Scrum Master จะไปรู้เรื่อง Behavioural Economics เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ทำไมกัน?

Dark_Spirit (Warm)
WIP team
Published in
3 min readAug 8, 2018

วันก่อนครับ ผมได้มีโอกาสเข้าไปเรียนกับทาง Skooldio และมีอยู่คลาสหนึ่งที่น่าสนใจมาก เปิดกะลาผมได้ดีเลยคือ Behavioral Economics เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม

ผมเลยของหาข้อมูลประติดประต่อเอาเองและลองเชียนเป็นบนความนี้บนพื้นฐานของการค้นความเอง ดังนั้นหากมีประเด็นไหนที่ผิดพลาด ผมขอรบกวนช่วยบอกกล่าวได้เลยครับ

ทำอย่างไรนะ Website ของฉันถึงจะมีคน คลิก?

อะไรกันนะที่จะจูงใจและทำให้คนเข้ามาใช้ Product ของฉัน?

ถ้าเราจะออกแบบ Product อะไรสักอย่างเราก็อยากให้มีคนใช้มัน รักมัน ชอบมันใช่ไหมครับ ทีนี้มันก็มี ศาสตร์หลายอย่างที่นำมาใช้ครับ ซึ่ง Behavioral Economics เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ก็เป็นหนึ่งในนั้นครับ

อะไรคือ Behavioral Economics เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม?

Photo by Emily Morter on Unsplash

เศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ยุคปี ค.ศ. 1950 ซึ่งเป็นช่วงที่นักวิชาการตั้งข้อสงสัยกันมากว่าทฤษฎีเศรษฐศาสตร์คลาสสิคตามหลัก “เหตุและผล” ที่เรียนกันมาหลายร้อยปี มันใช้อธิบายโลกแห่งความเป็นจริงได้หรือ เพราะมนุษย์อย่างเราๆ ท่านๆ บ่อยครั้งที่ใช้ “อารมณ์และความรู้สึก” ไม่ใช่ “เหตุและผล” ในการตัดสินใจ

นักเศรษฐศาสตร์กลุ่มหนึ่งจึงเลือกที่จะศึกษาพฤติกรรมที่แท้จริงของมนุษย์เพื่อหาที่มาที่ไปของการตัดสินใจ

หลังจากนั้นนักเศรษฐศาสตร์เหล่านี้ก็เริ่มเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของคนมากขึ้น จนกระทั่งสามารถใช้ความรู้ดังกล่าวมา “ควบคุม” การตัดสินใจบางอย่างได้ ทำให้ผู้รู้บางท่านถึงกับเรียกศาสตร์นี้ว่าเป็น “เวทมนตร์” ที่จับต้องได้ทีเดียว

เป็นเช่นนี้จริงหรือ

ตัวอย่างของการใช้อารมณ์และความรู้สึก ไม่ใช่เหตุผลครับ

ลองให้ลูกค้าเลือกอัตราดอกเบี้ยบัตรเครติดดูครับ

  • ดอกเบี้ย 4.9% ต่อ 6 เดือน
  • ดอกเบี้ย 7.9% ต่อ 12 เดือน

ลูกค้าส่วนใหญ่เลือก ดอกเบี้ย 4.9% ต่อ 6 เดือน มากกว่าจ่าย ดอกเบี้ย 7.9% ต่อ 12 เดือน ซึ่งถ้าลองมองตามหลักเหตุผล ดอกเบี้ย 7.9% ต่อ 12 เดือน จะถูกกว่าครับ

หรือกรณี Placebo Effect

“คุณคิดว่ายาแก้ปวดตัวไหนดีกว่ากันระหว่าง

ยาแก้ปวด ก. ราคาเม็ดละ 3 บาท พบว่า 61% ของคนที่กินเข้าไปแล้วบอกว่าอาการปวดลดลง -> หลายคนคงบอกว่า อืมก็ “พอใช้ได้” นะ คนตั้งครึ่งกว่าน่ะที่กินแล้วปวดน้อยลง

VS

ยาแก้ปวด ข. ราคาเม็ดละ 75 บาท พบว่า 85% ของคนที่กินเข้าไปแล้วบอกว่าอาการปวดลดลง -> ฟังดูแล้วหลายคนคงบอกว่า “โอ้ว… ยานี้น่าจะดีกว่านะ สมกับราคาที่แสนแพง”

แต่ยาที่บอกว่าเป็นยาแก้ปวดทั้งสองตัวนี้จริงๆ แล้วเป็นแค่แป้งอัดเม็ดทั้งคู่ ไม่ได้มีตัวยาแต่อย่างใด!!!

