Crypto Currency Investment By Toledo ตอน1 “รู้จัก Blockchain พอให้เข้าใจ”
ผมได้มีโอกาสไปอธิบายเกี่ยวกับการลงทุนใน CryptoCurrency เบื้องต้นแบบคราวๆ ให้เพื่อนๆได้ฟัง ได้คุย ได้แลกเปลี่ยนความเห็นกัน พร้อมฉลองก่อนปีใหม่ 2018 เล็กๆ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ก็สนุกสนามกับชุด Theme Sport และการจับของขวัญอะไรก็ได้ที่ทำให้แข็งแรง อะไรหว่าของขวัญที่ทำให้แข็งแรง ผมนี่มึนตึบเลย คิดอยู่นาน แล้วผมก็หาไปจับฉลากกับเพื่อนๆจนได้ 55+
เพื่อนๆชวนมาเมื่อวันศุกร์ แล้ววันเสาร์จะต้องไปคุยให้เพื่อนๆฟัง เราก็กลัวว่าเด๊วเพื่อนๆไม่เข้าใจ เลยนั่งปั่น slide มันคืนนั้นเลย แบบด่วนๆ ได้มาเท่านี้และเอาไปพูดคุยกับเพื่อนๆ พอพูดคุยกับเพื่อนๆจบ เพื่อนๆให้ของขวัญด้วย Surprise ดีใจนะที่ความรู้ของผม ได้ถ่ายทอดสู่คนอื่น ขอบคุณจริงๆคร๊าบ (^/|\^)
ไหนๆแล้วผมเลยคิดว่าเอามาเขียนลง medium ไว้ด้วยดีกว่า เผื่อเพื่อนๆได้เข้ามาทบทวนสิ่งที่ผมพูดไปและเผื่อมีคนอื่นๆได้เข้ามาอ่านด้วย
#แล้วเราจะคุยเรื่องอะไรกันบ้างนะ ก็ตามรูปด้านบนเลย เป็นการอธิบายคราวๆนะครับ อาจรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ต้องขออภัย เพราะผมเองก็ยังคง งงๆ อยู่เหมือนกันในบางเรื่อง 555 แล้วก็สิ่งที่ผมเขียนและอธิบาย ผมเขียนจากประสบการณ์ที่ผมได้สัมผัสมา มันอาจไม่ถูกต้อง อีกทั้งผมได้มีการใส่มุมมองของผมเข้าไปด้วยนะ และส่วนใหญ่มักจะพูดแต่ในมุมดีๆของมัน ดังนั้นโปรดใช้จักรยานในการอ่าน! เฮ้ย! ไม่ใช่ โปรดใช้วิจารณญาณให้การอ่านนะครับ ส่วนถ้าตรงไหนผมเข้าใจผิดหรือไม่ถูกต้องยังไงก็ช่วยชี้แนะด้วยนะครับ
***การลงทุนมีความเสี่ยง แต่การไม่ลงทุนเสี่ยงยิ่งกว่า ถ้าเราศึกษาให้ดีมันลดความเสี่ยงได้ ดังนั้นศึกษาให้ดีด้วยตัวเองก่อนลงทุนนะครับ ^^
กลับเข้ามาเรื่องของเราดีกว่า 55+
ช่วงแรกๆมีทฤษฎีนิดหน่อยให้เข้าใจถึง Blockchain -> Crypto Currency -> Bitcoin โดยเนื้อหาส่วนใหญ่มาจาก อาจารย์ รัฐกร พูลทรัพย์ คณะสถิติประยุกต์ นิด้า ได้บรรยายไว้ ส่วนช่วงหลังๆก็จะเป็น การลงทุนใน Crypto Currency เช่น ถ้าเราอยากมีเหรียญต้องทำไงบ้าง สามารถเอาไปลงทุนในลักษณะไหนได้บ้าง จากประสบการณ์ของผมเอง
ดูท่าทางผมเขียนทีเดียวเรื่องจะยาว และใช้เวลานาน ผมเลยขอแยกเขียน เป็นตอนๆดีกว่า ตามนี้ครับ ถ้ามีประโยชน์ก็ตามอ่านกันด้วยนะครับ ^^
- “รู้จัก Blockchain พอให้เข้าใจ” ให้ไปศึกษา Crypto Currency ต่อได้
- “รู้จัก Crypto Currency” และ Bitcoin
- “รู้จักการลงทุนใน Crypto Currency” (กำลังปั่นครับ *0*)
- อยากมีเหรียญเป็นของตัวเองบ้างต้องทำอย่างไร
- ลักษณะของการลงทุนมีแบบไหนบ้าง
- ควรมีทักษณะแบบไหนบ้างอย่างคราวๆ
#มาเริ่มช่วงแรกกันก่อนเลย “Blockchain คืออะไร?”
