Tech StartUp without VC

Udomsak Aom Donkhampai
zanroo blog
Published in
3 min readJan 25, 2016

สวัสดีครับผมอ๋อม เป็น CTO และ Founder ของบริษัท IBG หรือ Zanroo (อ่านว่า แสนรู้)

บทความนี้เป็นบทความแรก ของปี 2016 เลยอยากจะขอพูดถึง การทำ start up ในรูปแบบของการที่ไม่มี VC หรือ นายทุนเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเริ่มต้นกันเองจากศูนย์ (มีหนี้เก่าแถมมาด้วย) แล้วก็สามารถที่จะทำให้บริษัท เกิดขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ VC

วันนี้ผมจะขอมาเล่าประวัติความเป็นมาของ Zanroo ในมุมของการบริหารการใช้เงินและการวางแผนเพื่อที่จะทำให้ความฝันในการ ก่อตั้งบริษัทเป็นจริง

ก่อนจะเข้าเรื่อง ผมจะขอเล่าสั้นๆเกี่ยวกับบริษัท Zanroo ให้ฟังก่อน Zanroo นั้นเป็นระบบที่นำข้อมูลบนโลกออนไลน์ทั้งหมด มาประมวณผลในมุม marketing หรือ ที่เรียกว่า Social Listening & Analytics สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ zanroo.com

iStock_000070336357_Large

แน่นอนว่า Social Listening & Analytics นั้นคือ Big Data และก็ตามมาด้วย Big Money เพราะการจะทำ Big Data นั้นแน่นอนว่าต้องมีการลงทุน Hardware ที่เยอะมาก และต้องใช้กำลังคนในการทำระบบตั้งแต่เริ่มต้น

แล้ว Zanroo เริ่มต้นได้อย่างไรกับการที่ไม่มีนายทุน ดังนี้

  1. หาทีมที่พร้อม
  2. วางแผนสิ่งที่จะทำ
  3. หาทุนก้อนแรกจากการขายของ
  4. เลือก technology
  5. ขยายทีมจากเงินที่หามาได้

1. หาทีมที่พร้อม

ในช่วงแรกของการทำบริษัทแน่นอนว่า ถ้าเราไม่มีเงินไปจ้างคนให้มาทำงานกับเรา สิ่งที่ต้องทำคือ หาคนที่จะเข้ามาร่วมงานกับเรา ยิ่งมีครบทุกองค์ประกอบเท่าไหร่ การทำงานก็จะง่ายขึ้นเท่านั้น อย่างเช่น ถ้าในทีมมีแต่ โปรแกรมเมอร์ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เราก็จะไม่มีคนที่เป็น เซลล์ ไปขายหรือ ถ้าให้โปรแกรมเมอร์ไปขายก็จะได้ไม่ดีมาก

ฉะนั้นเราต้องรู้ก่อนว่าสิ่งที่เราจะทำ ต้องการงานตำแหน่งไหนบ้างเพื่อที่จะหาทีมได้ อย่าง Zanroo เองนั้นก็มีทีมที่ ครบทั้ง คนขาย คนทำระบบ Big data และ คนทำระบบหน้าบ้าน ทำให้การเริ่มต้นนั้นไม่จำเป็นต้องไปจ้างหรือไปหาคนมาเสริม เท่านี้เราก็จะไม่ต้องจ้างคนแล้ว ใช้เพียงแค่ใจ กับเวลา

2. วางแผนสิ่งที่จะทำ

ขั้นตอนต่อมาเริ่มจากการที่เราต้องวางแผนก่อนว่า อะไรที่ทำแล้วสามารถนำเข้าไปขายในตลาดได้เลย อย่างที่เราเคยได้ยินกัน MVP (Minimum Viable Product) แต่ในที่นี้สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ทำอะไรแล้วขายได้เลย ในที่ประชุมเราจะได้ยินจนติดปากว่า ทำ feature นี้เสร็จขายได้เลย เป็นต้น

ในวงการ software จะเคยได้ยินคำว่า “Software is never finished” ดังนั้นเราต้องวางแผน version ให้เพื่อให้ sale นำไปขายได้

แล้วเราจะรู้อย่างไรว่า version 1.0 ของเราจะหน้าตาเป็นแบบไหน?