และนี่เป็นผลการทดลองทางการแพทย์ที่ตีพิมพ์ลงใน JAMA วารสารการแพทย์ชื่อดังในปี 2008

เห็นหรือยังครับว่าเราไม่ใช่พวกใช้เหตุและผลตัดสินใจตลอดเวลาหรอก

การทำความเข้าใจเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม โดยเริ่มต้นควรเริ่มจากการศึกษาว่าคนเรามีกระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจอย่างไร เราอาจแบ่งกระบวนการคิด (cognitive systems) ออกเป็น 2 ระบบ ได้แก่

  • System 1 ระบบอัตโนมัติ (automatic system)
  • System 2 ระบบไตร่ตรอง (reflective system)

System 1 ระบบอัตโนมัติ (automatic system)

ระบบอัตโนมัตินั้นเน้นใช้สัญชาตญาณ คือเราตัดสินใจหรือกระทำสิ่งใดไปด้วยความรวดเร็วแบบไม่มีการไตร่ตรอง ดังนั้น ระบบนี้จึงมีลักษณะที่ควบคุมยาก (uncontrolled) ไม่ต้องพยายาม (effortless) เน้นความเกี่ยวข้องกับสิ่งรอบข้าง (associative) รวดเร็ว (fast) ไม่รู้สึกตัวว่ากำลังคิดอยู่ (unconscious) และใช้ความชำนาญ (skilled)

System 2 ระบบไตร่ตรอง (reflective system)

ระบบไตร่ตรองนั้นเน้นการคิดวิเคราะห์ คือเราต้องตั้งใจจึงจะสามารถตัดสินใจได้ถูกต้อง ระบบนี้จึงมีลักษณะที่เราสามารถควบคุมได้ (controlled) ใช้ความพยายาม (effortful) ใช้การอนุมาน (deductive) ทำได้ช้า (slow) รู้ตัวว่ากำลังคิดอยู่ (self-aware) และทำตามกฎเกณฑ์หรือหลักการ (rule-following)

นอกจากนี้ บุคคลยังมีข้อจำกัดในกระบวนการคิด นั่นคือ เรามีความสามารถที่จำกัดในการประมวลผลข้อมูล จำนวนการตัดสินใจที่ทำได้ การตัดสินใจในเวลาจำกัดรวมถึงความทรงจำ ยิ่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องมีมากและซับซ้อน จำนวนการตัดสินใจที่มีมาก มีเวลาให้กับสำหรับการตัดสินใจน้อย และความมีความจำที่ไม่ดีนัก สิ่งเหล่านี้จะผลักดันให้เราหันไปใช้หลักการตัดสินใจแบบหยาบๆ (rule of thumbs) หรือการสุ่มเดา (randomness) มากขึ้น ทำให้การตัดสินใจของคนจำนวนมากมักใช้ระบบอัตโนมัติมากกว่าระบบไตร่ตรอง

ยกตัวอย่างการขับรถ: ถ้าคุณเป็นคนที่ชับรถมานานแล้วขับรถจากบ้านไปที่ทำงานเป็นประจำ เวลาคุณ Start รถและเริ่มชับออกไป คุณจะปล่อยมือช้างเดียวบ้าง เหม่อบ้าง ร้องเพลงบ้าน กินข้าว ดูมือถือ หรือบางคนแต่งหน้า นี่คือการที่คุณใช้ System 1 แต่ถ้าเมื่อไหร่ฝนตก หรือไปที่ใหม่ที่ไม่คุ้นเคย หรือเปลี่ยนรถ System 2 ของคุณจะทำงานทันที

พวกเรามนุษย์ทั้งหลายใช้ System 1 และ System 2 ควบคู่กันไปในชีวิตประจำวันครับ

ทางการตลาด แขนงวิชาที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม คือ ทฤษฎีพฤติกรรมการตัดสินใจ หรือ Behavioural Decision Theory ซึ่งมีกรณีศึกษาน่าสนใจดังนี้ครับ

