รีวิว Celer Network การแก้ปัญหาสเกลด้วย off-chain ที่ดีกว่าเดิม

WhenMoon
WhenMoon
Published in
6 min readJun 19, 2018

ถ้าหากความเร็วของ Blockchain สามารถไปถึงระดับ Internet ได้มันคงจะดีไม่น้อย

ปัญหาของ Blockchain

อย่างที่หลายๆคนคงรู็กันอยู่ว่า Blockchain นั้นมีปัญหาใหญ่ๆอยู่อย่างนึงก็คือเรื่องของการ scale เพื่อที่จะรองรับการทำธุรกรรมได้มากๆในแต่ละวินาที (TPS) และแน่นอนว่ามี ICO มากมายที่พยายามเข้ามาแก้ไขปัญหานี้ไม่ว่าจะเป็น Edenchain, Quarkchain, EOS และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งรวมไปถึง Celer ด้วยแต่ Celer จะเข้าไปแก้ปัญหาในทิศทางที่แตกต่างออกไปจาก ICO ตัวอื่นๆตรงที่ Celer จะเข้าไปแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการสร้างระบบ off-chain (Layer 2) ที่สามารถใช้ได้กับทุก Blockchain แทนที่จะสร้าง Blockchain ตัวใหม่ๆขึ้นมา

การที่เราจะได้มาซึ่งการ scale ที่สามารถทำ TPS ได้สูงๆมันก็ต้องมีสิ่งอื่นที่แลกมาก็คือเรื่องของความเป็น decentralized ถ้าเราสังเกตเหรียญหลายๆเหรียญในระบบที่มี TPS มากๆเช่น NEO, EOSพวกนี้จะมีความ decentralized ที่น้อยกว่า ETH

Internet นั่นมีความเร็วในระดับที่สูงมากๆ Internet สามารถทำสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้ใน 1 วินาทีเช่น รับส่ง email ได้ 2ล้าน ฉบับ, search Google ได้ 65,000 ครั้ง, เล่น Youtube ได้ถึง 72,000 view และ มีข้อมูลส่งไปมาใน internet มากถึง 53,000 GB ใน 1 วินาที ถ้าหากเราต้องการให้ Blockchain มี tps ในระดับเดียวกับ Internet สมมุติว่าข้อมูลมีขนาด 1 KB เราจำเป็นที่จะต้องมีถึง 53,000 ล้าน TPS

ทำไม Internet ถึง scale ได้ขนาดนั้นก็เพราะว่ามันไม่จำเป็นต้องรอให้ node อื่นๆในระบบยืนยันการทำธุรกรรมนั้นๆยังไงละ Celer เองต้องการจะนำระบบรูปแบบเดียวกันนี้มาใช้กับ Blockchain ก็คือการสร้างระบบ off-chain โดยสามารถใช้กับ Blockchain ใดก็ได้ โดย Celer ตั้งชื่อระบบนี้ว่า Off-chain Operating Network ตามรูปข้างล่าง

ICO ตัวนี้ทำอะไร

Celer ต้องการสร้างระบบ off-chain หรือที่เรียกกันว่า Layer 2 โดย Celer สามารถใช้ได้กับทุก Blockchain และนี้เองที่ให้เอง Celer ต่างกับวิธีแก้ปัญหาในปัจจุบันอย่าง Lightning Network (BTC), Trinity (NEO) และ Plasma (ETH) ที่แต่ละตัวจะเข้าไปแก้ปัญหาเฉพาะ Blockchain ใด Blockchain นึง

ในระบบของ Celer นั้นจะมีการใช้ตัวย่อนำหน้าระบบต่างๆด้วยตัว c ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์แล้ว ตัว c (Celeritas) นั้นเป็นตัวย่อของความเร็วแสง อย่างเช่นในระบบ off-chain Operating Network หรือ Celer Network นั้นจะแบ่งออกได้เป็น 4 layers หลักๆคือ cChannel, cRoute, cOS และ cApps เรียกรวมๆกันว่า cStack โดยระบบนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก layers ของ Internet นั่นเอง

โครงสร้างของ Celer Network

cChannel

cChannel เป็น layer แรกของระบบใช้ติดต่อกับ Blockchain ที่เป็น on-chain และส่งข้อมูลต่างๆไปให้กับ layer บนๆที่ทำงานแบบ off-chain โดย cChannel มี feature หลักๆดังนี้

