นวัตกรรมสังคม#8: มุมมองระหว่างสร้างสรรค์ (จบ)

R.Phot
Bookspective
Published in
6 min readOct 15, 2020

ตอนสุดท้ายของชุดนวัตกรรมสังคมแล้ว!!! (และยังไม่หมดแค่นี้แน่นอน) พอเขียนมาจนถึงตอนจบรู้สึกหวิวว่าไม่มีเนื้อหาหนักหัวคิด แต่เหลียวไปดูกองหนังสือที่ดองไว้ก็อุ่นใจได้ว่าจะมีเนื้อหาไว้แบ่งปันกันอีกนาน (ติดตามอ่านตอนที่ 1–7 และเรื่องราวอื่นๆได้ที่ Bookspective และ Discovery)

ปฏิกิริยาเครือข่าย

จุดหนึ่งจุดเมื่อเพิ่มคุณค่าลงไปในระบบสามารถส่งผลสะเทือนต่อการรับรู้และต่อคุณค่าของจุดอื่นๆตามไปด้วย (เรื่องของการรับรู้และรูปแบบของปฏิสัมพันธ์) ขอยกตัวอย่างเรื่องความตื่นตัวของเทคโนโลยีไร้สายที่กำลังเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบต่างๆในปัจจุบัน

การติดตั้งและตรวจวัดสภาพอากาศหรือปัจจัยทางการเพาะปลูกซึ่งให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และสามารถสร้างมูลค่าได้จริง ผลสำเร็จนี้สามารถกระตุ้นเครือข่ายเกษตรกรรมด้วยกันให้หันมาตรวจวัดและวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยการเพาะปลูกมากขึ้น ปฏิกิริยานี้อาจดูผิวเผินเพราะเป็นเรื่องปกติที่หากใครในกลุ่มประสบผลสำเร็จ เราก็มีแนวโน้มจะศึกษาแลกเปลี่ยนถึงวิธีคิด วิธีการ

ความท้าทายของการพัฒนานวัตกรรมสังคมในส่วนนี้จำต้องให้ความสำคัญ เนื่องเพราะค่านิยมการมุ่งเข้าสู่ความสำเร็จและผู้สำเร็จ จนหลายครั้งหลงลืมไปว่าตัวงานนั้นมีบริบทที่แตกต่างกันและเปลี่ยแปลงไม่ได้ (คนปลูกทุเรียนภาคกลางแม้จะลอกสูตรการดูแลมาจากสวนทุเรียนที่ใกล้ทะเล อย่างไรเสียสภาพอากาศก็แตกต่างกันเปลี่ยนแปลงไม่ได้) การสื่อสารให้ชัดเจนถึงบริบทที่แตกต่างจึงเป็นเรื่องสำคัญ

เพราะสูตรสำเร็จกำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน การอบรมหรือเผยแพร่กลวิธีและแนวทางการคิด กระบวนการทำงานที่เน้นให้พิจารณาบริบทของตนเองยังคงไม่แพร่หลายมากนัก นวัตกรรมสังคมที่สร้างขึ้นและประสบความสำเร็จในพื้นที่หนึ่ง ย่อมต้องสื่อสารว่ามีเหตุความเป็นมาอย่างไรจึงแสดงผลออกมาได้

ปฏิกิริยาเครือข่ายหมายความได้หลายความหมายทั้งที่ได้รับแรงกระตุ้นจากภายในและจากภายนอก แต่ละเครือข่ายมีรูปแบบความสัมพันธ์ภายในที่แตกต่างกันและส่งผลต่อมาถึงปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเร้าภายนอก เหล่านักออกแบบนวัตกรรมสังคมที่ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบจำต้องเรียนรู้ถึงปฏิกิริยาของชุมชนเครือข่ายนั้นๆต่อเรื่องที่กำลังดำเนินการอยู่ด้วย หากสามารถจับจังหวะได้ ก็เท่ากับคงความได้เปรียบเอาไว้ในตัวงาน

ยิ่งมีการนำแนวคิดไปทดลองซ้ำๆ เท่ากับว่าเป็นการเสริมความแข็งแรงให้วิสัยทัศน์ และเปิดมุมมองใหม่ด้วย

หากเป็นเมื่อก่อนกว่าที่แนวคิดหนึ่งจะได้รับการเผยแพร่ต้องมั่นใจก่อนว่าคุ้มค่าที่จะลอง และเมื่อเผยแพร่ไปแล้วกว่าจะตามหมากลุ่มคนที่มีแนวคิดเหมือนกันและแลกเปลี่ยนกันได้ก็ใช้เวลานาน เมื่อเทคโนโลยีดึงโลกทั้งใบเข้าหาเราอย่างรวดเร็ว การนำเสนอความคิดออะไรเป็นเรื่องง่าย(แทบไม่มีต้นทุน) และการกระจายตัวตามหาคนที่คิดคล้ายกันก็ง่ายดายมากขึ้น

เกิดเป็นกลุ่มคนที่รวมตัวกันสร้างพื้นที่บนโลกออนไลน์ที่มีความคิดความชอบความสนใจในเรื่องเดียวกัน เป็นพื้นที่ที่ดีพอจะหาแนวร่วมที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น กลุ่มลักษณะนี้เองจึงเป็นพื้นที่รวมตัวแลกเปลี่ยนแนวคิดจนนำไปสู๋การทดลองในโลกจริงและเกิดเป็นกรณีตัวอย่างกรณีศึกษาจำนวนมาก(ที่ระบบหลักยังเข้าไม่ถึงและอาจไม่สนใจเข้าถึง)

จึงเกิดปรากกฏการณ์แบบ Street Art ขึ้นทั้งในโลกจริงและโลกออนไลน์เช่น ดนตรีนอกกระแสที่แตกกิ่งก้านแนวเพลงออกไปอีกหลายสาย กลุ่มคนรักษ์โลกด้วยแนวคิดแนวปฏิบัตใหม่ๆ กลุ่มนักเขียน นักสื่อสาร กลุ่มเกมกระดานฯลฯ ในพื้นที่เปิดโล่งนี้พวกเขาสามารถเป็นอะไรก็ได้ ยืดหยึ่นและเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ออกแบบแสดงความคิดเห็นได้ตามความต้องการโดยไม่ต้องรอใครมากำหนดกฎเกณฑ์ใดๆ

แรงกระเพิ่มหลายอย่างเกิดขึ้นบนโลกเสมือนจนสามารถผลักดันออกมาสู๋โลกจริงได้ จนผู้มีหน้าที่ปฏิบัตงานหลักต้องหันมาสนใจเพราะกลุ่มคนเหล่านี้เชี่ยวชาญการนำเสนอความคิดเป็นอย่างยิ่ง (เพราะพวกเขาเติบโตขึ้นมาจากสิ่งนั้น) การนำเสนอความคิดที่สามรถทำซ้ำและแบ่งปันกันอย่างรวดเร็วนี้จึงสร้างผลกระทบเชิงการรับรู้ได้เป็นอย่างดี

และแน่นอนว่ายิ่งเรื่องนั้นๆอยู่ในความสนใจ มีผู้คนออกมาแสดงความคิดเห็น มีการนำแนวคิดไปทดลองทำเองที่บ้าน ทดลองใช้กับชุมชนหรือองค์กรของตนเอง ถึงจึดนี้แนวคิดนั้นก็ประสบผลสำเร็จในตัวเองแล้ว หลังจากนั้นการแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นจะลู่เข้าสู่ความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

การถอดองค์กระกอบเพื่อสร้างเครื่องมือทางนวัตกรรมสังคม

คำถามสำคัญของส่วนนี้คือ จะทำอย่างไรคำตอบขององค์ประกอบเฉพาะบริบทจะถูกสร้างเป็นองค์กรประสานความร่วมมือในบริบทอื่นได้(ถอดออกเป็นชุดเครื่องมือ) หรือความหมายที่ง่ายกว่าคือ จะถอดแบบโครงการหนึ่งมาเป็นกรอบการทำงานสำหรับโครงการอื่นๆได้อย่างไร

ประเทศไทยเรามีโครงการถอดบทเรียนกันอยู่ตลอดเวลาเรียกได้ว่ามีแทบทุกวงการแต่ผมจะไม่ชี้นำว่าเหตุใดการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญจึงไม่เกิดขึ้น เพราะต่างคนต่างความคิดเห็น ผมจะลงรยละเอียดในส่วนของกระบวนการเพียงว่าหากกระบวนการของนวัตกรรมสังคมหนึ่งๆสามารถอดแบบตัวเองได้ในขณะที่กำลังดำเนินการอยู่ จะเป็นผลดีต่อการสร้างกรอบการทำงาน

ส่วนใหญ่แล้วเราจะรอชมผลงานหลังจากเสร็จสิ้นแล้วว่ามีความสวยงาม น่ารื่นรมณ์ชื่นใจเพียงใดไม่ต่างจาการสร้างบ้าน สร้างโบสถ์สร้างวิหารและงานศิลปะ แต่จะมีสักกี่คนที่จะไปนั่งเฝ้าดูช่างแกะแบบ วัดมุมองศา เทคนิคในการประกอบหลังคาหรือการป้ายสีด้วยเครื่องมือพิเศษที่ช่างทำขึ้นมาเอง? การสร้างกรอบความคิดของนวัตกรรมสังคมก็ไม่ต่างกัน

แม้จะมีเอกสารบันทึกการประชุมทุกครั้ง มีเอกสารบัญชีการเบิกงบประมาณ มีป้านนโยบายการทำงานเป็นลายลักษณ์อักษรแต่เรารู้ดีว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเปลือกนอกที่ห่อหุ้มกระบวนการที่แท้จริงเอาไว้(อย่างไรเสียก็ต้องมีเปลือกเพื่อห่อหุ้มและกำหนดทิศทาง) แต่กระบวนการอย่างการพูดคุย ความมีอิทธิพลทางความคิดต่อกันและกันของแต่ละฝ่าย ไม่ได้ถูกบันทึกไว้มากนัก เพราะหากชุมชนหนึ่งที่สามารภดำเนินงานได้ลุล่วงเพราะผู้ดำนเนินงานหลักเป็นลูกสาวของผู้นำชุมชนและพ่อตากับลูกเขยยอมตามใจ สิ่งนี้ไม่อาจมองข้ามได้หากนำไปเปรียบกับชุมชนอื่นที่ผู้นำชุมชนกับผู้นำโครงการเป็นอริกัน

ชุดเครื่องมือในบริบทหนึ่ง เป็นและไม่เป็นผู้เชี่ยวชาญพร้อมๆกัน

เรื่องนี้จะกล่าวลงในส่วยย่อมระดับการทำงานของบุคคลในโครงการร่วมมือออกแบบนวัตกรรมสังคม เมื่อเราหยิบยื่นเครื่องมือหนึ่งให้กับคนจำนวนมากหรือในโครงการร่วมออกแบบ แต่ละองค์กรหรือบุคคลจะใช้เครื่องมือในแบบที่ตนเองเข้าใจ หรือเคยใช้งานไปพร้อมๆกับการพยายามตีความทำความเข้าใจบริบทใหม่ที่กำลังทำร่วมกันอยู่

สิ่งที่เกิดขึ้นคือการให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันของการใช้เครื่องมือไม่ว่าจะมีสาเหตุจากมุมมอง ทัศนคติ หรือประสบการณ์ทำงานที่แตกต่างกันก็ตาม และไม่ว่าจะตรงตรามบริบทของตัวงานนวัตกรรมสังคมหรือไม่ก็ตาม ผลลัพธ์นั้นคือผลิตผลของโครงการซึ่งจะสามารใช้ประโยชน์ได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับศักยภาพและกระบวนการวางแผนกิจกรรมของเหล่านักออกแบบ

แม้จะมีความหลากหลายของคนแต่เครื่องมือก็ยังใช้งานได้และยังช่วยในด้านความเป็นปัจเจค ที่สามารถสนับสนุนให้เขาได้เป็นในสิ่งที่อยากเป็น และได้ทำในสิ่งที่อยากทำ (มุ่งสู่ความสร้างสรรค์รวมหมู่) กล่าวคือ หากนำการวิเคราะห์ SWOT มาใช้กับโครงการ บุคคลซึ่งเป็นผู้ร่วมออกแบบจะออกแบบ SWOT ของตนเองออกมาในแบบของเขา ซึ่งหาไม่นับว่าจะได้ใช้จริงในโครงการ แนวทางนั้นก็ถือได้ว่าเป็นวิสัยทัศน์หนึ่งของโครงการที่เกิดขึ้น