ถ้าใครเคยอ่านเกี่ยวกับ Reid Hoffman จะได้พบเห็นประโยคยอดฮิตของ Reid เองคือ

“If you are not embarrassed by the first version of your product, you’ve launched too late.”

baremetrics_reid_hoffman

ซึ่งใน version แรกของ Zanroo เองก็ทำเพียง 1–2 หน้าเพื่อให้ sale ไปเปิดเป็น demo ตอน present งานได้

เท่านี้ก็เปรียบเสมือนการเริ่มทำ POC (proof of concept) และ MVP (Minimum Viable Product) ไปในตัว เพราะถ้า sale นั้นสามารถนำไปขาย แล้วมีคนให้คนสนใจแสดงว่าสิ่งที่เราทำมาใน version แรกมาถูกทางแล้ว เหลือเพียงแค่ให้เสร็จทันเวลาที่เริ่มมีลูกค้ารายแรก

3. หาทุนก้อนแรกจากการขายของ

การเริ่มต้นของเราเหมือนกับมนุษย์เงินเดือน ทั่วๆไป แน่นอนว่าการเป็น มนุษย์เงินเดือนที่สมบูรณ์แบบ นั้นต้องมีหนี้ ผมเองนั้นทำงานมาได้ 2 ปีแรกก็มีหนี้ คือชื้อบ้านให้พ่อแม่อยู่ที่ต่างจังหวัด และไฟ๊ต์ (Founder & CEO) ก็พึ่งชื้อรถไป

การมีหนี้นั้นทำให้มี Fixed-cost รายเดือนชัดเจนมาก การมีเงินเดือนทำให้เราเสพติดความสบาย แล้วการทำ Startup นั้นต้องใช้เงิน

ทุกๆ คนคงพูดเหมือนกัน “รายจ่ายต่อเดือนเยอะ แบบนี้ใครจะกล้าลาออกมา ทำ startup” ดังนั้นเราจึงต้องวางแผนให้ดี

ในช่วงเริ่มแรกใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์ในการทำ product version แรกให้เสร็จ แล้วในระหว่างนั้น sale ก็เริ่มทำงานโทรไปติดต่อหลายๆเจ้าเพื่อเข้าไปประชุม หลังจาก 2 อาทิตย์ที่ version แรกเสร็จนั้น sale ก็เริ่มมีเข้าไปคุยกับลูกค้า ภายในเวลาไม่เกิน 1 เดือนก็มีลูกค้าเจ้าแรก ซึ่งเราก็ได้เป็นเงินทุนก้อนแรกที่จ่ายเป็นเงินเดือนของเราเอง ซึงน้อยกว่าสมัยทำงาน เป็นมนุษย์เงินเดือนอยู่มาก

การทำ startup แบบไม่มีเงินทุนต้อง จำไว้เสมอว่าก่อนลาออก กับ หลังลาออกนั้น ต่างกันมากๆ เราจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยน life style การใช้เงินการใช้ชีวิตเพื่อใช้เงินให้น้อยที่สุดที่จะอยู่รอด

4. เลือก technology

แน่นอนว่าการทำ tech startup นั้นการเลือก technology เป็นเรื่องสำคัญมากๆ เพราะเป็นตัวกำหนดค่าใช้จ่ายของเราเป็นหลัก

ในช่วงแรกนั้นทางทีมได้ research services ที่จะได้เข้ามาช่วยในการทำระบบ big data ที่ตอบโจทย์ตามที่เราออกแบบและสามารถสู้ราคาไหวในตอนแรก

ด้านล่างนี่คือ List ของ Service ที่เราเลือกใช้ในตอนยุคเริ่มแรกครับ

Digital Ocean เป็น cloud provider ที่เราเลือกใช้เพราะว่า อย่างแรกคือ เริ่มต้นที่ $5/month เท่านั้น และอย่างต่อมาคือเรื่องของ spec ที่ได้นั้น Disk ที่ได้เป็น SSD ตามที่เราต้องการเนื่องจากการทำ Bigdata นั้นต้องใช้การประมวณผลอย่างมาก ถ้าเราคำนวณทุกอย่างใน RAM มันก็จะทำให้เราต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายอีกมากเพื่อที่จะได้ให้ RAM ที่ต้องการ แต่ในทางกลับกัน เราได้ Disk ที่เป็น SSD มานั้น ทำให้เราสามารถที่จะแบ่งงานบ้างอย่างลงกไปที่ Disk แทนได้ และอีกรูปแบบถ้าเราต้องการที่จะได้ Disk จำนวนมากๆ จะใช้วิธีการในการสร้างเครื่องที่ราคา $20 จำนวนมากๆ แทนเนื่องจาก เครื่อง $20 จะได้ Disk 40GB แต่ถ้าเราเปิดเครื่องที่แพงกว่าอย่างเช่น เครื่อง $320 จะได้ Disk เพียง 320GB แต่ถ้าเราต้องการ Disk 320GB เราเปิดเครื่อง $20 จำนวน 8 เครื่องก็ได้จะได้ Disk 320GB พร้อมกับลงทุนเพียง $160 เท่านั้นเอง

Jira Atlassian เป็นตัวที่นำเข้ามาช่วยใน Agile Process เพื่อการพัฒนาอย่างเป็นระบบ โดยราคาเริ่มต้นอยู่ที่ $10/month

