หลายคนอาจเคยได้ยินหลักสูตรการฝึกอบรมการคิดเชิงนวัตกรรม หลักสูตรการออกแบบนวัตกรรม ทั้งที่เป็นตัวชิ้นงาน ทั้งออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับสตาร์อัพ ไปจนถึงการออกแบบนวัตกรรมองค์กร ในฐานะที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการออกแบบหลักสูตรฝึกอบรมด้านนวัตกรรมให้กับหลายองกรค์ จึงขอนำมาแบ่งปันประสบการณ์เล่าผ่านบทความชุดนี้
คำถามที่ว่า นวัตกรรมคืออะไร? การออกแบบคืออะไร? และกระบวนการฝึกอบรมที่ว่าด้วยการออกแบบนวัตกรรมคืออะไร? เราจะมาหาคำตอบไปพร้อมๆกัน ผ่านการเล่าเรื่อง โดยในตอนแรกนี้จะเป็นกระบวนการตั้งต้นของทีมงานพวกเรา ซึ่งเน้นการออกแบบกิจกรรมและหลักสูตรที่เน้นผู้เข้าอบรมเป็นสำคัญ
การอบรมแบบมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเราอาจฟังจนคุ้นหูแล้ว แต่ในใจได้อย่างไรว่าการยึดผู้เข้าเรียนรู้/ผู้เข้าอบรมเป็นศูนย์กลางอยู่ในตัวกิจกรรมแล้วจริงๆ?
ใครต้องการอบรม
ทีมงานของพวกเราเป็นที่รักจักในนาม “นวัตกร” ที่ทั้งสร้างนวัตกรรมของตนเองในขณะเดียวกันก็รับแบ่งปันความรู้ในรูปแบบของการฝึกอบรมด้วยเช่นกัน แม้จะไม่มีการสร้างเว็บไซต์และป่าวประกาศว่าเราทำ แต่การบอกปากต่อปากก็เป็นเครื่องนี้ชั้นดีที่ไว้ใจได้ ที่จะบอกแากต่อปากเฉพาะคนที่ไว้ใจกัน นั่นทำให้ผู้ที่เชิญพวกเราไปจะมีความไว้วางใจ ผสมด้วยความคาดหวังในระดับหนึ่ง ซึ่งเราจะพยายามไม่ให้ใครผิดหวัง
1. องค์กร
เริ่มแรกเราต้องรู้ว่าองค์กรที่เชิญพวกเราไปเป็นองค์กรอะไร ภาครัฐหรือเอกชน หรือเป็นองค์กรที่ทำงานด้านใด ตัวอย่างเช่น บริษัทผลิตเครื่องปรับอากาศ จากโรงเรียน จากกระทรวงต่างคมนาคม หมายความว่าบริบทในเนื้อหาการจัดกิจกรรมต้องสื่อไปในทางนั้น เช่นกระบวนการผลิต เกี่ยวกับการเรียนรู้ และเกี่ยวกับการจัดการคมนาคม ตามลำดับ แต่ก็ยังไม่เพียงพอต้องมีข้อมูลอื่นๆประกอบในหัวข้อต่อไป
2. หน่วยงานย่อย/เจ้าภาพ
แม้จะมีโครงการภายใต้องค์กรใหญ่ แต่ทุกโครงการมีหน่วยงานย่อยเป็นเจ้าภาพจัดงานเสมอ ซึ่งหน่วยงานย่อยจะแสดงให้เห็นถึงตัวงานได้ชัดเจนขึ้นว่ากำลังจะเกิดการอบรมเพื่อไปประยุกต์ใช้อย่างไร ขอยกตัวอย่างเป็นบางหน่วยงานดังนี้
- ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัทเครื่องปรับอากาศ: หมายความว่าการฝึกอบรมจะเป็นบุคคลากรที่อยู๋ในกระบวนการทำงานด้านพัฒนา ซึ่งมีเครื่องมือ/แนวคิด/ทรัพยากร/ระบบบริการงาน ในการพัฒนาอยู่ในมือในระดับหนึ่ง ยิ่งเป็นบริษัทใหญ่ยิ่งมีความพร้อมในการรองรับแนวคิดใหม่ๆให้สามารถเป็นไปได้มากขึ้น
