ค้นหา Content ใน Office 365 ด้วย Microsoft Search (Part 2)

Narisorn Limpaswadpaisarn
EchoO365
Published in
6 min readFeb 6, 2019

Content difficulty — Technical

สำหรับ Part นี้จะต่อจาก Part 1 นะครับ ซึ่งก็มีคำถามว่าเราจะ จัดการรายการ Search ขององค์กรเราอย่างไร ?

Admin ซึ่ง Role ของ Office 365 Admin ก็สามารถเข้าตรงจากหน้า Admin Center ได้ หรือไปที่ https://www.bingforbusiness.com/admin/

เข้าหน้า Admin ของ Microsoft Search ใน Admin Center

ที่หน้า Dashboard เป็นโชว์ Tile ของ ทุกเมนูว่า มี ความเคลื่อนไหวอะไรโดยรวมมาแล้วอยู่บ้าง เกี่ยวกับ Activity ของ Microsoft Search ซึ่งสามารถ shortcut เพื่อ create สิ่งต่างๆ ของเมนูอื่นๆได้ด้วย เช่น Bookmarks หรือ Q&A

Acronyms

สามารถใส่ชื่อย่อและความหมายได้ เช่น ในบริษัทเรามีชื่อตำแหน่ง ตัวย่อ DCT ซึ่งมาจาก Data Center Technician หรือ ตัวย่อ ชื่อ ทีม, Department หรือ Product ที่ใช้เฉพาะในองค์กร ไม่ได้เป็นสิ่งสากล

สามารถ add ทีละ ชื่อ หรือ หลายๆอันโดยใส่ list ไว้ใน .csv แล้ว upload

การใส่ Acronym และ preview ใน search result
สามารถ Import .csv ได้ โดยเริ่ม Download acronym template เพื่อทำความเข้าใจ format ก่อน

Bookmarks

เป็นการสร้าง เพื่อให้ช่วยนำร่อง user ในองค์กรเพื่อสามารถ search สิ่งต่างๆได้รวดเร็ว เช่น link ของ page ของ SharePoint Site ที่ใช้บ่อยๆ, link เพื่อ Download tools ภายใน หรือ URL website บริษัท เพื่อให้ user สามารถได้ข้อมูลเพิ่มเติม โดยการใส่ Display title, URL และ Keywords เพื่อให้ search ได้ สามารถ +Add bookmark บนเว็บได้เลย หรือ import list ของ Bookmark ที่ทำไว้ Offline เป็น .csv เข้าไปก็ได้ (.csv bookmark template อยู่ใน ปุ่ม Import)

Bookmark ยังที่ที่ Admin สามารถ รับการแนะนำ bookmarks ของ user เพื่อปรับปรุงการ Search ได้โดย user ทำการ Suggest a bookmark ส่งเข้ามาให้ Admin พิจารณาและเลือก Publish ได้ (ซึ่งจะ list อยู่ในหน้า Suggested)

การ Add Bookmark อาจต้องใช้เวลาสักพักเพื่อให้ สามารถ search ตาม Bookmark ที่เรากำหนดได้

Default ก็มี Bookmark มาให้บ้างแล้วที่ใช้หลักๆ

Keywords จะมีทั้ง ธรรมดา และ Reserved แบบ Reserved Keywords ซึ่งแบบหลังถ้ามีการระบุ เวลา user ทำการ search ก็ให้ความสำคัญจะทับ keywords อื่นๆทันทีเหมาะกับคำเฉพาะ เช่น time sheet

การ Add Bookmarks นอกจากใส่ title, URL และ keywords แล้ว ยังสามารถให้ display result นี้แค่คนเฉพาะกลุ่มได้ เช่น ตามระยะเวลาที่กำหนด (Dates), ตามประเทศที่ user อยู่ ในกรณีเป็นองค์กรมีสาขานานาชาติ (Country or region), เฉพาะ บาง Security Group หรือ ทุกคนในองค์กร (Groups), ตาม devices platform iOS, Android, Windows หรือ MacOS (Device & OS)

การ Add ตัว Bookmark
ค่าที่ custom ได้

ส่วนการ custom ว่า คนในประเทศนี้ที่ใช้ device แบบนี้ถึงจะเห็น content ของ search result ที่ต่างกับ ประเทศ/device อื่นๆ ก็สามารถทำได้ (Target variations) ซึ่งทำได้มากกว่า 1 Profile

