10 หนังสือแนะนำที่ควรอ่านก่อนตาย จาก คุณเอ๋นิ้วกลม — Roundfinger

ART LERD
4 min readDec 2, 2018

--

10 หนังสือแนะนำที่ ควรอ่านก่อนตาย จากนิ้วกลม

10 หนังสือแนะนำที่ ควรอ่านก่อนตาย โดยคุณเอ๋ นิ้วกลม Roundfinger
จากงาน ตาย ก่อน ตาย Live Exhibition | งานศพซ้อมตาย “นิ้วกลม”
.
เพราะความตายไม่ได้เป็นเรื่องของคนที่จากไปเท่านั้น
แต่ยังเป็นสิ่งที่สำคัญกับคนที่ที่ยังมีชีวิตอยู่

หนังสือ The Power of Now

1.The Power of Now พลังแห่งจิตปัจจุบัน
ทางสู่การตื่นรู้และเยียวยา

.
ผู้เขียน : Eckhart Tolle
แปลโดย : พรรณี ชูจิรวงศ์
.
หนังสือที่ทรงอิทธิพลเล่มหนึ่งของโลก ยอดขายกว่า 4 ล้านเล่ม ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ ทั่วโลก ถึง 33 ภาษา และได้รับการตอบรับที่ดีในฐานะหนังสือที่เปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนมากมาย ผ่านการถ่ายทอดประสบการณ์ของ Eckhart Tolle ครูด้านจิตวิญญาณ ผู้เชื่อมั่นในพลังของจิตปัจจุบัน

“ความทุกข์ส่วนใหญ่ของมนุษย์ล้วนไม่จำเป็น มันเกิดขึ้นเองตราบใดที่คุณยังปล่อยให้ความคิดบงการชีวิตโดยไม่รู้ตัว”ความทุกข์มักจะอยู่ในมิติของเวลาที่เราคุ้นเคย ทั้งอดีตและอนาคตซึ่งมันไม่จำเป็นและไม่ควรเป็นอย่างนั้น เราเจ็บปวดอยู่กับอดีตและเราก็กังวลอยู่กับอนาคตเราไม่มีที่ทางให้ปัจจุบันที่เราอยู่”สาเหตุที่บางคนชอบกิจกรรมอันตรายผาดโผน อย่างปีนเขา แข่งรถ ฯลฯ คือ มันบีบให้พวกเขาอยู่กับปัจจุบัน ภาวะที่รู้ตัวทั่วพร้อม เป็นอิสระจากสำนึกเรื่องเวลา จากปัญหา จากความนึกคิด เพราะหากหลุดจากปัจจุบันแม้เพียงเสี้ยววินาทีนั่นหมายถึงความตาย”

หนังสือ แด่หนุ่มสาว (For The Young)

2.
แด่หนุ่มสาว (For The Young)

.
ผู้เขียน : กฤษณมูรติ
แปลโดย : พจนา จันทรสันติ
.
แด่หนุ่มสาว เป็นหนังสือเชิงจิตวิทยาปรัชญา เขียนถึงประเด็นความคิดของหนุ่มสาววัยเยาว์ที่กำลังเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งการแสวงหาทั้งความหมายของชีวิตและลิขิตของตัวตน อย่างเช่น เรื่องการศึกษา การทำความเข้าใจจิตใจตัวเอง การแก้ปัญหาชีวิต การปฏิวัติกับหนทางสู่เสรีชน หรือแม้กระทั่งเรื่องความรักที่แท้
.
“ในขณะที่เธอยังเยาว์วัยอยู่ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปราศจากความกลัว ด้วยพวกเราส่วนใหญ่เมื่อมีอายุมากขึ้น มักจะตื่นตกใจง่าย เรากลัวการดำเนินชีวิต กลัวตกงาน กลัวกฎเกณฑ์ประเพณี กลัวเพื่อนบ้าน กลัวสามีหรือภรรยาจะมาว่ากล่าวนินทา เรายังกลัวความตายอีกด้วย พวกเราส่วนมากล้วนมีความกลัวไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง ที่ใดซึ่งมีความกลัว จะมีเชาว์ปัญญาอยู่ด้วยหาได้ไม่ ดังนั้นในขณะที่เรายังเยาว์อยู่ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเลือกอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปราศจากความกลัว ที่ซึ่งเต็มไปด้วยบรรยากาศแห่งเสรีภาพ เสรีภาพไม่ใช่การทำทุกอย่างตามที่ตนปรารถนาจะทำ แต่เป็นเสรีภาพที่จะช่วยให้เข้าใจขั้นตอนทั้งหมดของชีวิต…การมีชีวิตอยู่คือการค้นหาสัจจะด้วยตนเอง เธอจะทำสิ่งนี้ได้ก็ต่อเมื่อเธอมีเสรีภาพ เมื่อเธอมีการปฏิวัติอยู่ภายในอย่างไม่หยุดยั้ง เป็นการปฏิวัติภายในตัวเธอเอง”