- ฝ่ายบุคคล กระทรวงคมนาคม: เป็นหน่วยงานรัฐบาล รับรู้กันว่าระบบราชการมีการบริหารงานแบบเป็นขั้นเป็นตอน ฝ่ายบุคคลซึ่งมีตัวงานคือการดูแลสวัสดิการ กำกับดูแลการทำงาน ฝึกอบรมพัฒนา มีแนวคิดด้านการบริหารงานบุคคลซึ่งเป็นศาสตร์ที่มีความจำเพาะ
- หมวดวิทยาศาสตร์ โรงเรียน… : โรงเรียนรัฐกับเอกชนอาจมีการบริหารจัดการกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เมื่อเป็นกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์แล้ว หมายความว่าองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์จำมีลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน ไม่ว่าจะมีการจัดอบรมแล้วผลลัพธ์เป็นอย่างไร ตัวชี้วัดจะต้องชัดเจนเช่นเดียวกัน เพราะระบบการศึกษาเน้นให้สร้างตัวชี้วัดที่มองเห็นจับต้องได้
3. โครงการ(ต้องการ)อะไร
ชื่อโครงการจะบ่งบอกเป้าหมายสูงสุดที่ต้องการของการจัดฝึกอบรมในครั้งนั้นๆ และเหตุที่ชื่อโครงการไม่ได้เป็นหัวข้อพิจารณาแรกของเรานั่นเพราะว่าเราต้องพิจารณา “ผู้เข้าอบรม” เป็นสำคัญ ว่ามีการทำงาน/ตัวงานอยู่ในศาสตร์ด้านใด หัวข้อจะเป็นตัวกำหนด “ศาสตร์” ต่างๆว่าในการอบรมครั้งนัั้นว่าต้องใช้ศาสตร์อะไรบ้าง ลองมาพิจารณาตัวอย่างต่อเนื่องกันครับ
- โครงการฝึกอบรมพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัทเครื่องปรับอากาศ: การพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลมีกระบวนการว่าด้วยการพัฒนานวัตกรรมเป็นพื้นฐาน แต่ทว่านวัตกรรมด้านดิจิทัลจำต้องอาศัยองค์ความรู้เฉพาะทางที่เพิ่มเข้ามา ซึ่งสิ่งที่ทีมงานของเรามักจะสอบถามผู้ประสานงานเพิ่มเติมนั่นคือ มีความคาดหวังอย่างไรกับโครงการอบรมนี้ และหลังจากอบรมผู้เข้าอบรมต้องนำองค์ความรู้ไปใช้ทำอะไรต่อหรือไม่
ตัวอย่างเช่นทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์กำลังทดลองภัณฑ์เครือข่ายเครื่องปรับอากาศเป็นชุมชนเพื่อการบริหารจัดการ การอบรมนี้ต้องการเพิ่มแนวคิด/ทักษะ/กระบวนการทำงานที่ส่งเสริมการพัฒนาให้ดีขึ้น เมื่อทราบเช่นนี้เราจะสามารถออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับกระบวนการทำงานที่ทำอยู่ของผู็เข้าอบรมได้ หมายความว่าการอบรมของเราเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้งานจริง ซึ่งต่างกันโดยสิ้นเชิงกับการนำหลักการหรือทฤษฎีมาสอนแล้วจบโครงการ
- โครงการฝึกอบรมพัฒนานวัตกรรมองค์กร ฝ่ายบุคคล กระทรวงคมนาคม: การพัฒนานวัตกรรมองค์กรเป็นกระบวนการว่าด้วยความร่วมมือของทุกฝ่ายเกือบทั้งหมดขององค์กรตั้งแต่ผู้บริหารจนถึงผู้ปฏิบัติงาน (ต่างกับฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ซึ่งต้องการใช้ประโยชน์เฉพาะภายในฝ่าย)
