แบไต๋ไอเดียเข้าใจสภาพอากาศ#5: จงวางยามไว้เฝ้าดู

R.Phot
Discovery
Published in
2 min readApr 13, 2019

มาถึงตอนที่ 5 แล้วนะครับ กับแนวทางการทำความเข้าใจสภาพอากาศ หากใครอยากอ่านเพิ่มเติมแนวคิดก่อนหน้าและงานที่เราทำอยู่เข้าไปดูได้ที่ Discovery ครับ

ชื่อของตอนนี้คือ “จงวางยามไว้เฝ้าดู” ขออนุญาตินะครับเกิดชื่อไปซ้ำกับใครเข้า แต่ส่วนของเนื้อหานั้นแตกต่างกันอย่างแน่นอน แนวคิดของตอนนี้คือ

ตั้งกล้องวงจรปิดเฝ้าดูท้องฟ้า!!!

ขออธิบายอย่างนี้ครับ ก่อนหน้านี้ในตอนที่ 2 เราได้ใช้แนวคิดของการประมวลผลภาพ(Image Processing) กับการวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้คน เข้ามาช่วย ซึ่งจะมีความยากและง่ายต่างออกไป ในส่วนของแนวคิดวางยาม หรือตั้งกล้องนี้เป็นลักษณะเดียวกัน แต่จะให้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากกว่ารูปถ่ายจากกล้องมือถือ

กระบวนการทำงานไม่ซับซ้อนครับ เพียงตั้งกล้องให้อยู่ในระดับที่สูงเพียงพอ อยู่พ้นเหนือจากสิ่งกำบังเช่นตึกสูง หรือต้นไม้ เช่นอยู่เสาสัญญาณโทรศัพท์ (ยกเว้นกรุงเทพฯนะครับ เมืองนี้ต้องกรณีพิเศษ) แล้วตั้งกล้องไปยังทิศทางที่สนใจ ซึ่งเป็นไปได้ก็ติดตั้งทุกทิศทาง จะเป็นกล้อง360 องศายิ่งดีใหญ่

การติดตั้งหรือภาพที่ออกมาจะต้องเห็นเส้นขอบฟ้าและทราบทิศทางและองศาที่แน่นอนของตัวกล้อง รวมไปถึงพิกัดตำแหน่ง(lat,long) ของกล้อง ทำการเก็บภาพยิ่งมีความถี่มากเท่าไหร่ยิ่งดี ระบบจะทำการวิเคราะห์ภาพว่ามีเมฆชนิดใดบ้าง เกิดปรากฏการณ์ทางท้องฟ้าใดขึ้นบ้าง ก่อนจะถอดข้อมูลเหล่านี้เข้าสู่การคำนวณโมเดลอากาศต่อไป (การระบุปรากฏการณ์ต้องอาศัยผู้เชียวชาญมาสอนระบบในช่วงแรก)

ข้อดีของแนวคิดนี้คือ หนึ่ง เราจะ “เห็น” ว่าสิ่งใดกำลังเกิดขึ้นในพื้นที่บ้าง ซึ่งเป็นตัวยืนยันได้เป็นรูปธรรมที่สุด(เพราะมันเป็นรูป)ทั้งยังเป็นเครื่องมือยืนยันให้กับการพยากรณ์ของใครก้ตามอีกด้วย และสองคือเมื่อกล้องมีความสูงและมองเห็นระยะไกล ฉะนั้นเมฆที่กำลังเคลื่อนตัว หรือฝนที่กำลังตก จะถูกมองเห็นขนาด ทิศทาง ได้ในระยะไกล ส่งผลดีต่อการแจ้งเตือนได้อย่างถูกที่ ถูกเวลา ที่สำคัญที่สุดคือช่วยในการพัฒนาโมเดลสภาพอากาศของระบบอีกด้วย