อย่างที่ได้เรียนไปแล้วในตอนก่อนหน้าว่า หากโครงการความร่วมมือออกแบบนวัตกรรมสังคมมีการออกแบบที่ดีจริง จะส่งเสริมให้ปัจเจคบุคคลสามารถพัฒนาขึ้นได้ในมุมใดมุมหนึ่ง เช่น หากมีโครงการออกแบบพื้นที่สาธารณะผู้ที่เข้าร่วมอย่างน้อยที่สุดก็จะได้รับข้อมูล องค์ความรู้แนวคิด และชุดเครื่องมือสำหรับการออกแบบพื้นที่สาธารณะที่ส่งเสริมสุขภาวะที่ดี ซึ่งเขาหรือเธอสามารถนำไปใช้กับชีวิตประจำวันและกับครอบครัวของตนเองได้

ระบบแฟรนไชส์ทางสังคม

ลองนึกภาพถึงสาขา/หน่วยย่อยของพื้นที่หรือจุดบริการหรือ นวัตกรรมสังคม ที่ลักษณะเหมือนทางการค้าแต่เป็นทางสังคม ในประเด็นนี้ไม่ใช่แนวคิดที่เพิ่งเกิดขึ้นเพราะการขยายตัวของการค้าเสรีมีส่วนที่ผลักดันความเลื่อมล้ำ และนำไปสู่การหาทางร่วมมือกันของภาคประชาชนสร้างนวัตกรรมสังคมในที่สุด

แนวคิดเรื่องการสร้านวัตกรรมสังคมที่มีลักษณะเดียวกับระบบแฟรนไชส์นั้น เป็นแนวคิดที่จะหยิบขึ้นมาต่อสู้ของคนอเมริกันตั้งแต่ยุค70–80 เพราะช่วงนั้นห้างสรรพสินค้าและร้านค้ามีระบบอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่สนับสนุนอยู่เบื้องหลังจนสายป่านยาวพอที่จะทำได้ การสร้างเครือข่ายนวัตกรรมสังคมเองก็ควรทำได้เช่นกันต่างเพียงว่า วิธีการแก้ปัญหานี้ไม่ตอบโจทย์เสียทีเดียวเพราะจะนำเครื่องมือแก้ปัญหามาวางตรงข้ามกับตัวปัญหาตั้งแต่ต้นไม่ได้

ยุคหลังต่อมาจึงได้หยิบยกเฉพาะแนวคิดของระบบระบบแฟรนไชส์มาใช้เท่านั้นแต่นำมาเป็นระบบกระจายตัวสำหรับปัญหาด้านอื่นๆที่ต้องการความเหมือนกันของสินค้า(เพราะทุกคนมีปัญหาเดียวกันหมด) ซึ่งต้องหาสมดุลให้ดีระหว่างสิ่งที่ชุมชนทำด้วยตัวเอง กับสิ่งที่ต้องมีผู้รู้มาเติมเต็มหรือช่วยสร้างระบบให้ดี มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับได้

นั่นเพราะในบริบทของเมืองไทยบริษัทใหญ่หรือกลุ่มทุนมักถูกมองว่าเป็นตัวร้ายจ้องจะหาผลประโยชน์อยู่ตลอดเวลา เมื่อใดก็ตามที่มีชื่อว่าโครงการนวัตกรรมนั้นมาจากกลุ่มทุนที่มีประเด็นปัญหาอยู่ อาจได้รับความนิยมน้อยลงไปมากทีเดียวด้านภาพลักษณ์แม้ตัวผลงานจะใช้งานได้ดีมากก็ตาม

หันกลับมาที่ระบบแฟรนไชส์ซึ่งสินค้าบริการจะต้องได้รับการควบคุมคุณภาพหรือกำกับดูแลการส่งมอบคุณค่าอันเป็นคุณประโยชน์ที่ชุมชนต้องการให้เทียบเท่ากันเสมอ คำถามจึงหวนกลับมาที่ตัวโครงการว่าเหตุใดต้องใช้เครื่องมือนี้เป็นเครื่องส่งมอบผลกระทบดีที่ในวงกว้าง หรือตัวงานมีประเด็นปัญหาในมิติใดที่จะต้องใช้คุณลักษณะความเหมือนกันของสินค้าบริการ???

การเชื่อมโยงและขยายองค์กรในแนวดิ่ง

การที่สำคัญอย่างหนึ่งที่พึงระลึกไว้เสมอคือนวัตกรรมสังคมเริ่มจากการที่โครงสร้างการจัดการบางอย่างไม่ตอบโจทย์หรือเป็นตัวก่อปัญหาเสียเอง หรือพลวัตรสังคมแปรเปลี่ยนไปเสียจนโครงสร้างเดิมไม่อาจตอบสนองได้ทันท่วงที ฉะนั้นการออกแบบนวัตกรรมสังคมจึงต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงานเพื่อไม่ให้ซ้ำรอยเดิม

ตัวอย่างเช่น หากพบว่าลักษณะการจัดการปัญหาเป็นหนึ่งในประเด็นที่ต้องได้รับการปรับปรุงใหม่ แต่โครงสร้างการทำงานของผู้รับผิดชอบเดิมไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงที โครงการความร่วมมือเพื่ออกแบบนวัตกรรมสังคมใหม่จำต้องพิจารณาว่าโครงสร้างการทำงานแบบเดิมเป็นลักษณะใด และการออกแบบใหม่ลักษณะใดที่จะให้ผลที่ดีกว่า

กระบวนการออกแบบจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญช่วยในการประสานโครงสร้างการทำงานแนวดิ่ง กับแนวราบให้สอดรับกันอย่างเหมาะสมกันและยืดหยุ่นมากพอจะ ขยายขอบข่ายการทำงานให้ใหญ่ขึ้นได้ในอนาคต

หลายคนอาจยังติดภาพไม่ดีของการทำงานในแนวดิ่งแต่อยากให้พิจารณาถึงสิ่งที่เกิดขึ้น และมองว่าหากโครงสร้างดังกล่าวมีความยืดหยุ่นมากขึ้น การสะท้อนกลับจากล่างขึ้นบนมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล โครงสร้างการทำงานที่เป็นอยู่จะสร้างงานได้ดีขึ้นหรือไม่ หรือหากทุกอย่างมุ่งเป้าไปที่ผู้บริหารซึ่งตัวบุคคล นั่นก็หมายความว่าระบบนั่นยังไม่ยืดหยุ่นมากเพียงพอที่จะเห็นตัวงานสำคัญกว่าผู้บริหาร

ภาพฉายขอบข่ายงาน

เรื่องท้าทายที่สุดของงานที่ต้องพัฒนาขึ้นใหม่คือไม่มีใครรู้ว่าขอบข่ายงานที่แท้จริงอยู่ตรงไหนหลายครั้งที่โครงการล่าช้าเพราะทำเมื่อดำเนินการไปแล้วพบว่ามีประเด็นที่ต้องศึกษาเพิ่มหรือพบกับปัจจัยตัวแปรสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เท่ากับขอบข่ายงานขยายกว้างออกไปอีก หรือในทางกลับการการไม่กำหนดขอบข่ายงานที่ใหม่มากเพียงพอผู้คนหรือกลุ่มคนองค์กรที่เกี่ยวข้องจะหันกลับสู่วิถีทางการทำงานที่ตนคุ้นเคยซึ่งนั่นอาจหมายถึงถอยหลังเข้าคลองแก้ปัญหาด้วยวิธีที่ปัญหาถูกสร้างขึ้น

การสร้างภาพฉายของขอบข่ายงานช่วยในการกำหนดกรอบภายในที่ต้องยืดหยุ่นมากเพียงพอจะรองรับทุกฝ่ายและทำงานเต็มประสิทธิภาพ เสมือนวิสัยทัศน์ที่ปฏิบัติได้ยากเกินกว่าจะนำมาใช้หน้างานจริงได้ แต่นี่เองที่เป็นความท้าทายของเหล่านักออกแบบนวัตกรรมสังคม ซึ่งเป็นความท้าทายพื้นฐานที่จะต้องตอบคำถามกับผู้เกี่ยวข้องผู้ร่วมงานทั้งหมดว่า “ต้องทำงานกันยังไงดี”

กิจกรรมทางสังคม

การออกไปวิ่งที่สวนสาธารณะเป็นกิจกรรมใช้พื้นที่สาธารณะ(ใช้กายภาพทางวิ่งของสวน) แต่การไปวิ่งกับเพื่อนที่สวยสาธารณะเป็นกิจกรรมทางสังคม ทั้งสองกิจกรรมเกิดขึ้นพร้อมกัน ในสถานที่เดียวกันแต่มีคุณค่าสองส่วนที่พิจารณาแยกจากกันได้

เราใช้ชีวิตอยู่กับการใช้สิ่งของทางกายภาพเพื่อสนองสนองและสร้างประโยชน์ให้แก่เราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และเรามีปฏิสัมพันธ์มีความผูกพันธ์กับผู้คนไปพร้อมๆกันเป็นสังคมของเรา สังคมรอบตัวเราที่เราสบายใจที่จะสร้างขึ้น นวัตกรรมสังคมจึงเป็นงานออกแบบหรืออะไรก็ตามที่อยู่ตรงกลางระหว่างสองสิ่งนั้นหรือเป็นสิ่งที่ครอบคลุมทั้งสองสิ่งนั้นเข้าไว้ด้วยกัน

เพราะนวัตกรรมหนึ่งๆจำต้องมีสิ่งที่สัมผัสได้ไม่ว่าจะเป็นเสียงเพลง ภาพถ่าย ทางเท้า อุปกรณ์ พื้นที่พบปะฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถใช้งานคนเดียวได้เป็นปฏิสัมพันธ์ของคนกับสิ่งของ ขณะเดียวกันสิ่งแวดล้อมรอบข้างก็ย่อมมีผู้คนที่มีปัญหาเดียวกัน มีความต้องการหรือสนใจเรื่องเดียวกันมารวมอยู่ในที่เดียวกันไม่ว่าโลกจริงหรือโลกออนไลน์เกิดเป็นสังคม ณ พื้นที่นั้น

เราไม่อาจมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมได้หากขาดสิ่งแวดล้อมที่นำเรามาเจอกัน หนึ่งในนั้นคือนวัตกรรมสังคมซึ่งนักออกแบบหรือผู้ดำเนินการโครงการนวัตกรรมสังคมจำต้องคำนึงถึงทั้งสองส่วน นวัตกรรมนั้นตอบโจทย์การทำงานคนเดียว(ใช้งานด้วยคนๆเดียวก็ลุล่วง)หรือต้องมีสังคมเกิดขึ้นจึงจะตอบสนองเป้าประสงค์ได้??? หรือทั้งสองอย่าง???

เพราะนวัตกรรมบางอย่างสร้างขึ้นเพื่อให้แต่ละคนสามารถใช้งานคนเดียวได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์ของผู็คน ณ สิ่งแวดล้อมนั้นสนับสนุน เช่น โครงการทดสอบสถานีบริการบางอย่างหลายครั้งที่ผู้คนไม่กล้าที่จะเดินเข้าหาเพราะเห็นว่าเป็นของแปลกและไม่มีคน และหากมีคนยืนดูมุมงดูจึงจะกล้าที่จะเข้าหา เป็นต้น การออกแบบจึงต้องสมดุลให้ดีว่าปฏิสัมพันธ์แบบใดที่ต้องการให้เกิดขึ้น

เราใช้พื้นที่ทางสังคมและทางกายภาพในเวลาเดียวกัน การออกแบบนวัตกรรมสังคมจึงเข้าไปแทรกอยู่ในทั้งสองอย่างเพื่อให้เกื้อหนุนกันและกัน กลับมาที่จุดเริ่มของนวัตกรมอีกครั้ง หากเป้าประสงค์ของการแก้ปัญหาหรือการสร้างนวัตกรรมสังคมขึ้นมามีการออกแบบให้เกิด “กิจกรรมทางสังคม” ของคนๆหนึ่ง การออกแบบก็ควรที่จะให้ความสำคัญถึงประสบการณ์ ณ กิจกรรมปฏิสัมพันธ์นั้นให้เป็นไปในแนวทางที่ส่งเสริมคุณประโยชน์ของทุกฝ่าย

สังคม/ความสัมพันธ์/ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยวข้องกับสถานที่ เช่นการคุยกันเรื่องการ์ตูนในโลกออนไลน์ก็จะไม่มี Co-creation ด้านสถานที่ กลับกันกลุ่มที่มีความสมัครใจและมีประเด็นเรื่องสถานที่ทางกายภาพ จะเกิดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับตัวสถานที่ที่เป็นจริง

นวัตกรรมสังคมเป็นอะไรก็ได้ไม่จำเป็นต้องมีตัวตนอยู่จริง บางเรื่องแม้จะเป็นแนวคิดหากมันมีตัวตนจริงสำหรับใครบางคน คนๆนั้นก็อาจลุกขึ้นมาสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ กระบวนการค้นหาและพัฒนานวัตกรรมสังคมจึงให้ความสำคัญต่อแนวคิด ความคิดเห็น ความต้องการ ข้อสังเกตุ คุณลักษณะทางความคิดที่มีต่อเรื่องๆหนึ่ง เป็นสำคัญ

