ท่องเที่ยว ท้องถิ่น…ไทย

R.Phot
Bookspective
Published in
2 min readOct 7, 2020

จากหนังสือ sustainability tourism community

หนังสือที่รวบรวมเอาชุมชนเข้มแข็งในประเทศไทยที่สามารถรองรับการท่องเที่ยวและยังคงวิถีชีวิตตัวตนของตนเองไว้ได้ มองผ่านๆอาจเหมือนหนังสือนำเที่ยว แต่จริงๆแล้วเนื้อหาส่วนนำเที่ยวเป็นเพียงยอดของภูเขาน้ำแข็ง เพราะภายในอัดแน่นไปด้วยเรื่องราวความเป็นมาของของการ “สร้างชุมชน”

ขอออกตัวก่อนว่าผมได้หนังสือนี้มาจากกองหนังสือลดราคาอีกตามเคย และเหตุที่ให้หยิบใส่ตะกร้าแล้วกลับมาอ่านคือช่วงที่กำลังทำงานที่ต้องลงพื้นที่ชุมชน พูดคุยรับฟังกับผู้คนบ่อยมาก การได้หนังสือสักเล่มที่รวบรวมข้อมูลชุมชนและเล่าเรื่องความยั่งยืน อาจเป็นแนวทางที่ดีในการสร้างกรอบความคิดสำหรับการทำงาน

แต่ทว่าเมื่ออ่านไปแล้ว เรื่องราวภายในนอกจากจะพาผมเดินทางไปพร้อมๆกันแล้ว ยังสร้างแว่นตาชนิดใหม่ขึ้นมาสำหรับมุมมองที่มีต่อการพัฒนาชุมชนของไทย ซ฿่งมันคุ้มค่าเกินราคาจริงๆ…

เรื่องราว=คุณค่า

ทุกเรื่องราวของชุมชนในแต่ละบทจะเริ่มด้วยตำแหน่งที่ตั้ง แผนที่การเดินทางวาดเป็นลายเส้นสีเทียนน่ารัก ก่อนจะเล่าถึงของดี มุมดีน่าท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตของชุมชน การเปิดหัวเพียงเท่านี้อาจเพียงพอแล้วที่จะจูงใจใครหลายๆคนที่ต้องชื่นชอบการท่องเที่ยวสัมผัสวิถีชีวิตแบบเป็นกันเองตามวิถีชนบทของไทย แต่ทว่าเรื่องราวต่อจากคำโปรยคือคุณค่าแท้จริงของการพัฒนา

ชุมชนแต่ละแห่งมีบริบทปัญหาของตนเองก่อนหน้านี้ทั้งที่ก้าวข้ามปัญหาไปได้แล้ว และทั้งที่กำลังอยู่ในช่วงต่อสู้เพื่อดำรงไว้ซึ่งความเข้มแข็งของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทรัพยกรน้ำ ทั้งท่วมและแล้ง ปัญหากับแหล่งอุตสาหกรรม ปัญหารการใช้ประโยชน์ที่ดิน สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ปัญหาการเรียรู้ของคนรุ่นใหม่ ปัญหาคนรุ่นใหม่ย้ายออกไปกลับบ้าน ปัญหารับนักท่องเที่ยวอย่างไม่เป็นระบบฯลฯ

ทุกเรื่องเล่าของชุมชนมีการดำเนินมาถึงจุดที่ทุกคนเริ่มจะกล่าวว่า “ต้องมีการเปลี่ยนแปลง” และหันหน้าร่วมมือกันแบบค่อยเป็นค่อยๆ บ้างมีภาคส่วนอื่นเข้ามาเป็นกำลังในการขับเคลื่อน บ้างรวมตัวต่อสู้กเ้วยชุมชนเอง ในท้ายที่สุดของเรื่องเล่านั้นจบลงด้วยทุกคนต่างเห็นพ้องต้องกันถึงกระบวนการความร่วมมือที่เกิดขึ้น ว่ามันมีพลังมากเพียงใด

แม้หลายปัญหาจะจบลง และไม่จบลง แต่กระบวนการความร่วมมือจะยังคงอยู่ตลอดไปตราบเท่าที่คนในชุมชนยังเชื่อในกันและกัน ยิ่งผ่านการร่วมต่อสู้กันมามากเท่าไหร่ ความเข้มแข็งและความพร้อมเพรียงที่จะหันหน้าสู้ปัญหาที่เกิดขึ้น ย่อมรับประกันได้ว่าชุมชนนั้จะสามารถก้าวผ่านปัญหาอื่นๆได้ในอนาคต

ความเข้มแข็งเกิดขึ้นภายใน

บทเรียนสำคัญที่สุดของหนังสือเล่มนี้คือ ความเข้มแข็งของชุมชนทั้งหมวลเกิดขึ้นได้จากภายในชุมชนเองเท่านั้น ไม่ว่าจุดเริ่มต้นจะมีคนภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมหรือไม่ก็ตาม การดำรงอยู่ต่อไปของความร่วมมือก็ยังตกอยู่ที่คนภายในชุมชน ทุกชุมชนที่หยิบยกมาเล่าในหนังสือเล่มนี้เป็นตัวอย่างรูปธรรมจับต้องได้

ความเข้งแข็งไม่ได้หมายถึงศักยภาพการผลิตสินค้าจำนวนมาก ไม่ได้หมายถึงการมีเงินหมุนเวียนมหาศาล และไม่ได้หมายถึงการพัฒนาแบบก้าวกระโดดของชุมชน แต่หมายถึงศักยภาพในการรับมือกับสภาวะวิกฤติ และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอก

