Storytelling VS. Storydoing คืออะไร ต่างกันยังไง-[เล่าเรื่องให้คนรัก ขายให้โดนใจอย่างทรงพลัง] จาก คุณอร Content Shifu

ART LERD
6 min readJun 1, 2019

--

ขอต้อนรับ คุณผู้อ่านทุกท่าน สู่เนื้อหา แนวคิดที่สร้างผลลัพธ์
ในเรื่องการสร้างแบรนด์ (Branding) และ การตลาด (Marketing)
ให้กับสินค้า ธุรกิจ ที่หลากหลาย ด้วย Storytelling กับ Story doing
เล่าเรื่องให้คน(ลูกค้า)รัก - ขาย(สินค้า)ให้โดนใจอย่างทรงพลัง

อย่างแรก อยากให้คุณลองคิดดู…ก่อน

ทำไม บางโฆษณาถึงมีคนชอบ คนดู คนแชร์
ทำไม บางแบรนด์ ถึงยังครองใจผู้บริโภคจนถึงทุกวันนี้
ทำไม ธุรกิจจึงต้องมีเรื่องราว เรื่องเล่า Storytelling ให้ฟัง ให้อ่าน
ทำไม ธุรกิจต้องมีสร้างประสบการณ์กับผู้บริโภค ด้วยการทำ Storydoing

ได้คำตอบยังไง ทดไว้ในใจก่อน บทความนี้มีคำตอบให้คุณ

เข้าเรื่องกันเลย…
อาร์ตได้เข้าร่วมงาน Storytelling V.S. Storydoing ที่จัดโดย AIS DC
เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา จึงอยากนำความรู้และแนวคิด
ที่ได้มาแบ่งปันกับทุกๆคนครับ

เนื้อหา ความรู้ เคล็ดลับ เป็นประสบการณ์ตรง
ของ คุณอร อรวี สมิทธิผล Content Director & Co-Founder ของ
Content Shifu และ Magnetolabs อดีต Head of Content ของบริษัท TechsauceMedia เจ้าของผลงานหนังสือ Inbound Marketing การตลาดแบบแรงดึงดูด

หนังสือ INBOUND MARKETING การตลาดแบบแรงดึงดูด

สามารถดาวโหลด PDF ตัวอย่างหนังสือ INBOUND MARKETING
>> คลิกที่ตรงนี้ <<

PDF ตัวอย่างหนังสือ INBOUND MARKETING

เริ่มงาน…
คุณอร ได้ให้ผู้เข้าร่วมงาน ทำแบบทดสอบเล็กๆ ว่า อะไร ทำให้คุณเข้ามางาน
Storytelling V.S. Storydoing ?

อะไร ดึงดูดให้คุณเข้ามาอ่านบทความนี้ Storytelling หรือ Storydoing ?
Good Storytelling Look Like

ผู้เข้าร่วมงาน กว่า 60% ตอบว่า Storytelling

จึงมีคำถามต่อว่า Storytelling ที่ดี ควรมีลักษณะ หรือ รูปแบบยังไง
Whay Good Storytelling Look Like ?

เมื่อลองค้นหาใน Internet จะได้ตามใน Story Arc ซึ่งมันก็ดูจะเข้าใจยาก

Storytelling คือ คล้ายกับการทำอาหาร แม้จะเป็นเมนู วัตถุดิบ เดียวกัน แต่คนทำต่างกัน รสชาตที่ได้ย่อมต่างกันออกไป

คุณอร จึงเปรียบเทียบให้ง่ายขึ้น Storytelling คือ คล้ายกับการทำอาหาร

ที่จะประกอบไปด้วย
1. เตรียมวัตถุดิบ : Find Ingledients (Create Your Experience)
2. ทำอาหาร : Cook
3. ตกแต่งจานและเสริฟอาหาร : Design Your Plate & Serving

โดยมีเคล็ดลับ กระบวนการสร้าง Storytelling ที่ดี ประกอบด้วย
น่าจดจำ เชื่อมโยง และมีความเป็นจริง

1.น่าจดจำ : Be Memorable ทำให้คนจดจำ / จำได้ง่าย
มีความโดดเด่น + เรียบง่าย (ไม่ซับซ้อน เข้าใจยากเกินไป)

แบบฝึกหัด การทำ Storytelling ที่ง่ายที่สุด คือ การแนะนำชื่อตัวเอง
กับคนที่พึ่งเจอกันครั้งแรก ให้จำเราได้

(ตัวอย่างที่ 1)
ผม อาร์ต เจ้าของนามปากกว่า ARZT LERD

ที่ได้รับแรงบัลดาลใจจาก
(A)R(Z)T — ศิลปะความสร้างสรรค์ ที่หลากหลาย ตั้งแต่ A ถึง Z
LERD — ความเป็นเลิศ พัฒนา ไม่หยุดนิ่ง

