วิชาเมกเกอร์(Maker) IOI #4: วิเคราะห์ปัญหาเชิงผลกระทบ

R.Phot
Discovery
Published in
2 min readOct 15, 2020

หากตอนที่แล้วยังปวดหัวไม่พอ วิชาเมกเกอร์ตอนที่ 4 นี้จะพาไปปวดสมองมากกว่าเดิม!!! (ติดตามอ่านตอนอื่นได้ที่ discovery-education) ก่อนหน้านี้ได้พาไปรู้จักกับการแยกแยะความคิดว่ากำลังคิดปัญหาหรือวิธีแก้ (ตอนนที่1) ต่อด้วยการคิดถึงปัญหากับลูกค้า(ตอนที่2) และตามด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ปัญหา(ตอนที่3)

สำหรับเหล่าเมกเกอร์ของไทยผู้มากความสามารถ ผู้มีพลังสร้างสรรค์เทคโนโลยี และเปี่ยมล้นด้วยแรงขับที่ต้องการพัฒนาเปลี่ยนแปลงประเทศ แต่จะเริ่มที่ตรงไหนดี? วันนี้ผมของเสนอการมองปัญหาที่จะนำไปสู่การออกแบบการแก้ปัญหา ที่มีศักยภาพเพียงพอจะสร้างผลกระทบที่ดีสำหรับการพัฒนาได้ มาเริ่มกันเลยครับ

การมองปัญหาเชิงผลกระทบจะมีลักษณะ เหมือนการมองพีรามิดจากยอดลงมาสู่ฐาน กล่าวคือ ปัญหาเล็กๆเปรียบได้กับยอดพีรามิดหรือหินระดับบน จะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีสาเหตุ เปรียบได้กับฐานหรือกินระดับล่างที่รองรับและเป็นตัวส่งให้เกิดปัญหาได้

เมกเกอร์(Maker) — นักจัดงานอีเวนท์(Event organizer)

มาเริ่มกันที่ยอดพีรามิดกันก่อนเพราะเป็นสิ่งที่พบเห็นและมองได้เห็นได้ง่ายที่สุด โดยจะมองปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเหตุการณ์ กล่าวคือ มีลักษณะของเหตุองค์ประกอบที่พร้อมและลงตัวไปสู่จังหวะการเกิดเหตุการณ์นั้นๆ

ของยกตัวอย่างเป็นอุบัติเหตุทางถนน การเกิดขึ้นของอุบัติเหตุทั้งหมดสามารถแยกย่อยองค์ประกอบออกได้ว่า มีสาเหตุจากคน สาเหตุจากเครื่องมือ สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม และสาเหตุจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัย หากคนมีสุขภาพไม่ดีร่างกายไม่พร้อมก็เกิดอุบัติเหตุได้ หากคนพร้อมรถไม่พร้อมก็เป็นสาเหตุได้ หากคนพร้อมรถพร้อมถนนลื่นก็เป็นสาเหตุได้ หากคนพร้อมรถพร้อมถนนไม่ลื่นแต่ขับแบบไม่ปลอดภัยก็เกิดอุบัติเหตุได้

กลับมาที่การสวมบทนักแก้ปัญหรือหรือเมกเกอร์ หากเราจะลุกขึ้นมาแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุครั้งนี้ควรจะแก้ที่จุดไหน? หากยังนึกภาพไม่ออกคำตอบคือ มันยากมากที่จะลุกขึ้นมาแก้ไขปัญหาที่มีลักษณะเป็นเหตุการณ์ หรือแม้แต่การจะวิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะของปัญหายังแทบเป็นไปไมได้เพราะ คุณลักษณะของปัญหาดังกล่าวมีความเฉพาะตัวสูงมาก

