สอนว่ายน้ำ ไม่ควรถีบตกน้ำ มารู้จัก “การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์” กันนะ

Dark_Spirit (Warm)
WIP team
Published in
2 min readAug 20, 2019

ตอนเด็กๆ ว่ายน้ำไม่เป็น เราก็จะหาครูสอนว่ายน้ำเนอะ

แล้วครูสอนว่าน้ำสอนเราอย่างไรนะ

ที่แน่ๆ เค้าคงไม่ถีบเราตกน้ำ แล้วดูเราตะเกียตะกาย จมน้ำสำลักน้ำ จนเราว่ายน้ำเป็นแน่ๆ

ครูคงต้องบอกวิธีการ ลอยตัว วิธีการหายใจ วิธีการเอาตัวรอดถ้าจมน้ำ สอนแต่ละท่าของการว่ายโดยบอกถึงวัตถุประสงค์ของการใช้มือ ใช้ขา

และสุดท้ายสิ่งที่ทำให้เราว่ายเป็นก็คือการ “ลงมือว่ายน้ำ”

Photo by Artem Verbo on Unsplash

ถ้าคุณเป็น Lead เป็น Coach หรือ เป็นใครก็ตามที่มีหน้าที่สอน แนะนำ หรือ ทำความเข้าใจให้กับทีม แล้วเมื่อก่อนเวลาสอน น้องๆ ใช้วิธี

  • เอาหนังสือไปอ่าน
  • เรียนรู้เองสิ
  • ไปถามคนโน้นดูไป

แล้วคาดหวังว่าเค้าจะเข้าใจรู้เรื่อง และเอามาทำได้ผลงานที่ดี มันออกจะใจร้ายไปหน่อยนะ

ถ้างั้น ผมอยากให้คุณลองดูเรื่อง “การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์” ดูครับ

การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์

รูปจาก Learn Hub+ Co-Learning Space สยาม

นักจิตวิทยาด้านการเรียนรู้ของสมองบอกว่า… การเรียนรู้และเข้าใจของคนเราสามารถแบ่ง Level ได้ดังนี้

  • การเรียนรู้ด้วยการอ่านอย่าง หรือ การจด เพียงอย่างเดียวจะทำให้เราจะเรียนรู้มันได้ประมาณ 5-10% เท่านั้น เช่นการไปอ่านหนังสือ อ่าน Document ต่างๆ
  • ขณะที่เรียนรู้ด้วยการฟัง เราจะสามารถเรียนรู้ได้โดยประมาณ 20% เช่นการ ฟังคนเล่าวิธีการให้ฟัง
  • การเรียนรู้ด้วยการมีคนทำให้ดู จะได้ทำให้เราเรียนรู้ได้โดยประมาณ 30% เช่นไปดูวิธีการที่เค้าทำกัน ไป observe
  • การที่เราเอาสิ่งที่เราเรียนรู้มามาพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้ที่มีความรู้เหมือนกัน มีการพูดคุยถกเถียงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน มันก็จะช่วยให้เรามีรู้มากขึ้นในสิ่งนั้นเป็น 50% เลยทีเดียว
  • ถัดมาคือการได้ลงมือทำด้วยตัวเอง ได้ใช้ที่เรียนรู้มาทำจริงกับสถานการจริง สิ่งนี้แหละที่จะทำให้เราเปลี่ยนจาก ความรู้ มาเป็น ความเข้าใจ 75%
  • สุดท้าย หากเรานำสิ่งที่เรารู้เราได้เคยลองทำมาแล้ว ผ่านการสั่งสมประสบกาณ์ เอาไปถ่ายทอด ไปสอนให้คนอื่น จะแสดงให้เห็นว่าเรารู้ในสิ่งนั้นจริงๆ ถึง 90% เพราะถ้าเราถ่ายทอดสิ่งที่เราเรียนรู้ได้ เราก็เหมือนกระตุ้นการเรียนรู้และความเข้าใจเราได้เป็นอย่างดี

ทั้งหมดนี้เรียกรวมกันว่า “การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์” หรือการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ที่จะทำให้เราสนุกและมีความสุขอยู่กับการ เรียนรู้ สิ่งเหล่านี้ทำให้สมองหลั่งสารเคมีที่ทำให้เกิดความสุข และจะไปเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ให้สูงยิ่งขึ้นไป สมองเราก็จะจำอะไรต่อมิอะไรได้มากขึ้นตามไปด้วย

ทีนี้ ในแง่ของ Lead, Coach, ผู้สอน ก็นำเอาสิ่งนี้มาปรับใช้ในการสร้างแผนการเรียนรู้ให้กับน้องๆ หรือคนที่เรากำลังจะสอนนะครับ แทนที่เราจะโยนเอกสารให้เค้าไปอ่านเอง หรือ แทนที่เราจะปล่อยเค้าไปจมน้ำอยู่ที่ใดที่หนึ่ง เราค่อยๆ ใช้ ขั้นตอนการเรียนรู้ส่งเสริมเค้าให้ขึ้นบันไดแห่งการเรียนรู้ขึ้นมา

สิ่งสำคัญคือ การที่เราเปิดโอกาส ให้เค้าได้เรียนรู้ เปิดโอกาสให้ได้ลองทำกับประสบการจริง และ เปิดโอกาสให้เค้ากลับมาถามเราได้โดยไม่โดนด่านะครับ

และสุดท้าย เราก็จะมีคนมาช่วยเราส่งต่อความรู้อย่างมีคุณภาพได้นะครับ

When you learn, Teach. When you get, Give .

--

--

Dark_Spirit (Warm)
WIP team

From ITSupport to PM jump into Agile world as a SM. The SM/Agile Coach who passionate on Product development, Agile , Transformation ,UX and People.