แต่ก่อนที่เราจะไปพูดถึงเรื่องนั้น เราต้องเข้าใจปัญหาก่อน ถ้าเราเข้าใจปัญหาแล้วมันจะทำให้เราศึกษาได้ง่ายขึ้นนะ
ลองนึกภาพตามนะครับ ถ้าเรามีไฟล์ Excel 1 ไฟล์ ต้องการแชร์กับเพื่อนๆ เราจะทำไง แนวทางหนึ่งคือเราก็ต้องใช้แชร์ Drive ใช่ไหม เปิดแชร์มันเลย แล้วก็ต้องการแก้ไขไฟล์พร้อมกับเพื่อน save ในวินาทีเดียวกันเลยนะ สักพักเพื่อนจะตะโกนมาว่า เฮ้ย! เอ็งเปิดไฟล์อยู่ใช่ไหม ปิดเดี๋ยวนี้ ข้าจะ Save ก่อน ข้าจอง 55+ ปัญหาที่ตามมาคือเกิดการ Block กัน Save ก็ไม่ได้ หรือไม่ก็โชคร้าย Save ทับกันอีก ซวยกันไปทั้งเราและเพื่อน
แต่ถ้ามันเป็นแบบนี้แหละ เราแก้ไขข้อมูลที่เครื่องเรา ยืนยันความถูกต้อง แล้วมันจะส่งข้อมูลไป Update ที่เครื่องเพื่อนอีก 5 คนให้เลย จะดีกว่าไหม? ก็นี่แหละครับเป็น Concept เบื้องต้นของ Blockchain แบบง่ายๆ
#Blockchain คืออะไร? ลองอ่านตามรูปเลยครับ
ให้เข้าใจประมาณนี้ Blockchain ก็คือ
- Database เก็บข้อมูลนั้นแหละ
- กระจาย Database ทั้งก้อน Copy ไปเก็บไว้หลายๆที่
- มีกลไกในการยืนยันความถูกต้องของข้อมูลที่กระจายอยู่ในทุกที่
จุดสำคัญของ Blockchain คือ การ Trust ของข้อมูล เพราะเมื่อ Blockchain commit record นั้นไปแล้วจะไม่สามารถแก้ไขได้ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการส่งข้อมูลระหว่างกันลดลงอย่างมหาศาล เพราะด้วย Concept ของ Blockchain ที่ Proof ว่าข้อมูลนั้นเชื่อถือได้และไม่สามารถแก้ไขได้ จึงทำให้เกิดการ Trust กันระหว่าง 2 องค์กร ทำให้ไม่ต้องมีการไป reconcile ข้อมูลระหว่างกันที่ศูนย์กลางอีกต่อไป (reconcile เพื่อ check ว่าข้อมูลของทั้ง 2 ฝั่งตรงกันไหม)
จึงเหมาะมากในการนำไปใช้กับ องค์กรที่มีการส่งข้อมูลระหว่างกัน และเป็นข้อมูลที่ต้องการความน่าเชื่อถือสูง ก็อย่างเช่น ข้อมูลอาชญากรรมของกรมตำรวจ เพื่อแชร์ข้อมูลให้ ตรวจคนเข้าเมือง ในสนามบินต่างๆ ถ้าใช้ Blockchain เมื่อกรมตำรวจ write record ลง Blockchain ทันใดนั้น ข้อมูลก็จะกระจาย update ไปยัง ตรวจคนเข้าเมืองในสนามบินต่างๆ ให้อัตโนมัติเลย เชื่อถือได้แถม update ตลอดอีกด้วยนะเออ (แม้จะใช้เวลาในการ update หน่อยก็เถอะ แต่ดีกว่า รอ batch ตอนสิ้นวันแน่นอน 55+)
จากตัวอย่างข้อมูลอาชญากรรมของกรมตำรวจเพื่อแชร์ข้อมูลให้ตรวจคนเข้าเมือง
ภาพทางด้านซ้ายเป็น สถาปัตยกรรมแบบไม่ใช้ Blockchain เห็นไหมครับ องค์กรแต่ละหน่วยงานต้องส่งข้อมูลไปที่ศูนย์กลาง เพื่อทำการ reconcile, clearing หรือ settlement transaction ลองนึกภาพนะครับ เครื่องที่ประมวลผลตรงศูนย์กลางเนี่ยมันจะต้องแรงขนาดไหนกันนะ แล้วถ้าข้อมูลตรงศูนย์กลางเจ๊งละทำไงเนี่ย *0*
