Decentralization มันคืออะไรกันนะ

Nitipat Thanaborvornwiwat
Token X
2 min readJan 11, 2022

--

ในปัจจุบันผู้คนเริ่มสนใจในการลงทุนกันมากชึ้น ซึ่งหนึ่งในทางเลือกสุด hot เลยก็คือ การลงทุนใน สกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency)โดยมี blockchain technology เป็นเบื้องหลังในการเก็บข้อมูลในรูปแบบการกระจายศูนย์ (Distributed) หรือไม่มีศูนย์กลาง (Decentralized) ซึ่งคุณสมบัติที่ดีของระบบนี้คือ แทรกแซงยาก ปลอดภัย ลดความเสี่ยงโดยการกระจายตัวควบคุมไว้หลายๆที่ และไม่มีการคุมอำนาจเบ็ดเสร็จ ทำให้เพิ่มความมั่นใจในการลงทุนให้กับเหล่านักลงทุนได้

เนื่องจากคุณสมบัติที่ดีขนาดนั้น จึงเริ่มสงสัยว่าทำไม “Decentralization” ถึงมีคุณสมบัติเหล่านี้ มาลองทำความเข้าใจไปด้วยกันครับ

ก่อนเริ่มทำความเข้าใจกับ การไม่รวมศูนย์กลาง (Decentralization) ผมอยากขอยกตัวอย่างของระบบที่จะอธิบาย การรวมศูนย์กลาง (Centralization) ที่ใกล้ตัวเราหน่อยครับ นั่นก็คือระบบการเงินแบบที่เราใช้อยู่ทั่วไปทุกวันนี่แหละครับ

เนื่องจากเราต้องการใครสักคนที่น่าเชื่อถือในการรับฝากเงิน ในโลกของความจริง ณ ตอนนี้ก็จะมีคนที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางในการเก็บเงินของเรา (ซึ่งในตอนนี้ก็คือธนาคารนั่นเองนะ) เวลาที่เราอยากจะโอนเงินของเราไปให้อีกบัญชีนึงก็ต้องขอให้ทางคนกลางเป็นคนนำเงินออกมาแล้วย้ายไปบัญชีปลายทางให้ ทุกธุรกรรม (Transaction) ก็จะทำผ่านคนกลางทั้งหมดรวมไว้ที่เดียว นี่เรียกว่า ระบบรวมศูนย์กลางครับ (Centralized)

จากข้างต้นเราจะเห็นข้อดีคือ คนกลางจะมีหน้าที่รับผิดชอบการกระทำธุรกรรมทั้งหมด จัดการให้หมดทุกอย่าง ทำให้เรารู้สึกสะดวก เราไม่ต้องทำอะไร แค่เชื่อใจในคนกลางก็พอ แต่ก็ทำให้เกิดข้อเสียคือ คนกลางของระบบนี้จะต้องเป็นคนกลางที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นคนดีเท่านั้น เพราะหากคนกลางนั้นทำความผิดพลาด หรือมีความคิดที่จะโกง จะสามารถทำระบบทั้งระบบ พังไปกับมือได้เลยทีเดียว

ทีนี้มาดูที่ ระบบไม่รวมศูนย์กลาง (Decentralized) กันมั่ง จริงๆแล้วมันต่างจากระบบ centralized ที่ จำนวนของการควบคุม process ทั้งหมดของระบบนั้นๆ โดยจากตัวอย่างระบบการเงินแบบปัจจุบันจะมีคนกลางเป็นผู้ควบคุมแต่เพียงผู้เดียว ทุก process จะถูกจัดการให้สำเร็จจากคนกลางเท่านั้น ซึ่งจะแตกต่างกับระบบ decentralized ที่จะไม่มีตัวกลางไหนที่สามารถจัดการหรือควบคุมทุก process ทั้งหมดได้

เราสามารถยกตัวอย่างเทียบกับระบบการเงินในปัจจุบันได้เลยครับ จากที่เราต้องขอให้คนกลางโอนเงินจากบัญชีของเราไปบัญชีต่างๆ เปลี่ยนเป็นทุกคนถือบัญชีที่เก็บข้อมูลบัญชีของทุกๆคนในระบบ (Public ledger) มาเป็นผู้ทำหน้าที่นั้นแทน โดยทุกคนจะรับทราบว่าทุกคนมีเงินเท่าไหร่กันมั่งและทำการโอนเงินไปที่ไหนกันมั่ง (โปร่งใสแบบสุดๆไปเลย)

