เล่าเรื่อง Brand ผ่าน Logo Odds| Generation 3

Sarawuth Chinbenjapol
odds.team
Published in
3 min readJun 28, 2024
Gen1 >>>> Gen2 >>>>Gen3

Generation 3 (ODDS|)

ก่อนจะไปที่ Logo ที่เป็นส่วนของ Brand Identity ผมขออธิบายตัว Culture และองค์ประกอบของ Odds ต่างๆผ่านที่มาไปเผื่อเห็นแนวคิดก่อนในส่วน Brand Strategy ละกันครับ หากใครอยากอ่านข้อมูล The Branding Iceberg เพิ่มเติมผมก็ได้เขียนเอาไว้ ที่นี่

https://mapandfire.com/blog/4-questions-that-will-strengthen-your-brands-iceberg/

ที่มาที่ไป

ตัว Generation 3 ซึ่งที่มาที่ไปคือ Odds อยากได้ Logo ใหม่เนื่องจาก Logo เดิมอาจจะใช้นานแล้ว แล้ว Culture ของ Odds ส่วนมากที่เรามักจะใช้กันคือ “การหาผู้เข้ามามีส่วนร่วม” แน่นอนงานออกแบบเราเลยไม่ได้ไปจ้างฝ่าย Branding หรือ Graphics Design จากที่ไหนมา เราก็ใช้คนใน Odds เนี่ยแหละเป็นคนช่วยกันทำ ฮ่า ๆ โดยใครมีไอเดียอะไรอยากเข้าร่วม ก็ช่วยกันโยนไอเดียมาเลยเต็มที่ ซึ่งหลายไอเดียก็สวยและ Concept ดีมากกกกกกกกกก จนวันสุดท้ายเราก็คัดเลือกโดยการ vote ว่าชอบอันไหน ฮ่า ๆ เพราะการ vote เป็นการลงเสียงหนึ่งเสียงที่แสดงถึงการมีส่วนร่วมได้ดีที่สุด มันอยู่ใน Culture ของเราว่าชอบอันไหนก็ vote เลือกได้เลย

ก่อนจะรวบรวมเป็น Concept

เอาตามตรงมันเป็นความโชคดีของผมในหลายๆส่วน ไม่ว่าจะเป็นการเป็นผู้เหลือรอดใน Odds ได้มาแล้วประมาณ 7 ปีทำให้จะพอรู้ Culture, รู้จัก DNA ของ Odds มาประมาณหนึ่งตลอดไปถึงพอจะมีความรู้เรื่องการทำ Brand มาบ้างเล็กน้อย(เพราะเป็นคนที่ชอบด้านนี้ เป็นทุนเดิมอยู่แล้วมั้ง) ทั้งหมดถือเป็นความโชคดีด้วยแหละ🥰🥰 ทำให้ตลอด 7 ปีที่ผ่านมาผมเห็น DNA ของ Odds ได้หลักๆ 6 อย่างจนได้หล่อหลอมเป็น Culture ได้แก่…