เรื่องที่มีศักยภาพมากพอจะให้ความสนใจคือเรื่องที่ผู้คนพูดคุยถึงมันทุกวัน หรืออย่างน้อยก็อยู่ในความสนใจ ยิ่งเป็นประเด็นปัญหาเรื้อรังด้วยแล้วยิ่งทวีความสำคัญของผลกระทบมากขึ้น นักการตลาด นักออกแบบสื่อสังคมออนไลน์รู้เรื่องนี้ดี โฆษณา ละครทีวี รายการสนุกๆสนานสร้างเสียงหัวเราะ เป็นงานที่ต้องสร้างสรรค์สิ่งที่ผู้คนจะพูดถึง นำไปเล่าให้กันฟังบนโต๊ะอาหาร

จึงเป็นเรื่องท้าทายสำคัญประเด็นที่มีความสำคัญแต่ไม่มีคนสนใจ ด้านหนึ่งคือผู้ดำเนินการไม่ได้เลือกที่จะต้อสู้กับความท้าทายด้านการรับรู้ของผู้คนเพื่อดึงความสนใจ แน่นอนเป็นเรื่องยากที่จะสื่อสารปัญหาที่มีความเปราะบางหรือเคร่งเครียดออกมาในรูปแบบสนุกสนาน แต่สื่ที่มีคุณภาพก็สร้างความน่าเชื่อถือได้ไม่แพ้กัน

แนวทางสำคัญคือนอกจากตัวงานจะยุ่งยากซับซ้อนแล้ว การจะฉุดรั้งให้คนกดเข้ามาดูงานของเราในโลกออนไลน์ที่ผู้คนขอความสุขเล็กๆจากวันอันเคร่งเครียด จะทำอย่างไรให้ตัวงานนั้นเข้าถึงผู้คน เข้าถึงความรู้สึก พบเห็น ตอบสนอง แบ่งปัน ไปจนถึงอยากมีส่วนร่วม???

“สถานที่” คือพื้นที่ที่มีความหมายโดยผู้คนเห็นมัน ใช้งานมัน และมีการรับรู้ถึงมันในแง่คุณค่าใดๆ

ณ ช่วงเวลาหนึ่งในแต่ละช่วงชีวิตเราจะมี “สถานที่” ต่างๆที่มีความหมายเฉพาะตัวและมีคุณประโยชน์ต่อเรา มันอาจเป็นพื้นที่โล่งๆท้ายหมูบ้านแต่มันเป็นทุกอย่างของเด็กๆ ทั้งสนามเด็กเล่น ลานกีฬา ตลาดของกินสุดสัปดาห์ หรือเป็นที่ประชุมเวลามีงานของหมู่บ้านของผู้ใหญ่บ้าน ที่นั่งหลบมุมความวุ่นวายของคนทำงาน หรือสภากาแฟยามเช้าและวงเหล้ายามค่ำคืนฯลฯ

คุณค่าของสถานที่ใดๆเป็นไปตามผู้คนที่ใช้ประโยชน์มันอย่างที่เรารับรู้และรู้สึกว่ามุมนี้ของโรงอาหารสงบที่สุดในวันที่วุ่นวาย ร้านกาแฟร้านนั้นกาแฟอร่อยแต่แต่งร้านจืดชืดไปหน่อย ไม่เหมาะถ่ายรูป ฯลฯ ความหมายต่อสถานที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเดินทาง เลือกใช้ประโยชน์ บ้างเลือกได้บ้างเลือกไม่ได้แต่มันมีความหมายองมันเสมอ

นักออกแบบที่ร่วมอยู่กับโครงการพัฒนานวัตกรรมสังคมหากเป็นไปได้ควรเข้าถึง “สถานที่” ในการรับรู้ของคนในพื้นที่ ของกลุ่มคนผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาที่กำลังพัฒนาอยู่ มันจึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะรับรู้และออกแบบ แต่นั่นเป็นเรื่องของวิธีการ ความท้าทายอยู่ที่การสมดุลความคิดการรับรู้เหล่านั้นเข้าด้วยกันแล้วสร้างออกมาเป็นภาพเดียว

ความลุ่มลึกของการออกแบบนวัตกรรมสังคมจึงเสมือนการกลับมาตั้งต้นที่ความรู้สึกนึกคิดของคนที่อยู่ร่วมกันเป็นสังคมที่มีต่อสิ่งต่างๆ ซึ่งแปรเปลี่ยนไปตามช่วงเวลาของวัน เดือน ปีหรือหลายสิบปี กลับไปตั้งคำถามต่อปัญหาที่มีอยู่ต่อสภาพแวดล้มอ ต่อการกระทำและระบบที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ไปจนถึงตั้งคำถามกับแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

หากลงพื้นที่และมีการออกแบบที่ดีพอ องค์กรหนึ่งสามารถสร้างความสัมพันธ์ใหม่กับชุมชนขึ้นมาได้

ดูจะเป็นเรื่องพื้นฐานของการสร้างผลงานที่ดีย่อมได้รับการยอมรับ ในบริบทสังคมไทยตลอด 50 ปีที่ผ่านมาเป็นอย่างน้อย คนในชุมชนถูกตั้งมุมมองไปที่หน่วยงาน องค์กร กิจการขนาดใหญ่ว่าต้องมีส่วนรับผิดชอบ หรือเมื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาจะต้องทำอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลจริง เชื่อถือได้ คาดหวังไว้วางใจได้

ติดอยู่อย่างหนึ่งคือ หลายหน่วยงานยิ่งทำยิ่งออกมาแย่ ก่อเกิดเป็นทัศนคติต่อกระบวนการทำงานขององค์กรใหญ่ที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ชักช้าถึงขั้นมาสร้างภาพไม่ได้สร้างผลงานจริงๆ เมื่อเวลาผ่านไปองค์กรใหม่ๆความร่วมมือใหม่ๆที่เข้ามาจะต้องเผชิญกับคำถามและมุมมองแคลงใจตั้งแต่แรกว่า จะได้ผลจริงหรือเปล่า จะเชื่อใจได้มากน้อยแค่ไหน จะต้องลงแรงจริงจังแค่ไหนกัน

มุมมองต่อความสัมพันธ์ตั้งต้นที่ต่างฝ่ายมีต่อกันอาจหมายถึงปลายทางของความร่วมมือที่จะเกิดขึ้น(กล่าวไปแล้วในตอนก่อนหน้าเรื่องอภิปรายแรงจูงใจในการร่วมงาน) ตัวอย่างเช่น องค์กรใหญ่ต้องการสร้างผลงานด้านความยั่งยืน(ภาพลักษณ์) นักออกแบบหรือนักการตลาดต้องการชุมชนเป็นแหล่งวัตถุดิบ ชุมชนต้องการตลาดและคนช่วยขายหรือรับซื้อ ยิ่งรับประกันการรับซื้อคุณภาพยิ่งต่ำลงฯลฯ โครงการความร่วมมือนวัตกรรมสังคมมากมายจบลงที่ผลประโยชน์ไม่ลงตัว ไม่ว่าจะเป็นคุณค่าหรือมูลค่าใดๆก็ตาม

ความสัมพันธ์ที่ต้องการสร้างขึ้นมาใหม่นั้นเป็นเรื่องปัจเจคทั้งตัวบุคคลไปจนถึงปัจเจคของชุมชน จึงไม่มีคำตอบที่ตายตัวสำหรับการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และอาจมีเพียงสัจธรรมพื้นฐานอย่างความจริงใจเท่านั้นที่จะช่วยได้ จริงใจที่จะชี้แจงวัตถุประสงค์ จริงใจที่จะบอกขอบเขตงานและบริหารความคาดหวังซึ่งกันและกัน

สถานที่ในความหมายใหม่อาจหมายรวมถึง พื้นที่ที่สามารถรับมือกับเหตุการณ์คาดไม่ถึงและความเปลี่ยนแปลงอื่นในอนาคตได้

จากประสบการณ์ตรงเมื่อใดก็ตามที่ใช้พื้นที่สาธารณะที่มีศักยภาพมากเพียงพอจะจัดงานต่างๆหรือเป็นพื้นที่ทดลอง รับรองได้ว่าโครงการนวัตกรรมสังคมที่ขอความร่วมมือใช้พื้นที่นั้นต้องได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน เนื่องเพราะพื้นที่ที่มีพลวัตรด้านการจัดการ หรือพูดให้้ตรงกว่าคือหน่วยงานไหนๆของรัฐก็อยากจะมามีส่วนร่วม มาตั้งป้าย พื้นที่นั้นจะกลายเป็นสถานที่เที่ยวชมแบบทัวร์ สถานการณ์นี้ไม่ได้หมายความว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี แต่จะเกิดข้อจำกัดในตัวงานบางอย่างมากขึ้น

ตัวอย่างเช่นจากที่เคยเป็นพื้นที่สำหรับวิจัยและดูงานเชิงลึก โดยผู้เข้ามาเยี่ยมชมจะใช้เวลานานทั้งวันในการพูดคุยลงพื้นที่เดินเข้าไปในพื้นที่ทดลองจริง เมื่อสถานที่ถูกใช้งานเปลี่ยนไปคนจะเดินทัวร์ผ่านไปยังพื้นที่น่าสนใจกว่าหรือเดินไปหาป้ายใหญ่ๆเพื่อเช็คอิน

พื้นที่สาธารณะอื่นๆก็เช่นเดียวกันหากนวัตกรรมสังคมใช้พื้นที่ร่วมกับวัตถุประสงค์อื่นๆด้วยความคาดหวังว่าจะได้รับการตอบรับสูงสุดนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้ กระนั้นก็ตามก็ขึ้นอยู่กับตัวบริบทของงานหากงานคือการสร้างการรับรู้ให้คนที่เดินผ่านไปผ่านมาสะดุตาหรือน่าสนใจมากเสียจนต้องเดินเข้ามาอ่านรายละเอียดหรือมีปฏิสัมพันธ์กับตัวงาน

หรือสถานที่อาจเป็นศาลากลางหมู่บ้านที่อเนกประสงค์ใช้ทุกงาน มันอาจคงอยู่อย่างนั้นไปตลอดแต่ความหมายและการใช้งานจะเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะเมื่อถึงจุดหนึ่งการเปลี่ยนแปลงจะก่อให้เกิดคำถามถึงความยืดหยุ่นต่อการใช้งานสถานที่ ตั้งแต่ต้องการเปลี่ยนแปลงไปจนถึงสถานที่เพราะบางอื่นๆ

สถานที่และความสามารถในการปรับตัวอย่างยั่งยืน

สังคมเราเผชิญคำถามและความเปราะบางด้านการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีมากขึ้นทุกวัน เราจะรับมืออย่างไรก็ความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วนี้ชั่วไม่กี่สัปดาห์ธุรกิจใหม่อาจพรุ่งทะยานขณะเดียวกันบางกิจการต้องปิดตัว ชั่วข้ามคืนแนวการรับรู้ในบางเรื่องของสังคมเปลี่ยนไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือ เราจะปรับตัวกันอย่างไร???