หนังสือ ตาย-เป็น (Being Mortal)

3.
ตาย-เป็น (Being Mortal)

ตาย-เป็น: การแพทย์สมัยใหม่ ความตาย และความหมายของปลายทางชีวิต
Being Mortal: Medicine and What Matters in the End
.
ผู้เขียน : Atul Gawande
แปลโดย : บวรศม ลีระพันธ์
.
ความแก่ชราและความเจ็บป่วยคือสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญ และการแพทย์สมัยใหม่ก็พยายามต่อสู้ขัดขืนกับความจริงของชีวิตอย่างสุดกำลัง จนกระทั่งละเลยเพิกเฉยแง่มุมอื่นๆ ของชีวิต เพียงเพราะไม่อาจยอมรับได้ว่าการแพทย์สมัยใหม่นั้นไร้ความสามารถในการต่อกรกับวาระสุดท้ายของชีวิต
.
อาทูล กาวานดี ศัลยแพทย์ผู้เผชิญหน้ากับความตายนับครั้งไม่ถ้วน บอกเล่าเรื่องราวของความเจ็บป่วย ความแก่ชรา และความตายของผู้คนในยุคสมัยใหม่จากประสบการณ์ของตัวเขาเอง เพื่อชี้ชวนให้เราตั้งคำถามกับระบบบริการสุขภาพในยุคปัจจุบันที่มุ่งมั่นทำการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ โดยไม่สนใจคุณภาพชีวิตและสภาพจิตใจของทั้งผู้ป่วยและคนในครอบครัว กระทั่งทำร้าย-ทำลายทั้งร่างกายและจิตใจของคนจำนวนมากจวบจนวินาทีสุดท้ายของลมหายใจ
.
ด้วยการศึกษาค้นคว้าที่รอบด้านและเรื่องราวที่ลึกซึ้งตรึงใจ ตาย-เป็น (Being Mortal) ยืนยันว่าการแพทย์สมัยใหม่อ่อนโยนและทำอะไรได้มากกว่านั้น เพื่อช่วยให้เรามีชีวิตและตายอย่างเปี่ยมคุณค่าและความหมาย

หนังสือ เมื่อลมหายใจกลายเป็นอากาศ When Breath Becomes Air

4. เมื่อลมหายใจกลายเป็นอากาศ
When Breath Becomes Air

.
ผู้เขียน : Paul Kalanithi
แปลโดย : โตมร ศุขปรีชา
.
เมื่อลมหายใจกลายเป็นอากาศ คือถ้อยบันทึกการเผชิญหน้า สำรวจ ต่อสู้ และโอบรับความตาย ที่แสนจับใจและน่าจดจำ วรรณกรรมแห่งชีวิตอันงดงามชิ้นนี้ถ่ายทอดประสบการณ์การค้นหาความหมายของมนุษย์คนหนึ่งในห้วงยามที่ความหวังมลายสิ้น เขาควรจับมีดผ่าตัดต่อไปหรือไม่
.
เมื่ออนาคตอันรุ่งโรจน์ในฐานะแพทย์ได้ดับแสงลงแล้ว? เขาควรมีลูกไหม เมื่อไม่รู้ว่าลมหายใจของตนจะหมดลงก่อนที่ลูกจะลืมตาดูโลกหรือเปล่า? อีกทั้งยังพาเราดำดิ่งสู่โลกแห่งการคิดคำนึงว่า อะไรคือความหมายที่แท้จริงของชีวิต … เมื่อลมหายใจกำลังจะกลายเป็นเพียงอากาศ

