แบงค์ชาติควรออกเงินดิจิตอลเองดีไหม

Kendo
Flipay
Published in
3 min readNov 25, 2018

ครั้งก่อนผมได้เล่าถึงมุมมองของ IMF กับ Cryptocurrency วันนี้มาต่อภาคสอง จะมาเล่าอีกบทความของ IMF ในหัวข้อ ฉายแสงไปสู่เงินดิจิตอลที่ออกโดยแบงค์ชาติ (Casting Light on Central Bank Digital Currency)

ในบทความนี้เราจะเรียกว่าเงินดิจิตอลที่ออกโดยแบงค์ชาติว่า CBDC ซึ่งย่อมาจากคำว่า Central Bank Digital Currency ก่อนที่จะลงรายละเอียด มาให้นิยามของ CBDC กันก่อน CBDC ก็คือ เงินที่อยู่ในรูปแบบดิจิตอล ออกโดยแบงค์ชาติ และสามารถใช้ชำระหนี้ทางกฎหมายได้

ทั้งนี้ CBDC ไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าจะต้องใช้เทคโนโลยีประเภทใดในการพัฒนา อาจจะเป็นการรวมศูนย์ข้อมูลไว้ที่แบงค์ชาติ แล้วให้คนพัฒนาแอพพลิเคชั่น เข้าไปดึงข้อมูลมาแสดง หรืออาจจะถูกสร้างจากเทคโนโลยี Distributed ledger technology (DLT) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเบื้องหลัง cryptocurrency โดยอาจจะอยู่ในระบบปิด หรือที่เราเรียกว่า permissioned network หรือไม่ก็ได้

ถ้าลองนึกภาพง่ายๆในมุมของผู้ใช้คนไทย ก็จะมีความรู้สึกเหมือนเราฝากเงินไว้กับแบงค์ชาติ โดยไม่มีความจำเป็นต้องฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์ แต่อาจจะไม่ได้ดอกเบี้ย

เนื่องจากเราอยากรู้ว่าแต่ละประเทศควรสร้าง CBDC หรือไม่ เราจึงมีเกณฑ์เพื่อนำมาประเมินว่า เงินรูปแบบใด ดีหรือ ไม่ดีกว่ากันยังไง โดยหลักๆแล้วก็คือ การประเมินจากประสิทธิภาพของการตอบสนองความต้องการ จากสองกลุ่มหลักๆ คือ

1. เงินชนิดนั้นต้องตอบสนองความต้องการของ ผู้ใช้เงินหรือประชาชน

ถ้ามองในมุมผู้ใช้ ก็จะมีประเด็นดังต่อไปนี้ที่ต้องพิจารณา

Settlement risk => ใช้เวลานานไหม การันตีการได้เงินมาแล้วจริงๆหรือไม่

Theft & loss risk =>เช่น การถูกขโมย การถูก Hack

Default risk =>ความเสี่ยงของการผิดนัดชำระหนี้

trans costs => ค่าใช่จ่ายในการส่งมอบเงิน

Anonymity cost => ความเป็นส่วนตัวในการใช้เงิน

Scalability => ความสามารถในการรองรับปริมาณการใช้งานที่มากขึ้นได้

Extra services => มีบริการ เพื่อสนันสนุนการใช้งานของเงินประเภทดังกล่าว

Returns => ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย ออกมาจากเงินที่ถืออยู่

Acceptance => ผู้คนยอมรับ และใช้กันอย่างแพร่หลาย

ซึ่งสามารถสรุปออกมาเป็นกราฟ เปรียบเทียบเงินประเภทต่างๆได้ดังต่อไปนี้ โดยยิ่งจุดในด้านใดอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางมาก แปลว่าเงินประเภทนั้นทำหน้าที่ในด้านนั้นๆได้ดี

  1. เงินสด => คือ ธนบัตร เหรียญ เมื่อใช้เงินสดชำระเงิน จะถือว่า settlement ทันที ไม่มีความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงของความเป็นเจ้าของเงิน ถือว่ามีความเป็นส่วนตัวสูงมาก เพราะไม่มีใครอื่นรู้ว่านำเงินไปชำระค่าใช้จ่ายอะไร แต่ข้อเสียที่ชัดเจนคือ ค่าใช่จ่ายในการส่งมอบเงินที่สูง

2. เหรียญคริปโต เช่น บิตท์คอยน์, ethereum เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังค่อนข้างช้า และไม่สามารถรองรับการเพิ่มจำนวนการใช้งานสูงๆได้ เหรียญคริปโตจึงเป็นตัวเลือกของเงินที่น่าสนใจน้อยที่สุด (อันนี้คนละตัวกับ CBDC ที่สร้างจาก Distributed Ledger Technology นะครับ)

3. เงินที่ใช้ใน Wallet ถ้าอย่างในไทยที่ดังๆก็ True Money, Airpay เป็นเงินที่ถูกค้ำประกันแบบหนึ่งต่อหนึ่ง ด้วยทรัพย์สินของแบงค์ชาติ คือเงินสด หรือเงินสำรอง

4. เงินฝากธนาคาร จะอยู่ระหว่าง เส้นสีส้ม ซึ่งก็คือ ธนาคารแบบเก่า และเส้นสีน้ำเงิน คือตัวที่มีการพัฒนาแล้ว