  • Generalized dApp support beyond simple payment: มันคือ DAG ที่รองรับ state ของ smart contracts รันอยู่บน state channels และ side chains ด้วยเหตุนี้เองทำให้ Celer สามารถรองรับการรัน dApp ต่างๆได้ไม่ใช่แค่การจ่ายเงิน เช่น เกม, การประมูลออนไลน์, dex เป็นต้น
  • Multi-hop state relay: cChannel จะใช้ Sprite เพื่อรองรับ atomic time lock เราสามารถทำธุรกรรมที่มี state ผ่านคนกลางได้ไม่ใช่แค่การจ่ายเงินแบบ Lightning network ตัวอย่างเช่น A อยากเล่นเกมหมากรุกกับ B โดยสามารถเล่นผ่าน C และให้เป็นคนกลางให้ได้
  • Out-of-box conditional payments: cChannel จะมาพร้อมกับ features มากมายที่ถูก pre-compiled ไว้เรียบร้อยแล้ว
  • Reduced liquidity locking with “sidechain-like” channels: ในระบบ lightning network เมื่อเราเข้าใช้งานระบบ เหรียญที่เรากำหนดไว้ตอนแรกว่าจะนำเข้าระบบเท่าไร จะถูกล็อคไว้จนกว่าเราจะออกจากระบบ cChannel นั่นจะช่วยลดจำนวนเหรียญที่ถูก lock ไว้ตอนเข้าใช้งานระบบเพื่อเพิ่ม liquidity ให้ระบบ โดยการนำ sidechains มาใช้ควบคุ่กับ state channels
  • Dependency DAG traversal off-chain protocols: ทำหน้าที่เป็นตัวจัดการกับ state ต่างๆของระบบ เช่นในเกมหมากรุก จะมีหน้าที่บอกว่าใครชนะ ใครแพ้ แต่ละฝ่ายเสียหมากอะไรไปกี่ตัวแล้วบ้าง เพราะแบบนี้ Celer จึงสามารถสร้าง dApps ต่างๆได้หลากหลาย
  • Formal specification and verification: Celer จะเขียนโค้ดอย่างรัดกุมและปลอดภัยโดยการรวม formal specification และ verification ของ on-chain contracts และระบบ off-chain เข้าด้วยกัน

นอกจากระบบที่กล่าวมาแล้วทาง Celer ยังมีระบบอื่นๆอีกมากมายที่ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดออกมาได้แก่ dynamic deposit/withdrawal, cross-channel deposit swap, on-chain settle congestion avoidance

cRoute

State routing (เรียกว่า payment routing ในกรณีที่การทำธุรกรรมนั่นๆไม่มีเงื่อนไขใดๆพิเศษ) นั่นเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้าง network เพื่อเชื่อมต่อ users เข้าด้วยกัน นอกจากนี้ state routing ยังเป็นส่วนสำคัญที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของ network ซึ่งหมายถึง ความเร็วและจำนวน transactions ที่สามารถไหลผ่าน network ได้

Algorithm ที่ระบบ off-chain ในปัจจุบันอย่าง LN หรือ Raiden Network ใช้นั่นคือ “shortest path routing” แต่ Celer บอกว่าวิธีการดังกล่าวนั้นไม่ได้ประสิทธิภาพ และทาง Celer ได้คิดค้น algorithm ใหม่ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับระบบของ Celer โดยเฉพาะ

ผลการทดสอบในระบบ simulator ที่ cRoute ทำความเร็วได้มากกว่าถึง 15 เท่าเมื่อเทียบกับ Algorithm เก่าๆ