รวมกันเป็น “ ความหลากหลายในศิลปะ ศาสตร์ สู่ความเป็นเลิศ ”
ด้วยเชื่อว่า ศิลปะ หรือ ศาสตร์ ต่างๆที่อยู่รอบตัว
จะช่วยพัฒนาผู้คนสู่ความเป็นเลิศ ด้วยการเปิดมุมมองที่หลากหลาย

(ตัวอย่างที่ 2 : การแนะนำชื่อ ของคุณอร)

  • อร ที่มาจาก On-Off ที่แปลว่า เปิด-ปิด
  • อร ที่มาจากไฟนีออน ตอนเด็กผิวขาวมาก เหมือนไฟนีออน
  • อร อรวี-เดียวกัน เหมือนนักร้อง อรวี สัจจานนท ์
  • อร ชื่อเดียวกัน กับ น้องอร BNK 48

จะเห็นว่า มีถึง 4 Option ถ้าพูดกับเด็กวัยรุ่น อรวี สัจจานนท ์อาจจะทำให้จำไม่ได้
แถมงงว่า เป็นใคร แต่ถ้าพูดกับผู้ใหญ่ก็อาจจะช่วยให้จำได้ง่ายมากขึ้น
ดังนั้น ก็ต้องดูด้วยว่า เรากำลังคุยกับใครอยู่ เลือกใช้ Story ที่เหมาะสม

2. เชื่อมโยง : Connecting with your Target Audience
พูด สื่อสาร ในภาษา โทน น้ำเสียง ของคนที่เราอยากจะเล่าเรื่องให้เขาฟัง

ตัวอย่าง เมื่อคุณนึกถึง ‘กาแฟลดน้ำหนัก’ คุณจะนึกถึง “………………….”
‘ลูกค้าที่จะทานกาแฟ’ นี้คือ “………………….”
คำตอบในใจ ที่เป็นภาพติดตาของใครหลายคน จะนึกถึง ‘เนเจอร์กิฟ’

3. มีความเป็นจริง : Authentic
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เป็นส่วนหนึ่ง หรือ ความเชื่อในสิ่งนั้นๆจริงๆ
ตัวอย่าง บทความ เบื้องหลังการออกแบบปกหนังสือ Inbound Marketing
คุณอร ให้ทีมงานฝ่าย Grapic เป็นคนเขียนบทความ เล่ามุมมอง แนวความคิดในการออกแบบจริงๆ ช่วยให้ Storytelling นี้ทรงพลัง ทั้งกับผู้อ่านและผู้เขียน

เบื้องหลังการออกแบบปกหนังสือ Inbound Marketing

ตัวอย่าง (Ads) Storytelling + Influencer Marketing

เพจ บ้านกูเอง
ตอน นัดยิ้มสาว

เรื่องย่อ ชายหนุ่มหน้าตี๋ ได้นัดยิ้มสาว ที่ BTS อารีย์
ระหว่างที่ชายหนุ่มรอสาวนัดยิ้ม จึงได้รู้ว่าตนเองลืมใส่รองเท้ามา เลยต้องหามาใส่เพื่อให้เหมือนคนปกติ
จนได้เจอ Converse Shop มี รองเท้า Jack Purcell ขายอยู่
ที่จุดเด่นของรองเท้า คือ Smile ทำให้เขายิ้มได้ตลอดเวลา

ความเข้าใจผิดส่วนใหญ่ของ Storytelling

คุณอร ได้แชร์ว่า คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า
การทำ PR ( Public Relations) คือ การทำ Storytelling แต่จริงๆแล้วไม่ใช!!่

PR มีลักษณะ เป็นการให้ข่าว วัตถุประสงค์ เพื่อประชาสัมพันธ์ เป็นการแจ้งให้ทราบ
มากกว่า การเล่าเรื่อง ที่มีวัตถุประสงค์ บอกให้ฟัง

ตัวอย่าง ข่าวเปิดตัวโครงการ LIDO CONNECT

LIDO CONNECT จาก [ “ลิโด” สู่ “ลิโด้” ] ความเปลี่ยนแปลงที่ไม่เปลี่ยนไป

หรือ ข่าวเปิดตัวสินใหม่ OPPO RENO 60X ที่ลงข่าวหน้าหนึ่ง หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ว่า พบกันวันที่ 4 มิถุนายน 2562 เป็นต้น