สถานที่ในความหมายของหัวข้อนี้หมายถึงสถานที่ด้านการรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลง สมัยก่อนเรารับรู้การเปลี่ยนแปลงสองช่องทางหนึ่งคือการบอกปากต่อปาก มีผู้นำชุมชนเจ้าหน้าที่มาป่าวประกาศการเปลี่ยนแปลง หรือทางวิทยุหรือนหนังสือพิมพ์ ทุวันนี้เรารับรู้ความเปลี่ยนแปลงจากสื่อสังคมออนไลน์(ซึ่งเปลี่ยนเร็วจนน่าเหลือเชื่อ)

ความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วนี้ส่งผลต่อสถานที่ทั้งของจริงและเชิงเปรียบเทียบโดยตรง เช่น ในขณะที่โครงการดำเนินอยู่แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่กระทบต่อสถานที่หน้างานของโดยตรง หรือการเปลี่ยนแปลงของสังคมก่อเกิดรูปแบบพฤติกรรมใหม่ของการใช้พื้นที่ อย่าเกมโปรเกม่อนโก ที่ต้องเดินไปเดินมาถึงจะเล่นได้อย่างมีอรรถรส

โจทย์ความท้าทายสำคัญคือ สถานที่ทั้งโดยตรงและความหมายโดยนัยที่เกี่ยวข้องกับตัวริบทของปัฯหานั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรในกระแสสังคม หน้าเว็บไซต์อาจเป็นสถานที่ที่เอาไว้แลกเปลี่ยนกันจนวันหนึ่งเฟสบุ๊คก็เข้ามาแย่งพื้นที่และดึงผู้คนออกไป หรือสถานที่จริงๆที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่รอบข้างจนกระทบต่อตัวงาน เราจะทำความเข้าใจความเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร ไม่เคยมีคำตอบที่ตายตัวสำหรับสังคม มีแต่การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและจริงจังเท่านั้น

ความสามารถในการปรับตัวเปลี่ยนแปลงของชุมชน ไม่เท่ากับ สังคมที่ยั่งยืน แต่ความสามารถในการปรับตัวเป็น subset หรือองค์ประกอบหนึ่งของสังคมที่ยั่งยืน กล่าวคือ เป็นกลไกเชิงเทคนิคย่อยๆอยู่แล้ว และสังคมยั่งยืนครอบคลุมมิติความเป็นอยู่ที่ดีและความต่างทางวัฒนธรรมมากกว่า

คำถามต่อเนื่องที่เกิดขึ้นจากคำกล่าวนี้คือ ความสามารถในการปรับตัวของชุมชนนั้นมีต่อทุกเรื่องเหมือนกันหรือไม่? แต่ละเรื่องที่มีการเปลี่ยนแปลงสามารถเชื่อมโยงมิติอื่นๆได้หรือไม่? ทำไมการเปลี่ยนแปลงหนึ่งของชุมชนไม่อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอื่นๆได้? ตัวอย่างอันเปราบางเช่น เมื่อการยอมรับความหลากหลายทางเพศมากขึ้นในสังคมนอกโรงเรียนทำไมโรงเรียนจึงยังไม่รับ หรือหากโรงเรียนรับได้แล้ว ทำไม่ในศาสนสถานจึงยังไม่รับ ทั้งๆที่เป็นครูคนเดิม คนในชุมชนกลุ่มเดิม เพียงแต่พบปะกันต่างสถานที่เท่านั้น? เป็นต้น

สิ่งที่ต้องการจะสื่อสารก็คือเมื่อการเปลี่ยนแปลงหนึ่งเข้าไปถึงรากฐานทางความคิดแล้วก็เป็นไปได้ที่รากฐานทางความคิดอื่นๆจะถูกตั้งคำถามให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปด้วย เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นของสังคมโลกตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเพียงต่างยุคต่างสมัยเท่านั้น เราอยู่ในยุคสมัยของเราเป้นความท้าทายของเรา ที่พวกเราต้องร่วมมือหันหน้าไปในทางเดียวกัน

รถเครื่องแรง คนขับคิดช้า

มีความย้อนแย้งที่พอจะสังเกตได้เล็กน้อยคือ เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและมีระบบที่เปราะบาง(เชื่อมระบบเข้าด้วยกันหากระบบล่มจะส่งผลกระทบลูกโซ่) การเปลี่ยนแปลงและปรับตัวของชุมชนหรือของสังคมให้เข้าที่เข้าทางในระยะเวลาหนึ่งนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้

อธิบายให้ง่ายขั้นอีกหน่อยเมื่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเหมือนผู้สูงอายุที่เพิ่งหัดใช้สามาร์ทโฟนและแอพพลิเคชันต่างๆ กว่าเมื่อจะใช้งานได้ชินกับระบบปฏิบัติการ ทำความเข้าใจกลไกการทำงานของปุ่มต่างๆ ระบบปฏิบัติการใหม่ แอพพลิเคชันใหม่ๆก็ออกมาและแทนที่อันเก่าไปแล้ว ที่ยกตัวอย่างนี้เพราะโครงการความร่วมมือกับชุมชนหลายโครงการพยายามปรับใช้เทคโนโลยีเข้ากับระบบองงาน เมื่อโครงการดำเนินไปแล้วสักระยะหนึ่งซึ่งเริ่มเห็นผล เทคโนโลยีก็ทิ้งไม่เห็นฝุ่นไปแล้ว

หนักข้อที่สุดจากประสบการได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่รัฐคือระบบปฏิบัติงานรุ่นเก่า(อันนี้ผมไม่ได้ตัดสินนะครับ) ซึ่งผู้ผลิตตัดสินใจยกเลิกการพัฒนาต่อ ส่งผลกระทบโดยตรงเมื่อระบบปฏิบัตงานของหน่วยงานยังคงใช้งานต่อ หมายความว่าเป็นระบบที่เปราะบางต่อการทำงาน เสี่ยงต่อไวรัสคอมพิวเตอร์ และการเชื่อโยงส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ยากลำบากมากขึ้น แล้วที่ตลกร้ายที่สุดคือทางหน่วยเหนือไม่อนุมัติการลงโปรแกรมหใม่เพราะไม่มีระเบียบข้อใดให้เบิกงบประมาณซื้อไลเซนต์

ความท้าทายของยุคสมัยนี้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่ตัวงานซึ่งยากพออยู่แล้วแต่ต้องต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของโลกซึ่งมาในรูปของเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกรูปแบบต่างๆ ไม่แปลกที่ผู้สูงอายุจำนวนมากปฏิเสธิที่จะเรียนรู้เพราะรู้สึกเหนื่อยกับการต้องตามโลกตลอดเวลาซึ่งนับวันยิ่งเร็วขึ้นเรื่อยๆ

แนวคิด “สังคมคือระบบนิเวศน์” หมายความว่าการมีกลไกแก้ปัญหาหรือระบบหนึ่งดำรงอยู่ด้วยการมีมุมมองเดียว ทำงานทิศทางเดียว บริบทเดียว จะเกิดความจำเพาะสูง ทว่าขณะเดียวกันก็มีความเปราะบางที่จะสูญเสีย/ล่มสลาย เพราะยิ่งระบบนิเวศน์ความหลากหลายน้อยยิ่งเปราะบาง ฉะนั้นควรพิจารณาความหลากหลายของตรรกะ/วัฒนะรรม/ความเชื่อ เพื่อดำรงความหลากหลายไว้ในนิเวศน์สังคม ดังนั้นสังคมจึงมีแนวโน้มอยู่รอดจากการปรับตัว(จากความหลากหลาย)

เปรียบเป็นระบบนิเวศน์ในโลกธรรมชาติหากพื้นที่ป่าไม่มีความหลากหลายของพืช แมลง สัตว์กินพืช นก สัตว์กินเนื้อแล้วล่ะก็ ห่วงโซ่อาหารย่อมค่อยๆหดสั้นลงและสั้นลงเหลือสิ่งมีชีวิตไม่กี่ชนิด นั่นเพราะไม่มีความหลากหลายทางอาหาร ไม่มีความหลายหลายของที่หลบซ่อน ที่ฟักไข่ ไม่มีความหลากหลายของพื้นที่ที่จะพบอาหาร การสูญพันธุ์ย่อมเป็นเรื่องธรรมดา

นวัตกรรมสังคมที่ไม่มีนิเวศน์ของสังคมที่คอยค้ำจุนก็อยู่ไม่ได้เป็นเรื่องธรรมดาเช่นกัน แต่การกล่าวเช่นนี้ก็ดูจะสวนทางกับกระบวนการทำงาน เนื่องจากการจะสร้างนวัตกรรมสังคมขึ้นมาได้นั้นมาจากการศึกษาพื้นที่เป้าหมายอย่างเข้าใจในหลายๆมิติจึงออกแบบตัวงานให้สอดรับกับการดำรงอยู่ให้ได้ในพื้นที่นั้นๆ

ประเด็นอยู่ที่ “จะดำรงความหลากหลายไว้ได้อย่างไร” แน่นอนว่ากระบวนการพัฒนาหนึ่งๆย่อมฝ่ายที่เห็นต่างแม้จะเป็นแนวทางที่แตกต่างออกไปหรือแนวทางที่ขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิงก็ตามที่ ตัวโครงการจะดำรงความเห็นต่างนั้นเอาไว้อย่างไรให้ผู้คนได้ร่วมเรียนรู้ เพราะเรามุ่งหวังผลสำเร็จในท้ายที่สุดก่อนถอดบทเรียน

แต่นั่นก็เท่ากับสิ่งมีชีวิตที่วิวัฒน์ตนเองจนรอดมาได้ ไม่ได้หมายความว่าแนวคิดที่ไม่ได้นำมาเชือกใช้นั้นไม่มีความหมาย เช่นเดียวกันวลี “เราต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่เราทำและไม่ได้ทำ” เนื่องเพราะความคิดที่ไม่ได้ทำจริงมีบริบทของตัวมันเองเสมอ หลายโครงการอาจไม่ได้ใช้วิธีการที่ดีที่สุดเพียงเพราะระยะเวลา งบประมาณ หรือตัวชี้วัดเป็นปัจจัยเร่งการตัดสินใจให้เบนไปในทิศทางอื่น

ความหลากหลายทางความคิดดำรงอยู่ได้เมื่อมีการดำเนินการต่อเนื่องทั้งส่วนที่น่าจะได้ทำ และไม่ได้ทำ เปรียบกับสถานการณ์การเมืองหากรัฐบาลเลือกนโบายที่ดีมาทำก็ไม่ได้หมายความว่านโบายฝ่ายค้านไม่ดี และจะไม่ทำอีกเย แต่ต้องเก็บเอาไว้เลือกหยิบมาใช้ มาศึกษา (ถ้าเป็นไปตามที่ตัวอักษรตามสื่อหนังสือเรียนว่าไว้ก็คงจะดี)

ความเปราะบางอีกอย่างหนึ่งคือการรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์ของผู้ร่วมงานผู้ซึ่งไม่ได้ถูกนำแนวคิดของเขาไปปรับใช้ เพราะความไม่พอใจ ความน้อยเนื้อต่ำใจ หรือเสียกำลังใจเกิดขึ้นได้ในฐานะคนธรรมดาที่อยากทำความดีหรือสร้างความเปลี่ยนแปลง นิเวศน์ทางความคิด ทางความสัมพันธ์เป็นอะไรที่เหล่านักออกแบบนวัตกรรมสังคมไม่อาจมองข้ามได้

เรากำลังอยู่ในช่วงที่โลกใหม่ “เล็ก-เบา-ยืดหยุ่น” ผสมกันและตีกันกับโลกเก่า “Mass production ทำงานบนลงล่าง” จึงต้องค่อยๆพิจารณาหาจุดเหมาะสมเพื่อสร้างความหลากหลายต่อไป

เราอยู่ในยุคของ Micro-Moment หรือชั่วขณะสั้นๆ ที่สามารถตัดสินได้ทุกอย่าง เพราะช่วงเวลาสั้นๆนั้นหมายถึงความสุขเล็กๆระหว่างวันที่ได้เลื่อนดูจอโทรศัพท์ ความสุขเล็กๆที่ได้รับการบริการที่ดีจากบริกร ในขณะเดียวกันความคาดหวังให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้น ถืองานที่มีขนาดเล็กในแท็บเล็ตไปทำงานได้ทุกที่ ตอยสนองต่องานได้อย่างรวดเร็ว ทำงานเล็กให้เสร็จอย่างรวดเร็ว เป็นโลกคู่ขนานที่วิถีกำลังบีบบังคับให้เป็นแบบนั้น

แน่นอนว่ามันชนเข้ากับความเคยชินแบบเก่าๆตั้งแต่กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมไปจนถึงรการเรียนการสอนในโรงเรียน การรักษาพยาบาลฯลฯ การสั่งทำสินค้าที่ต้องเล็กลงและไม่มีขั้นต่ำ การสื่อสารทางไกลต้องกระชับลงและเร็วขึ้น เด็กต้องเล่นอะไรหลายอย่างในหนึ่งวัน(เหมือนไม่ได้เรียนแต่ทำกิจกรรมแบบProductive) ในขณะที่คนต่างวัยขอรับข่าวสารเพียงไม่กี่อย่างในหนึ่งวันก็เพียงพอแล้ว

ความท้าทายของการพัฒนานวัตกรรมสังคมในโลกแห่งความเล็ก-เบา-ยืดหยุ่นนี้เป็นความท้าทายไปอีกขั้น ลองนึกภาพว่าคุณเป็นส่วนหนึ่งของทีมนักออกแบบพื้นที่สาธารณะสำหรับคนในชุมชนหนึ่งๆดูครับ ชุมชนที่หมายถึงผู้คนตั้งแต่แรกเกิดยันผู้สูงอายุติดเตียง มีวัยรุ่นเล่นมือถือ กับวัยรุ่นเตะฟุตบอล มีผู้ใหญ่จูงสัตว์เลี้ยงกับผู้สูงอายุนั่งเล่นหมากล้อม คุณจะออกแบบพื้นที่อย่างไร???

มีความยากเสมอไม่ว่านวัตกรรมนั้นจะเป็นอุปกรณ์ เป็นเว็บไซต์ เป็นพื้นที่จริงๆก็ตาม เพราะนวัตกรรมสังคมมีการตอบรับและปฏิสัมพันธ์แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับการสร้างสินค้าที่ระบุกลุ่มลูกค้าได้ค่อนข้างชัดเจน ซึ่งนวัตกรรมสังคมต้องทำหน้าที่มากกว่านั้น

เทคโนโลยีสังคม???