Photo by Irina Grigoraş on Unsplash

“โยเกิร์ตรสสตรอเบอรี่”

ศาสตราจารย์ Brian Wansink แห่งมหาวิทยาลัย Cornell ทดลองให้ผู้บริโภคชิม โยเกิร์ต 2 ถ้วยต่างยี่ห้อกันโดยทั้งสองถ้วยมีฉลากระบุว่าเป็น “โยเกิร์ตรสสตอเบอรี่” แล้วให้ตอบคำถามที่ว่าโยเกิร์ตยี่ห้อเอหรือบีมีรสชาติสตอเบอรี่มากกว่ากัน และมากกว่ากันอย่างไร

คิดว่าไงครับ ส่วนใหญ่ผู้เข้าการทดสอบสามารถเลือกและบอกเหตุผลได้ว่าถ้วยไหนมีรสชาติสตอเบอรี่มากกว่ากัน แถมบางคนยังบอกเหตุผลลึกๆ ไปได้ด้วยว่ามากกว่ายังไง เช่น “ถ้วยแรก มีกลิ่นมากกว่า” หรือ “ถ้วยสองใช้สตอเบอรี่สด”

แต่ครับแต่ โยเกิร์ตที่เอามาทดลองมันเป็นยี่ห้อเดียวกันฮะ แป่วววววว เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วรสชาติมันไม่ควรต่างกันใช่ไหมฮะ แถมตอนเฉย ยังบอกด้วยว่า “โยเกิร์ตที่ให้ทดสอบนั้น รสวานิลาผสมช็อคโกแลต ที่ไม่มีส่วนผสมของสตอเบอรี่แม้นแต่น้อย

ที่เป็นอย่างนี้เพราะว่า ผู้ทดลองได้สร้างความคาดหวังไว้ที่ฉลากของถ้วยว่าเป็นรสสตอเบอรี่ แถมตอนให้ทำการทดสอบยังถามคำถามเกี่ยวกับเรื่องรสชาติของสติเบอรี่อีก ทำให้ประสาทรับรสของผู้เข้าทดสอบเพี้ยนไปชนิดจับต้นชนปลายกันไม่ถูก

ผลการวิจัยเช่นนี้ตอกย้ำความสำคัญของการเลือกการสื่อสารการตลาดที่มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การโฆษณาประชาสัมพันธ์ไปจนถึงการสื่อสาร ณ จุดขาย ซึ่งรวมไปถึงการเลือกข้อความบนฉลากที่เหมาะสม

เอาเป็นว่าคนที่สื่อสารการตลาดเก่งๆ จะถึงขั้นสามารร่ายเวทมนตร์ให้โยเกิร์ตวานิลาช็อคโกแลตกลายเป็นรสสตรอเบอรี่ได้ก็แล้วกัน

Photo by Fancycrave on Unsplash

“เงินหายได้ ตั๋วหายไม่ได้”

สมมติว่าขณะนี้ท่านอยู่หน้าโรงละคร ในกระเป๋าสตางค์ของท่านมีตั๋วละคร Phantom of the Opera ที่กำลังโด่งดังมูลค่า 4,000 บาท และมีสตางค์ติดกระเป๋าอยู่อีก 4,000 บาท ขอให้ท่านกรุณาตอบคำถามต่อไปนี้

1. หากท่านพบว่าตั๋วละครหล่นหายไปท่านจะนำสตางค์ 4,000 บาทที่มีอยู่ไปซื้อตั๋วใหม่เพื่อเข้าชมละครหรือไม่

2. หากท่านพบว่าสตางค์ 4,000 บาทหล่นหายไป ท่านจะยังเข้าไปชมละครหรือไม่

ถ้าท่านตอบว่าอาจจะ “ไม่ซื้อ” ตั๋วใหม่ในข้อที่ 1 แต่เข้าชมละครอย่างแน่นอนในข้อที่ 2 แสดงว่าทฤษฎีเศรษฐศาสตร์คลาสสิกอธิบายพฤติกรรมท่านไม่ได้ครับ

