Logistic & Milk run

Warodom Werapun
http://warodom.werapun.com
2 min readJan 16, 2017

การขนส่งสินค้า (Logistic) คือการให้บริการนำสินค้า ข้อมูล หรือทรัพยากร จากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่ง เช่น ส่งจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ, ส่งจากผู้ผลิตไปยังผู้ขาย, ส่งจากผู้จัดหาวัตถุดิบไปยังผู้ผลิต เป็นต้น

การขนส่งสินค้า แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ

  1. Direct shipment เป็นการส่งจากต้นทางไปยังปลายทางโดยตรง โดยจะไม่แวะเพิ่มหรือลดสินค้าระหว่างทาง เช่น ส่งจากผู้ขาย ไปยัง ลูกค้าโดยตรง วิธีการแบบนี้ จะรวดเร็ว แต่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากกว่า ต้องเตรียมพนักงานขนส่งไว้มาก และระยะทางขนส่งจะต้องไม่ไกลมากเกินไป
  2. Milk runs เป็นการส่งจากต้นทางโดยรวมสินค้าจากผู้ให้บริการหลายราย ไปส่งไปยังผู้รับบริการปลายทางหลายราย โดยที่ปลายทางจะอาจจะเตรียมบรรจุภัณฑ์ไว้สำหรับสินค้า ที่ผู้ส่งจะนำกลับไปใช้ใหม่ ซึ่งมีข้อดี คือ สามารถ สลับสินค้ากันได้เลย เช่นการส่งนม การส่งน้ำ ฯลฯ ที่จำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์บรรจุ
  3. Transportation with cross docking เป็นการส่งจากต้นทางไปยังจุดกระจายสินค้าหรือคลังสินค้า จากนั้น ก็กระจายจากคลังสินค้าไปยัง ผู้รับสินค้าที่อยู่ใกล้เคียงกัน ทำให้สามารถส่งสินค้าไปยังบริเวณใกล้เคียงถึงลูกค้าได้เร็วขึ้น แต่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบคลังสินค้าอยู่เสมอ

ทำไมต้อง Milk runs?

Milk runs เกิดจากแนวคิด ที่คนส่งนม ต้องนำขวดนมที่บรรจุเรียบร้อยไปส่งยังลูกค้าทุก ๆ เช้า เมื่อไปส่งเสร็จก็ต้องนำขวดเก่ากลับมาบรรจุใส่นมใหม่ เพื่อเตรียมไปส่งอีกรอบ จึงเป็นที่มาของวิธีการขนส่งแบบ Milk runs

Milk runs และ ระบบส่งน้ำ

ระบบส่งน้ำมีความใกล้เคียงกับ Milk runs เนื่องจากมีการกระจายสินค้าไปยังลูกค้าหลาย ๆ จุด ในลักษณะของการแลกเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ มีวัตถุประสงค์คือ มุ่งให้เกิดการขนส่งชิ้นงานในปริมาณน้อยแต่หลายเที่ยวได้อย่างคุ้มค่า มีข้อดีคือ ช่วยลดต้นทุนการจัดการ ความยุ่งยากของการขนส่ง โดยเลือกเส้นทางที่ใกล้ หรือมีประสิทธิภาพในการส่งสูงสุด ดังนั้น จึงสามารถกำหนดช่วงเวลารับของ ทำให้ช่วยลดปัญหาจราจร อีกทั้งยังประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง และลดปริมาณ CO2 ได้อีกด้วย

ตารางแสดงแผนการส่งน้ำในลักษณะของ Milk runs ประยุกต์จาก[1] เริ่มจากการประมาณปริมาณน้ำที่ต้องใช้ส่งสินค้า วางแผนเส้นทางการไปส่งน้ำ กำหนด ทีมพนักงานแต่ละคนที่ต้องไปส่งน้ำ ทบทวนการ ไปส่งน้ำในเส้นทางต่าง ๆ อีกครั้งให้ถูกต้องครบถ้วน และกำหนดเวลา ตารางเดินรถที่ต้องไปส่งที่แน่นอน

เพื่อปรับปรุงให้เวลาในการส่งมีประสิทธิภาพ มีความเที่ยงตรง ถูกต้อง รองรับการผลิตแบบ JIT (Just-In-Time) เพื่อให้มีความผิดพลาดน้อยที่สุด ตามกระบวนการดังนี้ [2]

Milk runs ถูกนำไปใช้กับการขนส่งโดยเฉพาะรถยนต์อย่างแพร่หลาย บริษัทโตโยต้า ก็นำ Milk runs ไปใช้ เช่นการรับอะไหล่สินค้าจาก Supplier (ผู้จัดหาวัตถุดิบ) ส่งไปยังผู้ผลิต [3] โดยมีการวางแผนการใช้รถขนส่งสินค้าในเส้นทางที่มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งไปยังโรงงานผลิตรถยนต์ หรือ อาจจะประยุกต์ใช้ในการบวนการขนส่งของคลังสินค้า (warehouses) [4] เป็นต้น

มีงานวิจัยที่นำ Milk run ไปใช้เพื่อลดปริมาณ CO2 โดยบริการใช้ชื่อว่า Valeo service [5] ใช้การบันทึกข้อมูลลำดับการส่งสินค้าโดยตรงจากผู้ส่งไปยังคลังสินค้า ของพื้นที่ต่าง ๆ หลายแห่ง และนำข้อมูลที่บันทึกนี้ มาใช้ในการคำนวนเพื่อหาเส้นทางที่ลดปริมาณการปล่อย CO2 จากรถที่ขนส่งสินค้า

อ้างอิง:

  1. M. Theeratham, M. Lohatepanont, “Vehical routing in milk run operations: A column generation based approach”, 2010
  2. G. S. Brar and G. Saini, “Milk run logisitcs: Literature review and directions”, Proceeding of the World Congress on Engineering 2011, Vol I, WCE 2011, July 2011, London, U.K.
  3. H. Akiyamaa and Y. Yaho, “Current conditions pertaining to truck deliveries to large retail stores in Japan and efforts to reduce them”, City logistics, 2008, pp.11–12
  4. M. Baudin, “Lean Logistics: The nuts and bolts of delivering materials and goods”, productivity press, 2005
  5. Valeo Activity report 2009

--

--