หากอุปกรณ์หนึ่งอำนยความสะดวกให้เราในการใช้ชีวิต หาความสุข หรือทำงานเราเรียกมันว่าเทคโนโลยี(สำหรับบุคคล)แล้วล่ะก็ เราควรมีสิ่งที่เรียกว่าเทคโนโลยีทางสังคมไหม??? เป็นคำใหม่อีกคำที่ผมเองไม่อยากให้เป็นกระแสในประเทศไทย จริงๆคือดังในหมู่บริษัทกับรัฐบาล(ไหนๆก็ตาม) เพราะคำนี้ยังคงใหม่เพียงพอจะเริ่มทำสิ่งใหม่ที่ได้ผลจริงก่อนมันจะกลายเป็นคำโฆษณาหรือคำเขียนโครงการของบประมาณอย่าง 4.0 Smart อัจฉริยะ ฯลฯ

เทคโนโลยีทางสังคมควรเป็นชุดเครื่องมือ บริการของรัฐหรือเครือข่ายองค์กรไม่แสวงหากำไร หรือของใครก็ได้ ขอเพียงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวก แก้ประเด็นปัญหาทางสังคม เป็นเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาจำเจาะอย่างที่เทคโนโลยีส่วนบุคคลได้รับการออกแบบมา มีความเป็นหลางและเป็นที่ยอมรับมากเพียงพอที่ไม่ว่าใครจะนึกถึงเมื่อต้องการใช้ และแน่นอนคำนี้ยังใหม่และหาขอบเขตไม่ได้ จำต้องเริ่มที่การถกเถียง

อาณาเขตของนิเวศน์วิทยาสังคม: ต้องมองประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ และอายุขัยของมัน

การมองเข้าไปในวิถีของชุมชนหนึ่งๆด้วยแว่นตาของการพัฒนานวัตกรรมสังคมอาจไม่มองข้ามความเป็นมา ความ คิด มุมมองของคนในพื้นที่ต่อเรื่องๆหนึ่งโดยเฉพาะอายุขัยของมัน การศึกษาความเป็นมาของชุมชน ตำนาน เรื่องเล่า คติที่ถ่ายทอดปลูกฝังกันมายาวนานช่วยให้เห็นภาพความคิดของพวกเขา เข้าใจเหตุผลที่มาของการกระทำ การออกแบบวิถีชีวิตที่พวกเขาสร้างขึ้นจนเกิดเป็นอัตลักษณ์

ประเด็นสุดท้ายที่น่าสนใจคือ นิเวศน์ของสังคมมีอายุขัยของมัน สำหรับผมที่เติบโตมาจากต่างจังหวัดทำงานที่กรุงเทพฯ เมื่อได้มีโอกาสกลับบ้านได้พบความเปลี่ยนแปลง หนึ่งคือเรื่องพื้นฐานที่ผู้คนเปลี่ยนไปคนรุ่นใหม่ๆเข้ามาทำงานแทน ตรงนี้เองที่คติความเชื่อแนวปฏิบัติเดิมเริ่มจางลงถูกแทนที่ด้วยวิถีใหม่ที่เป็นสากลมากกว่าเดิม(ถูกเร่งให้คิดและมีมุมมองคล้ายกันจากโลกออนไลน์) ส่งผลต่อนิเวศน์ของสังคมให้เปลี่ยนไปอย่างช้าๆ

โครงการความร่วมมือนวัตกรรมสังคมและเหล่านักออกแบบควรต้องมองให้เห็นความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ อาจใช้ความหมายของคำว่า “อายุขัย” มาตีความถึงอยู่ของนวัตกรรมสังคมได้เช่นกัน เช่น หากออกแบบนวัตกรรมสังคมเพื่อผู้สูงอายุในชุมชน(ผู็ได้คุณประโยชน์) แต่ผู้ปฏิบัติงานเกิดภาระเกินความจำเป็น(ผู้ใช้งาน) อยู่ขัยการใช้งานอาจสั้นลง หรือกรณีที่เมื่อเวลาผ่านไปคนรุ่นใหม่ไม่ได้เข้ามาเรียนรู้นวัตกรรมที่ออกแบบมาสำหรับผู้สูงอายุ จึงหยุดการใช้งานไปโดยปริยาย

อาณาเขต

อาณาเขตมีนัยได้หลายความหมายทั้งในการรับรู้ซึ่งอยู่ในความคิดของเราเพียงอย่างเดียว และส่วนที่เป็นวัตถุซึ่งความคิดของเราชี้นำให้กระทำขึ้นมาเพื่อบอกหมุดหมายถึงอาณาเขตของบางสิ่ง อาณาเขตอาจหมายความได้ถึงขอบเขตการทำงานภายใต้บริบทที่ไม่มีอะไรแน่ชัดทางความคิดแต่เราต้องการออกแบบให้ชัดเจนเพื่อการทำอย่างได้อย่างเป็นรูปธรรม

อาณาเขตอาจเป็นนิเวศน์ของสถานที่และชุมชน การเพิ่มความหลากหลายและระบุอาณาเขตได้ชัดเจน ย่อมหมายถึงการสร้างนิเวศน์ที่เหมาะสม และมีความยั่งยืนในการพัฒนาสถานที่และสังคมชุมชนโดยปริยาย คล้ายกับการสร้างนิยายให้คำจำกัดความของสิ่งๆหนึ่ง หรือกระบวนการทำงานหนึ่งๆว่ามีคุณลักษณะแบบใด เกี่ยวข้องกับสิ่งใด มีพลวัตรแบบใด และสร้างผลกระทบอย่างไรบ้าง

อาณาเขตทางความคิดเปรียบได้กับกระบวนการทำงานของความคิด อารมรณ์และความรู้สึกที่มีต่อเรื่องๆหนึ่ง บางเรื่องสำหรับบางคนเป็นเรื่องตายตัวเปลี่ยนแปลงไม่ได้ไม่จำเป็นต้องคิดหาทางใหม่ แต่สำหรับอีกคนอาจเป็นเรื่องน่าสนใจท้าทายมากเพียงพอจะศึกษาหาความเป็นไปได้ใหม่ๆในเรื่องนั้น

การเข้าร่วมเป็นหนึ่งในการออกแบบนวัตกรรมสังคมนอกจากการทำความเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้คนแล้ว ยังต้องเข้าใจอาณาเขตทางความคิดของคนที่เกี่ยวข้องอีกด้วย เพื่อการสื่อสารจะได้เข้าใจกันอย่างตรงจุด เพราะหลายต่อหลายครั้งที่ข้อถกเถียงไม่อาจจบลงได้จากความแตกต่างเรื่องความเชื่อและอาณาเขตทางความคิดของคนๆนั้น

การสร้างสิ่งใหม่ขึ้นภายใต้ชื่อนวัตกรรมสังคมมีความท้าทายเพราะเสมือนว่าได้กล่าวคำมั่นสัญญาไปในตัวว่าจะต้องเป็นสิ่งที่เข้ามามีส่วนแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการใหม่ๆ หรืออาจวิธีการเดิมแต่ผ่านเครื่องอำนวยความสะดวกใหม่ๆ และไม่ว่าตัวงานนั้นจพประสบผลสำเร็จหรือไม่ก็ตาม การรับรู้ทางความคิดต่อตัวงานจะยังคงฝังอยู่ในความคิดของผู้คน หากเป็นไปในทางที่ดี ความคิดนั้นะแผ่ขยายออกไปต่อยอดเป็นความคิดด้านการพัฒนาอื่นๆ

เริ่มต้นด้วยผู้คนและเครือข่ายที่พวกเขาสร้าง แรงจูงใจที่กระตุ้นพวกเขาให้กระตือรือร้นและร่วมมือกัน พลังงานที่พวกเขาอุทิศให้กับการกระทำเช่นนั้น

การทำความเข้าใจแรงจูงใจของกลุ่มคนไม่เคยสูญเปล่าเพราะความร่วมมือที่แท้จริงเกิดจากการประสานความต้องการเข้าด้วยกัน หากมองในแง่ร้ายอาจฟังดูเหมือนการหลอกใช้คน แต่ทว่าหากเครือข่ายเกิดขึ้นทั้งทรัพยากรคน งบประมาณ ผู้เชี่ยวชาญ การสร้างสื่อเพื่เผยแพร่ โดยเฉพาะทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นเพราะต้องการแก้ไขปัญหาที่คนหลุ่มนั้นต้องการ คงเป็นแรงจูงใจที่เพียงพอที่จะลงแรงด้วย

แต่การจะเข้าถึงแรงจูงใจของกลุ่มคนที่หลากหลายและหาส่วนที่พอเหมาะพอดีตรงกลางทั้งพื้นที่และเชิงจังหวะเวลานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย กระบวนการค้นหาอาจไม่ใช่เพียงการประชุมหารือ หรือการประชุมกลุ่มย่อย เพราะแรงจูงใจแท้จริงอยู่ลึกเสมอและการจะแสดงตัวออกมาได้นั้นจะต้องสนิทสนมชิดเชื้อกันเป็นความสัมพันธ์ส่วนตัวที่มากกว่าตัวงาน เป็นเพื่อนสนิท เป็นเพื่อนทำอาหารฯ

นวัตกรรมสังคมจึงใช้ระยะเวลาทั้งการศึกษาวิจัยความเป็นไปได้ด้านตัวงานและการสร้างความสัมพันธ์เพื่อเข้าถึงแรงขับเคลื่อนของผู้คนที่มีปัญหา เพราะหนึ่งในประสบการณ์ล้ำค่าของผู้เขียนคือ ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ไม่ได้มีความรู้สึกต่อปัญหามากขนาดต้องแก้ไขโดยทันที แต่เป็นความต้องการจากผู้บริหารระดับสูงจาอองค์กรภายนอกที่เห็นภาพว่าสิ่งนี้น่าจะเป็นปัญหา และแม้ผมจะสรุปได้เองว่าปัญหานั้นเป็นสภาวะ(เกิดเฉพาะบางเวลา) ไม่ใช่สถานะ(เกิดตลอดเวลา) เมื่อคนในท้องที่ไม่ได้ให้ความสำคัญโครงการความร่วมมือจึงพับลงไปตั้งแต่ยังไม่เริ่ม

กลยุทธ์การออกแบบฝังเข็มสังคม

เปรียบเทียบสังคมคือคนๆหนึ่ง ภายในร่างกายจะมีการเคลื่อนที่ของพลังงานมีการเคลื่อนย้ายสสารเพื่อให้สังคมนั้นร่างกายนั้นสามารถขับเคลื่อนไปได้ มีกลไกการป้องกันตัวจากภัยภายนอก และหลายครั้งก็นำบางสิ่งที่เป็นมลพิษเข้าไปได้เช่นกัน เมื่อมองในลักษณะนี้แล้วเราจำเป็นต้องมองหาจุดที่เป็นกุญแจสำคัญ หรือศัพท์แพทย์แผนจีนคือ จุดที่ลมปราณไหลผ่าน

สังคมมีพลวัตร/ลมปราณของตนเอง การฝังเข็มได้ถูกจุดจะทำให้ลมปราณเดินได้ดี ทะลวงทุกการเชื่อมต่อ ระบบการประสานงานโดยรวมมีคุณภาพ แต่การจะหาจุดนั้นก็ไม่ใช่งานง่ายอีกเช่นเคย เมื่อเปรียบลมปราณว่าเป็นสิ่งที่เคลื่อนไหวได้การจะส่งเสริมให้ลมปราณแล่นได้ดีจำต้องศึกษาเข้าไปให้ถึงทุกเส้นทางภายในร่างกาย(สังคม) นั้นๆ อาจเรียกว่าเป็นโซ่อุปทาน สายธารคุณค่า ผลกระทบเชิงเส้น ฯลฯ ก็ได้

และเชกเช่นกระบวนการสืบค้นและแก้ปัญหาทั้งหลายของกระบวนการทีต่อเนื่อง เมื่อค้นพบจุดหลักหรือสาเหตุต้นตอของปัญหา แบบเดียวกับที่กินยาฆ่าเชื้อซึ่งทำลายเชื้อโรคเพื่อยุติอาการของปัญหาที่แสดงออกมาทั้งหมด เมื่อพบแล้วก็ทำการฝังเข็มหรือจัดการกับสาเหตุรากเหง้านั้นเสีย และแน่นอนว่าด้วยระบบดังกล่าวทำงานต่อเนื่องไม่มีวันสิ้นสุดเชนเดียวกับพัฒนการสังคม การแก้ปัญหาที่จุดนั้นต้องเฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนอื่นๆ หรือเสียงสะท้อนที่จะเกิดขึ้น