และหากเราลงทุนสร้างอุปกรณ์ ซื้อของมาจัดการแก้ปัญหานั้น ปัญหานั้นจะหมดไปและมีแนวโน้มสูงมากว่าจะไม่ได้ใช้เครื่องมือนั้นอีกเลย หรือไม่อาจนำเครื่องมือไปใช้ได้กับปัญหาอื่นๆ หากสวมบทนักลงทุนหรือเจ้าของกิจการที่จะผลิตสินค้าออกมาขายแล้วพบว่ามีผู้ต้องการเพียงคนเดียว คงดูไม่คุ้มค่าที่จะเสี่ยงกับปัญหาลักษณะนี้

หรือเปรียบได้กับการลงทุนจัดงานขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นครั้งเดียว และจะไม่มีการจัดงานครั้งต่อๆไปเหมือนกับครั้งนี้โดยเด็ดขนาด ทรัพยากรที่ใช้ในการแก้ปัญหาของงานๆนั้นก็อาจไม่ได้ใช้กับงานอื่นๆเพราะมีบริบทหรือลักษณะที่แตกต่างออกไป และหากใครพอจะมองออกแล้วว่าการจะเป็นเมกเกอร์สร้างอุปกรณ์ขึ้นมาขายคงต้องถามคำถามในหัวข้อต่อไป

นักรณรงค์ — นักธุรกิจ

หินก้อนต่อมาที่เป็นฐานของการนำไปสู่ปัญหาแบบเหตุการณ์คือการมองปัญหาที่แนวโน้ม จากตัวอย่างก่อนหน้าหากต้องเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุก็จำเป็นจะต้องพิจารณาว่าอุบัติเหตุลักษณะนี้เกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน มีตัวเลยสถิติเก็บไว้หรือไม่ แต่ละปัจจัยของอุบัติเหตุแต่ละครั้งเหมือนกันหรือไม่ เช่นคนไม่พร้อม รถไม่พร้อม ถนนไม่ดีหรือไม่ ในส่วนนี้สามารถใช้เครื่องมือแนวคิดการวิเคราะห์ปัญหาในตอนที่ 3 ได้อย่างเต็มที่

กลับมาที่แนวทางการแก้ไขปัญหาอีกครั้งหนึ่ง แล้วลองพิจารณาร่วมไปกับปัญฆาที่พบแต่ละแนวทางดูครับ

  • ปัญหาจากตัวผู้ขับขี่: หากผู้ขับขี่ที่ประสบอุบัติเหตุมากจาปัญหาเมาแล้วขับ ง่วงแล้วขับ แนวทางของเราอาจเป็นไปในทางการรณรงค์ของ สสส.
  • ปัญหาสภาพรถ: ปัญหาปัญอยู่ที่สภาพรถเราจะทราบได้อย่างไรว่าส่วนใดที่เสียหาย หรือทราบแล้วการออกแบบวิธีการเช็คสภาพรถ สร้างอุปกรณ์ช่วยตรวจสอบ หรือร่วมมือกับองค์กรรณรงค์แจกคูปองให้คนมีรถเกิน…ปีไปตรวจสภาพรถ
  • ปัญหาสภาพถนน: อาจมีการรื้อ ซ่อม ซร้างถนนใหม่ให้มีความปลอดภัยมากกว่าเดิม (ซึ่งแนวทางนี้จะเป็นการแก้ปัญหาลักษณะโครงสร้างในหัวข้อต่อไป)
  • ปัญหาลักษณะการขับขี่: หากพบว่าเป็นที่ตัวบุคคลมีลักษณะการขับขี่อันตราย แนวทางอาจตกไปอยู่กับผู้รักษากฎหมายอย่างตำรวจ หรือการเพิ่มกล้องติดตามการขับขี่(ซึ่งไม่ได้ป้องกันอุบัติเหตุ) แต่มีผลในทางอ้อม

