วิชาเมกเกอร์(Maker) IOI #10: ว่าด้วยฟังก์ชันหลัก Minimum Viable Product (MVP)

R.Phot
Discovery
Published in
Nov 6, 2020

Minimum Viable Product (MVP) แปลความได้สั้นๆว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีฟังก์ชันการทำงานน้อยที่สุดที่สามารถตอบสนองลูกค้าได้ (และลูกค้ายินดีซื้อ) ฟังดูอาจจะงงในตอนนี้แต่อีกเดี๋ยวลองอ่านดูสักนิดเชื่อว่าเป็นแนวคิดที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในยุคนี้

ก่อนจะเข้าเนื้อหาจะขออธิบายความเป็น คุณค่าหลักหรือฟังก์ชันการทำงานพื้นฐาน หมายถึงหน้าที่การทำงานของผลิตภัณฑ์หนึ่งถูกออกแบบมาจะเป็นการทำงานพื้นฐาน หนึ่งในมีกี่อย่างของผลิตภัณฑ์ที่จะทำงานได้ เช่น ประตูอัตโนมัติทำงานอัตโนมัติตามที่ต้องการผู้ใช้ต้องการหลักเท่านี้ หรือระบบตรวจวัด แสดงผลใดๆก็แล้วแต่จะต้องทำงานพื้นฐาน “ตามชื่อ” ของมันให้ได้เป็นพื้นฐาน

ปล.ตรงนี้อาจฟังดูตลกแต่อุปกรณ์ที่ทำงานไม่ได้ตามชื่อล้วนแล้วแต่ไม่สามารถอยู่ในได้ตลาด จะเป็นอย่างไรถ้าเหล็กของค้อนที่ตีตะปูนิ่มกว่าตะปู หรือระบบตรวจวัดอัตโนมัติที่ต้องใช้มือกดทุกครั้ง???

ศึกษาปัญหาถึงแก่น เพื่อออกแบบ MVP

Minimum Viable Product (MVP) เป็นแนวคิดที่มาจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มแอพพลิเคชันโดยเฉพาะกลุ่มสตาร์ทอัพ เนื่องเพราะแอพพลิเคชันมีต้นทุนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการผลิตสินค้าที่เป้นสิ่งของจับต้องได้ การพัฒนาสามารถเริ่มได้ด้วยคนเพียงไม่กี่คนกับเงินทุนในการบริหารจัดการพื้นที่บนโลกออนไลน์ ความที่ต้นทุนน้อยกว่านี่เองที่ใครๆก็สามารถทำแอพฯออกมาได้ แนวคิดของMinimum Viable Product (MVP) คือการทำฟังก์ชันที่จำเป็นๆสำคัญๆ ออกมาทดลองตลาดดูก่อน

การทดสอบแอพฯจึงต้องการฟังก์ชันการทำงานเฉพาะเจาะจงและชัดเจนในตัวมันเอง เช่น แอพฯจองห้องพัก แอพฯสั่งอาหารคงไม่ต้องการฟังก์ชันใดหรูหรานอกจากเลือกร้าน เลือกเมนู แล้วกดสั่ง ส่วนเริ่มการคำนวณเวลาการจับคู่นั้นเป็รการประมวลผลซึ่งช่วยสนับสนุนการตัดสินใจอีกทีเท่านั้น

อุปกรณ์ที่เมกเกอร์สร้างขึ้นควรได้รับการพิจารณาหรือวิเคราะห์ปัญหาให้ชัดเจนเสียก่อนว่าฟังก์ชันหลัก หรือคุณค่าที่อุปกรณ์นั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่อะไร? การจะตอบคำถามนี้ได้ชัดเจนจำต้องศึกษาประเด็นข้อความต้องการหรือคุณลักษณะของปัญหาอย่างถ่องแท้เท่านั้น

การออกแบบที่ชัดจนจะสามารถระบุได้ว่าฟังก์ชันการทำงานของอุปกรณ์จะต้องมีอะไรบ้าง มีแนวทางเบื้องต้นสำหรับผู้ที่กำลังออกแบบคือ ไล่เรียงฟังก์ชันที่จำเป็นมากที่สุดสำหรับงานมา 3 ฟังก์ชัน โดยมีความยากที่ต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ในการระบุว่าการแยกแยะกระบวนการทำงานนั้นย่อยแค่ไหนจึงจะเป็นฟังก์ชันที่เหมาะสม

ขอยกตัวข้างข้างต้นมาใช้ต่อ การสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชัน เริ่มที่การกดเปิด(ไม่นับ)

