ความสัมพันธ์ของ WIP, Cycle Time และปริมาณงาน

A Relationship of WIP, Cycle Time and Number of Features

Piyorot
Agile Development in Thai
1 min readJun 30, 2014

--

กราฟข้างล่างแสดงความสัมพันธ์ของ WIP, Cycle Time และปริมาณงานที่ทำเสร็จในช่วงเวลาหนึ่งๆครับ

ลองดูที่ WIP กับ Cycle Time ก่อน ตามปกติสองค่านี้จะมีความสัมพันธ์แบบแปรตามกัน

WIP น้อย Cycle Time น้อย … WIP มาก Cycle Time มาก

ที่เป็นแบบนี้เพราะถ้า WIP น้อยก็เหมือนว่าเราโดนบังคับให้มุ่งมั่นทำงานจำนวนน้อยๆให้เสร็จนั่นทำให้เวลาที่เราใช้ในงานแต่ละงาน (Cycle Time) จะน้อย ในทางกลับกันถ้าเราทำงานหลายงานพร้อมๆกัน กว่างานซักชิ้นจะเสร็จก็จะใช้เวลามากขึ้น

แต่มีอีกปัจจัยที่สำคัญในกราฟนี้นั่นคือปริมาณงานที่ทำเสร็จในช่วงเวลาหนึ่งๆ (Number of Features) ที่มีผลโดยตรงต่อค่า WIP และ Cycle Time ที่น่าสนใจคือความสัมพันธ์ของเจ้านี่กับสองค่าแรกนั้นไม่สามารถทำนายได้ ถ้าอยากรู้ต้องทดลองดูด้วยการลดหรือเพิ่ม WIP ครับ … นี่แหละครับที่เค้าบอกว่า Kanban เป็น Empirical Process

จากกราฟจะเห็นว่าที่จุดแรกเรากำหนด WIP = 7 ลองจับเวลาดูสองสัปดาห์ได้งานออกมา = 19 ชิ้น และใช้ Cycle Time = 7 วัน

ถัดมาจุดที่สองเราลองเพิ่ม WIP มาเป็น 11 ส่งผลให้ Cycle Time เพิ่มขึ้นเป็น 8 วัน แต่ได้งานออกมาทั้งหมด = 22 ชิ้น

ผ่านไปอีกสองสัปดาห์ เราทดลองให้ได้ข้อมูลมาเป็นจุดที่สามซึ่ง WIP = 16 ทำให้ Cycle Time เพิ่มขึ้นเป็น 13 วันและได้งานออกมา 23 ชิ้น ลองดูจากกราฟนะครับว่าต่อให้เราเพิ่ม WIP ขึ้นไปอีกเท่าไร ปริมาณงานที่ทำได้ก็จะไม่เพิ่มขึ้นแล้วนั่นคือจุดอิ่มตัว (Equilibrium Point) ครับ

จุดที่ 1, 2 และ 3 … จุดไหนเหมาะสมกับทีมเราที่สุด อันนี้ต้องเลือกเองครับ ☺

--

--

Piyorot
Agile Development in Thai

A member of Mutrack and Inthentic. I lead, learn, and build with vision, love and care. https://piyorot.com