จากแนวทางข้างต้นลองขมวดปมกันก่อนสักหนึ่งรอบ หากการรณรงค์ได้ผลไม่มากก็น้อยผู้คนอาจดื่มไม่ขับลดลง มีคนไปตรวจสภาพรถเพิ่มขึ้น มีการวางป้ายเตือนสภาพถนนหรือโค้งอันตราย หรือป้ายสัญลักษณ์กล้องจับความเร็ว ได้ผลอย่างละ 1% อาจส่งผลให้อุบัติเหตุลดลงอย่างมีนัยสำคัญ หรืออย่างน้อยที่สุด 1%นั้น อาจลดอุบัติเหตุ ณ พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งลงไปได้

การแก้ปัญหาระดับแนวโน้มนี้ ถือได้ว่าเป็นการตัดชั้นหินของพีรามิดออกไปหนึ่งแนว แม้จะไม่มากแต่ก็ทำให้ยอดของพีรามิด หรือในที่นี้หมายถึงอุบัติเหตุลดน้อยลงได้ จากที่พื้นที่หนึ่งมีอุบัติเหตุเดือนละ 1 ครั้ง อาจลดลงเหลือ 3 เดือนครั้ง

หากมองในมุมของเจ้าของกิจการหรือนักลงทุน หากพบว่าการเดินทางสัญจรในเมืองไทยต้องการป้ายอัตโนมัติหรืออุปกรณ์ความปลอดภัยางการจราจรเพิ่มมากขึ้น การลงทุนผลิตสินค้าและจำหน่ายอาจให้ผลที่คุ้มค่า ต่างจากการพิจารณาปัญหาเชิงเหตุการณ์เพียงเหตุการณ์เดียว

กระนั้นก็ยังดูไม่ใช่ทางออกหรือแนวทางแก้ปัญหาที่จะส่งผลกระทบโดยรวมได้อย่างชะงัดนัก เพราะแนวโน้มของเหตุการณ์หรือปัญหาสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมได้เช่นเดียวกัน ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เครื่องไม้เครื่องมือการสื่อสารการเดินทางที่เปลี่ยนไป คุณลักษณะของปัญหา และแนวโน้มของปัญหาก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

คงไม่ต้องสังเกตที่ไหนไกลตัว เราทุกคนในประเทศไทยล้วนเติบโตมากับแคมเปญการรณรงค์ของ สสส. แบบใดแบบหนึ่ง ทั้งเมาไม่ขับ ทั้งให้เหล้าเท่ากับแช่ง ทั้งบุหรี่ งดเหล้าเข้าพรรษา พักตับฯลฯ รูปแบบโฆษณาจึงต้องเปลี่ยนแปลงตามแต่ก็ใช่ว่าจะลดปัญหาลงได้จริง ลองจินตนาการดูว่าอะไรลดการกินเหล้านี้ดีกว่าระหว่างเพิ่มการรณรงค์ กับการเพิ่มภาษีเหล้า?

นักวางผังเมือง — นักการเมือง

ชั้นหินอันเป็นฐานของพีรามิดชั้นสำคัญคือมองปัญหาที่โคงสร้าง โครงสร้างในที่นี้หมายรวมตั้งแต่โครงสร้างการบริหารจัดการระดับประเทศจนถึง โครงสร้างสิ่งปลูกสร้างจริงๆอย่างทางรถไฟ เขื่อน หรืออ่างเก็บน้ำ การมองปัญหาเชิงโครงสร้าง อยู่ภายใต้การสันนิษฐานว่าตัวโครงสร้างหรือตัวระบบมีผลหรือเป็นสาเหตุหนึ่งของกการเกิดปัญหา

