รีวิว Certik การเขียน smart contract นั้นมีข้อบกพร่องมากเกินไป

WhenMoon
WhenMoon
Published in
2 min readJun 5, 2018

ในการเขียน smart contract นั้นเมื่อเราทำการ deploy ไปแล้วเราจะไม่สามารถแก้ไขได้ ถ้าหากว่าเกิด bug หรือมีช่องโหว่ให้ hacker แล้วละก็ อาจจะทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้เหมือนกับกรณีของ DAO ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2016 ที่สร้างความเสียหายถึง 50ล้าน usd จนทำให้ eth ต้องแตกออกมาเป็น eth และ etc และนี่เองคือสิ่งที่ CertiK เข้ามาแก้ปัญหา

ICO ตัวนี้ทำอะไร

CertiK จะเป็น platform ในการตรวจสอบหาบัคของ smart contract เวลาที่คนเขียนโค้ดแล้วเกิด ช่องโหว่ขึ้น ระบบของ CertiK จะมีการแจ้งเตือนและบอกทันทีว่ามีช่องโหว่ตรงส่วนไหนบ้าง

หลักการทำงานก็คือเมื่อเราต้องการต้องการที่จะตรวจสอบดูว่าโค้ดหรือระบบที่เราเขียนขึ้นมามีบัคไหม เราสามารถนำโค้ดทั้งชุดนั้นส่งเข้าไปยัง platform ของ CertiK และทำการเขียนด้วยภาษา label เพิ่มเติมดังในรูปข้างล่างตรงส่วนที่เป็น comment เพื่อเชคผลลัพธ์ที่จะออกมาจาก function นั้นๆ

โดยในอนาคตระบบ label นี้ทาง CertiK บอกว่าจะเป็นระบบอัตโนมัติที่ AI จะเป็นคนสร้างให้เราเองเมื่อเราใส่โค้ดเข้าไปในระบบของ CertiK

ตัวอย่างหน้าตาโปรแกรมของ CertiK

Token Metric

ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียด

Token ใช้ทำอะไร

ในระบบของ CertiK นั้นจะมีผู้มีส่วนร่วมในระบบทั้งหมด 5 ตำแหน่งโดยแต่ละตำแหน่งก็จะมีหน้าที่และความเกี่ยวข้องกับเหรียญที่ต่างกันไป

- Customers จะเป็นคนส่งโค้ดหรือโปรแกรมที่ต้องการเช็คไปยังระบบของ CertiK โดยการส่งเรื่อง ซึ่งเราจะเรียกสิ่งที่จะส่งนี้ว่า “proof objects” พร้อมกับแนบ เหรียญ CTK บางส่วนไปด้วยเพื่อเป็นรางวัลให้กับคนรับเรื่อง

- Bounty hunters มีหน้าที่แบ่งปันทรัพยากรในการประมวลผลให้กับระบบ CertiK และยังมีหน้าที่รับเรื่อง (proof objects) และกระจายเสียงในระบบ CertiK ซึ่งจะได้รับเหรียญ CTK ตามจำนวนที่ Customers แนบมา หลังจากนั้นก็จะรอให้ proof objects นั้นได้รับการยืนยัน เนื่องจากตำแหน่งนี้มีความสำคัญมาก คนที่จะได้รับหน้าที่ในตำแหน่งนี้จำเป็นจะต้องมีเหรียญ CTK มากพอตามที่ระบบกำหนดถึงจะเป็นได้

- Checkers หน้าที่คือจด transactions ที่เกิดขึ้น หรือเช็ค proof objects ที่มีการยื่นเรื่องมาจาก Bounty hunters โดย Bounty hunters จะได้รับ CTK ก็ต่อเมื่อ Checkers ยืนยัน proof objects นั้นๆแล้วและ Checkers ก็จะได้รับค่าตอบแทนเป็น CTK บางส่วนจากตรงนี้

- Sages มีหน้าที่เชื่อมต่อ proof engines กับระบบของ CertiK โดย Bounty hunters จะเป็นผู้ใช้งาน proof engines นี้เอง proof engine ก็คือส่วนของอัลกอริทึมที่ไว้ใช้ในการตรวจเช็คหาบัคของ smart contract นั่นเอง โดยจะได้รับค่าตอบแทนเป็น CTK ตามผลลัพธ์จาก engine เครื่องนั้นๆ

- Users ตำแหน่งนี้เหมาะสำหรับสาย dev ทั้งหลายที่สามารถเชื่อมต่อ library ของ CertiK เข้ากับ IDE เพื่อสร้าง DApp หรือระบบได้เลย โดยจะมีค่าใช้จ่ายเป็นเหรียญ CTK

Team

Prof. Ronghui Gu Co-founder ของ CertiK ปัจจุบันเป็นผู้ช่วย Prof. อยู่ที่มหาวิทยาลัย Columbia เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่อง formal verification ของโปรแกรมต่างๆ เคยเป็นผู้ช่วยวิจัยอยู่ที่มหาวิทยาลัย Yale และเป็นนักออกแบบและนักพัฒนาหลักของ CertiKOS

Prof. Zhong Shao Co-founder ของ CertiK เป็นหัวหน้าภาควิชา computer science อยู่ที่มหาวิทยาลัย Yale และเป็นผู้ก่อตั้ง FLINT ซึ่งเป็นกลุ่มที่พัฒนาโปรแกรมเกี่ยวกับการรับรองโดย ผลงานของกลุ่มนี้คือการสร้างระบบปฏิบัติการ CertiKOS

Dr. Vihelm Sjöberg ทำงานเป็นผู้ช่วยนักวิจัยอยู่ที่มหาวิทยาลัย Yale และ FLINT ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับ Prof. Zhong Shao

โอกาสในการเติบโต

ในตลาดตอนนี้คู่แข่งของ CertiK ก็จะมี QuantStamp แต่ว่าระบบของ QuantStamp จะเป็นการเช็คแบบ manual โดยคน ถึงแม้ในอนาคต QuantStamp เองก็จะพัฒนาระบบอัตโนมัติเหมือนกันแต่ถ้าตาม roadmap แล้วระบบของ CertiK จะพร้อมใช้งานก่อน QuantStamp

Red Flag

- ไม่มี advisor

- ไม่มี token metric

- ข้อมูลอาจจะไม่ open source ทั้งหมดทางทีมงานบอกว่าจะ open source แค่บางส่วนเท่านั้น

สรุป

CertiK ถือว่าเป็นโปรเจ็คอีกโปรเจ็คที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะปัญหาในด้านการเขียน smart contract นั้นยังคงมีอยู่เรื่อยๆและจะเพิ่มมากขึ้นอีก แถมคู่แข่งในตลาดด้านนี้ก็มีน้อยมากเพราะฉะนั้นถ้าหาก CertiK สามารถทำได้อย่างที่เขากล่าวไว้แล้วละ ก็น่าจะเป็นอีกโปรเจ็คที่ประสบความสำเร็จได้ไม่ยากครับ

นี่ไม่ใช่คำแนะนำในการลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุน (Do your own research)

When Moon: NOW

--

--