2 วิที่ทำให้คนหันมาจริงจังกับชีวิต

Thepachai P. [Nep]
Sharing Citizen
Published in
2 min readNov 21, 2017

--

1.วิกฤต

เคยได้ยินสุภาษิต ‘หมาจนตรอก’ ไหมครับ กล่าวคือสุนัขที่จนตรอกยอมทำทุกอย่างเพื่อให้เอาตัวรอด ได้

คนก็เช่นเดียวกัน ตอนผม 3 ขวบ แม่ผมส่งผมไปเรียนที่พม่า ใช่ครับ ‘พม่า’ ประเทศเผด็จการ[เมื่อตอนที่ผมอยู่จนออกมาไทย]

ชีวิตคนอื่นคงจะถูกส่งไปอังกฤษ, อเมกา, สิงคโปรไรงี้ แต่แม่ผมเลือกพม่าให้กับผม

วิสัยทัศน์ของท่านคือ พม่าจะเป็นประเทศที่ทรัพยากรมากในอนาคต และ คนไม่เลือกงานเหมือนประเทศที่คนอยู่อย่างสุขสบาย เลยอยากให้ผมไปเรียนรู้ภาษาเอาไว้พูดคุยให้เป็น

ผมจำได้แม่นเลยว่าตอนผมอยู่ที่นั่น แม้กระทั่งฟุตบอลที่เด็กๆเล่นกันใช้ฟุตบอลพลาสติก ที่นี่นำเข้าลูกบอลจริงๆน้อย, แผนที่ที่ใช้เรียน เรียนแต่ประเทศพม่า ตอนนั้นผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าโลกมันกว้างใหญ่ขนาดไหน, การศึกษาถือว่าล้าหลังมาก ให้ท่องจำหนังสือเพื่อสอบ

ตอนผมกลับมาไทย กลายคนเป็นอยากรู้อยากเห็นอัตโนมัต ไม่รู้อะไรจะไม่กลัวใครมองว่าโง่ ผมรู้สึกได้ว่าคนไทยในวัยเดียวกันอายมากที่จะถามอะไรสักอย่างที่ตัวเองไม่รู้

“ไม่รู้แล้วถามโง่เพียง 2 นาที ไม่รู้แล้วไม่ถามโง่ไปตลอดชีวิต”

อะไรทำให้ผมเป็นแบบนั้น หลักๆเลยผมเคยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ ‘วิกฤต’ มาก่อน เช่นที่พม่า เห็นคนลำบาก คุณภาพชีวิตที่ไม่ดี สภาพแวดล้อมที่ไม่ดี แม้ตอนมีอินเตอร์เน็ต มีเพียงคอมที่ไว้ใช้ใน office ถึงจะต่อเน็ตได้ ผมไม่เคยท่องโลกเน็ตมาก่อนเลยจนอายุ 10 กว่า

ตอนนี้ผมทำทุกวันให้มีความหมาย ไม่หยุดพัฒนาตัวเอง

เอาตัวเองไปอยู่ในความลำบากดูครับ สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น

2.วิสัยทัศน์

สำหรัลผมวิสัยทัศน์เกิดจากข้อมูล ยิ่งเรามีข้อมูลที่ Support สิ่งที่เราเชื่อ สิ่งที่เราอยากจะพัฒนา วิสัยทัศน์เราจะชัดขึ้น

ปัจจุบันผมไม่รอให้ตัวเองรวยร้อยล้าน แล้วค่อยมาผลักดันการพัฒนาศักยภาพคน

ผมจัดอีเว้น ทำค่าย workshop ให้นิสิต นักศึกษามาแล้วกว่า 1,500+ คน

โลกทุกวันนี้มันเร็วครับ ความรู้ใหม่ๆ อาทิ Startup, Social enterprise มันก็พึ่งมาได้ไม่กี่ปี และ มีเรื่องใหม่ๆเช่น AI, AR, VR ที่คนที่เป็น expert หลายๆคนก็ยังค้นหา และ พัฒนากันอยู่ เพราะฉะนั้น ‘อายุ’ ไม่ได้เป็นตัวแปรว่ามีความรู้ ความสามารถมาก หรือน้อย อีกต่อไป

เราทุกคนเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ พร้อมๆกัน ถ้าคุณรอระบบการศึกษาป้อนข้อมูลพวกนี้ คุณตามไม่ทันละครับ เพราะฉะนั้นผมจึงให้ความสำคัญกับ ‘Self learning’ ‘Community’ เป็นอย่างมาก ผมจึงไม่รอรวย หรือ สำเร็จถึงออกมาจัดงาน

ผมมีข้อมูลที่ทั้ง research มา และ ประสบด้วยตัวเอง อาทิ ‘ความต้องการ Talent ที่มีคุณภาพในตลาดแรงงาน’ ‘ความห่วยของระบบการศึกษาไทย’ ‘พฤติกรรมการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆด้วยตัวเองของคนไทยที่ยังต่ำ’

ผม Growth hack โดยการร่วมมือกับพี่ๆที่มี vision คล้ายๆกัน ผมมีเวลาช่วงที่เรียน ผม influence เพื่อนๆที่อยากพัฒนาตัวเองเหมือนๆกันได้

พี่ๆมีความรู้ ความสามารถจากประสบการณ์ เราเอาข้อดีของแต่ละฝ่ายมาเสริมซึ่งกันและกัน ผมช่วยทำresearch, plan, marketing ฝั่งเยาวชน / พี่ๆช่วยด้านสถานที่, รูปแบบ และ เนื้อหาที่จะถ่ายทอดในงาน

[อ่านรีวิววิธีคิด และ จัดงาน 1 งานของพวกเรา Click]

สรุป : เหนือสิ่งอื่นใด ทั้งวิกฤต และ วิสัยทัศน์ คือ ‘Sense of purpose’ คือ สิ่งที่คุณ Passion / เชื่อ / ตื่นมาแล้วมีความสุขที่ได้คิดถึงมัน

Sense of purpose ผมคือ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโต และ พัฒนา / การศึกษา

ผมมีความสุขต่อให้ทำงานซ้ำๆทุกวัน (อย่างที่กล่าวไปขั้นต้น ผมจัดอีเว้นมีคนเข้ามา engage มากกว่า1,500+ นั่นแปลว่าผมจัดมาแล้ว 20+ )

ผมทำงานซ้ำๆ งานเดิมๆ แล้วทำไมถึงไม่เบื่อ?

เพราะ ผมมองการจัดอีเว้น มากกว่าอีเว้น มันคือการออกแบบประสบการณ์ที่ทำให้ผู้เข้าร่วมได้ฉุดคิด ได้ความรู้ ได้มาแบ่งปัน ได้อะไรบางอย่างกลับไป

ถ้าคุณกำลังมองงานที่ทำเป็นแค่ ‘งาน’ คุณจะได้แต่พร่ำบ่นว่าเมื่อไหร่จะเสร็จ อยากพัก ไม่อยากทำแล้วเหนื่อย อยากลองอะไรใหม่ๆ

งานที่คุณทำคุณยังทำได้ไม่ดี คุณยังไม่ทุ่มสุดความสามารถ คุณก็เบื่อมันซะแล้ว สิ่งใหม่ที่คุณกำลังจะลองก็คงจะลงเอยเหมือนครั้งก่อน

“อยากได้ผลลัพธ์ใหม่ อย่าทำแบบเดิม”

ผมไม่ได้เขียนบทความนี้เพื่อจะสอนใคร ผมเขียนเพราะอยากสร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน เราไม่จำเป็นต้องรอสำเร็จมีเงินเก็บ 100 ล้าน ค่อยเอาความรู้มาแบ่งปัน เราทุกคนล้วนมีประสบการณ์ / ทัศนะคติ ที่สามารถเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน

ลองเขียนแชร์เรื่องราวของตัวเอง / สิ่งที่พบเจอ / ประสบการณ์ ดูนะครับ มาทำให้โลกนี้น่าอยู่ขึ้นกันเถอะ : )

Have fun developing yourself.

#NepCapture

--

--

Thepachai P. [Nep]
Sharing Citizen

Deep Generalist who’s empathy driven and data inform person.