ทีนี้เวลาจะเกิด transaction การโอนเงินหนึ่งครั้ง ทุกคนจะช่วยกันตรวจสอบได้ว่ายอดที่จะโอนไปมันถูกไหม บัญชีต้นทางมีเงินพอที่จะโอนรึเปล่า ถ้าไม่พอคนอื่นๆในระบบก็จะช่วยกันปฏิเสธ (Rejected) ไปเลย ระบบแบบนี้เรียกว่า ระบบกระจายศูนย์กลาง (Distributed) ซึ่งเป็นระบบที่มีความ decentralized เพราะว่าการโอนเงินครั้งนึงจะสำเร็จได้ ต้องให้ทุกๆ คนที่ถือบัญชีอยู่เกินครึ่งของทั้งหมด ยอมรับว่า โอเค ยอดการโอนถูกต้อง ไม่เกินยอดเงินคงเหลือของต้นทาง ดังนั้นโอนได้! (Approved) จึงจะเกิด transaction จริงๆ โดยที่ทุกคนที่ถือบัญชีก็จะรวมใจกันบันทึกข้อมูล transaction ล่าสุดที่เกิดขึ้นลงไปในทุกบัญชีของตัวเอง

จากตัวอย่างแสดงให้ถึงคุณสมบัติหนึ่งคือ ความยากในการแทรกแซง transaction เพราะเราจะเป็นคนตรวจสอบด้วยตัวเองทั้งหมด พร้อมทั้งมีเพื่อนๆในระบบช่วยกันตรวจสอบด้วย
แต่เอ๊ะ! แล้วถ้าเราอยากจะโกงโดยการโอนยอดที่เกินบัญชีตัวเองพร้อมกับเตี๊ยมกับคนอื่นๆ เกินครึ่งของผู้ที่จะตรวจสอบ transaction นี้ ทำให้เสียงข้างมากเห็นด้วยกับ transaction ที่เราปลอมขึ้นมา แล้วบันทึก transaction ผิดๆ ไปในบัญชี ก็ทำได้นี่นา
จึงเห็นได้ว่า decentralized มีข้อเสียคือ การที่เรากระจายการควบคุมหรือการตัดสินใจไปมากกว่าหนึ่งจุดแล้ว ทำให้เราต้องมั่นใจว่าทุกการควบคุมที่เรากระจายออกไปนั้นมีความถูกต้องที่แน่นอน และน่าเชื่อถือ

ระบบตัวกลางที่ยกตัวอย่างขึ้นมานั้นแค่อยากจะให้เห็นความแตกต่างของระบบ centralized และ decentralized เท่านั้นครับ จริงๆ ข้อเสียจากตัวอย่าง decentralized ข้างต้น ก็สามารถแก้ไขได้ด้วย blockchain technology แล้วครับ จะมาเติมเต็มในส่วนของความน่าเชื่อถือ และความปลอดภัยของระบบ

สุดท้ายขอแถมด้วยความแตกต่างระหว่าง distributed และ decentralized หน่อยครับ จากคำตอบหนึ่งที่อธิบายได้ดีใน Quora ได้ให้คำอธิบายของ decentralized ว่า

Decentralized means that not one single entity has control over all the processing.

คิดว่าคำอธิบายสามารถอธิบายได้จากตัวอย่าง public ledger ข้างบนได้เลยนะครับ การจะทำ transaction ต่างๆต้องผ่านการ approved จากเสียงส่วนมากของผู้ถือบัญชีในระบบก่อน จึงจะบันทึก transaction นั้นลงไปในบัญชีได้

ส่วนคำอธิบายของ distributed

Distributed means not all the processing of the transactions is done in the same place.

ประมาณว่า distributed จะไม่มีกระบวนการไหนที่จะดำเนินการสำเร็จจากที่ๆเดียว มองเป็นสถานที่ก็ได้ครับ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการ cloud service ที่บริการการจัดเก็บข้อมูล (Data storage service) โดยจะทำการแชร์ data ของเราไปเก็บไว้ในหลายๆ data center ที่ตั้งอยู่คนละทวีปกัน เพื่อเพิ่ม availability ให้กับ data ของเรา

สรุปคือทั้ง distributed และ decentralized เป็นแนวคิดการจัดการระบบที่สามารถนำข้อดีของทั้งคู่มาปรับใช้เพิ่มประสิทธิภาพของระบบได้ แล้วแต่ use case เลยครับ

--

--