เทคนิคสร้าง สัปดาห์คุณภาพ (Productivity Week) เพิ่มโอกาส “ทำน้อย แต่ได้มาก” (ตอนจบ)

parrkiid
2 min readJul 26, 2018

--

จาก Blog ที่แล้ว พูดถึงเทคนิคการสร้าง Productivity Week ไป 5 ข้อแล้ว
Blog นี้ จะเล่าต่ออีก 5 ข้อนะคะ
ไม่เกริ่นมาก ไปอ่านต่อเลยค่ะ

ref : https://www.brandbuffet.in.th/2015/01/10-ways-to-improve-your-productivity/productivity/

6. Obsess over leveraging edge time

ใช้เศษเวลาที่เหลือๆในบางช่วง มาทำประโยชน์ให้มากที่สุด เช่น ฟัง audio book ตอนรถติด, โทรศัพท์หรือตอบอีเมล์ช่วงเวลานั่งรอ

โดยจะต้องแน่ใจว่า สิ่งที่ทำ ไม่เป็นอันตรายหรือส่งผลกระทบที่ไม่ดีนะคะ

โดยส่วนตัว ภามีเศษเวลาในชีวิตประจำวันเต็มเลยค่ะ ตั้งแต่ลืมตาตื่นจนเข้านอน

ซึ่งก็คิดว่า ยังสามารถใช้เศษเวลาส่วนนี้ได้ดีกว่านี้ เช่น ตอนแต่งตัว, ตอนเดินทาง (ด้วย MRT)

7. Track your time

วิธีการ Track สามารถใช้ได้หลายวิธี แล้วแต่ถนัด อาจจะเป็นแบบจดลงสมุดก็ได้ หรือใช้ digital tool ก็ได้

การทำแบบนี้ ก็เหมือนการจดบันทึกรายรับรายจ่ายค่ะ คือเพื่อให้รู้ว่าใช้จ่ายไปเท่าไหร่แล้ว เยอะเกินไปหรือไม่ และหมดกับค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ไปกับเรื่องอะไร

ความคล้ายอยู่ในส่วนของการทำบัญชีรายจ่ายค่ะ มันคือการทำรายจ่ายของเวลา (ที่เราได้รายรับของเวลาเท่ากันทุกคน ไม่สามารถมีเพิ่มได้) การ Track เวลา คือการดูว่าลักษณะการเบิกเวลาของเราเอง ให้เรารู้ว่า งานของเราเป็นไปตามที่ตั้งเป้าหรือไม่ และเราประเมินเวลาไว้ถูกไหม ทำให้เราเห็นลักษณะที่เกิดขึ้นจริงๆ เช่น งานแบบนี้ เราจะประเมินเวลาผิดไปมากทุกครั้ง พอเจอแบบนี้แล้ว เราจะได้สามารถหาสาเหตุและปรับเปลี่ยนได้

ส่วนตัวภามองว่า เวลามีค่าและหายากกว่าเงินอีกนะคะ เพราะเวลาเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถหาเพิ่มได้เหมือนเงิน ไม่ว่าจะเก่งซักแค่ไหน แต่สิ่งที่เราทำได้ ก็คือการใช้เวลาอย่างระมัดระวังที่สุด

8. Be thoughtful about lunch

เค้าบอกว่า ช่วงเวลากลางวัน มีประโยชน์มากกว่าการทานข้าวกลางวันค่ะ

ดังนั้น สำหรับคนที่ชอบทานข้าวที่โต๊ะ จะแนะนำว่าไม่ควรทานข้าวที่โต๊ะทุกวันนะคะ

แต่ควรจะต้องออกไปกินข้าวกับคนอื่นอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

เพื่อสร้าง networking และออกไปดูนู้นนี่บ้าง

นอกภาคิดว่า การออกไปเดินพักบ้าง มันคือการ refresh ด้วย

ทำให้ไม่หดหู่หรือหมกมุ่น ร่างกายก็ได้ขยับ ลดออฟฟิศซินโดรมอีกต่างหากนะ :)

9. Protect your family time

จะต้องหวงแหนเวลากับครอบครัวให้มากที่สุด ซึ่งเวลาของครอบครัว เป็นสิ่งที่สำคัญแต่ไม่ด่วน ดังนั้นหากไม่กำหนดเวลาให้ดี มีความเสี่ยงสูงว่า จะถูกแทรกด้วยงานด่วนเสมอ

ถ้าคิดว่าเราทำส่วนนี้ไม่ค่อยได้ วิธีการที่ดีที่สุดคือ ปักลง calendar ไปเลยค่ะ จะช่วยได้เยอะเลย

