ่งใด อะไรบ้างที่ขาดหายไปในการมีบุคลิกที่ดีขึ้นในของแต่ละบุคลิก และสามารถเรียนรู้หรือสังเกตด้วยวิธีต่างๆ ต่อบุคลิกของคนอื่น ช่วยให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ ทั้งด้านการเข้าหา พูดคุยหรือรับมือในสถานการณ์ต่างๆ รู้จักสไตล์ของ ผู้นำของบุคลิกประเภทนั้นๆ ว่าเป็นแบบใด รู้จักแนวคิดการคิดแบบ Fixed Mindset และ Growth Mindset ว่าความคิดแบบนี้เป็นประเภทใด แนวคิดแบบใดช่วยในการปรับใช้และการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น

อ้างอิงเนื้อหา

  1. https://www.minddojo.co.th/
  2. https://www.ananda.co.th/blog/thegenc/ambivert-introvert-extrovert/
  3. https://www.getrealme.com/mbti-history/
  4. https://www.kroobannok.com/20427
  5. https://www.ais.th/consumers/lifestyle/blog/digital-update/what-is-mbti-test

เป็นไงกันบ้างครับ สำหรับบทความนี้ อ่านได้ง่ายแล้วเข้าใจกันหรือไม่ครับ? เป็นการเขียนบทความครั้งแรกในรอบๆ 2–3 เดือนที่ผ่านมาแล้ว รู้สึกว่าตัวเองเขียนเก่งขึ้น(รึเปล่า) แต่รู้สึกดีที่เหมือนว่าเราพัฒนาขึ้นจากอะไรบางอย่าง ทำให้มีกำลังใจในการทำงานหรือเขียนบทความอื่นๆ ในอนาคตต่อไปได้ครับ ทั้งนี้ขอขอบคุณ เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ที่มีส่วนร่วมให้การเขียนบทความนี้ขึ้นทั้งฝั่งบริษัทผมเอง ที่ปลูกฝังพฤติกรรมและวัฒนธรรมในการทำงานและพัฒนาตนเอง และขาดไม่ได้ บริษัทลูกค้าที่ให้โอกาสในการมีส่วนร่วมเข้าอบรม Leadership Bootcamp ในครั้งนี้ครับ ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านมากๆครับ ฝากผลงานและ We love bug ไว้ในอ้อมอกอ้อมใจของทุกคนด้วยนะครับ สุดท้ายแล้ว สามารถแสดงความคิดเห็นต่อบทความได้นะครับ ฝากเช็คคำผิดด้วยครับ อิอิ

ปล. ยังมีบทความต่อไป ในส่วนของ Day 2 ไว้รอติดตามกันนะครับ

--

--

Nuttarpon Y.
WeLoveBug dot Com

try to stand on your own feet and explore the world