มาลองพิจารณาปัญหาในเชิงโครงสร้างของอุบัติในตัวอย่างกันดูครับ

  • ถนนไม่ได้รับการดูแลจึงมีพื้นผิวที่เสี่ยงต่อการเสียยหลัก/ลื่นไถล
  • ถนนไม่มีป้ายเตือนเส้นทางอันตรายหรือจุดเสี่ยงสำหรับการขับขี่
  • ถนนไม่มีไฟส่องสว่างบริเวณที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ
  • ไม่มีการปรับปรุงทางเบี่ยงหรือเส้นทางใหม่มาเป็นเวลานาน
  • ผังเมืองไม่มีนโยบายจัดการพื้นที่ดังกล่าว หรือยังไม่มีแผนการปรับปรุง
  • ผู้รักษากฎหมายไม่เข้มงวดในพื้นที่ดังกล่าว
  • ถนนไม่เพียงพอการจราจรเส้นทางหลักติดขัด ผู้ขับขี่จึงต้องเลี่ยงมาเส้นทางอันตราย
  • ฯลฯ

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าเมื่อพุ่งเป้าไปที่โครงสร้างอันเป็นพื้นฐานที่ก่อให้เกิดปัญหา จะพบว่าโครงสร้างของปัญหา ณ พื้นที่เป้าหมายสามารถเป็นสาเหตุของปัญหาในพื้นที่อื่นๆได้อีกด้วย ฉะนั้นหากเกิดการแก้ไขปัญหาในส่วนนี้ เท่ากับว่าจะสามารถลดแนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุลงได้อย่างมีนัยสำคัญอย่างแท้จริง

มาลองคิดตามเล่นๆกันอีกครั้งครับว่า มีธุรกิจหรือองค์กรหนึ่งสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้ชั้นเลิศขึ้นมาแม้จะโฆษณาขายมากเท่าไหร่ก็ไม่อาจเข้าถึงนักเรียนทุกคนได้ แต่หากฝั่งผู้ถือสิทธิ์อย่างกระทรวงศึกษายอมรับและบรรจุสื่อชนิดใหม่เข้าไปในระบบ การแพร่กระจายการใช้งานย่อมทั่วถึงมากกว่า แน่นอนว่าวิธีการนี้สามารถลดปัญหาหรือประเด็นว่าด้วยโอกาสการเข้าถึงลดลงอย่างเห็นได้ชัด

การแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าวก็มีลักษณะเดียวกันไม่ว่าจะเป็นปัญหาการจราจร อุบัติเหตุ ปัญหาการจัดการน้ำ ปัญหาสาธารณะสุขฯลฯ เมื่อกลับมาสวมบทบาทของเมกเกอร์อีกครั้ง ตอนนี้เรารู้แล้วว่าหากต้องการแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งที่สามารถส่ผลกระทบที่ดีในวงกว้างได้ ย่อมต้องคิดแบบเดียวกับนักการเมือง(หมายถึงวางแนวนโยบายแก้ปัญหาตามหน้าที่) หรือนักวางผังเมือซึ่งต้องมองปัญหาเป็นโครงสร้างความสัมพันธ์

แนวทางที่เป็นไปได้ในปัจจุบันของเมกเกอร์คือการออกแบบสร้างอุปกรณ์การเก็บข้อมูลความเคลื่อนไหวต่างๆภายในเมือง เช่นความหนาแน่นของการจราจร ความหนาแน่นของฝุ่นควัน ระดับน้ำในคลองเวลาฝนตก ฯลฯ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Smart city การเก็บข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ และมีเป้าหมายการใช้ข้อมูลอย่างตรงบริบทมากเพียงพอ อาจหมายถึงศักยภาพในการส่งเสียงเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างได้

นักเผยแพร่ศาสนา — ผู้ชี้นำความคิด

ท้ายที่สุดแล้วรากเหง้าปัญหาที่เกิดขึ้นกับคน ย่อมมาจากคน ส่วนสุดท้ายนี้เราจะมองปัญหาที่ความคิด ไม่ได้เน้นไปที่ทัศนคติ หรือความสามารถอย่างใดอย่างหนึ่งแต่หมายถึง “ความคิด” หนึ่งๆที่มีผลต่อการเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาได้ ไม่ว่าจะเป็นความคิดในการออกแบบโครงสร้างที่ไม่รอบคอบ หรือความคิดว่าเมานิดเดียวขับรถใกล้นิดเดียวคงไม่เป็นอะไรหรอกฯลฯ ความคิดเหล่านี้ที่นำไปสู่การเกิดปัญหา