การฝังเข็มอาจแปลได้ทั้งการคลายจุดที่เป็นคอขวดของปัญหาหรือ การหยุดฉุดรั้ง ตรึงอะไรบางอย่างไม่ห้ลุกลามจนเกินเลยได้เช่นเกัน มาถึงตรงนี้คงจะพอเข้าใจความหมายแล้ว่า นวัตกรรมสังคมที่ใช้กลยุทธ์การฝังเข็มนั้นต้องเข้าใจกลไกการทำงานของจุดที่จะฝังเข็ม เข้าใจว่าอาการคืออะไร ปัญหาคืออะไร สาเหตุคืออะไร และส่วนใดควรใช้การคลายหรือตรึงเพื่อเข้าแก้ไขปัญหาบางจุดต้องการน้ำอุ่นเข้าลูบเพื่อผ่อนคลาย บางจุดก็ต้องการน้ำร้อนเพื่อกระตุ้น และบางจุดต้องการน้ำเย็นปลอบโยน

โครงการที่ช่วยเร่งปฏิกิริยาทางสังคมให้ลุกขึ้นมาแสดงความเห็นและสิ่งดีๆ

กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นและมีให้เห็นความเคลื่อนไหวในทุกวัน (ทุกเรื่องรวมถึงการเมือง) เช่นกลุ่มอนุรักษ์บ้านเก่า กลุ่มชวนชมศิลปะข้างถนน กลุ่มพัฒนาเมือง กลุ่มสนับสนุนใช้ผ้านท้งถิ่นฯลฯ เมื่อต้นทุนการรณรงค์มีเพียงแค่ค่ารถเดินทางกับเครื่องดื่มไม่กี่แก้วก็สามารถสร้างเนื้อหาที่เชิญชวนลงในสื่อสังคมออนไลน์ที่เข้าถึงคนนับล้านได้แล้ว ก็ไม่มีเหตุอะไรมาขัดขวางเรื่องเหล่านี้ไม่ให้เกิดขึ้น

ต่อไปนี้เป็นกลุ่มกิจกรรมกว้างๆที่ กลุ่มผู้มีความต้องการขับเคลื่อนการพัฒนาบางอย่างใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนกิจกรรมไปพร้อมๆกับสร้างการรับรู้

1. การออกแบบ แบบจำลอง/สถานการณ์สมมติ

เราได้เห็นกลุ่มพัฒนาเมืองออกมาประกาศชักชวนร่วมแสดงความคิดเห็น เราได้เห็นกลุ่มคนรุ่นใหม่รวมตัวกันเพื่อจักงานเพื่อท้องถิ่นพัฒนาบ้านเกิดของตนเอง การหารือร่วมพูดคุยเพื่อมองภาพอนาคตเป็นงานที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะข้อจำกัดหลายอย่างทำให้ทางออกนี้เหมาะสมที่จะดึงคนมาเข้าร่วมมากที่สุด

เหตุผลแรกคือด้วยเรารู้อยู่ลึกๆว่าปัญหาหลายอย่างเกิดจากโครงสร้างการบริหารจัดการที่ซับซ้อนและยังต้องพัฒนาประสิทธิภาพอีกมาก ลึกลงไปอีกขั้นคือส่วนของค่านิยม วัฒนธรรม ธรรมเนียมที่ออกจะแปลกหูแปลกตาสำหรับคนรุ่นใหม่ ที่จะตั้งคำถามว่าทำไมไม่มุ่งไปที่การแก้ปัญหามัวแต่พูดคุยทำเรื่องบอกฝ่ายโน้นฝ่ายนี้

และสองคือการมองตั้งโจทย์ให้มองไปข้างหน้าง่ายกว่าการไล่ถามทีละคนว่าปัญหาอยู่ตรงไหนแม้การพูดคุยจะสรุปจบลงที่การศึกษาเรื่องราวในอดีตและทำความเข้าใจปัจจุบันก็ตาม

การสร้างแบบจำลอง สถานการณ์สมมติช่วยดึงมุมมองที่แตกต่างและศักยภาพการมองไปข้างหน้าได้ดี เพราะคนที่มองอนาคตได้ไกล(และเป็นไปได้จริง)หมายถึงคนที่เอาจริงเอาจังและมีศักยภาพที่จะทำ ขณะเดียวกันก็ทำให้เห็นถึงทัศนคติที่มีต่ออนาคตโดยเฉพาะโครงการความร่วมมือที่กำลังพัฒนาอยู่ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด และแน่นอนว่าทำให้เห็นว่าใครที่พร้อมเดินทางไกลไปด้วยกันบ้าง

การสร้างสถานการณ์จำลองจะดึงศักยภาพของ “ตัวจริง” ออกมาให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่าใครกันแน่ที่เป็นตัวจริงในปัญหา ใครกันแน่ที่อยู่ในปัญหาและมีข้อมูลอย่างแท้จริง เพราะคนๆนั้นหรือกลุ่มนั้นจะสามารถให้รายละเอียดถึงคุณลักษณะของปัญหาได้มากที่สุด แม้จะไม่ครอบคลุมไม่รอบด้านแต่นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการทำงานร่วมกัน

2. การออกแบบเชิงกลยุทธ์

การร่วมออกแบบกลยุทธ์มีลักษณะคล้ายการสร้างสถานการณ์จำลองแต่ทว่ามีความจริงจังและคัดกรองกลุ่มคนที่จะเข้าร่วมมากกว่า เพื่อดึงข้อมูลและเทหมกตัวตัวของกระดานออกมาว่ามีทรัพยากรใดอยู่ในมือบ้าง รวมถึงการประเมินสถานการณ์ที่เป็นอยู่เพื่อนำไปสู่การออกแบบกลยุทธ์ โครงการความร่วมมือจึงต้องเริ่มด้วยความจริงใจ

กลยุทธ์ที่ดีคือความเข้าใจต่อสิ่งที่อยู่ภายในและภายนอก รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง วลีติดหูแต่ลงมือทำได้ยากเพราะเพียงแค่การเปิดใจเปิดข้อมูลจากทุกฝ่ายว่ามีทรัพยากรเท่าไหร่ แลมีข้อจำกัดอย่างไรก็เป็นเรื่องยากแล้ว ไม่ต้องพูดถึงการทำงานแบบรัฐราชการของไทยที่การชี้แจงถึงปัญหาและความไม่พร้อมอาจหมายถึงตำแหน่งหน้าที่การงานในอนาคตได้เลยทีเดียว

แน่นอนว่าการระดมพลเพื่อสร้างกลยุทธ์เหล่านักออกแบบเองก็ต้องมีกลยุทธ์ในการรับมือกับความหลากหลายของผู็เกี่ยวข้องกับโครงการนั้นๆ ซึ่งคนทุกประเภทโดยเฉพาะผู้มีอำนาจตัดสินใจคือตัวชี้ขาดว่าจะดำเนินงานต่อในทิศทางใด หลายต่อหลายครั้งโครงการดำเนินกาต่อไม่ได้เพราะทัศยคติของผู้นำเพียงฝ่ายเดียวซึ่งถือปัจจัยสำคัญของโครงการเอาไว้

3. การออกแบบบริการ

เมื่อโครงการความร่วมมือนวัตกรรมสังคมดำเนินมาในทิศทางที่ต้องออกแบบการบริการ กล่าวคือ วิธีหรือแนวทางการแก้ปัญหาต้องมีคนกลางหรือตัวกลางเป็นผู้ให้บริการ หมายความว่ารูปแบบการจัดการ และมุมมองการออกแบบจะเปลี่ยนเข้าสู่อีกโลกหนึ่ง ซึ่งบอกได้เพียงว่าโลกของการบริการเป็นโลกที่ละเอียดอ่อน

การเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นเพื่อการออกแบบการบริการมีสองส่วนใหญ่ที่พึงรับมือ หนึ่งคือความต้องการรับบริการที่เทียบได้กับโรงแรม 5 ดาวโดยไม่พิจารณาว่านี่คือโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนานวัตกรรมสังคม และสองคือรูปแบบการบริการที่ตรงจุดและมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งสองส่วนนี้ไม่ใช่ขั้วตรงข้ามกันแต่เป็นสองแนวทางที่ต้องอาศัยทรัพยากรการจัดการแตกต่างกันอย่างมาก

วันหนึ่งหากคุณได้รับการเชิญให้เข้าร่วมออกความคิดเห็นถึงบริการสาธารณะ ในฐานะที่เป็นบุคคลธรรม หรือในฐานะที่เป็นความเชี่ยวชาญของคุณก็ตาม แล้วปรากฏว่าความคิดเห็นของคุณถูกมองข้ามเนื่องจากกลุ่มทุนหรือหน่วยงานต้องการสร้างภาพลักษณ์ที่มาก่อนตัวงาน คุณจะรู้สึกอย่างไร??

เช่นกันหากคุณได้มีส่วนร่วมในการจัดงานเพื่อระดมความร่วมมือความคิดเห็นสำหรับบริการของนวัตกรรมสังคม กิจกรรมการรับฟังด้านบริการก็ต้องให้ความสำคัญในระดับเดียวกันกับผู้ให้บริการรายอื่นๆ คงดูไม่ดีนักที่คนผู้จัดงานไม่มี Sevice Mind แล้วบอกให้คุณช่วยบอกความคิดเห็นด้านการบริการ

4. การออกแบบสื่อสาร

การรับรู้ข้อมูลข่าวสารและกระบวนการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน บางคนรับรู้เรียนรู้ได้เร็วจากการอ่าน บางคนจากการฟัง บางคนจากการดู หรือบางคนจากการได้ลงมือทำเอง รูปแบบการสื่อสารที่หลากหลายจึงช่วยเข้าถึงผู้คนจำนวนมากขึ้น ขณะเดียวกันก็จำต้องมุ่งเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายของตัวโครงการเป็นสำคัญเพื่อให้โครงการบรรลุผล

ในทางกลับกันเมื่อโครงการต้องเรียกระดมความคิดเห็นด้านการสื่อสารจะได้รับความคิดเห็นในเรื่องรูปแบบการสื่อสารที่หลากหลายและแน่นอนว่าข้อเสนอทางออกคือ “ทำทุกรูปแบบ” เพื่อเข้าถึงคนทุกคน เป็นสัจธรรมเมื่อโครงการหรือสิ่งดีๆย่อมต้องมีคนต้องการป่าวประกาศ ความท้าทายจึงอยู่ที่จะมุ่งเป้าหรือเล็งเป้าให้ผู้เข้าร่วมโครงการคเห็นได้อย่างไรว่าการสื่อสารที่ตรงจุดนั้นสำคัญ(ในช่วงแรก)มากกว่าการทำตามตัวชี้วัดเรื่องจำนวน

ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นผลแล้วคือการออกแบบป้ายรถเมล์ในกรุงเทพมหานคร เมืองซึ่งผังเมืองทุกคนต้องกุมขมับ และนักเดินทางต้องทำตัวเป็นนักผจญภัย เพราะการอ่านแผ่นที่หรือถนนเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอให้คุนต่อรถเมล์ได้ถูกสาย และไม่เพียงพอให้วางแผนเรื่องเวลาเดินทางได้แม่นยำนัก โครงการออกแบบป้ายรถเมล์ใหม่จึงเกิดขึ้น

ด้วยความซับซ้อนของหลายปัจจัยรวมกันให้ป้ายรถเมล์ต้องมีข้อมูลจำนวนมาก เพื่อให้สื่อสารข้อมูลจบได้ในหนึ่งป้าย (เพราะสายรถเมล์ไม่ได้แบ่งพื้นที่ตามผังเมือง และผังเมืองก็ซับซ้อน) แต่ถือเป็นตัวอย่างที่ดีเมื่อออกแบบมาและนำมาใช้งานจริงแล้วก็เอื้อประโยชน์ได้จริง มีคนใช้เวลาอ่านป้ายรถเมล์และเดินทางได้ดีขึ้น

ยังมีความท้าทายอีกมากในประเทศไทยที่ต้องการการสื่อสารที่ชัดเจน แน่นอนว่าเพื่อลดปัญหาบางอย่าง ป้องกันการเกิดป้ญหาบางรูปแบบ ในทางกลับกันสื่อที่เพิ่มจำนวมากขึ้นเสียจนผู้คนสับสนว่าควรเชื่อถือสื่อใดกันแน่ ควรเชื่อรีวิวที่คนนับร้อยนับพันยืนยันด้วยภาษาและอารมณ์ที่จริงใจ หรือเชื่อถือหน่วยงานที่รับผิดชอบด้วยภาษาที่เป็นทางการ? คำถามของผมไม่ใช่ต้องเชื่อสื่อไหน แต่คือทำไมเหตุการณ์แบบนี้ต้องเกิดขึ้น???

