Agile ฉบับเซน (ภาคปฏิบัติ)
agile เป็นสิ่งที่คนวงการ IT น่าจะได้ยินกันบ่อย มีคนอธิบายด้วยทฤษฎี ด้วย clip สั้นๆ มากมาย เพื่อพยายามให้คนเข้าใจมัน
แต่ครั้งนี้ผมจะเล่าถึงมันในรูปแแบบที่ทำเห็นภาพกันง่ายๆ ในแบบวิถีแห่งเซน (การแสดงความจริงด้วยการให้เห็นความจริง)
กาลครั้งหนึ่งไม่นานมาก
มีลูกค้าท่านหนึ่งอยากได้รูป avatar จำนวน 9 รูป
ผู้รับงานก็ได้ทำรูป avatar จำนวน 9 รูป โดยสุ่มลักษณะ avatar เป็นแบบไหนก็ได้
เวลาผ่านไป 10 นาที ผู้รับงานก็ได้ส่งรูป avatar 9 รูปให้กับลูกค้า
ลูกค้าก็มี feedback ว่าอยากได้ avatar ที่ดูสุภาพกว่านี้
ผู้รับงานก็รับ feedback กลับมาทำใหม่ให้แต่ละรูปดูสุภาพมากขึ้น
เวลาผ่านไป 30 นาที ผู้รับงานก็ได้ส่งรูป avatar 9 รูปให้กับลูกค้า อีกครั้ง
ลูกค้าก็มี feedback ว่าอยากได้พื้นหลังเป็นแบบ transparent
ผู้รับงานก็รับ feedback กลับมาทำใหม่ให้แต่ละรูปเป็นพื้นหลังแบบ transparent
เวลาผ่านไปอีก 30 นาที ผู้รับงานก็ได้ส่งรูป avatar 9 รูปให้กับลูกค้า ครั้งสุดท้าย
ลูกค้ารับการส่งมอบงานนี้เรียบร้อย
เราสังเกตเห็นอะไรจากเหตุการณ์นี้ไหมครับ ?
เราเสียเวลาทำรูป avatar 9 รูปไปเป็นชั่วโมง
คำถามต่อมาคือเราสามารถทำให้ใช้เวลาน้อยกว่านั้นได้ไหม ?
คำตอบ คือ ได้
เราลองเปลี่ยนวิธีการทำใหม่ดูนะครับ
มีลูกค้าท่านหนึ่งอยากได้รูป avatar จำนวน 9 รูป
ผู้รับงานก็ทำรูป avatar จำนวน 1 รูป โดยสุ่มลักษณะ avatar เป็นแบบไหนก็ได้
เวลาผ่านไป 1นาที ผู้รับงานก็ได้ส่งรูป avatar 1 รูปให้กับลูกค้าดูเป็นตัวอย่างก่อน
ลูกค้าก็มี feedback ว่าอยากได้ avatar ที่ดูสุภาพกว่านี้
ผู้รับงานก็รับ feedback กลับมาทำใหม่ให้รูป avatar ดูสุภาพมากขึ้น
เวลาผ่านไป 3นาที ผู้รับงานก็ได้ส่งรูป avatar 1 รูปให้กับลูกค้าดูเป็นตัวอย่างอีกครั้ง
ลูกค้าก็มี feedback ว่าอยากได้พื้นหลังเป็นแบบ transparent
ผู้รับงานก็รับ feedback กลับมาทำใหม่ให้รูป avatar เป็นพื้นหลังแบบ transparent
เวลาผ่านไปอีก 3นาที ผู้รับงานก็ได้ส่งรูป avatar 1 รูปให้กับลูกค้าดูเป็นตัวอย่างอีกครั้งหนึ่ง
ลูกค้าตอบโอเค เอาแบบนี้แหละ
ผู้รับงานก็ทำรูป avatar อีก 8 รูปเป็นพื้นหลังแบบ transparent
เวลาผ่านไปอีก 25 นาที ผู้รับงานก็ได้ส่งรูป avatar อีก 8 รูปให้กับลูกค้าเป็นครั้งสุดท้าย
ลูกค้ารับการส่งมอบงานนี้เรียบร้อย
เราสังเกตเห็นอะไรจากวิธีการทำงานแบบใหม่ ?
ใช้เวลาน้อยกว่าแบบแรก ใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมง
ทำไมแบบใหม่ถึงใช้เวลาน้อยกว่า ?
feedback loop สั้นกว่า (ใช้เวลาประมาณ 2–3 นาทีในการ feedback เมื่อเทียบกับครั้งแรกคือประมาณ 30 นาที)
เราสามารถเรียกการทำงานแบบใหม่นี้ว่า Agile ซึ่งในการทำงานจริงทุกวันนี้จะเจอเรื่องการปรับแก้งาน เพราะว่าลูกค้ากับผู้ทำงานบางทีเข้าใจไม่ตรงกันหรือเห็นภาพไม่ตรงกัน พอผลิตภัณฑ์หรือตัวแบบออกมาแล้วก็มักจะมีการปรับแก้ไขอยู่เป็นปกติ
วิธีแก้ก็คือเราต้องทำให้ feedback loop สั้นลง เช่น ทำตัวอย่างมาให้ดูก่อน หรือให้ดูบาง feature ของผลิตภัณฑ์ก่อน เป็นต้น
ถ้าผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ (อย่างกับเขียนคำนำ)
พอจะเห็นภาพไหมครับ Bye