หนังสือ เตรียมตัวตายอย่างมีสติ

5.เตรียมตัวตายอย่างมีสติ
ฉบับขยายความและเพิ่มเติม

.
ผู้เขียน : สุลักษณ์ ศิวลักษ์
.
เป็นผลงานซึ่งได้เรียบเรียงและแปลจากพระนิพนธ์ของ “องค์ทะไลลามะ” และพระเกจิอาจารย์ดังชาวธิเบต ซึ่งว่าด้วยเรื่องของการเตรียมตัว เตรียมใจ และการนำศาสนาเขามาเป็นที่พึ่งเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาให้พ้นจากทุกข์ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจถึงการตายแล้วเกิดใหม่ และสถานภาพของการตายและเกิด ในแง่ของพุทธศาสนานิกายวัชรยาน และนิกายสุขาวดี

“ในชีวิตประจำวันเรามักติดยึกอยู่กับความรัก ความชัง ความอิจฉาริษยา ฯลฯ อะไรมากระทบใจเข้า ก็ง่วนคิดไปตามกระแสนั้น ๆ ได้ง่าย แต่ถ้าเราหัดใช้เหตุผลและสติปัญญา กิเลสตัณหาเหล่านั้นย่อมมารบกวนเราได้ยากยิ่งขึ้นทุกที เวลาใกล้ตาย ถ้าเราเคยคุ้นกับทัศนคติหรือเจตนาอย่างใด ตัวเจตนาเจ้าเรือนนั้นแลจะเป็นใหญ่และนำเราไปเกิดใหม่ ตามครรลองแห่งกุศลหรืออกุศลก็สุดแท้ และที่ไปเกิดใหม่กันนั้นก็เพราะยึดมั่นในตัวตน กลัวกันว่าตัวตนจะสูญไปความยึดติดอันนี้เองที่เป็นตัวสันตติต่อเนื่อง ระหว่างชีวิตแห่งชาตินี้และชาติหน้า เพราะติดยึดในร่าง จึงเกิดร่างขึ้นใหม่ แม้ในระหว่างที่ยังไม่ไปเกิดใหม่ด้วยซ้ำ”

หนังสือ สู่ความตายอย่างสงบ

6.สู่ความตายอย่างสงบ
ระลึกรู้ถึงธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ
.
ผู้เขียน : ชักดุด ตุลกู รินโปเช
แปลโดย : บุลยา

ความตายในบางความหมาย
จึงย่อมไม่ใช่ “ความโศกเศร้า” เสมอไป
หากแต่เป็นการระลึกให้เห็นถึงคุณค่าในวันที่ยังหายใจอยู่
ใช้ชีวิตอย่างไรจึงจะมีประโยชน์แก่โลก กับสังคม
และคนรอบข้าง
แทนที่จะใช้เวลาที่เหลือเพื่อนั่งวิตกจริต “กลัวตาย”
หากแต่เราควรทำความเข้าใจ “ความตาย” ให้ถ่องแท้
เพื่อในท้ายที่สุด…
เมื่อถึงเวลานั้นของชีวิต…
เราจะได้ไป “สู่ความตายอย่างสงบ” อย่างแท้จริง

หนังสือ เหนือห้วงมหรรณพ

7.เหนือห้วงมหรรณพ
THE TIBETAN BOOK OF LIVING AND DYING (Part I Living)

คำสอนธิเบตเพื่อเตรียมตัวตายและช่วยเหลือผู้ใกล้ตาย
.
ผู้เขียน : โซเกียล รินโปเช
แปลโดย : พระไพศาล วิสาโล