cRoute นั้นมี features หลักๆคือ

  • Provably optimal: จากผลการทดสอบ payment ใน simulator algorithm ของ cRoute นั้นสามารถทำความเร็วได้มากกว่าวิธี “shortest path” ถึง 15 เท่า
ตัวอย่าง network ของระบบ off-chain
  • Transparent channel balancing: ในกรณีที่เกิด transactions มากๆกับ user คนใดคนหนึ่งระบบ cRoute จะจัดการสร้างเส้นทางใหม่ไปหา user คนอื่นทันทีเพื่อให้เกิดความสมดุลของระบบ ไม่ให้ user คนใดคนนึงเกิด transactions ที่มากจนเกินไป จากรูปบนจะเห็นว่า Jane นั่นมีคนติดต่อให้เป็นคนกลางเอาไว้สั่งสินค้าจากร้านค้าหลายคน ในกรณีแบบนี้ ระบบจะหาเส้นทางใหม่ให้กับ Bill เพราะว่า Bill สามารถสั่งสินค้าผ่านทาง Bill > Alex > Rose ได้เพื่อไม่ให้ Jane มี transactions ที่มากเกินไป
  • High failure resilience: cRoute มีความยืดหยุ่นในการหาเส้นทางสำหรับ users ให้เชื่อมต่อกันเพราะโดยธรรมชาติของ cRoute จะมีการปรับตัวและหาเส้นทางไว้หลายๆเส้นทาง ถ้าเส้นทางใดไม่สำเร็จจะเปลี่ยนไปอีกเส้นทางทันที

อย่างในรูปภาพด้านบน Bill ต้องการสั่งสินค้าจากร้านค้า cRoute จะเตรียมเส้นทางไว้หลายเส้นทางเช่น

Bill > Jane

Bill > Alex > Rose

Bill > Alex > Dan > Helen > Sandy เป็นต้น

ที่มีหลายเส้นทางเพื่อเผื่อเอาไว้ในกรณีที่เส้นทางใดเส้นทางนึงเกิดคนกลาง offline ไปหรือหายไปทำให้เส้นทางนั้นไม่สามารถดำเนินการได้

cOS

การสร้าง dApp บน on-chain สามารถสร้างได้ไม่ยากเลย แต่เมื่อมาอยู่ในระบบ off-chain นั้นจะสร้างยากกว่าเยอะด้วยเหตุผลหลายๆอย่าง แต่ว่าใน cOS จะรับมือกับปัญหาเหล่านี้เอง และนอกจากนี้ cOS ยังมี framework และ runtime ให้ dev ใช้พัฒนา scalable off-chain dApps

หลายคนอาจจะคิดว่าต้องยุ่งยากแน่เลยถ้าเราจะนำ dApps ที่เราเขียนอยู่แล้วบน on-chain มาใช้บนระบบ Celer Celer บอกว่าการย้าย dApps จาก on-chain มา Celer นั้นสามารถทำได้อย่างง่ายดาย เพราะ Celer จะจัดการกับปัญหาที่ยุ่งยากหลายๆอย่างให้เอง

สรุป: ตอนเราเข้าใช้งานระบบ Celer เราเชื่อมต่อผ่านทาง cChannel หลังจากนั้น cRoute จะทำหน้าที่เชื่อมต่อเราเข้ากับผู้คนในระบบ และหลังจากที่เราเชื่อมต่อกับทุกคนและเข้าใช้งานระบบ Celer เรียบร้อยแล้ว cOS เปรียบเสมือนแหล่งที่ให้เราโหลด cApps (dApps ในระบบ Celer) ที่มีคนสร้างไว้แล้วหรือเอาไว้ให้เราพัฒนา cApps

นอกเหนือจากระบบต่างๆที่กล่าวไปแล้วอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือเรื่องของ ecosystem ของเหรียญ ICO แนวๆ infra ส่วนใหญ่เหรียญในระบบแทบจะไม่มีประโยชน์อะไรเลยนอกจากเป็นค่าเงินที่ใช้โอนหากัน Celer ได้มองเห็นปัญหาตรงส่วนนี้และได้สร้างระบบ ecosystem ของตัวเองเพื่อให้เหรียญของ Celer มีค่ามากกว่าแค่เป็นค่าเงินที่ใช้โอนหากัน และระบบนี้ชื่อว่า cEconomy

ก่อนที่เราจะไปพูดถึงตัว cEconomy เรามาพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบ off-chain ในปัจจุบันกันก่อนดีกว่า

ปัญหาของ off-chain

Liquidity

Liquidity หรือ สภาพคล่อง คือปัญหาอย่างแรกที่เกิดขึ้นกับระบบ off-chain เลย สมมุติเราต้องการเปิด channel off-chain กับร้านกาแฟเป็นเวลา 1 เดือนและแต่ละวันเราจะใช้จ่าย 0.1 btc เราไม่สามารถที่จะค่อยๆฝากเงินเข้าไปได้ทีละนิดหน่อย แต่เราต้องฝากเข้าตั้งแต่ตอนเปิด channel เลย 3 btc ซึ่งทำให้ไม่เกิด liquidity กับระบบเลย นอกจากนี้การเป็นผู้ให้บริการ state channel (user ในระบบที่ต้องการตั้งตัวเป็นคนกลาง) อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นที่จะต้องมี liquidity ที่สูงแต่ในระบบ off-chain ปกติไม่สามารถทำแบบนั้นได้