ประเด็นความยากของแนวคิดนี้คือ

  1. ต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านปรากฏการณ์ทางท้องฟ้า เช่น เมฆ เมฆฝน พายุ เข้ามาช่วยพัฒนาระบบแยกแยะภาพที่ถูกส่งมาจากกล้อง ซึ่งต้องใช้เวลาเนื่องจากเมฆ และปรากฏการณ์บนท้องฟ้ามีความสลับซับซ้อนแปรผันไม่มีสิ้นสุด จึงเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลากว่าการเรียนรู้ของเครื่อง จะแยกแยะได้อย่างแม่นยำ
  2. ทรัพยากรด้านเทคโนโลยีที่ต้องใช้มีศักยภาพสูงซึ่งหมายถึงมีค่าใช้จ่ายสูงตามไปด้วย ในการประมวลผลข้อมูลมหาศาลภายในเวลาอันสั้น จะมีค่าใช้จ่ายสูงเมื่อเทยบกับระยะเวลาการทำงาน หากมองในเชิงการคุ้มค่า จุดคุ้มทุนจะใช้เวลาหลายปี
  3. เทคโนโลยีกล้องและการส่งสัญญาณ เนื่องจากกล้องจำต้องอยู่กลางแจ้ง 24 ชม. 365 วัน ซึ่งตัวชิปของกล้องมักมีปัญหากับความร้อนจากแสงแดด รวมไปถึงการบำรุงรักษาให้เลนส์มีความชัดเจนตลอดเวลา ไม่มีผลต่อภาพที่เกิดขึ้น ทั้งนี้การส่งสัญญาณก็เป็นประเด็นเมื่อบริบทของสภาพอากาศต้องการเฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ข้อมูลภาพซึ่งมีขนาดใหญ่จำต้องได้รับการส่งผ่านสัญญาณที่แรงและมีความเสถียร ซึ่งก็หมายถึงค่าใช้จ่ายอีกเช่นเดียวกัน
  4. ข้อมูลที่ถอดออกมาได้จำต้องนำเข้าสู่การประมวลผลเพื่อสร้างโมเดลสภาพอากาศร่วมกับแหล่งข้อมูลอื่นๆ เช่น ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา จากเว็บไซต์อื่นๆ เป็นต้น จึงต้องมีความเข้าใจในงานด้านสภาพอากาศ คณิตศาสตร์ และซอร์ฟแวร์ขั้นสูง

ในข้อจำกัดด้านรัสศมีทำการของข้อมูล หากเป็นพื้นที่ราบโล่งอย่างภาคอีสาน ก็อาจมองเห็นได้ไกลหลายกิโลเมตรในวันที่ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ซึ่งกินพื้นที่ไม่มากนักหากต้องการทราบความเป็นไปของสภาพอากาศทั่วทั้งอำเภอหรือหลายอำเภอ แนวคิดการใช้ผู้คนส่งข้อมูลภาพจากกล้องโทรศัพท์ซึ่งมีการกระจายเชิงพื้นที่มากกว่า จึงเป็นการเติมเต็มกันและกันได้อย่างลงตัว

ด้วยเงื่อนไขหลายอย่างนำไปสู่คำถามว่า คุ้มค่าหรือไม่กับแนวคิดนี้ คำตอบของเราก็คือแนวคิดของเรามุ่งเน้นไปที่ความแม่นยำในระดับLocal ยิ่งสามารถพัฒนาโมเดลอากาศที่สามารถส่งข้อมูลสภาพอากาศให้ผู้คนได้แม่นยำมากเท่าไหร่ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการรับมือสภาพอากาศได้อย่างทันท่วงทีนั้น ไม่อาจประเมินค่าได้

จะประเมินผลกระทบอย่างไรกับตลาดนัดที่ได้รับความนิยมประจำจังหวัด สามารถเลื่อนวันนัดเพื่อหลีกเลี่ยงพายุฝนได้อย่างแม่นยำ จะเปิดเมินผลกระทบอย่างไรถ้าเกษตรกรสามารถลดความเสียได้จากจากข้อมูลแจ้งเตือนล่วงหน้าก่อนพายุจะเข้า จะประเมินผลกระทบอย่างไรถ้าโรงแรมสามารถแนะนำโปรโมชั่นวิวพระอาทิตย์สวยได้อย่างแม่นยำ จะประเมินผลกระทบอย่างไรถ้าหน่วยงานสาธารณสุขหรือโรงพยาบาลจะเตรียมรับมือการโรคที่มากับสภาพอากาศได้ ???

แถมอีกนิดสำหรับมุมมองว่า “ผู้ที่ทำเรื่องนี้จะหารายได้อย่างไร” คำตอบของเราเป็นคำตอบที่กำลังมาแรงในช่วงนี้ (2019) คือ เรามีข้อมูล หากเรารู้ว่าฝนตกคนเมืองจะไม่ออกจากบ้านและอัตราการสั่งอาหารเดลิเวอรี่จะสูงขึ้น เราจะขายข้อมูลให้ใคร? ลองคิดเล่นๆดูนะครับ…

--

--

R.Phot
Discovery

Explorers: Trying to learn new things to understand my own way