“ หากเราปฏิเสธที่จะยอมรับความตายเสียแต่ตอนนี้ ขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่ เราจะจ่ายแพงมากไปตลอดชีวิต รวมทั้งในยามมรณะ และหลังจากนั้นผลของการปฏิเสธนี้ จะบั่นทอนชีวิตนี้และชีวิตอื่นๆ ที่จะตามมา เราไม่สามารถมีชีวิตอย่างไพบูลย์เต็มเปี่ยมได้ เราจะถูกจองจำให้จมอยู่กับธรรมชาติบางด้านของเราที่จะต้องดับไป ความไม่รู้นี้ปิดกั้นโอกาสที่เราจะเดินทางเข้าสู่ความรู้แจ้ง และกักขัังเราให้ติดอยู่กับมายาภาพอันไม่รู้จบ ในวัฏจักรแห่งการเกิดดับที่ไม่อาจควบคุมได้ในห้วงมหรรณพแห่งความทุกข์ที่ชาวพุทธเีรียกว่าสังสารวัฏ “

หนังสือ ประตู สู่สภาวะใหม่

8.ประตู สู่สภาวะใหม่
THE TIBETAN BOOK OF LIVING AND DYING (Part 2 Dying)

.
ผู้เขียน : โซเกียล รินโปเช
แปลโดย : พระไพศาล วิสาโล

“คนทั่วไปนั้นมักเห็นว่าความตายนั้นเป็น “ปัญหา” หรือ “ภาวะจนตรอก” ที่ทุกคนต้องพ่ายแพ้สถานเดียว แต่ที่จริงความตายนั้นเป็น “โอกาส” แห่งความเจริญงอกงามของชีวิตด้านใน ทั้งของผู้กำลังจะตายหรือตายแล้ว และผู้ที่ยังอยู่ “กุญแจ” สำคัญนั้นอยู่ที่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ “ความตาย” รวมทั้งการรู้จักธรรมชาติแห่ง “จิต” ของตนอย่างลึกซึ้ง และที่สำคัญไม่น้อยก็คือ “สติ” หรือการประคองจิตไม่ให้หวั่นไหวไปกับสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งก่อนตายและหลังตาย”

เพื่อรอยยิ้ม เมื่อสิ้นลม เล่ม 1 และ 2

9.และ 10
เพื่อรอยยิ้ม เมื่อสิ้นลม เล่ม 1 และ 2

.
ผู้เขียน : สง่า ลือชาพัฒนพร
.
หนังสือชุด “เพื่อรอยยิ้ม เมื่อสิ้นลม” ได้รวบรวมและถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำหน้าที่พยาบาลกว่า 20 ปี ของกานดาวศรี ตุลาธรรมกิจ ในการดูแลและช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งบางเรื่องก็ไม่ใช่หน้าที่ของพยาบาล แต่เธอก็เต็มใจทำในฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
.
ถ่ายทอดเรื่องราวของคนที่แม้จะถูกโรคร้ายรุมเร้า ความเจ็บปวดคุกคาม บางคนพยายามต่อสู้ทุกวิถีทางเพื่อที่จะยื้อชีวิต แต่ก็สามารถหันมาเผชิญกับความตายได้อย่างสงบและอย่างกล้าหาญ
ซึ่งเป็นการนำพาให้ผู้ป่วยที่มีความวิตกกังวล ความห่วง ความทุกข์ รวมถึงความกลัวต่างๆ ได้ยอมรับความจริงและพบความสุขสงบก่อนสิ้นลม ซึ่งมิใช่เพียงส่งผลดีต่อผู้ป่วยเท่านั้นแต่ยังทำให้ญาติพี่น้องที่มาช่วยดูแล
.
ได้มีความเข้าใจและปล่อยให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบสุขโดยปราศจากอาการทุนทุราย พร้อมหนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับแพทย์พยาบาลและอาสาสมัครที่ดูแลคนไข้ หรือช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้าย และบุคคลทั่วไปที่ต้องดูแลญาติที่เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย นักวิชาการก็สามารถใช้ตัวอย่างจากเล่มนี้เพื่อเป็นกรณีศึกษา อธิบายทฤษฎีทางการแพทย์ โดยเฉพาะในส่วนของ Palliative Care ที่กำลังเริ่มพัฒนาเป็นหลักสูตรทางสาธารณะสุข