สุดท้ายมีการ Integrate กับ Power Apps ซึ่ง support app ทั้งแนวตั้งและแนวนอน เพื่อให้ Search result โชว์หน้า Power Apps เลย โดยที่เราต้องใส่ App ID แล้วระบบจะเติมค่า Width กับ Height ให้

field ของ Target variations และ PowerApp
ไปเอาค่า App ID จาก Power Apps ที่เราสร้าง มาใส่ใน field ของ PowerApp
ตัวอย่าง search result ของ SharePoint Site
Power Apps ได้ embed มาใน Search result

Locations

สามารถ add ให้ search result เป็นประเภท location ได้เหมาะสำหรับสถานที่สำคัญขององค์กร ในกรณีองค์กรมี Office หลายๆสาขา ซึ่ง Admin ต้องใส่ ที่อยู่, ประเทศ, ชื่อสถานที่ และ keywords ซึ่งบางทีจะมี IntelliSense ของ Bing map บางที่ต้องใส่ Latitude, Longitude เพิ่ม

Fill up location รวมถึง latitude, longitude (keywords เช่น ชื่อ ตึก, เลขชั้น etc.)

Floor plans

เป็น Process ที่ใช้เวลานานสุดในนี้ เพื่อให้ค้นหาสถานที่ หรือ ห้องประชุมใน Office ของเราผ่าน Microsoft Search ซึ่งสามารถตอบคำถามใน search ได้ว่า Where is meeting room A ?, Director’s Office, Location โต๊ะพนักงาน หรือ เลขที่ต่างๆ

ต้องมีการ เตรียม floor plan คลิก Get started แล้วรอประมาณ 48 ชม.

รอ 48 ชม. หลังจากคลิก

พอเริ่ม Add จะให้เลือก ตึก (Building) ของ Office เรา ซึ่ง List จะมาจากการที่เราใส่ในหน้า Locations

เลือก List ของตึกที่เราใส่มาก่อนหน้านี้

ให้ upload ไฟล์ Floor plan ที่เป็น .dwg (AutoCAD) ของแต่ละชั้น แล้วใส่ข้อมูล ชั้น Floor หรือ ถ้าเกิด Office มีฝั่ง หรือ Zone A, Zone B ก็ให้ใส่ไปด้วย ซึ่งในส่วนของ .dwg จะต้องมี room label

Upload ไฟล์ของทุกชั้นในตึกของเรา จากตัวอย่างมี 2 ชั้น

ใส่ Location pattern ที่มาจาก Azure AD ของ user ซึ่ง AD Attribute ของ user หรือ ห้องประชุม ซึ่งจะมีในส่วนที่ชื่อว่า Office อยู่ (ถ้าทำ บน local AD จะตรงกับ attribute ที่ชื่อ PhysicalDeliveryOfficeName)

ให้ใส่เป็น pattern แล้วต้อง match กับตัว pattern ของ .dwg ไฟล์เราด้วย ซึ่งใน AutoCAD ต้องมีการกำหนดในส่วน Room label ของห้องลงไฟล์

ตัวอย่าง pattern ของ AD Attribute คือจะต้องแยก Building code กับ เลขห้อง เช่น

3/1112 คือตึก 3 ชั้น 11 ห้อง 12

2/1ST-09 คือตึก 2 ชั้น 1 ห้อง ST-09

B1 1001 คือตึก B1 ชั้น 1 ห้อง 101

จะให้ระบบ map ได้ง่าย ควรมี pattern ของชั้นและห้อง เป็นอย่างน้อย ส่วน wing กับ ตึก เป็นส่วนรอง

ตึก B1 ชั้น 1 ห้อง 001
หรือมีแค่ 1101

.dwg สามารถที่จะไม่มีข้อมูล Floor ได้ แต่ attribute ของ user บน AD ให้ใส่ด้วย

ต้องมี user ที่มี Office attribute อย่างน้อย 10 คน

และถ้า user เพิ่งมีการ add/edit ในส่วนของ Office ต้องรอ ประมาณ 48 ชม. ระบบถึงจะ detect ได้

ใน .dwg ต้องมี Label อย่างน้อย 10 ห้อง

https://docs.microsoft.com/en-us/microsoftsearch/manage-floorplans#frequently-asked-questions

ถ้า map floor plan แล้วคลิก publish สำเร็จต้องรอประมาณ 48 ชม. เพื่อให้เจอใน Bing search