การทำ PR ไม่ใช่ Storytelling

Challenge ความท้าทายในการทำ Storytelling สำหรับ Business

Challenge ในการทำ Storytelling สำหรับ Business
  1. มีต้นทุนในการเก็บ ค้นหา Story ที่สูง จะต้องสอบถามคนที่เกี่ยวข้อง ลงไปดูให้เห็นกับตา เข้าใจกระบวนการ ระบบของธุรกิจ และความเป็นมาของสินค้าอย่างลงลึก / รวมถึงจะต้องใช้ระยะเวลามาก
  2. ความไม่สมบูรณ์ของ Story เนื่องจากความยากในการเก็บข้อมูลให้ครบถ้วน

จาก Challenge จึงนำไปสู่แนวคิด การทำ Storydoing

Storydoing ถูกนิยามครั้งแรก โดย Ty Montague
ในบทความที่เขียนให้กับ Havard Business Review

“Good Companies Are Storytellers
Great Companies Are StoryDoers”

โดยมีลักษณะสำคัญ 6 ข้อคือ
1. พวกเราล้วนมีเรื่องราว มี Story
2. Story มีเป้าหมาย มุ่งมั่น ที่ต้องการให้โลกดีขึ้นกว่านี้
3. Story มีความเข้าใจและใส่ใจ กับผู้นำ บุคคลอื่นๆ นอกจากธุรกิจ-การตลาด
4. Story ถูกนำไปใช้ ในการขับเคลื่อน ทุกๆฝ่ายขององค์กร
5. ทุกการกระทำช่วยส่งเสริม Story เรื่องราว องค์รวมทั้งหมด
6. ลูกค้า หุ้นส่วน มีส่วนร่วม และทำกิจกรรม ใน Story จนเกิดเป็น Story ที่เป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่ใช่เรื่องของผม ไม่ใช่เรื่องคุณ แต่เป็นเรื่องของเรา

ความแตกต่างของ Storytelling กับ Storydoing ในความคิดเห็นของคุณอร

คุณอร จึงได้สรุป ความแตกต่างที่สำคัญ ตามตารางดังนี้

Storytelling เน้นเรื่องที่จะเล่า / คาดหวังให้คนอ่าน ดู ฟัง / เล่าด้วยการเปรียบเทียบ
Storydoing เน้นใส่ใจที่คนจะอ่าน ดู ฟัง / คาดหวังให้เกิดการทำ / มาสร้าง Story เนื้อหาไปพร้อมๆ เกิดเป็นประสบการณ์ร่วมกัน

ตัวอย่างง่ายๆ อย่างตอนเริ่มงาน ที่ให้ทุกคนโหวต แล้วถามความคิดเห็นต่อ
ก็ถือเป็น Storydoing
จะเห็นว่า Story เกิดจาก ‘คนฟัง’ แล้ว ‘วิทยากร’ มาต่อยอดเรื่องราวเพิ่มเติม

อะไร ดึงดูดให้คุณเข้ามาอ่านบทความนี้ Storytelling หรือ Storydoing ?

ลองดูอย่างที่จะช่วยให้เห็นภาพมากขึ้น กับโครงการที่ชื่อว่า “ก้าวคนละก้าว”
โครงการที่ทำให้ใครหลายคน ลงมือ ออกมาวิ่ง ออกมาทำกิจกรรมกับพี่ตูน บอดี้ แสลม ช่วยกันบริจาคให้กับ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ

บนระยะทางครั้งประวัติศาสตร์จาก เบตง จังหวัดยะลา สู่ แม่สาย จังหวัดเชียงราย

มีเรื่องราวที่เกิดขึ้นมากมายตลอดเส้นทาง ทั้งที่เห็นจากใน Social Media ต่างๆ หรือ ไม่เห็น และนี้คือพลังของ Storydoing ที่ทรงพลัง และเห็นผลลัพธ์ชัดเจนที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย

ในทุกๆวันที่พี่ตูน วิ่งผ่าน จะเกิด Action ทั้งบนโลก Online และ Offline เกิดเป็น Story ร่วมกันระหว่างทางจนไปถึงจุดหมาย ด้วยพลังพวกเราชาวไทย

จะเห็นว่า
1. เน้นให้คนมามีส่วนร่วมกับโครงการ บอกชัดเจนว่า ทำไปเพื่ออะไร
2. การมีส่วนร่วมของคุณ = ผลลัพธ์ ผ่านการบริจาค ‘เงิน’ ให้กับ11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ อีกทั้ง ยังเป็นตัวกระตุ้นให้คุณ ออกไปก้าว ในสิ่งที่คุณอยากทำ (เกิด Action ใหม่ๆ)
3. เกิดเป็นเรื่องราว ประสบการณ์ร่วมกันตลอดเส้นทาง ทุกก้าว ที่พี่ตูน วิ่งผ่าน ทั้งในโลก Online/Offline

ตัวอย่าง Storydoing ของโครงการนี้มีมากจริงๆ ลองดูได้จาก
หนังสารคดี เรื่อง 2,215 เชื่อ บ้า กล้า ก้าว
หนังที่คลุกวงในตลอด 55 วันโครงการก้าวคนละก้าว