บทความที่คุณอาจสนใจ

เครื่องมือ ช่วยค้นหา Personal Value

(รีวิว) รู้จัก เข้าใจ ค้นหาตัวเอง กับการโค้ชด้วยการ์ด

หลายครั้งที่เรามักสบสน ไม่แน่ใจ กับสิ่งที่ตัวเองกำลังทำอยู่ การค้นหา รู้จัก เข้าใจตัวเองจึงมีส่วนช่วยในการสร้างทิศทางในการใช้ชีวิตให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

[อ่านบทความ คลิกตรงนี้ ]

บทความที่คุณอาจสนใจ

บุคลิกภาพ Creative Type ความสร้างสรรค์ทั้ง 8 แบบ

ค้นหา รู้จักเข้าใจตัวเอง มากขึ้น
ด้วยแบบทดสอบบุคลิกภาพ My Creative Type

คุณคือ Creative Type ประเภทไหน ?

[ ทำแบบทดสอบ คลิกตรงนี้ ]

บทความที่คุณอาจสนใจ

Managing Oneself — ปัญญางาน จัดการตน

เข้าใจจุดแข็ง และธรรมชาติ
การทำงานของตนเอง

Managing Oneself ได้สรุปคำถามสำคัญ ที่เราจำเป็นต้องตอบให้ได้ มาที่ละข้อทีละขั้น เพื่อช่วยให้เราเข้าใจศาสตร์สำคัญที่สุดศาสตร์หนึ่งของมนุษย์ นั้นคือ การจัดการตนเอง
[อ่านบทความ คลิกตรงนี้]

ภาพจาก Peaceful Death

#ตายก่อนตาย
#งานซ้อมตายนิ้วกลม
#งานศพนิ้วกลม
#DiebeforeDie
#PeacefulDeath

เมื่อวันที่ 21เมษายน 2562 คุณเอ๋ นิ้วกลมได้ตั้งเพจใหม่ชื่อ “นิ้วกลมอ่าน”
เป็นเพจ ที่รีวิว แชร์แง่คิด สรุปใจความสำคัญ ของหนังสือที่คุณเอ๋ นิ้วกลม อ่านเอง
ที่มีแนวคิดว่า “การอ่าน คือการวิ่งของสมอง”
เลยอยากชวนเพื่อนๆ มาติดตาม และแบ่งปัน สังคมอุดมปัญญาด้วยกันครับ

เพจใหม่ของคุณเอ๋ “นิ้วกลมอ่าน” รีวิวและสรุปใจความสำคัญของหนังสือ

แนะนำรายการ PODCAST ของคุณเอ๋ นิ้วกลม

1.
ความสุขโดยสังเกต PODCAST — วันนี้คุณมีความสุขดีไหมครับ?

‘มนุษย์ทุกคนอยากมีความสุข’ จากความเชื่อนี้ เราอยากชวนกันมาสังเกตว่าอะไรบ้างที่จะทำให้เรามีความสุขในชีวิต ตั้งแต่พฤติกรรมในแต่ละวัน มุมมอง วิธีคิด วิธีฝึกฝนจิตใจ ความสัมพันธ์กับคนอื่น

ไล่เลยไปถึงบริบททางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง แล้วท่องเที่ยวไปในอาณาจักรความสุขด้วยแว่นที่หลากหลาย ทั้งวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเชื่อ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา วิทยาศาสตร์ จิตวิทยา ฯลฯ อีกมากมาย ทั้งหมดนี้จะถูกเรียบเรียงเป็นพอดแคสต์ที่เข้าใจง่าย ฟังสบายๆ และจบลงด้วยความสุข

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกยน 2562 คุณเอ๋ ได้ทำ SOMETHING EVERY DAY PODCAST เพิ่มอีก 1 รายการนอกจาก ความสุขโดยสังเกต PODCAST
ที่ทำร่วมกับ The Standard PODCAST

2.
SOMETHING EVERY DAY PODCAST

สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากฟัง SOMETHING EVERY DAY PODCAST
คลิกที่ >> ตรงนี้เลยครับ <<

--

--