เมื่อต้องผนวกเอากระบวนการพัฒนานวัตกรรมองค์กร เข้ากับศาสตร์การบริหารจัดการบุคคลแล้ว จึงต้องทราบความคาดหวังเช่นเดียวกับทุกๆโครงการว่าหลังจากการเข้าร่วมอบรมแล้วต้องทำอะไรต่อหรือไม่ ตัวอย่างเช่นโครงการนี้อาจต้องการแนวทางในการออกแบบแผนกลยุทธ์ใหม่สำหรับการจัดการบุคคล ฉะนั้นรูปแบบกิจกรรมจึงมั่งไปที่การคิดอย่างเข้าใจสถานการณ์และความสัมพันธ์ของกระปฏิบัติงานการกลยุทธ์
- โครงการฝึกอบรมพัฒนาทักษะศตวรรษที่21 หมวดวิทยาศาสตร์ โรงเรียน…: เมื่อเป็นสถานศึกษาที่ต้องการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 แน่นอนว่าคำถามแรกของพวกเราคือสอบย้อนกลับไปที่กระทรวงศึกษาว่ามีแผน/แนวนโยบาย/กฎกระทรวงออกมาด้านนี้หรือไม่ นั่นเพราะว่าหากไม่ทราบถึงกฎเกณฑ์แนวปฏิบัติที่มีอยู่อาจหมายถึงการจัดกิจกรรมที่ไม่ตรงกับความต้องการของผู้จัดโครงการ โดยเฉพาะเรารู้ว่าโรงเรียนจะต้องมีตัวขี้วัดที่สามารถประเมินได้ด้วยกระทรวงเสมอไม่มากก็น้อย
4. “ใคร” ที่เข้าอบรม
ใครในที่นี้หมายถึงคนที่มาเข้าร่วมอบอรม สิ่งที่ต้องทราบเป็นอันดับแรกคือคนกลุ่มนั้นมาด้วยความเต็มใจหรือไม่? คำถามนี้ดูตรงไปหน่อยแต่เราจำเป็นต้องทราบ นั่นเพราะว่าความตั้งใจของกลุ่มที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ กับคนที่ถูกโครงการบังคับให้มาด้วยบทบาทหน้าที่หรืออะไรก็ตาม จะให้บรรยกาศในห้องอบรมที่แตกต่างกัน และแน่นอนว่าส่งผลโดยตรงต่อผลลัพธ์และสัมฤทธิ์ของโครงการ รายละเอียดเจาะลึกเรื่องตัวบุคคลเชิญเลื่อนจอลงอ่านต่อได้เลยครับ
ออกแบบกิจกรรมอย่างจริงใจ-Persona
คำว่า Persona ใช้ในศาสตร์ด้านการตลาดสำหรับการวิเคราะห์กลุ่มลูกค้า เฟ้นหากลุ่มที่หวังผลก่อนจะออกโฆษณาโปรโมชันหรืออะไรก็ตามที่ส่งเสริมการขายของแบรนด์ ตัวอย่างเช่นหากท่านเป็นองค์กรที่ขายพิซซ่า ท่านคงไม่ยิงโฆษณาหรือทำการตลาดภาพลักษณ์ด้านสุขภาพมากนัก ท่านย่อมให้ความสำคัญไปกับความอร่อย ความสนุกสนานที่ได้ร่วมรับประทาน ความแปลกใหม่ การฉลอง ฯลฯ
เช่นเดียวกันการจัดกิจกรรมในเบื้องต้นเราจะถามว่าเป็นองค์กรอะไร มาจากหน่วยงานไหน ต้องการอบรมเรื่องอะไร ใช้งานอะไรต่อหรือไม่ และใครที่มาเข้าร่วม คำว่าใครในที่นี้เริ่มจาก
1. สายงาน-ตำแหน่งงาน
สายงานจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบการสื่อสารของพวกเรามาพิจารณาตัวอย่างกันครับ
- โครงการฝึกอบรมพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผู้เข้าร่วมคือพนักงานใหม่ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาจบใหม่: ภาพแรกในหัวของพวกเราเมื่อทราบข้อมูลนี้คือ นักศึกษาจบใหม่ในยุคสมัยนี้ใช้งานอุปกรณ์ทางดิจิทัลได้ค่อนข้างเก่งอยู่แล้ว หรืออย่างน้อยที่สุดก็เข้าใจกลไกการทำงานพื้นฐานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แอพพลิเคชันในสมาร์ทโฟนฯลฯ และแน่นอนว่าต้องมีไลน์ กับเฟสบุ็ค เป็นอย่างน้อย