  1. แบ่งปัน : DNA ของ Odds ถูกปลูกถ่ายวิธีคิด แบ่งปันความรู้ จากต้นขั้วอย่าง พี่รูฟ พี่เจน พี่จั๊วะ ที่เป็นเสาหลักยุคต้นๆของการสร้าง ทีม Odds มาอย่างนมนาน ซึ่งพวกเขาวางตัวเป็นเพียงโค้ชในทางวิธีคิด และแบ่งปันประสบการณ์ที่ดีต่างๆให้คนอื่น และให้คนอื่นแบ่งปันให้กับคนอื่นๆอีก
  2. ทีมแนวราบ : เราเน้นการมีส่วนร่วมทุกอย่างเป็น Flat Team ไม่มีหัวหน้า ไม่มีลูกน้อง เราสามารถ Feedback เล่นเกมส์ กินข้าว พูดคุย พูดเล่น ถกเถียงไม่เห็นด้วยอย่างมีวุฒิภาวะ กับคนใน Odds ได้โดยไม่สนว่าใครจะทำงานมานานเท่าไหร่แล้ว ไม่เว้นแต่เสาหลักเอง 😎
  3. อิสระ : อิสระในด้านการทำงาน อิสระในการดูแลตัวเอง อิสระในการตัดสินใจ (อันนี้ผมว่าหลายคนที่ทำงานกับเราจะเข้าใจสิ่งนี้ ฮ่า ๆ) แต่นั้นแหละสิ่งเหล่านี้ส่งผล กระทบในการตัดสินใจในมิติอื่นๆด้วย เช่น หากคุณอยากสอนหรือแบ่งปันอะไร คุณก็เปิด Class เอง สอนเอง อยากได้ความรู้ความช่วยเหลืออะไรก็เพียงบอกความต้องการออกมา ซึ่งเกือบ 100% จะมีคนตอบสนองต่อความต้องการนั้นจริงๆ จนไปถึงเรื่องเล็กๆน้อยๆอย่าง การทำเสื้อทีม หมวกทีม กระเป๋าที่หลายๆคนเห็น มาจากความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย ที่มีอิสระในการคิดการทำทั้งสิ้น🥳
  4. ยืดหยุ่น : “ไม่มีดีที่สุด มีแต่ทำให้เหมาะสมที่สุด” ผมจำไม่ได้ว่าผมได้ยินคำนี้จากใครใน Odds แต่เรื่องนี้ผมคิดว่ามันน่าจะมาจากประสบการณ์การทำงานของพวกเราแหละ คือบางทีเราก็รู้ว่าสิ่งที่ดีประมาณไหน และสิ่งที่มันอยู่ในหนังสือทฤษฏีมันเป็นอย่างไร แต่ในสถานการณ์ มันทำให้เราทำได้มากสุดเท่านี้ เราก็จะยืดหยุ่นในทางวิธีการ แต่ยังคงหนักแน่นต่อหลักการ
  5. ความธรรมดา : จริงๆหากสังเกตจากคนที่อยู่ในทีม Odds ทั้งหมดไม่ได้มาจากการที่เราเปิดรับสมัครคนเข้าทำงาน แต่มักจะมาจากหลากหลายวิธีการมาก ฮ่า ๆ และคนส่วนมากที่เข้ามาด้วยวิธีนี้ จะเป็นคนที่มาจากต่างจังหวัด มหาลัยธรรมดาๆ ไม่ได้เรียนเก่งแบบเฉิดฉายอะไร บางคนเรียนนิติศาสตร์มา บางคนเรียนประวัติศาสตร์มา บางคนเรียนสังคมมาแต่ทุกคนก็เป็นคนธรรมด๊าาธรรมดา มารวมตัวกันทำงาน Software ที่เรียกกว่า Odds เนี่ยแหละ ไม่มีการขอ CV, Resume ใดๆ เพราะเราเชื่อแบบธรรมด๊าธรรมดาว่า ดูไปก็เท่านั้นอยากรู้ว่าเขาทำงานได้หรือเปล่า คือให้เขาทำงานเลย จริงๆวิธีคิดพวกนี้มันก็ส่งผลต่อวิธีการทำงานด้วยเหมือนกัน 😨
  6. โอกาส : จากห้าอย่างที่เขียนมา แบ่งปัน, ทีมแนวราบ, อิสระ, ยืดหยุ่น, ธรรมดา มันหลอมรวมกลายเป็น “โอกาส” จริงๆโอกาสในทีมเรามีหลายอย่างมากๆ ซึ่งหากมองมิติในเรื่องงาน มักจะเป็นการทำงานใน Area ที่ไม่เคยทำมาก่อน ทุกภาคส่วน ส่วนมากก็จะเคยทำนั่นทำนี่มาก่อนกันหมด โอกาสเหล่านี้มักจะปรากฏเห็นได้ชัดเจนที่สุดคือทีมของ Odds ไม่มีแผนก ไม่มี Role เพราะทีมเราเปิดโอกาสให้เราได้ทดลอง ลงมือทำทุกๆอย่าง หรือวันดีคือดี ก็มีโอกาสต้องไปสอน เรียนต่างประเทศ หรือทำงานในพื้นที่ใหม่ๆ ก็เป็นโอกาสที่ “ต้องทำให้ได้” อันนี้ผมมักจะเรียกมันว่า “โอกาส” หล่นใส่หัวแล้ว อยู่ที่คุณจะคว้ามันหรือเปล่าเท่านั้นเอง

ปล : ทั้งหมดที่ผมสังเกตนี้ ผมเขียนผ่านมุมมองของผม จริงๆผมก็เชื่อว่าหากมีคนอื่นมาสังเกต ก็จะมีข้อสังเกตกันที่ต่างออกไป ซึ่งก็เป็นธรรมชาติของพวกเราจาก DNA 6 ข้อที่ผมเขียนมาข้างต้น 🤣