Bitbucket Atlassian เป็นตัว version control ของ soucecode ที่เราเลือกมาใช้เพราะในช่วงแรกนั้น ทีมเรามีไม่กี่คนก็เลยได้ใช้ฟรี เพราะถ้าไม่เกิน 5 คน ทาง bitbucket ให้เราได้ใช้ free หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมไม่ใช้ Github เพราะว่าการคิดราคาของ Github นั้นจะคิดตาม Private Repository ที่เราสร้างซึ่งในตัวระบบ แสนรู้เองนั้น เป็น Mircro Service จึงทำให้มี Repository เยอะมากๆ ถ้าใช้ Github อาจจะต้องจ่ายหลายพันบาทต่อเดือน แต่ Bitbucket คิดเป็นจำนวน user ที่ใช้ระบบ

Slack ใช้เป็นระบบ communication แล้วก็เป็นเหมือนตัว notification เพื่อแจ้งเตือนจากระบบ แน่นอนว่าไม่มีค่าใช้จ่ายอีกเช่นกัน

Nagios เป็น IT Infrastructure Monitoring ที่เรานำเข้ามาใช้เนื่องจาก เราต้องใช้เครื่องในปริมาณมาก (ปัจจุบันประมาณกว่า 600 เครื่อง) เราเลยต้องทำการ monitor process และเครื่องทั้งหมดเพื่อให้งานต่อการ ตรวจสอบหาปัญหา Nagios นั้นมีความง่ายในเรื่องของการแบ่งกลุ่มของเครื่องและสามารถที่จะ ทำเป็น notification เพื่อแจ้งเตือนเข้ามาใน chat ได้

Fabric ใช้เพื่อการ update version หรือ configure ของ process ต่างๆในระบบ เนื่องจาก Fabric เป็นเครื่องมือที่สามารถส่งคำสั่งไปที่เครื่องหลายๆเครื่องพร้อมกันได้ ตัวอย่างเช่น การที่เราจะต้อง update 300 processes พร้อมกันนั้นสามารถที่จะสั่งให้ Fabric ส่ง command พร้อมกันได้ในทันที

Etcd นำไปใช้ในรูปแบบของ Service Discovery เพื่อให้ระบบนั้นสามารถทำงานอย่างต่อเนื่องถ้าเกิดมีตัวใดตัวหนึ่งดับไป แล้วสามารถนำตัวอื่น ขึ้นมาแทนได้

Jenkins โดยหลักๆของตัวนี้เลือกมาเพื่อทำ Test Automation และ CI ให้ทางทีม Dev ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

5. ขยายทีมจากเงินที่หามาได้

แน่นอนว่าเงินเดือน ของผู้ก่อตั้งเป็นเรื่องสำคัญแต่ช่วงแรก ทีม Zanroo เองต้องยอมที่จะไม่เพิ่มเงินเดือน โดยที่ใช้เงินส่วนนึ่งนำมาขยายทีมให้ใหญ่ยิ่งขึ้น เราจำเป็นจะต้องประเมินทุกๆเดือนเพื่อดูว่าเราสามารถที่จะขยาย ทีมได้ในเดือนไหนและเมื่อไหร่

จากทั้งหมด 5 ข้อข้างต้นเป็นรูปแบบหนึ่งของการทำ startup ที่ทางผมเองอยากจะนำมาแบ่งปันให้ทุกๆคน ได้นำไปประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่างๆ เพราะเชื่อว่าปี นี้ 2016 จะเป็นอีกปีที่ startup ในไทยจะเป็นที่นิยมอย่างมาก แต่ละ start up มีทิศทางเป็นของตัวเองไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน

ข้อดีของการที่ไม่จำเป็นต้องมี VC คือทำให้เราได้ทดลอง POC Idea ของเราในตลาด ถ้าตลาดสนใจเราก็สามารถที่จะทำให้มันเกิดธุรกิจขึ้นมาได้

อย่างที่ Christian Chabot, CEO และ co-founder ของ Tableau Software ได้พูดไว้เกี่ยวกับ การใช้เงินของ VC

“I believe it’s a myth that you need to bring a lot of capital to the table in order to be able to bootstrap. Frankly, I don’t think most people are willing to make the sacrifices that you need to make to be an entrepreneur and to bootstrap a company”

สุดท้ายนี้การที่ทีม Zanroo ของเราได้ก้าวได้ถึงทุกวันนี้ ต้องขอบคุณทุกๆคนที่อยู่ในทีม ที่ทำงานกันอย่างหนัก (หนักมากๆ) และทุกๆคนคือส่วนหนึ่งของความสำเร็จของ Zanroo ในวันนี้กับเวลาๆ เกือบๆ 2 ปีที่ผ่านมานั้น ในวันที่เราไม่มี office ที่หรูหรือดูดีแบบคนอื่นๆ เราเป็นเพียงห้องเช่าเล็กๆ 3 ชั้น และต้องนั่งกันแบบแน่นมากๆ แต่ทุกคนก็ทำงานอย่างเต็มที่ ขอบคุณจริงๆ

12375047_10153746493620097_4353306064104815694_o

--

--