ฉะนั้นเมื่อหัวข้อว่าด้วยนวัตกรรมดิจิทัลที่อาจจะนำไปต่อยอดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทเครื่องปรับอากาศ แนวทางที่เราพอจะคาดเดาได้คือ การอบรมนี้จะต้องมุ่งไปในทิศทางความรู้ความเข้าใจโลกดิจิทัลของผู้เข้าร่วมที่มีต่อโลกของการใช้เครื่องปรับอากาศ กล่าวคือ ออกแบบการอบรมให้คนรุ่นใหม่เหล่านี้รู้จักกับศักยภาพของเครื่องมือดิจิทัลที่ตนเองใช้เป็น เชื่อมต่อกับการพัฒนาตามความต้องการลูกค้าหรือก้าวล้ำให้ลูกค้าประทับใจ
- โครงการฝึกอบรมพัฒนานวัตกรรมองค์กร ฝ่ายบุคคล กระทรวงคมนาคม ระดับหัวหน้างาน: คำว่าระดับหัวหน้างานสามารถตีความได้ว่ามีลูกน้อง(อันนี้ก็ตรงเกินไปฮ่าๆ) ตีความได้ว่าเป็นระดับที่สามารถตัดสินใจเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานได้ในระดับหนึ่ง มีคะแนนเสียงในการโหวตเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือรับผิดชอบการทำงานโครงการ
อีกหนึ่งความหมายที่สมารถตีความได้นั่นคือ อายุ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าแ่กหรือไม่แ่กแต่หมายความว่ากิจกรรม ภาษา ทัศนคติ และการทำงานในองค์กรนั้นมีรูปแบบอย่างไร กิจกรรมสำหรับหัวหน้างานอาจเป็นกิจกรรมที่สามารถลงลึกในรายละเอียดไปพร้อมๆกับมุมมองด้านบริหารจัดการ (ต่างจากฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ซึ่งอาจให้รายละเอียดทางเทคนิคเชิงลึกได้) ความต่างนี้ยังหมายรวมไปถึงการเข้าหาของทีมงานพวกเรา ที่จะต้องเลือกสื่อสารอย่างไรที่เป็นหารให้เกียรติอย่างเหมาะสมอีกด้วย
- โครงการฝึกอบรมพัฒนาทักษะศตวรรษที่21 หมวดวิทยาศาสตร์ โรงเรียน… คุณครูวิทยาศาสตร์ ทั้งที่บรรจุใหม่และใกล้เกษียณ: โจทย์อย่างอย่างหนึ่งที่เราเคยพบคือการจัดกิจกรรมที่มีผู้เข้าร่วมงานต่างวัยกันอย่างมาก ความต่างนี้ส่งผลต่อการออกแบบกิจกรรมตั้งแต่กิจกรรมนันทนาการเล็กน้อยเพื่อสร้างบรรยากาศดีๆ ไปจนถึงรูปแบบการขอความร่วมมือร่วมกิจกรรม
โดยเฉพาะเมื่อมีการจัดกลุ่มเพื่อระดมความคิดหรือทดลองกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่ม การมีผู้อาวุโสในกลุ่มย่อมหมายถึงน้ำหนักของความคิดเห็นที่สมารถโน้มเอียงไปได้เช่นเดียวกัน และแม้จะเป็นเรื่องที่หลายครั้งห้ามปรามไม่ได้ แต่เมื่อเราทราบช่วงอายุและความคาดหวังได้ตั้งแต่ต้น การมีทีมงานเข้ากลุ่มเพื่อสังเกตุการณ์และคอยช่วยเหลือในกระบวนการ ก็สามารถช่วยลดเหตุการณ์ลักษณะนี้ได้