แผนการ (จบงาน/่ส่งมอบงาน)ของแต่ละขั้นตอนต้องมีผู้ปฏิบัติงานชัดเจน และมีความชัดเจนในแผนงาน เพราะความเชื่อมั่นของทุกคนในโครงการขึ้นอยู่กับมัน

เรื่องนี้คงไม่ต้องอธิบายให้มากความเพราะทุกองค์กรมีรูปแบบตัวชี้วัดที่เคร่งครัดให้ปฏิบัติตาม กระนั้นก็ตามเราทุกคนทราบดีถึงความเป็นมลพิษของตัวชี้วัดที่ออกแบบมาเพื่อตัวงานโดยไม่ได้คำนึงถึงบริบท หรือบุคลากรที่ต้องปฏิบัติงานนั้น คำว่าแผนการที่ชัดเจนในกระดาษและที่ประชุม ยังต้องชัดเจนในความเข้าใจของผู้ปฏิบัติงานอีกด้วย ว่างานนี้สามารถดำเนินการให้ลุล่วงได้อย่างเต็มความสามารถ

ถ้าจะลงสนามต้องรู้ว่าใครอยู่ในสนามบ้าง เพื่อรู้ขอบเขต/อาณาเขตของงาน แล้วเริ่มต้นสร้างนิเวศน์ของกระบวนการทางสังคมนั้น

ใครดูซีรี่ย์เกมออฟโธรนมาคงจะเข้าใจ หรือเปรียบกับมหากาพย์ 3 ก๊ก ก็คงไม่ต่างกันมากนักแต่ศึกของนวัตกรรมสังคมนี้ไม่ใช่เพื่อแย่งชิงแำนาจการปกครอง แต่เป็นแย่งชิงพื้นที่สำหรับการพัฒนา!

พื้นที่การพัฒนานี้หมายถึงพื้นที่ในความคิดและการรับรู้ของผู้คน หากยังนึกไม่ออก ลองจินตนาการว่า จะมีองค์กรจำนวนมากเข้ามาช่วยแก้ปัญหาในพื้นที่ให้กับเรา โดยแต่ละองค์กรมีความน่าเชื่อถือแตกต่างกัน บ้างเป็นบริษัทใหญ่ที่เรารู้ว่าเขามาให้ทุนและสร้างภาพ อีกองค์กรหนึ่งมาเพื่อถ่ายภาพเอาผลงานจามนายสั่ง อีกองค์กรหนึ่งมาในนามบุคคลในพื้นที่ซึ่งขอมีชื่อทุกผลงาน และองค์กรที่อยากเข้ามาช่วยงานจริงแต่ไม่มีผลงานอ้างอิง เราจะเชื่อถือองค์กรไหน???

ความจริงที่พูดกันอย่างเปิดอกคือ สังคมไทยมีหลายมิติทับซ้อนกันอยู่ ในชุมชนหนึ่งๆผู้นำทางความคิดด้านความเชื่อทางศาสนาอาจเป็นคนเดียวกับเจ้าของพื้นที่ขนาดใหญ่ซึ่งอยู่ในแนวทางพัฒนาและเป็นข้อพิพาทกันอยู่ การสื่อสารและรับฟังของกลุ่มคนที่ต้องการพัฒนากับผู้นำทางความคิดที่รักจักหน้าค่าตาและรู้จักบ้านทุกหลังคา อาจมีน้ำหนักไม่เท่ากัน

สนามแข่งขันความน่าเชื่อถือเป็นสนามใหญ่และชี้ขาดความสำคัญของตัวงานได้เลยทีเดียว โครงกาความร่วมมือที่เกิดขึ้นแม้จะมีคนพื้นที่เข้าร่วมการออกแบบ แต่เราต้องคำนึงและพิจารณาให้ออกว่าใครเป็นผู้นำทางความคิดหรือกระทั่งคนที่ “เสียงดัง” ที่สุดในการตัดสินใจครั้งนี้ นอกจากนี้ไม่เว้นแม้แต่เรื่องผู้มีอำนาจหรืออิทธิพลในพื้นที่จริง แต่ยังรวมไปถึงการพิจารณาถึงโครงการความร่วมมืออื่นๆที่เกี่ยวข้องกับตัวงานของโครงการเรา

เพราะความซ้ำซ้อนหรือความไม่กล้าเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับข้อพิพาทของโครงการอื่นๆ อาจส่งผลต่อความคืบหน้าของโครงการที่กำลังทำอยู่ได้ และอาจเป็นหนึ่งในการดำเนินการหารือหลัก เนื่องเพราะการพิสูจน์ทราบสาเหตุอาจพบว่าส่วนที่กำลังมีปัญหามาก่อนกลายสภาพเป็นสาเหตุของปัญหาอื่นๆตามมาด้วยเช่นกัน

เครื่องมือในการทำการตลาดอาจช่วยให้สืบค้นข้อมูลผู้เล่นคนอื่นๆในสนามได้ แต่บางสภาวะปัญหาอาจมีความเปราะบางซ่อนอยู่ ในส่วนนี้จึงขึ้นอยู่กับทัศนคติและลูกเล่นในการเข้าหาผู้คนของแต่ละองค์กรหรือเหล่าทีมงานที่จะนำข้อมูลเหล่านี้ออกมาประกอบการวางแผนตัดสินใจวางกลยุทธ์

การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยตนเองของคนท้องถิ่น

หน้าที่หลักของนักออกแบบนวัตกรรมสังคมหรือโครงการร่วมพัฒนานวัตกรรมสังคม คือการส่องมอบและถ่ายทอดกระบวนการพัฒนาที่ใช้งานได้จริง เข้าถึงและใช้งานได้ง่าย โดยไม่เน้นการทำงานที่ตอบสนองตัวชี้วัดเชิงปริมาณ แต่ตอบสนองกับการติดตามกระบวนการใช้เครื่องมือและแนวคิดของคนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

จริงอยู่ที่ความเข้มแข็งของชุมชนเป็นตัวชี้ขาดว่าการพัฒนาจะเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมั่นคงขนาดไหน แต่การสร้างความเข้มแข็งจากบุคคลภายนอกสามารถเกิดขึ้นได้หากการเข้าไปนั่นเป็นไปอย่างเข้าใจ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลากว่าจะเห็นผล แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคนนอกไม่สามารถช่วยได้หรือฝากความหวังไว้กับคนนอกเสมอ

ประเทศไทยเราอยู่ในการรับรู้ที่ต้องฝากเรื่องการดูแลพื้นที่สาธารณะหรือส่วนรวมไว้กับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แน่นอนเราโทษหน่วยงานรัฐที่ไม่จัดการดูแลให้ดี หรือในทางกลับกันกลุ่มคนที่ต้องการพัฒนาก็โทษว่ารัฐถือกฎที่ไม่เปิดกว้างให้ผู้คนได้ทดลองพัฒนาพื้นที่ จะด้วยสภาวะทางเศรษฐกิจหรือไม่ก็ตาม การโยนความรับผิดชอบไปมาก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมของเราไปเรียบร้อยแล้ว

การเกิดขึ้นของกลุ่มคนภาคประชาชนร่วมกับเอกชนจึงเป็นทางออกที่สบายใจกว่า ไม้จะไม่เชี่ยวชาญ ไม่มีกฎเหณฑ์หรือมาตรฐานใดๆมารองรับ หากว่ามันสามารถแก้ปัญหาของชุมชนหรือก่อคุณประโยชน์ในแนวทางที่คาดหวังได้สิ่งนั้นก็คือนวัตกรรมสังคมแล้ว และการเกิดขึ้นของความร่วมมือนั้นก็เป็นภาพสะท้อนความเข้มแข็งของชุมชนในเวลาเดียวกัน

มิติที่ทับซ้อนกันทั้งเชิงพื้นที่และเวลานั้น เป็นงานแรกสุดของเหล่านักออกแบบนวัตกรรมสังคมที่ต้องรับรู้ว่าสภาวะที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบันของปัญหาคืออะไร และจะออกแบบกระบวนการร่วมงานอย่างไรที่จะก่อให้เกิดการเสริมสร้างความแข็งแรงของชุมชน อะไรที่ชุมชนมีและขาด อะไรที่เติมเต็มได้อย่างเหมาะสม อะไรที่เข้ามาแล้วจะเป็นประโยชน์ในช่วงแรก และกลายเป็นภาระในภายหลัง???

มาดูหนึ่งในปัจจัยของกระบวนการนวัตกรรมสังคมที่มีผลต่อความเข้มแข็งของชุมชน

1. ความสามารถที่จะตอบสนองความต้องการของมนุษย์(วัตถุและวัฒนธรรม)

เรื่องนี้กล่าวได้หลายมุมแต่ผมจะของหยิบยกมุมมองการใช้ทรัพยากรร่วมกันของคนในชุมชนขึ้นมาเพราะเป็นปฏิสัมพันธ์ของคนในชุมชนร่วมกันหรืออย่างน้อยก็มีการใช้ทรัพยากรจากแหล่งเดียวกัน และเป็นสาเหตุหลักของข้อพิพาทหรือประเด็นปัญหาต่างอันนำไปสู๋การร่วมมือพัฒนาชุมชนหรือนวัตกรรมสังคม

หากย้อนไปสมัยโบราณในยุคที่ผู้คนหาเลี้ยงชีพจากการพึงพิงสิ่งแวดล้อมเป็นหลักและการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าเป็นรอง ผู้คนเลือกที่จะตั้งที่อยู่ใกล้น้ำสำหรับอุปโภคบริโภค เมื่อเวลาผ่านไปการค้าขายเริ่มมีส่วนหลักในการขับเคลื่อนวิถีชีวิตมากกว่าการพึ่งพิงธรรมชาติ รูปแบบการใช้พื้นที่ย่อมเปลี่ยนแปลงไป แต่ทว่าวิถีเดิมของผู้คนก็ยังคงอยู๋และคู่ขนานกัน ประเด็นปรัญหาจึงเกิดขึ้นเมื่อการใช้พื้นที่ชุมชนขัดต่อวิถีของกันและกัน

ฉะนั้นความสามารถของชุมชนที่จะตอบสนองความต้องการของสมาชิดนั้นจึงเปลี่ยนไป แน่นอนหากอิงตามรูปแบบเสียงข้างมากชุมชนที่มีจำนวนสมาชิกพึ่งพิงธรรมชาติมากกว่าย่อมโหวตชนะเสียงที่ต้องการใช้พื้นที่สร้างบ้านจัดสรรหรือโรงงาน และในทางตรงข้ามก็เช่นเดียวกัน

แต่ความร่วมลงความเห็นกันไม่เคยเปล่าประโยชน์ หากความเข้มแข็งเป็นใจกลางของชุมชน การร่วมลงความเห็นเพื่อเสริมศักยภาพความสามารถของชุมชนย่อมเป็นไปได้ ความสามารถที่จะรองรับการเติบโตของชุมชน ความสามารถที่จะรองรับคนรุ่นใหม่กลับบ้านมาทำมาหากิน ความสามารถของพื้ที่จะที่ส่งเสริมการเกษตรวิถีเดิมให้ดีขึ้น ความสามารถที่จะส่งเสรมิการท่องเที่ยวขณะเดียวกันก็ไม่สร้างความเสียหายต่อคนในชุมชนเอง ฯลฯ

เมื่อพื้นที่ของชุมชนหรือการใช้ประโยชน์ร่วมกันเป็นไปในทิศทางที่ตอบสนองต่อความต้องการของคนในชุมชนได้ ความเข้มแข็งของชุมชนก็เกิดขึ้นได้

2. การพึ่งตนเอง/การปกครองตนเองในท้องถิ่น

ความเข้มแข็งพื้นฐานของสังคมมาจากลักษณะการปกครองกันเอง ซึ่งความเข้มแข็งนั้นอาจกล่าวได้อีกมุมว่าเป็น ความสามารถในการรับมือกับปัญหา ยิ่งสามารถรับมือปัญหาหนัก ปัญหาใหญ่ และปัญหาที่กินเวลายาวนานได้ นั่นก็เพียงพอแล้วที่จะบอกว่าชุมชนนั้นเข้มแข็ง

การมีอำนาจอิสระหรือสิทธิ์ที่จะเลือกสิ่งดีให้กับตนเองของชุมชน และสิทธิ์ต่อรองที่สามารถปฏิเสธิสิ่งไม่ดีหรือล่อตาล่อใจได้ ถือเป็นสุดยอดของชุมชนที่เข้าใจตนเอง และมีโอกาสได้เลือกทางของตนเอง ปัจจุบันนี้รูปแบบการบริหารจัดการแบบรวมศุนย์ของไทยเข้าขั้นล้มเหลวไปแล้ว เป็นปัจจัยผลักดันให้ภาคประชาชนหรือหน่วยงานท้องถิ่นลุกขึ้นมาลงมือด้วยตนเอง