ตัวอย่าง Floor Plan code แบบ 20/2111 คือ ตึก 20 ชั้น 2 ห้อง 111

ตัวอย่างไฟล์ .dwg ของ ชั้น 1 ห้อง 106 คือ 1106
Check AD Attribute ในส่วนของ Office มีทั้งชั้น 1 และ 2 บน User และ ห้องประชุม
สามารถ Edit ได้ทั้งใน Exchange Admin Center, Office 365 Admin Center หรือ ใน Azure Portal
ใส่ pattern 20 ไป (ชื่อ Building code) ถ้าเพิ่งใส่ต้องรอประมาณ 48 ชม. ถึงจะขึ้นให้ suggest ไม่ error
หลังจาก map pattern แต่ละ Floor plan แต่ละชั้นก็จะ โชว์อันที่ระบบจับได้และ mapped ได้กับ AD Attribute

ตัวอย่าง Floor Plan code แบบ 1/38ST-11 คือ ตึก 1 ชั้น 38 ห้อง ST-11

ตัวอย่างไฟล์ .dwg ของ ชั้น 1 ห้อง ST-02 คือ 1/38ST-02
ถ้า AD ในส่วน ของ Office ได้ update ประมาณ 48 ชม. แล้วใส่ pattern ของ Building code ก็จะไม่ขึ้น error
ใส่ให้พนักงานทุกคน รวมถึงห้องประชุม (Room A)
ตอนจับ pattern ให้บอกอีกที ว่า 38ST-11 อันไหนหมายถึงชั้น อันไหนหมายถึงห้อง
ทำการ map ส่วน user ที่เพิ่งมีการ add/edit/update อาจจะไม่ได้ map ต้องรอ update อีกที
ถ้า Location update และระบบเห็นก็จะ map ทุกคนเป็นอันสำเร็จ
ทดลอง Search

Q&A

มีลักษณะการใช้งานและการ Add เหมือน Bookmarks แต่ต่างกันตรงที่ใส่เป็นคำตอบที่เกี่ยวกับงานอย่าง เช่น ทำเรื่อง request ของบ ไปที่ไหน? สามารถใส่ รูปภาพ, ตาราง ต่างๆ เป็น HTML tags ที่ได้ไปทำมาก่อนแล้ว หรือการเขียนผ่าน Markdown ซึ่งลักษณะของ Q&A บางอย่างจำเป็นที่จะต้องมีการ update คำตอบเรื่อยๆ

Field บน Q&A สามารถ ควบคุมการแสดงผล ได้เหมือน Bookmark ยกเว้นปรับให้ใช้กับ Power Apps

ตัวอย่างการเขียน Markdown ดูได้ที่เว็บนี้ หรือ คลิกตรง ?https://simplemde.com/markdown-guide

ทำเน้นตัวเข้มด้วย markdown
พอเสร็จก็มี list ขึ้นมา

Users & permissions

เป็นหน้าที่จัดการผู้ที่เกี่ยวข้อง (user หรือ group) ในการทำ Search (Search Admin), กลุ่มคนที่จะสามารถทำ Content Settings ของ Search result (Editors)

การ Assign ทำได้โดยเหมือน การ Assign Office 365 Admin ทั่วไปโดย Global Administrator

Search Admin จะทำได้ทุกอย่างของ Microsoft Search

Editors จะเป็นมุมของปรับ content การ search เช่น Q&A หรือ Location ต่างๆ

กำหนด Users & permissions

Connectors (preview)

Microsoft Search สามารถ integrate กับ Connector อื่นๆได้ เช่น Azure Data Lake Storage Gen2, ServiceNow, File share, SQL Server หรือ ทำ custom connector เพื่อให้ search data พวกนั้นได้ ซึ่งต้องเป็น Office 365 Enterprise E3 ขึ้นไป

สุดท้ายในส่วนของ DNS สามารถ Setup CNAME เป็นค่าของ bing เพื่อให้มั่นใจว่า ตัว DNS Server องค์กร สามารถ route หา search หาคนในองค์กรเจอ

Set ค่าจาก DNS Server หรือ Proxy Server ขององค์กร

Endpoints สามารถดูได้ที่ https://docs.microsoft.com/en-us/microsoftsearch/manage-network-connections

--

--

Narisorn Limpaswadpaisarn
EchoO365

Office 365 and Modern Workplaces: Please follow my publication https://medium.com/echoo365 for Microsoft 365 & Power Platform Blog (In Thai)