  • เลือกร้าน: เป็นขั้นตอนหนึ่งซึ่งมีรายละเอียดภายในเช่นรูปภาพ เวลา ระยะทาง แต่การเข้าสู่ขั้นตอนเลือกนั้นผู้ใช้งานไม่ต้องกดปุ่มหรือทำอะไรซับซ้อนเพียงแต่ใช้สายตาดู และนิวเลื่อนที่หน้าจอเท่านั้น
  • เลือกเมนู: เป็นไปในลักษณะเดียวกับการเลือกร้าน แตกต่าวกันที่จำนวน และสามารถใส่ข้อความต้องการเสริมอื่นๆได้ (เช่นพิเศษไข่ดาว ฯ)
  • กดสั่ง: มีขั้นตอนย่อยเช่นเลือกเก็บเงินช่องทางใด แต่หากใช้งานไปแล้วสักพักขั้นตอนนี้จะง่ายขึ้น

ตัวอย่างคลาสสิกที่มักจะถูกหยิบยกมาเสอมคือแอพพลิเคชันอย่างอินสตราแกรมที่แรกเริ่มเดิมทีนั้นฟังก์ชันมีเพียงการโพสรูปเท่านั้น ไม่มีช่องคอมเมนต์ ไม่มีช่องแชท หรือสตอรี่ ไม่มีฟิวเตอร์ มีเพียงโพสภาพเป็นอัลบั้มภาพเท่านั้น ก่อนจะได้รับความนิยมอย่างมากตีตื้นเฟสบุ๊ค(ในสัมยนั้น)เพราะไม่ต้องพูดเยอะ ดูรูปได้เลย

สรุปโดยรวมแล้ว Minimum Viable Product (MVP) ของแอพพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์เกือยทั้งหมดมีเพียง 3 ฟังกฺชันหลักนี้เท่านั้น ส่วนเสริมเติมแต่งอื่นๆ ก็เป็นการเพิ่มและดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการ

3 ฟังก์ชันหลัก

มาพิจารณาอุปกรณ์ที่ท่านกำลังออกแบบหรือดำเนินการสร้างอยู่ในโครงการดูครับว่า มี 3 ฟังก์ชันหลักที่ทำงานแก้ปัญหาได้ตามต้องการบ้างครับ โดยลองพิจารณาจากตัวอย่างการระบุหัวข้อของปัญหา ดังนี้

  • ปัญหาคือ ผู้ปฏิบัติงานไม่ทราบสถานะของการทำงานของอีกแผนก
  • แนวทางแก้ปัญหา ทำให้ทราบสถานะตลอดเวลา/ ทำให้ทราบสถานะได้ทุกเวลาที่ต้องการทราบ/ทำให้ทราบสถานะเมื่อต้องใช้งาน (ขึ้นลักษณะปัญหาและการออกแบบ)
  • ปัญหาคือ การแจ้งเตือนไม่ทันท่วงทีหรือล่าช้าเกินกว่าจะแก้ไข
  • แนวทางแก้ปัญหา ทำให้ระบบแจ้งเตือนคาดการณ์นานขึ้นและแม่นยำขึ้น/ถอดกระบวนการหาจุดการแจ้งเตือนใหม่ที่ทันท่วงที (ขึ้นลักษณะปัญหาและการออกแบบ)
  • ปัญหาคือ ใช้เวลาในการเล็ง/วัดระยะการสวมชิ้นงานมากเกินไป
  • แนวทางแก้ปัญหา ทำให้การสวมจับรวดเร็วขึ้นด้วยอุปกรณ์ช่วย/อุปกรณ์แัตโนมัติ (ขึ้นลักษณะปัญหาและการออกแบบ)
  • ปัญหาคือ เอกสารไม่ได้รับการจัดระบบจึงเสียเวลาค้นหา
  • แนวทางแก้ปัญหา ทำให้เอกสารมีระบบ/สร้างระบบจัดเอกสาร/สร้างระบบค้นหาเอกสาร
  • ปัญหาคือ ไม่มีข้อมูลยืนยันการทำงาน
  • แนวทางแก้ปัญหา ถอดกระบวนการเพื่อหาการยืนยัน/ทำให้ปัจจัยนั้นๆได้รับการยืนยัน
  • ปัญหาคือ ฯ

จากลักษณะที่ไล่เรียงมา การออกแบบอุปกรณ์ด้วยแนวคิด MVP นั้นจะต้องมีการทำงานพื้นฐานที่ออกแบบมาเพื่อไข่ไขและเติมเต็มปัญหานั้นให้ได้ก่อน กระนั้นก็ตามทุกวันนี้การแข่งขันค่อนข้างสูง ผู้คนมีฝีมือมีประสบการณ์มากขึ้น ใครๆก็สามารถเรียนรู้ที่จะเป็นเมกเกอร์ได้เพียงนั่งเรียนในยูทูป ตัวชี้วัดว่าสิ่งประดิษฐ์นั้นๆจะสามารถเข้าถึงผู้ใช้งานและก่อเกิดเป็นอาชีพได้จึงถูกเหวี่ยงมาที่ปัจจัยการแก้ปัญหา เงินทุน และการเข้าถึงลูกค้า