ส่วนภาพทางด้านขวาเป็น สถาปัตยกรรมที่ใช้ Blockchain แต่ละองค์รก็จะมีเครื่องของตัวเอง(node) มีฐานข้อมูล Blockchain เก็บอยู่ในนั้น เมื่อกรมตำรวจ update ข้อมูล ข้อมูลจะถูกส่งไปยังทุก node ให้แต่ละ node ทำตรวจสอบความถูกต้องของ transaction ถ้าจำนวน node ยืนยัน transaction นั้น valid มากกว่าจำนวนที่กำหนด เช่นมี 4 node, confirm valid 3 node ขึ้นไป ก็จะทำการ update ข้อมูลนั้นลงในฐานข้อมูล Blockchain ใน network ทั้งหมด นั่นเอง
#แล้ว Blockchain มันทำงานยังไงละ?
สมมุติว่า A โอนเงินให้ B ก็จะมีการทำงานคราวๆแบบนี้
- มีการนำ transaction นั้นไปใส่ใน block
- Block นั้นจะถูกส่งกระจายไปทุก node ใน network
- ทุก node ใน network ช่วยกันตรวจสอบ transaction ใน block ว่า valid หรือไม่
- ถ้า valid Block นั้นจะถูกนำไปต่อใน blockchain
- และเงินก็จะถูกโอนจาก A ไปให้ B
#แล้วหน้าตา Blockchain เป็นไงนะ? แบบนี้ไง
หน้าตาเป็นกล่องๆ(block)แบบด้านบนครับ ภายในกล่อง เก็บ transaction ได้จำนวนเท่าที่ขนาดของกล่องเท่าที่จะเก็บได้ และหน้ากล่องจะมีรหัสของกล่องก่อนหน้า(Previous block)บอกด้วยว่ากล่องก่อนหน้ามันคือกล่องไหน พร้อมรหัสกล่อง(Proof of work) ที่เกิดจากการนำเอาข้อมูลใน Block พร้อมกับรหัส Previous block มาทำการเข้ารหัสเป็นรหัสกล่องอีกทีเด้อ
ถ้าใครเรียน วิชา Data Structure สมัยมหาวิทยาลัย มันก็คือ linklist แบบทางเดียว นั่นเอง จำกันได้บ่? นัก Computer เทพ เอาเรื่องต่างๆมาประยุกต์ใช้ แล้วก็เอามาตั้งชื่อหล่อๆให้มันใหม่ว่า “Blockchainnnnnnnnn” ด้วยการฉะนั้นแล…..
จบตอน 1ละครับ รออ่านตอนต่อไป “รู้จัก Crypto Currency และ Bitcoin” กันด้วยนะครับ…. ^^
By Toledo 2017–12–27
Credit :
- อาจารย์ รัฐกร พูลทรัพย์ คณะสถิติประยุกต์ นิด้า (https://www.facebook.com/NIDA-FinTech-Blockchain-1875549946094132)
ปล. หากใครสนใจสมัคร Web Exchange ก็ช่วย Reference ให้ผมหน่อยนะครับตามด้านล่างเลย เพื่อนๆจะไม่เสียอะไร แต่ผมจะได้ค่าตอนแทนนิดหน่อยจากการ Reference ขอบคุณมากนะครับ (^/|\^)
- Web Bx ตลาดแลกเปลี่ยนในไทย : https://bx.in.th/ref/AIVuBd/
- Web Cryptopia ตลาดแลกเปลี่ยนเหรียญใหม่ๆน่าเล่น : https://www.cryptopia.co.nz/Register?referrer=turboman
- Web Binance ตลาดแลกเปลี่ยนมาแรงสุดๆตอนนี้ : https://www.binance.com/?ref=20007583