ฉันมีตัวตนในสายตาเธอบ้างไหม

Chonlasith Jucksriporn
odds.team
Published in
Apr 3, 2024

จากที่เคยพูดถึงความขาดแคลน (Scarcity) ในบทความ Intersectionality ก่อนหน้านี้ Tong Yee เล่าถึงสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกขาดแคลนว่า เป็นเพราะเราไม่เคยถูกมองเห็น (Never been seen)

ใน system ที่ทรัพยากรต่าง ๆ ถูกจัดสรร ไปให้แต่ละคน เมื่อเราไม่เคยถูกมองเห็น เราก็เปรียบเสมือนไม่ได้มีตัวตนอยู่ใน system แล้วเราจะได้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่ควรจะได้ได้อย่างไร (ทรัพยากรที่นี้ รวมทั้งสิ่งที่จับต้องได้ เช่น เงิน และจับต้องไม่ได้ด้วย เช่น โอกาส)

การถูกมองเห็น (visibility) แต่ละช่วง แต่ละบริบท ก็แตกต่างกันไปไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับ value ของคนที่มองในช่วงนั้น หรือบริบทนั้น ว่าให้ความสำคัญกับ value เรื่องอะไร ในบางบริบท เราอาจจะไม่เคยถูกมองเห็นก็ได้ ยิ่งไปกว่านั้น ความรู้สึกว่าถูกมองเห็นของเราก็ไม่เท่ากัน บางคนแค่มีคนมองเห็นเพียงคนเดียวก็เรียกว่ามองเห็น บางคนต้องมีคนเห็นเยอะ ๆ ถึงจะยอมรับได้ว่าถูกมองเห็น

เมื่อเราไม่ได้สิ่งที่เราต้องการนาน ๆ เข้า เราจะสังเกตเห็นได้ว่า วิธีการที่เราตอบสนองต่อความรู้สึกขาดแคลนนั้นด้วยการแสดงออกบางอย่างนั้นเป็นเพราะเรา อยากให้มีคนมองเห็น พอมีคนมองเห็น

ยกตัวอย่างในองค์กรที่อยากจะปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานจากการทำงานแบบเดิม ๆ มาทำงานในรูปแบบใหม่ (New way of work) โดยการทำ Agile Transformation เลยจัดตั้งทีมเฉพาะกิจที่รวมเอาเฉพาะ key persons ที่เป็นระดับบริหาร รวมถึงกลุ่ม change agent มารวมกัน เพื่อวางแผน และจัดการการปรับวิธีการทำงานให้เป็นไปได้ด้วยดี (สมมติเราเรียกกลุ่มนี้ว่ากลุ่ม new way)​ หลังจากกลุ่ม new way กำเนิด และเริ่มเปิดตัวไปสักพัก เราก็จะเริ่มมองการกำเนิดของกลุ่มต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากกลุ่ม new way คอยมากระแนะกระแหน ไม่ให้ความร่วมมือ หรือสร้างข่าวลือในทางลบ กลุ่ม key persons เลยแก้ปัญหาโดยการเอาตัวแทนของกลุ่มย่อย ๆ เหล่านั้นเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม new way ด้วย

เราจะเห็นได้ว่า กลุ่มย่อยนี้ จริง ๆ แล้วคือกลุ่มที่รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้โอกาส (เพราะไม่ถูกมองเห็น) เลยแสดงออกโดยการจับกลุ่มนินทา ต่อต้าน สร้างข่าวลือ หรืออะไรก็ตาม เพื่อให้กลุ่มตัวเองได้ถูกมองเห็น ถูกยอมรับถึงการมีอยู่ เพื่อที่จะได้โอกาสในการสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้นั่นเอง

--

--