คนที่มีความรู้ก็นำมาก้าวหนึ่ง คนที่มีทุนทรัพย์ก็นำมาอีกก้าวหนึ่ง คนที่เข้าถึงลูกค้าได้ก็นำมาอีกก้าวหนึ่ง แต่ก็ใช่ว่าคนที่ออกตัวก่อนหรือใกล้เส้นชัยมากกว่าจะชนะเสมอไป เพราะยังต้องตัดสินกันที่กระบวนการทำงานในขั้นสุดท้ายนั่นคือการ ทดสอบสมมติฐาน

ทดสอบสมมติฐาน

อย่างที่ได้กล่าวไป การเข้าถึงลูกค้าหรือเจ้าของปัญหาถือได้ว่าเป็นข้อได้เปรียบอย่างมากในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เนื่องจากสามารถรับรู้และถอดความต้องการได้โดยตรง อย่างไรก็ตามก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถถอดข้อความต้องการได้ชัดเจนและไม่แน่ว่าอาจจะถามลูกค้าผิดคน!!!

ในตอนก่อนหน้านี้เราได้เล่าไปถึงการแบ่งกลุ่มลูกค้าเพื่อให้สามารถเน้นหรือพถ่งเป้าการพัฒนาและการขายได้อย่างตรงจุด ซึ่งการวิเคราะห์และประเมินเบื้องต้นก้อนจะพบพูดคุยกับลูกค้าตัวจริงช่วยให้สามารถลำดับความคิด และความสำคัญของการสอบถามได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะเราคงไม่เข้าหาโดยถามว่า “พี่มีประเด็นปัญหาอะไรกับอุปกรณ์นี้ไหมครับ” แต่ควรจะมุ่งไปที่ “พี่มีปัญหากับระหว่างการใช้งานอุปกรณ์นี้อย่างไรบ้างครับ”

แม้เราจะได้ MVP ของเรามาแล้ว ผ่านการสอบถามเบื้องต้นแล้ว แต่การทดสอบสมมติฐานยังไม่หมดแค่นั้นเพราะกลุ่มคนที่สอบถามอาจไม่ได้เป็นตัวแทนของลูกค้าที่เราคาดว่าจะมีอยู่จริงก็ได้ หมายความว่าเราอาจจะมาถูกทางที่ออกแบบ 3 ฟังก์ชันหลักได้แต่อาจมีเพียง1 ฟังก์ชันหลักที่คนส่วนใหญ่ต้องการหรือมีฟังก์ชันอื่นๆที่เราไม่ได้โฟกัสก็เป็นได้

เพื่อป้องกันการลงทุนที่สูญเปล่าหรือเกินความจำเป็น หรือความผิดพลาดล้มเหลวของสตาร์ทอัพหลายแห่งที่การนำเสนอเพื่อขอทุนนั้นเป็นการสอบถามลูกค้ายังไม่รอบด้านมากเพียงพอ เมื่อลงทุนผลิตสินค้าจำนวนมากแล้ว ก็ต้องพบกลับตลาดที่ไม่ตื่นตัวต่อสินค้าเท่าที่ควร และเงินทุนทุนก็เรียกได้ว่าเป็นบทเรียราคาแพง ดังนั้นต้นทุนการสอบถามลูกค้าเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยก็อาจคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ในการปรับทิศทางการพัฒนาอุปกรณ์ให้ตอบโจทย์การใช้งานมากยิ่งขึ้น

หากท่านเป็นเจ้าของร้านมินิมาร์ท(ไม่ใช่แฟรนไชส์)แล้วต้องการประตูอัตโนมัติ ท่านต้องการประตูอัตโนมัติที่มีฟังก์ชันเต็มไปหมด หรือประตูอัตโนมัติที่มีรับประกัน 10 ปี??? อันนี้ผมถามเปิดเอาไว้ให้ท่านผู้อ่านลองตอบตัวเอง เชื่อว่าต่างคนก้ต่างมีความคิดเห็นและความต้องการแตกต่างกันออกไป แต่ต่างคนต่างมี MVP ในมุมของลูกค้าเป็นของตัวเอง และเมื่อต้องสลับมาเป็นผู้สร้างผู้ผลิตหน้าที่อย่างหนึ่งคือทำให้ MVP ทั้งสองฝ่ายตรงกัน…

ฝากติดตามผลงานอื่นๆของผม และทีมงานของเราได้ที่ Bookspective ,Discovery และ เกษตรไทย IoT

--

--

R.Phot
Discovery

Explorers: Trying to learn new things to understand my own way