2. ประสบการณ์
ประสบการณ์การทำงานของผู้ที่มาเข้าเป็นหนึ่งในปัจจัยการพิจารณาออกแบบกิจกรรมเช่นเดียวกัน คล้ายกับการทราบข้อมูลตำแหน่ง-ระดับการทำงาน แต่ประสบการณ์ยังหมายความว่าได้ภูมิความรู้การทำงานของผู้เข้าร่วมอบรมจะมีผลต่อกระบวนการจัดอบรมและกระบวนการคิดระหว่างจัดอบรม
ตัวอย่างเช่น ผู้เข้าอบรมท่านหนึ่งมีประสบการณ์การทำงานแบบปฏิบัติการมานาน และการอบรมเน้นให้เกิดกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์หรือการคิดเชิงนวัตกรรม ในขณะที่อีกท่าหนึ่งอายุงานยังไม่มากแต่มีประสบการณ์ทำโครงการนวัตกรรมมาก่อน เป็นต้น ประสบการณ์ส่วนนี้เป็นหนึ่งในชุดคำถามที่เราต้องการให้ผู้ประสานงานโครงการอบรมนั้นมอบข้อมูลให้กับเรา เพราะเชื่อว่าหลายๆครั้งเราก็ไม่อยากให้เกิดบรรยากาศสอนจระเข้ว่ายน้ำ และหรือบรรยากาศที่น่าเบื่อสำหรับผู้ฟังเพราะมีแต่เรื่องเดิมที่คุ้นเคยอยู่แล้ว
3. “งาน” หลังจากการอบรม
อย่างที่ได้เกริ่นไปแล้วในหัวข้อก่อนหน้านี้การออกแบบการอบรมของพวกเราต้งการให้ได้งานจริงๆ เราในฐานะผู้ออกแบบและจัดอบรม และท่านทั้งหลายในฐานะผู้เข้าอบรมต่างรู้ดีว่าบางโครงการจัดขึ้นเพื่อให้มีงานเกิดขึ้นเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจะสานต่อตัวงานตั้งแต่แรก และการเดินทางออกนอกสถานที่คือการพักผ่อน
เราทราบในจุดนี้ดี และนั่นคือโจทย์ที่เราต้องการสร้าง “เมื่อมีโอกาสได้จัดกิจกรรมหนึ่งครั้ง เราจึงต้องการให้เกิดประโยชน์จริงๆ” ฉะนั้นไม่ว่ากิจกรรมการอบรมในโครงการนั้นจะเป็นไปด้วยบรรยากาศการนั่งฟังแบบพอเป็นพิธีก็ตามพวกเราก็จะหาและออกแบบกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ทั้งในแง่การดึงความสนใจและในแง่การจดจำเทคนิคเล็กๆน้อยๆติดตัวกลับบ้าน
หนึ่งในวิถีทางของพวกเราคือการขอข้อมูลเพื่อทราบถึงงานหรือโครงการที่ผู้เข้าอบรมกำลังดำเนินการอยู่ และเมื่อเราได้เตรียมกิจกรรมและแนวทางที่เป็นประโยชน์มาเล่าให้ฟัง แน่นอนว่าผู้เข้าอบรมย่อมต้องให้ความสนใจ
4. เวลาโครงการ-จำนวนผู้เข้าร่วม
ส่วนสุดท้ายที่พิจารณาคือเวลาของโครงการ แะลจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม อย่างแรกของพิจารณาจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมก่อน
- จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมอบรม มีผลต่อการจัดรูปแบบกิจกรรม ประการแรกหากมีจำนวนเข้าร่วมอบรมมาก กิจกรรมที่ต้องเวิร์คช็อปต้องใช้บุคลากรของทีมงานพวกเรามากตามไปด้วย และการจัดกิจกรรมที่ต้องการการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังออกรสชาติในการแสดงความคิดเห็น ก็ต้งพิจารณาร่วมกับเวลาของกิจกรรมอีกครั้งหนึ่ง