Availability

ในระบบ off-chain นั้นผู้ที่เข้าไปใช้งานในระบบจำเป็นที่จะต้องมีการออนไลน์อยู่ตลอดเวลา เพราะว่าถ้าหากมีการ offline เกิดขึ้น อาจจะเกิดช่องโหว่ให้ คู่ค้าที่เปิด channel กับเราโกงเราได้ เช่น Carl สั่งซื้อของผ่าน Jane 2 ครั้ง แต่วันดีคืนดี Jane ดันหายไปไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตามเช่น เน็ตดับ เครื่องเซิฟล่ม หรือเสียชีวิต Carl อาจจะพยายามที่จะปิด channel โดยการใช้ transactions เก่าที่มีการสั่งสินค้าไปแค่ครั้งเดียว

cEconomy

3 ส่วนประกอบสำคัญใน cEconomy

เอาละพูดถึงปัญหาของ off-chain ให้เห็นกันไปแล้วที่นี้ก็มาดูวิธีการแก้ไขปัญหาของ Celer กันว่าเขาจะทำอย่างไร Celer ได้แบ่งระบบ cEconomy ออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆด้วยกันดังนี้

Proof of Liquidity Commitment (PoLC)

ส่วนนี้จะทำงานคล้ายๆกับการ stake ทั่วๆไปคือ เราจะต้องฝากเหรียญ (ETH, BTC หรือ อื่นๆ) เข้าระบบและล็อคไว้ ตามจำนวนวันที่เรากำหนดไว้ ในกล่องที่ชื่อว่า Collateral Commitment Contract (CCC)

CCC จะมีหน้าที่เป็นกล่องที่เอาไว้ขุดเหรียญ CLN (เหรียญของ Celer Network) โดยกำลังการขุดจะคำนวณจาก จำนวนเหรียญที่ฝาก * เวลาที่ล็อคเหรียญที่ฝากเข้าระบบ

Liquidity Backing Auction (LiBA)

ในระบบของ Celer ถ้าหากคนที่ตั้งตัวเป็นผู้ให้บริการ state channel (คนกลางในระบบนั่นเอง) คนไหนที่มี liquidity ไม่เพียงพอต่อการให้บริการ เช่น Jane เปิด channel ซื้อขายไว้กับร้านค้าตอนแรก 20 eth แต่ว่า Jane ดันมีคนต้องการซื้อของจากร้านค้าผ่าน Jane เยอะพอยอดเงินที่ตอนแรก Jane เปิด channel ไว้เกิน 20 eth Jane ก็ต้องปิดและเปิด channel ใหม่ซึ่งมันทำให้เสียเวลาและลำบาก Jane สามารถไปตั้งการประมูลเพื่อขอยืมเหรียญจากคนที่เข้ามาใช้งานระบบ Celer ได้

การเปิดประมูลนั้น Jane สามารถกำหนด จำนวนเหรียญที่ต้องการ + ระยะเวลาที่ต้องการจะยืมได้ ส่วนผู้จะให้ยืม (lenders) ก็ต้องแข่งกันประมูลโดยผู้ที่จะให้ยืมต้องส่งข้อมูลการประมูลซึ่งได้แก่ ดอกเบี้ยที่จะคิด, จำนวนเหรียญที่จะให้ยืม และ จำนวน CLN ที่จะ stake (หรือนำไปเผาในกรณีที่จำนวน circulate ในระบบมากเกินระบบกำหนด) ถ้าหากผู้ให้ยืมให้ข้อเสนอที่เหมือนกัน ก็จะดูจากจำนวน CLN ว่าใครจะ stake มากกว่ากันคนนั้นก็จะชนะการประมูล โดยกระบวนการประมูลนี้จะเกิดขึ้นผ่าน CCC นั่นเอง

State Guardian Network (SGN)