การปกครองท้องถิ่นโดยมีอำนาจรวมศูนย์นั้นไม่ใช่สิ่งชั่วร้ายหากแต่เป็นระบบริหารจัดการที่อาศัยทรัพยากรมากเกินไป กินเวลานานเกินไป และแน่นอนว่าอาจไม่ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน เมื่อผู้คนหันมาร่วมวงสนทนาแล้วตั้งคำถามกันว่าจะเอาอย่างไรต่อดี นั่นคือก้าวแรกของการเริ่มดูแลตนเอง

ศักยภาพของการปกครองตนเองสังเกตได้จากการบริหารจัดการทรัพยกรในพื้นที่ว่าต้องอาศัยงบประมาณสนับสนุนมากน้อยแค่ไหน ไปจนถึงเรื่องโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานว่าสามารถรองรับการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพมากเพียงพอหรือไม่ การที่ชุมชนหน่งจะลุกขึ้นมาปกครองตนเองโดยการลดบทบาทการพึ่งพิงลง(หรือมีชื่อในนามเท่านั้น) ต้องอาศํยความเข้มแข็งของสมาชิกเป็นสำคัญ

แน่นอนว่าเชื่อมโยงไปถึงสภาพทางเศรษฐกิจของสมาชิกว่าสามารถเข้ามาเป็นส่วนผลักดันได้หรือไม่ เมื่อการพัฒนาหลายอย่างติดล่มทั้งเศรษฐกิจและรูปแบบการบริหารจัดการ การปกครองตนเองและอำนาจในการเลือกก็ลดน้อยลงไปด้วย และเมื่อทุกคนต่างอยู่ในสภาวะที่ต้องดิ้นรนเอาตัวรอด งานส่วนกลางที่ป้องกันชุมชนจากการรุกคืบของผู้หวังผลประโยชน์จึงเปราะบางลง

3. การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม

ในท้ายที่สุดความเข้มแข็งของชุมชนก็คือความสามารถและศักยภาพในการกลับมาฟื้นฟูทรัพยากรในพื้นที่ของตนเอง ไม่ว่าชุมชนนั้นจะเป็นชุมชนเกษตรกรรม โรงงานอุตสาหกรรมหรือชุมชนการท่องเที่ยวก็ตาม ทรัพยากรที่ไม่อยู๋ไม่ได้ฟื้นฟูขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ทั้งหมด ปต่เป็นการฟื้นฟูเพื่อสุขภาวะที่ดีสำหรับการอยู่อาศัย

โครงการความร่วมมือเพื่ออนุกรักษ์ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมไม่เป็นเป็นงานที่จบสิ้น เมื่อโดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรที่มีการใช้อยู่เสมอเช่นปลาในแม่น้ำหรือปูในทะเล ซึ่งไม่่าจะมีการเพิ่มจำนวนลดการจับมากเท่าไหร่ กิจกรรมการประมงก็ยังดำเนินอยู่เช่นนั้นและการอนุรักษ์ยังต้องมีต่อไป

หรือการดูแลจัดการขยะในแม่น้ำลำคลองที่สาเหตุของปัญหาอยู่ในทุกที่และทุกรูปแบบ ตั้งแต่คนทำหลุดมือแบบไม่ตั้งใจ การทิ้งแบบไม่มีวินัย สถานที่ท่องเที่ยวที่รับคนเยอะเกินไป การเก็บขยะที่ไม่มีปะสิทธิภาพ ฯลฯ เรียกได้ว่าตลอดทั้งเส้นทางของขยะเลยทีเดียว ซึ่งการดูแลสิ่งแวดล้อมในเรื่องนี้จึงต้องอาศัยการป้องกัน รณรงค์ ห้ามปราม ไปจนถึงการพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บและจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพ

นิเวศน์ของสิ่งแวดล้อมมีกลไกความสัมพันธ์ต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุดจำนวนโครงการด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมอาจไม่เห็นชัดเท่าการเก็บและประเมินผลตัวชี้วัดอย่างมีคุณภาพ เพราะในหนึ่งโครงการด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมอาจไม่ได้มีตัวชี้วัดครอบคลุมมากเพียงพอจะเข้าใจกลไกธรรมชาติ ความเข็มแข็งของชุมชนก็ไม่อาจวัดได้ด้วยจำนวนโครงการ แต่ควรวัดด้วยคุณภาพที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตอย่างแท้จริง

สังคมนิยมแบบถดถอย

ความหมายในเรื่องนี้ของ “สังคมนิยม แบบถดถอาย” คือการที่สังคมหนึ่งๆยึดถือเอาความสามารถในการพึ่งพาตนเองของชุมชนเอาไว้จนไม่เปิดรับโลกภายนอก ขณะเดียวกันก็ปลูกฝังและปิดกั้นคนภายในชุมชนว่าภายนอกนั้นเป็นสิ่งเสื่อมถอย ต้องดำรงไว้ซึ่งสิ่งที่ดีงามอยู่แล้วภายใน

ประเทศไทยคงไม่มีสังคมหรือชุมชนที่สุดโต่งขนาดนี้เพราะรูปแบบสังคมหลากหลายที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันของเราเหวี่ยงให้เราออกมาไกลจากจุดนั้นแล้ว แต่ทว่านั้นเป็นเร่องของรูปแบบการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากร ซึ่งไม่อาจเข้าถึงรูปแบบความเชื่อทางจารีต ประเพณี ศาสนา อันมีผลต่อแนวการปฏิบัติด้านการเปิดรับด้วยเช่นกัน

เรื่องเป็นเหตุเป็นผลอย่างต้นทุนเครื่องจักร ราคาของเทคโนโลยีหรือความีประสิทธิภาพของตัวงาน เป็นสิ่งที่ยอมรับได้เปิดอกพูดคุยต่อรองกันได้ แต่เมื่อมีเรื่องที่เหตุผลไม่อาจเข้าถึงได้เข้ามาเกี่ยวข้อง การปิดกั้นทางความคิดจะเกิดขึ้นโดยทันที ซึ่งสังคมไทยในขณะนี้มีพฤติกรรมเหล่านี้ฝังลึกอยู่ และเปรียบได้ว่าเป็นสังคมนิมยม(ความเชื่อแบบเดียวกัน) อันนำไปสู่การถดถอย

การปิดกั้นไม่เปิดรับ จะทำอย่างไรให้ชุมชนเปิดรับมากพอจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ และไม่ละทิ้งความเป็นตัวเองไว้ได้ เป็นโจทย์ที่ใหญ่มากสำหรับเหล่านักออกแบบนวัตกรรมสังคม

นักออกแบบทั้งหลายต้องเผชิญความท้าทายด้านรูปแบบของการสร้างวัฒนธรรมการออกแบบ

ห้วงสุดท้ายของเนื้อหาคือจะทำอย่างไรให้เกิดการส่งต่อที่ยังยืน คำตอบคือการสร้างวัฒนธรรม องค์กรขนาดใหญ่บริษัทระดับโลกอยู่รอดผ่านยุคสมัยมาได้เพราะวัฒนธรรมองค์กรซึ่งเปรียบได้กับเสาหลักที่คอยค้ำจุนเมื่อเผชิญการเปลี่ยนแปลงและวิกฤติ

แต่วัฒนธรรมด้านการออกแบบด้านตัวงาน การออกแบบทางความคิด การออกแบบทางสังคม กลับไม่ได้อยู่ในบทเรียนหรือในมุมมองพื้นฐานที่คนรุ้นใหม่หรือในทุกๆรุ่นควรได้รับการถ่ายทอด หากมองแบบแนวคิดจักรวรรดินิยมก็คงต้องสอนชาวเมืองให้รู้คณิตศาตร์และวิศวกรรมให้มากๆเพื่อสร้างเมือง แต่ไม่ควรสอยสังคมวิทยาเพราะจะเกิดการตั้งคำถามและขัดขืนลุกฮือขึ้นถามหาความเปลี่ยนแปลง

วัฒนธรรมการออกแบบกำลังเป็นที่นิยมในหมู่มหาวิทยาลัยของไทยในปัจจุบัน ด้วยขึ้นชื่อว่าเป็นผู้นำทางความรู้และปัญญาซึ่งต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลกให้กัน การออกแบบ(ในทุกๆด้าน) จึงมีการปลูกฝังให้ระดมความคิด ออกแบบสิ่งใหม่ ออกแบบวิถีชีวิตใหม่ๆ ออกแบบเครื่องมือใหม่ๆ ออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ๆ ออกแบบความเป็นไปได้ใหม่ๆในการแก้ปัญหา และแน่นอนว่าการออกแบบมี “การตั้งคำถาม” เป็นเครื่องมือสำคัญ

แต่การจะส่งต่อและสร้างวัฒนธรรมการออกแบบทางความคิดให้กับชุมชนหรือพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งนั้นยังคงเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับคนไทที่มองว่าการลงมือลงแรกกับเรื่องไกลตัวหรือกับความคิด(ที่กินและจับต้องไม่ได้) เป็นเรื่องไม่คุ้มค่าไม่คุ้มเสีย เสียเวลาทำหากิน หรือกลับเข้าสู่วงจรความคิดเดิมนั่นคือคิดไปก็ไม่มีใครทำได้เพราะมีคนผูกขาดสิทธิ์ในการแก้ปัญหาแล้วเพียงแต่พวกเขาไม่ลงมือทำเท่านั้น

สายใยชีวิตสู่เรื่องเล่า

สถานที่ที่พวกเราเกิด เติบโต เรียนรู้ชีวิต ใช้ชีวิต สร้างตัว สร้างครอบตัว สูข โศก เศร้า เป็นสถานที่ที่ความผูกพันพัธ์ความทรงจำมีค่าและเป็นจริงเสมอ สถานที่ที่ผู้คนสอดสายใยแห่งชีวิตให้กลายเป็นประวัติศาสตร์ของพวกเขา

โครงการความร่วมมือเพื่อสร้างนวัตกรรมสังคมเมื่อได้เข้าไปอยู่ในวิถีของคนกลุ่มหนึ่งแล้วการปฏิสัมพันธ์ด้วยการด้วยใจก่อเกิดช่วงเวลาแห่งความทรงจำ สิ่งที่ถูกสร้างมาเพื่อเอื้อคุณประโยชน์ต่อชีวิตย่อมมีความผูกพันธ์ทางใจอันยากจะตัดขาด

สิ่งที่นวัตกรรมสังคมหลายครั้งมองข้ามไปคือความผูกพันธ์อันเปราะางเหล่านี้ โครงการหรือทีมงานของโครงการจะได้รับนโยบายหรือให้ความสำคัญกับปฏิสัมพันธ์เหล่านีี้หรือไม่? การดำเนินงานรูปแบบไหนที่เสริมสร้างสายใยชีวิตที่มีต่อตัวงาน ต่อสถานที่ศึกจะอยู่ยั่งยืนมากกว่าแม้ตัวงานจะผุพังไปแล้ว?

เพราะสังคมคือสายใยที่ยึดโยงผู้คนเอาไว้ด้วยกัน นวัตกรรมสังคมก็ควรถือกำเนิดขึ้นจากสายใยนั้นทั้งยังต้องส่งเสริมหรือธำรงไว้ เพราะนวัตกรรมสังคมที่เกิดขึ้นมาแล้วบ่อนทำลายความเป็นสังคมสิ่งนั้นย่อมเป็นปัญหาก่อนจตะกลายสภาพมาเป็นวิธีการแก้ปัญหา

ในท้ายที่สุดสายใยที่ส่งต่อรุ่นต่อรุ่น คนต่อคนจะกลายเป็นเรื่องเล่าที่ส่งต่อกันถึงความรุ่งโรจน์ที่เคยเป็นมา แสดงถึงบทเรียนที่เป็นแบบอย่างและไม่ควรเอาอย่าง ประติดศาสตร์มนุษย์ยอมรับแล้วว่าเราสร้างโลกใหกลายเป็นฮย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ได้เพราะเรื่องเล่า ฉะนั้น นักออกแบบนวัตกรรมสังคมพึงระลึกไว้เสมอว่านวัตกรรมสังคมที่สร้างขึ้นนั้นจะกลายเป็นเรื่องเล่าแบบใด หรือต้องการให้กลายเป็นเรื่องเล่าแบบใด

สังคมมีพลวัตรเชกเช่นชีวิตที่อยู่ในนั้น การที่เราจัส่งมอบหรือยัดเยียดสิ่งใดเข้าไปย่อมมีผลกระทบเกิดขึ้นเสมอ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเล็กน้อยเพียงใดก็ตาม

จบลงแล้วสำหรับการถอดความหนังสือ “นวัตกรรมสังคมที่ทุกคนคือนักออกแบบ” หวังว่าจะเป็นประโยชน์และกระตุ้นมุมมองความคิดที่มีต่อการออกแบบนวัตกรรมสังคมนะครับ ติดตามผลงานอื่นๆของผมได้ที่ Bookspective และ Discovery

--

--

R.Phot
Bookspective

Explorers: Trying to learn new things to understand my own way