ตีโจทย์การออกแบบ

กลับเข้ามาในส่วนของ Brand Identity ผมก็ตั้งโจทย์ว่า Logo ต้อง

  1. เรียกใช้งานง่าย
  2. เรียบง่ายธรรมดา
  3. ยืดหยุ่น

1. การใช้งานง่าย : ผมคิดว่าการใช้งานง่ายเป็นส่วนที่ผมให้ความสำคัญมากที่สุดคือ หลายคนก็ได้ไม่ได้มีโปรแกรมที่เกี่ยวกับการออกแบบต้องมาเปิด IA file, Svg file ทำไมเราถึงไม่ทำ Logo ที่สามารถให้ทุกคนสามารถทำด้วยตัวเอง เรียกใช้เอง พิมพ์ได้เอง เพราะทุกคนก็มีคอมอยู่แล้ว หากจะปรับแต่งหรือทำ เสื้อ ทำของอะไรไม่ต้องมาขอ File เรียกหา File แต่พวกเขาสามารถคุยตกลงกันเองได้เลย ตามข้อสังเกตที่ 2,3,4

2. เรียบง่ายธรรมดา : ผมตีโจทย์เรื่องเรียบง่ายธรรมดาตามข้อสังเกตที่ 5 เพราะผมคิดว่าเราเป็นคนธรรมดา และอยากจะเน้นย้ำสิ่งนั้น เวลาเอา Logo ไปใช้งานในสิ่งของ หรืองานต่างๆ เราไม่ได้อยากทำตัวโดดเด่นพุ่งโชติช่วงออกมา เราแค่อยากเป็นส่วนหนึ่ง เพียงเท่านั้น 😚😚😚

3. ยืดหยุ่น : มันต้องยืดหยุ่นตามบริบทการใช้งาน หากนำไปใช้ในงานต่างๆ กิจกรรมต่างๆ (ซึ่งจริงๆเราก็ชอบไปอยู่ในงานมากมายไปตั้งแต่งานกีฬา งานการศึกษา งานเครื่องเสียง ฮ่าๆๆๆ) 🤣🤣

แรงบันดาลใจ : ที่มา focus indicator ของ ช่องต่างๆก่อนเราจะพิมพ์

แนวคิด : “|” (focus indicator) ที่อยู่หลังตัว Odds เป็นสิ่งที่พวกเราทุกคนสามารสร้างเรื่องราว ด้วยมือคือเราเอง

“|” (focus indicator) ที่อยู่หลังตัว Odds ดูยื่นล้นออกมาด้านล่างอาจจะทำให้ดูไม่สม
ส่วนอยู่บ้าง ดูไม่เรียบร้อย แต่เราก็ชอบและขอบคุณกับความไม่สมบูรณ์แบบตรงนั้น

รูปแบบที่แสดงออกมา : คือใช้เพียงคำว่า Odds| เลยไม่สนใจเรื่อง Font ไม่สนใจสี ไม่สนใจขนาด เพราะตัว Logo เองต้องทำงาน สอดคล้องกับ Culture ของเราขอเพียงใช้ Focus indicator เท่านั้นก็เพียงพอแล้ว 😉😉

ใส่ “|” ลงไปในข้อความ โดยยังมีการ Recall ถึงความเป็น Odds อยู่ “คนธรรมดา|”
“|” ลงไปในประโยคที่ต้องการจะเน้น
เพิ่มกิจกรรมลงไปหลัง Logo
Logo หลากสีที่ต้องออกแบบมาให้ใช้ได้ทุกสี
ป้ายชื่อทีมย่อย

ทั้งหมดนี่เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ว่าตอนนั้นเราเล่าที่มาที่ไปของ Logo Odds Generation 3 เป็นอย่างไร ซึ่งตอนนี้เข้าใจว่ามี Gen4 แล้ว และคงมีความน่าสนใจไม่น้อย และวิธีคิดที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ^_^

ขอขอบคุณ Plu ที่อุตส่าห์ยกคอมพ์มาจะช่วยเช็คคำแต่สุดท้ายไปเล่นเกมส์ และขอขอบคุณ Abby เจ้าประจำแห่ง YOLO Team ที่ช่วยรีวีวบทความนี้ด้วยครับ

--

--