อย่างพี่ในทีมคนนึง เค้าจะปักลงปฏิทินแล้วแชร์ public ไว้ล่วงหน้าเป็นเดือนๆเลยค่ะ พอทำแบบนี้แล้วมันจะช่วยปัดอย่างอื่นออกไปอัตโนมัติ และก็จะมีเวลาว่างสำหรับครอบครัวได้ง่ายขึ้น

อีกเรื่องที่ย้ำคือ เวลาอยู่กับครอบครัว ให้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัวจริงๆ ไม่หยิบงานขึ้นมาทำ หรือเล่นมือถือมากจนเกินไปนะคะ

10. Start every day right

เค้าบอกว่า ชั่วโมงแรก กับ ชั่วโมงสุดท้ายของวัน เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด ทำให้บางคน รวมถึงผู้บริหารดังๆหลายๆท่าน ก็จะเริ่มต้นด้วยการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีค่ะ เพราะมีการวิจัยว่า การออกกำลังกายจะทำให้เราอารมณ์ดีต่อเนื่องไปอีกหลายชั่วโมง ซึ่งคิดดูสิ…ถ้าเรามียาวิเศษ ที่ทำให้กินแล้วอารมณ์ดี เราจะไม่กินหรือ?

Mission to the moon แนะนำเพิ่มเติมว่า นอกจาก 10 ข้อข้างต้นนี้แล้ว ให้เพิ่มอีกเรื่องหนึ่งคือ เราควรจะกำหนดเวลานอนให้ชัดเจนด้วย ให้ไม่มากไม่น้อยเกินไป ซึ่งภาก็เห็นด้วยนะคะ

แถม

ส่วนนี้จะเป็น Case study ในการคิดและใช้จัดการระดับผู้บริหาร สไตล์ Elon Musk
ภาคิดว่าวิธีคิดบางอย่างน่าสนใจทีเดียว
ไม่พูดมาก เจ็บคอ! ไปอ่านและตัดสินกันเองเลยค่ะ

1. ให้ความสำคัญน้อยกับการทำ Business Plan

หมายถึงว่า Elon Mask จะทำงานในระดับ Visionary เป็นส่วนใหญ่ แล้วส่วนที่เป็น Operational detail จะให้คนอื่นทำ ซึ่งก็คือ เค้าให้ความสำคัญกับการใช้เวลาไปกับการหาเป้าหมายใหม่ๆ ไอเดียใหม่ๆ เพื่อหาแนวทางในการนำพาบริษัทไปข้างหน้า

2. ไม่เสียเวลาพูดคุยกับเรื่องที่ไม่สำคัญ (pointless conversation)

เช่น เวลามีคนมาสัมภาษณ์ในคำถามที่ดูงี่เง่า จะไม่ตอบคำถามพวกนี้เลย และให้ไปข้อถัดไปเลย จะได้ประหยัดเวลา

3. ข้อนี้น่าจะเคยได้ยินกันแล้ว นั่นก็คือ หากประชุมไหน ไม่มีประโยชน์และไม่เกี่ยวกับตนแล้ว ให้เดินออกเลย เป็นสิ่งที่เค้าทำจริงๆ และบอกให้ทีมของเค้าก็ทำแบบนี้ด้วย นั่นแปลว่า เป็นข้อตกลงของการทำงานของเค้านะคะ ถ้าหากเราจะนำไปใช้ ก็ควรจะต้องตกลงกันให้ดี ไม่อย่างนั้นอาจจะเกิดความเข้าใจผิดกันได้ ยิ่งด้วยวัฒนธรรมแบบตะวันออกของเรา

4. ไม่กลัวที่จะยอมรับหรือประกาศในสิ่งที่ทำผิดพลาด ก็คือ Elon Musk จะกล้าที่จะประกาศว่าทำอะไร ผลเป็นอย่างไร และกล้าที่จะเปลี่ยนความคิด และบอกว่าสิ่งที่เคยคิดว่าใช่ มันไม่ใช่แล้ว

5. จากข้อที่แล้ว มันส่งผลให้เค้า Take Action ตลอด หมายถึง เค้าจะตัดสินใจเยอะ และลงมือทำเยอะค่ะ ข้อดีคือ เค้าจะมีประสบการณ์เยอะ และเรียนรู้ได้เร็วและหลายรูปแบบ

จบละค่ะ

หวังว่า Blog เซ็ตนี้ หากใครได้ลองนำเทคนิคและแนวคิดนี้ไปใช้ หรือทำอยู่แล้ว สามารถมาแชร์พูดคุยกันได้นะคะ :)

ขอบคุณค่ะ
ภา

Credit : https://soundcloud.com/missiontothemoon/ep-54-extreme-productivity-day

--

--

parrkiid

ผู้หญิงในวิถีและวงล้อม Agile และ Software Development/ พี่สาวของน้อง / ลูกสาวของแม่ / สมาชิกครอบครัว SCK / ป้าของเกรียนส์ IT / Regional Agile Coach ของ KBTG