ถ้าตัดสินใจเข้าชมละครอย่างแน่นอนเมื่อสตางค์หล่นหาย ท่านก็ควรซื้อตั๋วใหม่อย่างแน่นอนเมื่อตั๋วหายด้วย เพราะผลลัพธ์จากการตัดสินใจทั้งสองนั้นเท่ากัน คือ ท่านจะได้ชมละครโดยไม่เหลือสตางค์

ศาสตราจารย์ Richard Thaler แห่งมหาวิทยาลัย Chicago เจ้าของคำถามก้องโลกข้างต้นอธิบายถึงพฤติกรรมที่ผิดไปจากหลักเศรษฐศาสตร์คลาสสิกนี้ว่า เกิดจากการคิดคำนวณของผู้บริโภคที่ “แยกงบประมาณ” การใช้จ่ายไว้ในใจเป็นหัวข้อๆ (Mental Accounting) เมื่อจ่ายค่าตั๋วละครไปมากจนหมด “งบนันทนาการ” แล้วก็จะไม่ยอมเสียสตางค์เพิ่มอีก

เมื่อนักการตลาดทราบเช่นนี้แล้วต้องสามารถสร้างให้สินค้าของตนใช้งบประมาณจากลูกค้าได้หลากหลายหัวข้อ เพื่อสร้างโอกาสการขายที่มากขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์รังนก นอกจากจะวางตำแหน่งสินค้าเพิ่งดึงเงินจากงบประมาณ “ของขวัญของกำนัล” แล้วยังพยายามดึงเงินจากงบประมาณ “รักษาสุขภาพ” และ งบประมาณ “เลี้ยงดูบุพการี” จากลูกค้าด้วย

Photo by Evan Dennis on Unsplash

“คำถามสร้างสุข (ทุกข์)”

กรุณาตอบคำถามต่อไปนี้
1.ในช่วงเดือนที่แล้วท่านไป “เดท” กับคนรักมากี่ครั้ง?

2.ในช่วงเดือนที่ผ่านมาท่านมีความสุขมากแค่ไหน (จาก 1 = น้อยที่สุด ถึง 10 = มากที่สุด)

ศาสตราจารย์ Norbert Schwarz แห่งมหาวิทยาลัย Michigan และคณะ พบว่า ยิ่งท่านตอบว่ามีจำนวนเดทในข้อที่หนึ่งมากเท่าใด คะแนนในข้อที่สองจะยิ่งมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ซึ่งก็ไม่แปลกนัก

เรื่องมากลับตาลปัตรที่ตรงว่าเมื่อสลับคำถาม โดยถามเรื่องความสุขก่อนที่จะถามจำนวนเดทในเดือนที่ผ่านมา คะแนนความสุข “ไม่” เป็นไปในแนวทางเดียวกับจำนวนการเดท

ทั้งนี้เพราะคำถามข้อที่หนึ่งทำให้ผู้ตอบคำถามถูก “จูงให้คิดหมกมุ่น” อยู่แต่เฉพาะเรื่องเดียว คือ การเดท จึงให้คะแนนความสุขผ่านจำนวนเดทในเดือนที่ผ่านมาของตนโดยไม่ได้ใส่ใจเรื่องที่ทำให้สุข-ทุกข์อื่นๆ นัก

รู้เช่นนี้แล้วนักเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมจึงสามารถความคุมอารมณ์ของคนได้ง่ายๆ และนักการตลาดเองก็สามารถนำความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความสุขแก่ลูกค้าได้โดยการผูกโยงความรู้สึกดีของแต่ละบุคคลเข้ากับการใช้สินค้า และบริการของท่าน

จริง ๆ แล้ว ยังมีเรื่องราวการนำเอาเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม มาต่อ ยอดใช้ต่อกับการออกแบบ Product ของเราด้วยนะครับ ซึงจะขออนุญาติยกยอดไปในบทความถัดไป

ถ้าไม่อยากพลาดบทความที่พออ่านได้ อยากฝากติดตาม WIP Team ทาง Link นี้นะครับ

ปล. ฝากปรบมือเป็นกำลังใจหน่อยนะ

Photo by Edwin Andrade on Unsplash

credit: www.facebook.com/marketing1081009 https://medium.com/@treewanchai

--

--

Dark_Spirit (Warm)
WIP team

From ITSupport to PM jump into Agile world as a SM. The Agile Coach who passionate on Product development, Agile , Transformation ,UX, Service design.