การมองปัญหาที่ระดับนี้เป็นการมองแบบเดียวกับเหล่าผู้นำทางความคิดหรือความเชื่อ ซึ่งยืนอยู่บนพื้นฐานที่ว่าความคิเจิตใจเป็นมีสิ่งบังคับชี้นำทำให้เกิดการกระทำ เมื่อความคิดจิตใจไม่รอบคอบ หรือประมาทก็นำไปสู่การกระทำอันเป็นบ่อเกิดของปัญหา

แต่นั่นไม่ใช่บทบาทหน้าที่ของนักพัฒนาหรือเมกเกอร์ หรือพูดตามความสัจจริงการจะลุกขึ้นมาบอกให้ใครสักคนเปลี่ยนวิธีคิดมีความเป็นไปได้สักกี่ส่วน? ในแง่การพัฒนาหรือปัญหาการมุ่งเน้นชี้เป้าไปที่ความคิดของบุคคล มักให้ความรู้สึกในทางลบเหมือนการกล่าวโทษว่าความคิดของคนนั้นทำให้เกิดปัญหาทั้งหมดขึ้น ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อนิเวศน์การพัฒนาในระยะยาว

กระบวนการสืบค้นและออกแบบการแก้ไขปัญหาจึงมักเน้นลงมือหรือขับเคลื่อนที่ระดับโครงสร้างของปัญหา ซึ่งเมื่อโครงสร้างเปลี่ยนไปย่อมจะส่งผลต่อความคิดพื้นฐานโดยปริยาย ขอยกตัวอย่างของเรา หากคนในชุมชนร่วมมือกับภาคเอกชนและเมกเกอร์สร้างระบบแจ้งเตือนหรือเก็บข้อมูลพฤติกรรมความเสี่ยงการขับขี่บริเวณที่มีอุบัติเหตุแล้วยื่นเรื่องเพื่อให้ภาครัฐปรับปรุงแก้ไขไปพร้อมๆกับชุมชน แต่ปรากฎว่าไม่ได้รับการตอบรับ แน่นอนว่าคนที่อยู่ในโครงการพัฒนาไม่ว่าใครย่อมผิดหวังและเสียศรัทธาต่อระบบว่า “มันคงทำอะไรไม่ได้” และไม่มีใครอยากทำโครงการแบบนี้อีก

ในทางตรงกันข้ามหากโครงการได้รับการตอบรับและปรับปรุงแก้ไขอย่างรวดเร็ว การรับรู้แลแนวความคิดเรื่องการพัฒนา “สามารถทำได้จริง” จะติดอยู่กับทุกคนที่ร่วมโครงการและทำให้การพัฒนาแพร่กระจายออกไปได้

หวังว่าคงยังไม่น่าเบื่อจนเกินไปสำหรับแนวคิดในการพิจารณาปัญหา แนวทางการวิเคราะห์ปัญหาลักษณะนี้เหมาะสมกับการสร้างนวัตกรรมสังคม นวัตกรรมองค์กรซึ่งมีกรอบความคิดและโครงสร้างของตัวงานกำกับอยู่ ซึ่งเป็นผลดีต่อการพัฒนางาน ใครที่ได้เอาไปทดลองใช้กับตัวงานดูแล้วผลเป็นอย่างไร แลกเปลี่ยนกันเข้ามาได้เลยครับ

ฝากติดตามผลงานอื่นๆของผม และทีมงานของเราได้ที่ Bookspective ,Discovery และ เกษตรไทย IoT

--

--

R.Phot
Discovery

Explorers: Trying to learn new things to understand my own way