Two Truths and a Lie Retrospective|LeSSEx — Pilot
ขอแนะนำตัวก่อนนะครับ ผมเป็น Team Member ของ Pilot ที่อยู่ใน LeSSEx ครับและวันนี้ถึงคิวของผมได้รับหน้าที่เป็น Retrospective Facilitator ประจำ Sprint ครับ
Retrospective คือกิจกรรมที่จะช่วยให้ทีม และ ตัวเราเอง สามารถมองย้อนกลับไปได้ว่าอะไรคือจุดที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นในอนาคต อ่านเพิ่มเติม
เราย้อนอดีตเพื่อไปแก้สิ่งที่ “ผิดพลาด” ไม่ได้ แต่เราสามารถ “แก้ไข” อนาคตได้
blog นี้ผมเขียนมาเพื่อแชร์ประสบการณ์การทำ Retrospective ด้วยเกม Two Truths and a Lied กับทีมครับ
งั้นผมขอเล่าที่วิธีเล่นเกมก่อนนะครับ Miro Template
- ให้ทุกคนในทีมเขียนเรื่องราวที่เกิดขึ้นใน sprint ที่ผ่านมาครับ โดยจะแบ่งเป็นเขียนเรื่องที่เป็นความจริง 2 เรื่อง เป็นเรื่องโกหก 1 เรื่องครับ (5 นาที)
- จากนั้นนให้แต่ละคนอธิบายใบที่ตัวเองเขียนมาทั้ง 3 ใบครับ พอฟังจบแต่ละรอบผู้ฟังในทีมทุกคนก็จะโหวตว่าใบไหนที่เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมาครับ (2 นาที/คนเล่า)
- หลังจากทำขั้นตอนก่อนหน้าครบทุกคนแล้วเราจะเอาใบที่มีจำนวนโหวตมากสุดของแต่ละคนมาวางรวมกัน เพื่อโหวตอีกครั้งสำหรับเรื่องที่เราอยากหยิบมาคุยมากที่สุด
- ถึงตรงนี้เราจะเลือกใบที่มีคนโหวตโดยเรียงจากจำนวนโหวตมากที่สุด 1–3 ใบครับ ซึ่งตอนทำกับทีมผมเลือกมา 1 ใบเพื่อมาหา action item ของทีมครับ
ที่จริงถ้าเราเล่นตามขั้นตอนข้างต้นถือว่าเป็นการจบการเล่นเกม 2 เรื่องจริง 1 คำลวง แล้วครับ แต่เพื่อให้บรรลุตาม Retrospective เราจึงต้องหา action item เพื่อให้ทีมทำใน sprint ถัดไปครับ ซึ่งวิธีที่ผมใช้คือ ให้เจ้าของใบที่ได้จำนวนโหวตมากสุดอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับใบนั้น แล้วหาคำตอบมาสำหรับ 2 คำถามต่อไปนี้คือ
- รู้ได้ไงว่าดี
- รู้ได้ไงว่าเสร็จ
ตัวอย่าง
เราเลือกใบที่ชื่อว่า ไม่รู้สึกอึดอัดที่รับการ์ดเข้ามาทำ จากที่เจ้าของการ์ดมาเล่าให้ฟังคือ การ์ดใบนี้เป็นการ์ดที่ทีมถือมากกว่า 2 sprints และใน sprint นี้ก็ยังไม่เสร็จอีก ด้วยปัจจัยหลายอย่างเช่น มีการปรับเปลี่ยน solution ไปบ้างเนื่องจากมี information ใหม่เพิ่มเข้าทำให้ solution เดิมที่เราใช้อาจจะไม่ตอบโจทย์แล้ว และอื่น ๆ เป็นต้น จึงอาจทำให้เราไม่สามารถ deliver ของชิ้นนี้ไปได้ และถูก carry over ไปใน sprint ถัดไป
รู้ได้ไงว่าดี: เรามั่นใจว่าถ้าใบนี้ถูกรับเข้ามาใน sprint ถัดไป เราจะสามารถ deliver ของได้ทันใน sprint นั้น ๆ หรือหากงานที่เรารับเข้ามายังดูว่าจะไม่เสร็จอีก ด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ทีมก็จะรู้ตัวได้เร็วและบอก Information ให้ PO(Product Owner) ได้รับรู้เร็วที่สุด
รู้ได้ไงว่าเสร็จ: Set Expectation กับ PO ก่อนที่จะรับการ์ดนี้เข้า sprint หากเรายังมี Blocking Information ตรงที่ทีมติดอยู่จนถึงวันศุกร์ ทีมจะขอคืนการ์ดใบนี้และไปลงแรงกับ Priority ถัดไปแทน
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
พออ่านมาถึงตรงนี้ผมแอบเชื่อว่าหลาย ๆ ท่านอาจจะเกิดคำถามในใจเหมือนผม ซึ่งนั่นก็คือ “จะเฉลยเมื่อไหร่ว่าใบไหนของใครเป็นเรื่องโกหก” ที่จริงในเกมนี้เราไม่ได้มีเฉลยในตอนท้ายนะครับว่าเราทายของเพื่อน ๆ ถูกไหม หรือที่จริงหลาย ๆ ท่านคงเลือกได้ง่ายด้วยซ้ำว่าใบไหนจริงใบไหนกำลังโกหก ซึ่งนั่นแปลว่าเรากำลังมองเห็นสิ่งเดียวกันและเราก็รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร สิ่งนี้แหละครับที่แสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมกันภายในทีมของพวกเราเอง และเราก็เลือกของจากสิ่งเหล่านี้มาเพื่อที่จะทำให้ครั้งหน้าเรารับมือได้ดีกว่าเดิมครับ
ส่งท้าย ถึง session retrospective ของทีมจะจบลงเพียงเท่านี้แต่เพื่อน ๆ ในทีมก็มีถามกันอยู่ดีว่าเราทายถูกไหม เพราะไม่งั้นอาจจะทำให้บางคนถึงขั้นนอนไม่หลับก็เป็นได้ครับ สุดท้ายนี้หากเพื่อน ๆ ท่านไหนลองนำสิ่งนี้ไปปรับใช้แล้วได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างออกไป ก็มาแบ่งปันกันได้นะครับ