SGN มีหน้าที่คอยดูแล state ของ user ในระบบในกรณีที่ user คนนั้นๆเกิดการ offline เพื่อป้องกันการโกงของคู่ค้าที่เปิด channel ไว้ด้วยอย่างที่กล่าวไปในเรื่อง Availability ที่เป็นปัญหาของ off-chain

คนที่จะมาเป็น guardian ตรงนี้นั้นสามารถทำได้โดยการ stake เหรียญ CLN นั่นเอง ส่วน user นั้นสามารถส่ง state ของตัวเองไปให้กับ guardian เพื่อคอยดูแลให้เราได้โดยจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเล็กน้อยและกำหนดระยะเวลาที่จะให้ guardian ดูแล state ให้เราเวลาที่เรา offline ทำให้คู่ค้าของเราไม่สามารถโกงเราได้นั่นเอง

สรุป: จากระบบ cEconomy จะเห็นว่า PoLC กับ LiBA จะทำหน้าที่เพิ่มความคล่องตัวให้กับคนที่จะมาเป็นคนกลางในระบบ ส่วน SGN นั่นจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการเอารัดเอาเปรียบจากการที่มี user offline ไปจากระบบนั่นเอง

นอกจากนี้เราก็มี Demo ของทาง Celer มาให้ดูกันว่าระบบของเขาเป็นยังไง โดยเพื่อนๆสามารถเข้าไปอ่านบทความเต็มๆได้ ที่นี่

และทั้งหมดนี้ก็คือระบบ หลักๆทั้งหมดของ Celer (ยาวเหลือเกิน xD) ถ้าใครอ่านหมดจนจบผมคิดว่าน่าจะพอมองเห็นภาพว่าสิ่งที่ Celer กำลังทำอยู่นั้นมันน่าจะเป็นทางออกที่ดีทางนึงของการแก้ปัญหา scaling ที่เป็นปัญหาใหญ่เลยของ blockchain

Token Metric

ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูล

Token ใช้ทำอะไร

- ขุดได้จากการ stake เหรียญอื่นๆเข้าระบบ CCC

- ใช้ในการยื่นข้อเสนอสำหรับผู้ต้องการให้ยืมเหรียญในระบบ LiBA

- ใช้ stake เพื่อเป็น guardian ในระบบ SGN

Team

ทีมของ Celer นั้นประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญมากมายจากหลายหลายสาขา และแต่ละคนก็มีโปรไฟล์ที่ไม่ธรรมดากันเลย

Dr. Mo Dong Co-founder

จบ Ph.D. จาก มหาวิทยาลัย Illinois (UIUC) เคยเป็นหัวหน้าวิศวะและ Product Manager ที่ Veriflow และทำงานด้าน network formal verification นอกจากนี้อัลกอรึทึม formal verification ที่ Dr. Dong คิดค้นยังช่วยป้องกันปัญหาด้าน network security ให้กับบริษัทชั้นนำถึง 50 บริษัท และยังเป็นผู้เชี่ยวชาญในการนำ อัลกอริทึมเกมไปใช้งานจริง

Dr. Junda Liu Co-founder

จบ Ph.D. จาก UC Berkeley เป็นคนแรกที่เสนอและพัฒนาระบบ routing โดยใช้ DAG Dr. Liu เคยทำงานที่ google ในปี 2011 เป็น tech lead และได้สร้างระบบ network ให้กับ datacenter ของ google และ ในปี 2014 ได้เป็นผู้ก่อตั้งโปรเจ็ค Fi ของ google นอกจากนี้ยังเป็นหัวหน้าฝ่าย Android สำหรับการขนส่ง ที่มีการใช้งานอุปกรณ์มากถึง 1.5 พันล้านเครื่อง

Dr. Xiaozhou Li Co-founder

จบ Ph.D. จากมหาวิทยาลัย Princeton มีผลงานวิจัยทางด้าน distributed systems, networking, storage และ data management Dr. Li มีความเชี่ยวชาญทางด้าน การพัฒนา scalable algorithms และ protocol ที่มีประสิทธิภาพสูงโดยใช้งบน้อย ซึ่งบางผลงานได้กลายเป็นส่วนสำคัญของผลงานใหญ่ๆเช่น Google TensorFlow และ Intel DPDK packet processing framework นอกจากนี้ยังเคยทำงานเป็นวิศวกรที่ Barefoot Networks