จริงอยู่ที่การมีเงินหมุนเวียนหรือศักยภาพการสร้างรายได้เข้าชุมชนเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ชุมชนสามารถใช้ปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงได้ แต่หากชุมชนได้กลายเป็นสังคมเมืองซึ่งความสัมพัธ์ฉันเพื่อนบ้านลดน้อยลงไป ปัญหาคลองระบายน้ำหน้าบ้าน ท้ายหมู่บ้านไม่มีใครลุกขึ้นมาพูดถึงแม้จะเป็นมลพิษแล้วก็ตาม รายได้ของชุมชนก็ไม่อาจแก้ปัญหานี้ได้หากขาดความร่วมมือกัน

กลายเป็นความย้อนแย้งที่สังคมไทยกำลังเผชิญอยู่เมื่อรายได้ที่สูงขึ้นผลักให้ผู้คนใช้ชีวิตและคิดแบบสังคมเมืองซึ่งปัญหาส่วนกลางถูกยกให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบซึ่งเป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่าด้อยประสิทธิภาพ ในช่วงสภาวะก่อนหน้าที่โครงสร้างพื้นฐานยังไม่ดีพอการพึ่งพากันและกันเป็นมีส่วนสำคัญทำให้ผู้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้ร่วมกัน

ไม่มีตรงกลางสำหรับประเด็นขางต้น มีเพียงสถานการณ์ใหม่ๆที่ชุมชนต้องเผชิญ และคำตอบเดียวก็ยังคงเป็นการหันหน้ามาร่วมมือกันของคนในชุมชน

มองไปข้างหน้า

บทเรียนจากหนังสือเก่าช่วยชี้ทางเราได้เสมอ ความเข้มแข็งในวันนั้นอาจไม่เหมือนเดิมแล้วในวันนี้ ไม่ใช่ว่าหนังสือไม่ดีนะครับ เป็นหนังสือที่ดีมาก แต่ลึกๆแล้วเรารู้ดีว่าจำนวนปีที่ผ่านไปหมายถึงความเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มเข้ามา ชุมชนเดิมอาจเปลี่ยนผู้ใหญ่บ้าน มีเจ้าอาวาสคนใหม่ ผู้นำทางความคิดเปลี่ยนรุ่น คนรุ่นใหม่ที่เคยเป็นเยาวชนในวันนั้นอาจกำลังทำงานไกลบ้านในวันนี้ ความสัมพันธ์อันเข้มแข็งเดิมค่อยๆจางหายไป

นี่เองอาจเป็นความงานของความเปลี่ยนแปลงเพราะมันเปิดโอกาสใหม่ๆให้ได้พัฒนาเสมอ ชุมชนที่เคยมีปัญหาเรื่องการจัดการจำนวนนักท่องเที่ยวอาจกำลังเผชิญปัญหาใหม่เมื่อมีคนไปเที่ยวแต่ไม่มีคนรีวิว ชุมชนที่ฝ่าฟันการจัดการทรัพยากรจนกลายเป็นป่าชุมชนอาจกำลังเผชิญปัญหาใหม่เมื่อคนรุ่นใหม่ไม่ใส่ป่าไม้ซึ่งแม้ป่าจะเจริญเติบโตดีแต่ก็ไม่มีใครรับช่วงต่อดูแล หรือผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ขายดีกำลังเจอบกับคู่แข่งที่ออกแบบได้ดียิ่งกว่าและภูมิปัญญานี้กำลังจากไปพร้อมผู้เฒ่าผู้แก่ฯลฯ

ความท้าทายใหม่ที่ไม่มีใครเผชิญมาก่อนกำลังเปิดโอกาสให้ทุกคนสร้างเรื่องเล่าตำนานใหม่อีกครั้ง แน่นอนว่าไม่ใช่งานง่าย และใช้เวลานาน แต่หากไม่มีใครทำอะไรเลยเราอาจไม่เหลืออะไรให้พัฒนาหรือสภาพสังคมชุมชนอาจกำลังเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ยากจะหวนคืน

การปะทะทางวัฒนธรรมความคิดเกิดขึ้นทุกหัวระแหงในไทย คนรุ่นก่อนมีแนวทางการพัฒนาไว้ในใจอาจเป็นบทเรียนที่อยากแก้ไขเมื่อครั้งเคยผิดพลาด คนรุ่นใหม่มีพลังอยากรู้อยากลองทำในแนวทางใหม่ๆ เป็นไปได้ไหมที่การหันหน้าเข้าหากันจะไม่ใช่การเผชิญหน้าแต่เป็นการเปิดใจ…

ความสวยงามของวิถีชีวิตเป็นสภาวะการท่องเที่ยวหนึ่งที่ผู้เขียนเองเห็นความงามของมัน กาลเวลาผ่านไปผู้เขียนเติบโตขึ้นเรียนรู้ศาสตร์ว่าด้วยการวิเคราะห์จนทำให้มุมมองที่มีต่อการพัฒนาเปลี่ยนไป สุนทรียเดิมปะทะเข้ากับความรู้ อะไรจะเป็นตัวตัดสินว่าควรมีมุมมองแบบไหน?

วิถีชีวิตที่เกิดขึ้นตรงหน้าสวยงามเพราะมันมีที่มา และมีที่ไปในแบบที่ไม่ต้องตั้งคำถามเพียงซึมซับกับมัน แต่ความคิดเข้ามาแทรกเสมอเมื่อเห็นสิ่งที่คิดว่าน่าจะพัฒนาได้ น่าจะช่วยได้ หรือปัญหาควรหมดไปได้แล้ว เป็นคำถามที่ตอบคนเดียวไม่ได้เช่นเดียวกับการพัฒนาทั้งปวง…

ฝากติดตามผลงานอื่นๆของผม และทีมงานของเราได้ที่ Bookspective ,Discovery และ เกษตรไทย IoT

--

--

R.Phot
Bookspective

Explorers: Trying to learn new things to understand my own way