- เวลาของการจัดกิจกรรม หากเป็นรูปแบบการบรรยายเพียงอย่างเดียว จำนวนคนมากอาจไม่ต้องคำนึงมากเท่าระยะเวลา เพราะหากมากเกินไปจะเกิดภาระข้อมูลล้นทะลักในการรับรู้ได้ และหากน้อยเกินไปก็อาจไม่กระจ่างในเนื้อหาเพราะต้องรวบรัดตัดตอน โดยเฉพาะบางกิจกรรมซึ่งเน้นการมีว่วนร่วมจึงจะเกิดความเข้าใจ แต่หากมีเวลาจำกัดหรือจำนวนคนที่มากเกินไป ก็จำต้องปรับรูปแบบของกิจกรรม
รู้เขา-รู้เรา = รู้จักกันได้ยาว
ถ้าจะให้ชื่มทีมงานของตัวเองก็คงจะเป็นเสียงตอบรับจากผู้เข้าอบรม เนื่องเพราะหลายต่อหลายโครงการที่ถูรับเชิญไปเกิดจากการที่หนึ่งในผู้เข้าอบมรมประทับใจ และต้องการให้มีการจัดอบรมเฉพาะเหน่วยงานย่อยของตนเอง จึงมีการเรียนเชิญอยู่เสมอ
และเช่นทุกครั้ง ไม่ว่าเราจะถูกเชิญไปอบรมให้กับหน่วยงานเดิม(แต่ต่างหัวข้อ) เราก็จะตั้งคำถามลักษณะเดิมทุกครั้ง เพื่อปรับกิจกรรมหรืออย่างน้อยก็ภาษาในการสื่อสาร กรณีตัวอย่างที่ทันยุคสมัยรวมไปถึงการยกสถานการณ์ใกล้ตัวเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น หรือแม้จะเป็นหน่วยงานเดิมเราก็อดถามผู้ประสานงานไม่ได้ว่าเคยเล่นเกมบางเกมมาหรือยัง
บทเรียนอันทรงคุณค่าซึ่งสะท้อนกลับบมาหาตัวเราในฐานะที่ให้รายละเอียดกับผู้เข้าร่วมอบรม คือการเรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจบริบทความเป็นมาของความคิดตั้งแต่คนๆหนึ่งไปจนถึงทั้งแผนกหรือทั้งองค์กร ทำให้เราได้เห็นถึงค่านิยม บรรทัดฐาน และมุมมองการทำงานขององค์กรไม่ว่ารัฐหรือเอกชน
โดยเฉพาะการให้เข้าไปเรียนรู้ร่วมกันกับการระมสมองของผู้เข้าร่วมอบรม สิ่งนั้นค่อยๆเผยแก่นสารของการทำงานในสายงานนั้นๆออกมา ซึ่งนั่นหมายความว่าเมื่อไหร่กก็ตามที่พวกเราต้องรวบรวมหาข้อมูล ออกแบบประเมิน ออกแบบกิจกรรม หรือการมีส่วนร่วมในโครงการความร่วมมือเพื่อสร้างนวัตกรรมใดๆก็ตาม เราจะสามารถเข้าถึงแก่นหรือย่างน้อยที่สุดก็มีภาพคุณลักษณะของปัญหาและการปฏิบัติงานได้ดีเพียงพอจะไม่ออกแบบตัวงานที่สร้างภาระในภายหลัง
ในโลกยุคที่แม้แต่การทำธุรกิจก็ไม่ใช่การแข่งขันอีกต่อไป แต่เป็นการจับมือเดินหน้าไปด้วยกันในแนววิถีทางของตนเอง มีบ้างคู่ขนาน มีบางไขว้พาดผ่านกัน แต่จะเป็นการดีกว่าหากเราหันหน้าพินิจพิจารณาพันธมิตรเราอย่างเข้าใจมากขึ้น อย่างเดียวกับที่เข้าใจข้อดีข้อเสียของเพื่อนสนิท เพราะยิ่งเข้าใจกันมากเท่าไหร่ การก้าวเดินไปด้วยกันย่อมพาเราทั้งหมดไปได้ไกล…
ฝากติดตามผลงานอื่นๆของผม และทีมงานของเราได้ที่ Bookspective ,Discovery และ เกษตรไทย IoT