Dr. Qingkai Liang Co-founder

จบ Ph.D. จาก MIT สาขา distributed systems มีความเชี่ยวชาญในการทำ optimise network control algorithms ผลงานของ Dr. Qingkai ยังถูกนำไปใช้ในบริษัทต่างๆเช่น Raytheon BBN Technologies และ Bell Labs

Advisor

Dr. Christos Kozyrakis Technical Advisor

เป็นอาจารย์คณะวิศวะไฟฟ้าและวิทยาการคอม อยู่ที่มหาวิทยาลัย Stanford และยังเป็นสมาชิกของ ACM และ IEEE

Dr. Alan Mishchenko Technical Advisor

ทำงานเป็นนักวิจัย อยู่ที่ UC Berkeley มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการสร้างเครื่องมือที่รวดเร็วและสามารถสเกลได้สำหรับการออกแบบระบบอัตโนมัติ และพัฒนาวิธีการคำนวณที่มีประสิทธิภาพสำหรับ logic synthesis และ formal verification

Dr. Shoucheng Zhang Advisor

เป็นอาจารย์สอน ฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัย Stanford และเป็นสมาชิกของ American Academy of Arts and Sciences และ the US National Academy of Science นอกจากนี้ยังเป็นประธานในกองทุนที่เขาก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2013 ที่ชื่อว่า Danhua Capital

โอกาสในการเติบโต

คู่แข่งที่ทำระบบ off-chain ระดับเดียวกับ Celer ตอนนี้ทางเรายังไม่เจอซักตัว แต่ตัวที่คิดว่าพอจะเป็นคู่แข่งได้ก็คือ Bloxroute เพราะเขาก็ต้องการแก้ไขปัญหา scale ของ Blockchain เช่นกันแต่เขาเลือกที่จะไปแก้ในระดับ Layer 0 แต่ Celer เลือกแก้ในระดับ Layer 2 แทน เพราะฉะนั้นถ้าหาก Celer สามารถทำให้สำเร็จได้แล้วละก็ น่าจะเป็นโปรเจ็คที่เติบโตได้สูงมากครับ

จุดแข็ง

  • มี demo ที่แสดงให้เห็นการใช้งานจริงบน testnet ของ eth แล้ว
  • เป็นการสร้างระบบแก้ปัญหา scaling ได้เหนือกว่า off-chain ปกติเพราะเป็นการสร้าง off-chain ที่ใช้ได้กับทุก blockchain
  • ทีมมีความรู้จากหลากหลายสาขา และมีความสามารถที่ไม่ธรรมดาเลยแต่ละคน

จุดอ่อน

  • ยังไม่มี Token Metric, Road map
  • Demo แสดงให้เห็นแค่ eth chain ทำให้ยังไม่แน่ใจว่าจะสามารถ implement กับ chain อื่นๆได้ตามที่ Celer บอกไหม
  • เวลาฝากเหรียญเข้าระบบ CCC เพื่อ stake เอาเหรียญ CLN ยังไม่ชัดเจนว่าจะคำนวณยังไงถ้าหากเราใช้เหรียญอื่นฝากแทนที่จะเป็น eth เพราะแต่ละเหรียญมูลค่าก็แตกต่างกันไป

สรุป

Celer Network เลือกที่จะสร้างระบบ off-chain ที่แตกต่างไปจากตัวอื่นๆเพราะเขาเลือกที่จะแก้ไขปัญหาในระดับที่สูงกว่า off-chain ตัวอื่นๆ ระบบของ Celer นั้นสามารถนำไปใช้กับ Blockchain ตัวใดๆก็ได้ และ Celer ยังมองเห็นปัญหาที่ระบบ off-chain ทุกวันนี้มีและเลือกแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้อย่างน่าสนใจ Celer ถือว่าเป็น ICO อีกตัวที่น่าสนใจมากๆครับ

When Moon: NOW

ถ้าหากชอบใจการรีวิวแบบนี้สามารถติดตามพวกเราได้ทาง

Facebook: https://www.facebook.com/whenmoonsoon

Telegram Chat: https://t.me/WhenMoon_th

Telegram News: https://t.me/WhenMoonNews_th

ติดตาม Celer Network ได้ที่

Web: https://www.celer.network/

Telegram: https://t.me/celernetwork

Twitter: https://twitter.com/CelerNetwork

Medium: https://medium.com/@CelerNetwork

นี่ไม่ใช่คำแนะนำในการลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุน (Do your own research)

--

--