5. สุดท้ายก็ CBDC พระเอกของเรา คิดว่าถ้าเลือกเทคโนโลยีที่ถูก คงทำได้ไม่แพ้เงินจากธนาคารที่พัฒนาแล้ว แต่สิ่งที่น่าจะดีกว่าแน่ๆคือ ความเป็นส่วนตัว (anonymity)

2. เงินชนิดนั้นต้องตอบสนองความต้องการของ แบงค์ชาติ

หลักๆแล้วแบงค์ชาติก็อยากให้มันตอบโจทย์สามข้อ ต่อไปนี้

1. ควบคุมความถูกต้องได้ เช่น ป้องกันการฟอกเงิน หรือไม่ส่งมอบเงินให้องค์กรการก่อการร้าย

2. มั่นคงทางการเงินส่วนบุคคล เช่น ให้คนเข้าถึงบริการทางการเงินมากยิ่งขึ้น เช่น การฝากเงิน หรือการเข้าถึงสินเชื่อ เป็นต้น

3. ออกนโยบายทางการเงินที่ มีประสิทธิภาพ ในประเด็นนี้ไม่ค่อยมีผลกระทบเท่าไหร่ ถึงแม้ว่าการดำเนินงานอาจจะต้องเปลี่ยนบ้าง นโยบายน่าจะมีประสิทธิภาพขึ้นด้วยหาก คนเข้าถึงบริการทางการเงินมากขึ้น

หลักๆแล้วในมุมของแบงค์ชาติ เงินสดมีข้อเสียหลายข้อเช่น ออกนโยบายทางการเงินให้เป็นติดลบไม่ได้, การเข้าถึงค่อนข้างยาก และการผลิตและจัดการมีค่าใช้จ่ายที่สูง

สิ่งที่น่าสนใจอย่างนึงคือ ความเป็นส่วนตัวในการใช้เงิน(anonymity) กับการควบคุมความถูกต้อง(financial integrity)มีการขัดกันอยู่ ถ้าออกแบบเงินให้มีความเป็นส่วนตัวมาก ก็จะความคุมความถูกต้องได้ยาก เพราะไม่มีข้อมูลจากผู้ใช้ว่าผู้ใช้ในไปชำระค่าอะไร เป็นต้น จึงจำเป็นต้องมีดีไซน์ที่เหมาะสม

การออก CBDC อาจมีผลกระทบธุรกิจของธนาคาร เพราะคนอาจจะนำเงินไปฝากกับธนาคารน้อยลง เพราะเก็บอยู่ในแบงค์ชาติโดยตรง ทำให้ธนาคารอาจจะต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เพื่อดึงดูการนำมาฝากที่ธนาคาร ซึ่งส่งผลให้กำไรของธนาคารมีน้อยลง

ปัจจุบันมีหลายๆประเทศที่ทำการศึกษาเรื่อง CBDC อยู่ รวมถึง บาฮามาส, แคนาดา, จีน, นอร์เวย์, สวีเดน, ตูนีเชีย, อุรุกวัย ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป เช่น เพื่อป้องกันความเสี่ยงของการดำเนินการ, การมีผู้เล่นที่ผูกขาดจากบริษัทเอกชน และ การเข้าถึงบริการทางการเงินของคนบางกลุ่ม แต่ก็มีหลายแห่งเช่นกันที่เลิกให้ความสนใจ เรื่อง CBDC ไปแล้ว คือ ออสเตรเลีย, เดนมาร์ก, แบงค์ชาติยุโรป, นิวซีแลนด์ และสวิตเซอแลนด์ โดยเหตุผลหลักๆก็คือ ผลประโยชน์ที่น้อยไปสำหรับแบงค์ชาติ และการส่งผลเสียต่อการทำรายได้ของธนาคารพาณิชย์

ฉะนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศด้วยว่ามีความต้องการจะนำ CBDC ไปแก้ปัญหาใด ปัจจุบันโครงสร้างพื้นฐานของบริการทางด้านการเงินอยู่ในขั้นใดแล้ว หากระบบต่างๆยังไม่พัฒนามาก การทำ CBDC ก็จะมีความน่าสนใจมากกว่าสำหรับประเทศเหล่านั้น สำหรับประเทศไทยผมมองว่าถ้าเราทำ CBDC สิ่งที่ผู้ใช้งานจะได้รับ น่าจะเป็นเรื่องการเพิ่มความเป็นส่วนตัว และหากใช้ Distributed System ก็จะทำให้ระบบสามารถทำงานต่อไปได้ ถึงแม้มีปัญหาเกิดขึ้นกับระบบในสถานที่หนึ่งๆ นอกจากนั้นหากแบงค์ชาติเปิดให้นักพัฒนาเข้าถึงระบบได้ (API) ก็จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยให้มีนวัตกรรมที่ดีได้เร็วยิ่งขึ้น

สุดท้ายใครมีความคิดเห็นอย่างไรทิ้งความเห็นได้ด้านล่างได้เลยครับ

อ้างอิง: Casting Light on Central Bank Digital Currency by IMF

--

--

Kendo
Flipay
Editor for

Cryptocurrency Believer, Manga Lover, Education Supporter and Product Builder @flipayHQ