Storydoing 2,215 เชื่อ บ้า กล้า ก้าว

ตัวอย่าง การทำ Content สไตล์ Storydoing เน้นให้เกิด Action และให้ผู้อ่านแบ่งปัน จนเกิด User Generated Content มาแบ่งปัน เคล็ดไม่ลับ กับคนใน Community อีก

Do by example สามารถต่อยอดสู่ Action ให้คนทำตามได้ (UGC Content)

Content สไตล์ Storydoing เน้นให้เกิด Action
Content สไตล์ Storydoing สามารถสร้าง User Generated Content

ตัวอย่าง การทำ Storydoing Content เน้นให้เกิด Action และ ประสบการณ์ของผู้เสพ
จนเกิดเป็น Story ร่วมกัน ผ่านการโหวตเนื้อเรื่อง (ให้คุณมาเติมเต็ม Story)

Storydoing Content เน้นให้เกิด Action และ ประสบการณ์ของผู้เสพ

ตัวอย่างการทำ Viral Marketing ด้วย StoryDoing ภาพยนตร์ ฮาวทูทิ้ง ทิ้งอย่างไร ให้ไม่เหลือเธอ
ของ เต๋อ นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์

พวกนายจงเอาหัวชื่อภาพยนตร์ #ฮาวทูทิ้ง ไปใช้ เราแจกฟรี #ฮาวทูทิ้ง ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเต๋อ, ไม่ให้เหลือเธอ, ไม่ให้เหลือเฌอ, ไม่ให้เหลือแชมป์, ไม่ให้เหลือแอม, ไม่ให้เหลือใครก็ได้

  • Storydoing เป็น Subset ของ Storytelling
  • Storydoing ช่วยเพิ่ม Engagement ของ Audience
  • Storydoing ไม่จำเป็นต้องอาศัย Cost ในการออกแบบและสร้าง Story ที่สมบูรณ์ลงตัวเองคนเดียว แต่อาศัยแรงกระเพื่อมจากผู้รับสารและ Stakeholders

Challenge ความท้าทายในการทำ Storytelling และ Storydoing

คุณอรได้แชร์ว่า ความท้าทายที่จะเกิดขึ้นคือเรื่อง Media / Technology
ที่จะใช้ Connect กับผู้บริโภค ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ที่กำลังเกิดขึ้น
ธุรกิจจะสามารถเล่า Story ยังไงให้คนรัก ขายให้โดนใจอย่างทรงพลัง อย่างไร

ตัวอย่างในการปรับใช้ Alternative Chatbot Ads ให้ลูกค้าเลือกงใน Story ที่ตนเองสนใจ

บททิ้งท้าย จากคุณอร ฝากถึงคุณผู้อ่านทุกท่าน :)

นี่คือประสบการณ์ เรื่องราว Storytelling ของคุณอร
แล้วประสบการณ์ เรื่องราว Storytelling — Storydoing ของคุณเป็นแบบไหน
ข้อควรทำ ในการสร้าง Storytelling

ตาคุณแล้ว : Your Turn
เริ่มสำรวจตัวเอง ว่ามีประสบการณ ์เรื่องราว อะไรบ้างในชีวิต

  • หา ‘ประสบการณ์’
  • จดบันทึก
  • ใช้ Social Media เป็นเครื่องมือ ในการเล่า Story ของคุณออกไป
  • ทำให้ชอบเป็นนิสัยและทำซ้ำ

*** หาก บทความนี้ดี ***
กด ‘ปรบมือ’ เป็นกำลังใจ
หรือ แชร์ไปยัง Facebook Line หรือช่องทางอื่นๆ ได้เลยนะครับ ^^

บทความที่คุณอาจสนใจ

ตัวอย่าง #ฮาวทูทิ้ง StoryDoing ที่กลายเป็น Viral Marketing ระดับประเทศ
พร้อมวิเคราะห์สรุป Tactic ที่ใช้
>> อ่านบทความคลิกลิงค์ <<

ตัวอย่าง Storytelling จากประสบการณ์ตรง
เมื่อครั้งได้ดูหนังรอบสุดท้าย ครั้งสุดท้าย
ของโรงหนังลิโด ที่เป็นตำนานคู่กับสยาม
>> อ่านบทความคลิกลิงค์ <<

สรุป Digital Trend 2020 ที่ต้องรู้ กับการเปลี่ยนที่กำลังจะเกิดขึ้น
ทักษะที่ต้องพัฒนาสำคัญ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ ถ้าไม่เริ่มตอนนี้ก็ช้าไปแล้ว..
>> อ่านบทความคลิกลิงค์ <<

อาร์ต 01/06/2562

--

--