Avareume Crypto Market Digest Part#2: Crypto Market Overview

Panuwat Ulis
13 min readSep 17, 2023

--

Intro

Part ที่ 2 เราจะมาพูดถึงภาพรวมของตลาดคริปโต โดยจะดูข้อมูลในด้านต่างๆ เพื่อที่จะหาว่า ณ ปัจจุบันเราอยู่ส่วนไหนของ Cycle แล้ว จากข้อมูลต่างๆ ประกอบกันไม่ว่าจะเป็นมูลค่าของตลาดคริปโต ข้อมูล On-Chain ทั้งทางฝั่งของ Bitcoin, Ethereum, มูลค่าเงินที่กักเก็บในโลกของ DeFi (Total Value Locked , TVL) และมุมมองของ Smart Money ณ ปัจจุบันนั้นมองตลาดว่าเป็นตลาดหมีหรือตลาดกระทิง

สำหรับคนที่อยากอ่านในส่วนของ Global Macro View กับข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจในช่วยเดือนสิงหาคมสามารถอ่านได้ที่ Link นี้

Part 1 : Global Macro

Total Crypto Market Cap

มูลค่าตลาดปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ $980B เป็นจุดต่ำสุดเดียวกับวันที่ 15 มิถุนายน 2023 โดยกรอบตอนนี้จะมีจุดสูงสุดอยู่ที่ $1.22T หลังจากที่มีการประกาศยื่น BTC ETF ของหลายๆ Firm และจุดต่ำสุดที่ $980B

ภาพรวมของมูลค่าตลาดคริปโต (Total Crypto Market Cap.)

BTC On-Chain Analysis

BTC Price Analysis

เปรียบเทียบ Trading Volume ในช่วงก่อนหน้าที่ทาง Black Rock จะประกาศยื่นตัว Bitcoin ETF นั้นดูมากกว่าช่วงปัจจุบัน ถือว่า Volume ค่อนข้างแห้ง ณ ช่วงนี้ โดยที่ราคา Bitcoin ได้มีการ Change of Character อีกครั้ง

โดยมอง Trading Range ในตอนนี้จะเป็นช่วงระหว่าง $24,919 — $28,127 ถ้าราคาจะเกิดการเปลี่ยน Sentiment ก็ควรที่จะ Break ราคาและยืนได้เหนือ $28,127 หรือจะตีเลขกลมๆ ประมาณ $28,000 ซึ่งถ้าราคายังไม่สามารถยืนตรงนี้ได้ เราจะเห็นว่าจะตรงกับแนวจุดต่ำสุดในเดือนมินายน ถ้าหลุดตรงนี้ไปจุดที่น่าสนใจคงเป็นกรอบราคาระหว่าง $20,000 — $21,000

Bitcoin Price and Volume

BTC Net Flow

ปริมาณการซื้อขาย $BTC ณ ปัจจุบันหลังจาก $BTC มีการปรับตัวของราคาลงมายังไม่มีอะไรผิดปกติ มองว่ายังไม่มีขนาดของการ โอนเข้าหรือโอนออกสุทธิที่มีขนาด 10,000 $BTC ขึ้นไป ซึ่งการที่นักลงทุนมีการโอน $BTC เข้ามาใน Exchange เราสามารถที่จะอนุมานได้ว่า นักลงทุนโอนมาเพื่อทำการขาย ในทางตรงกันข้ามถ้านักลงทุนมีการโอน $BTC ออกไปจาก Exchange เป็นจำนวนมาก เราก็สามารถอนุมานเช่นกัน ว่านักลงทุนทำการซื้อ $BTC แล้วโอนออกไปเก็บใน Hard Wallet

ปริมาณสิทธิของ Bitcoin ที่มีการโอนเข้าหรือโอนออกในทุก Exchange (Source: CryptoQuant)

BTC Long Liquidation

เนื่องจากราคามีการปรับตัวลงมา เราจะดูในฝั่งของ Long Liquidation เป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันไม่ได้มีการ Liquidation ที่ผิดปกติขนาด ณ วันที่ 11 กันยายน 2023 อยู่ที่ $67M โดยมองว่าระดับที่ผิดปกติอยู่ที่ประมาณ $100M+ อย่างวันที่ 8 พฤศจิกายน 2022 และวันที่ 17 สิงหาคม 2023

Bitcoin Long Liquidation (Source: CryptoQuant)

BTC Funding Rate

ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน จนถึง 8 กันยายน 2023 เรายังคงเห็น Positive Funding Rate ที่มากกว่า Negative Funding Rate อยู่ มุมมองตรงนี้ มองว่า Traders ที่ทำการเทรด Derivative BTC นั้นเปิด Long Position ซะส่วนใหญ่

Bitcoin Funding Rate ระหว่างวันที่ 1 กันยายน ถึง 8 กันยายน 2023 (Source: Coinglass)

แต่หลังจากวันที่ 8 กันยายนจนถึงปัจจุบัน เมื่อราคา BTC ปรับตัวลงมาอยู่ที่ $24,919 ณ วันที่ 12 กันยายน เราจะเห็นว่า Positive Funding Rate มีค่าลดลง และเริ่มมี Negative Funding Rate ที่มากขึ้น แสดงให้เห็น Traders บางส่วนเริ่มมองภาพลบมากขึ้นเกี่ยวกับ BTC

Bitcoin Funding Rate ระหว่างวันที่ 8 กันยายน ถึงวันที่ 12 กันยายน 2023 (Source: Coinglass)

จุด Pivot Point ในการกลับตัวในระยะสั้น

เรามองว่าการที่ Funding Rate สูงถึงค่าหนึ่งจะทำให้ต้นทุนของ Traders นั้นสูงขึ้น เมื่อถึงจุดหนึ่ง Traders ก็อาจจะเลือกที่จะทำการปิด Position หรือถ้าเรามองในเรื่องทฤษฏีผลประโยชน์ การที่มีฝั่งใดฝั่งหนึ่ง มี Bias ที่ค่อนข้างสูงจนทำให้ Funding Rate ไปใกล้จุด Threshold +/-5% หรือเลยกรอบที่กำหนด มองว่าเป็นสิ่งที่ผิดปกติ มันมีโอกาส (Probability) ที่จะกลับข้าง ซึ่งเราใช้คำว่า “โอกาส” เนื่องจากมันไม่ได้เกิดแบบ 100% ทุกครั้ง

Bitcoin Funding Rate Threshold (Source: Coinglass)

นอกจากในเรื่องของ Funding Rate แล้ว ในส่วนของ Open Interest (OI) ก็เป็นตัวแปรที่ค่อนข้างน่าสนใจเช่นกัน โดย ณ ปัจจุบัน On-Chain บน GMX ถึงแม้จะมีขนาดของ Long OI > Short OI แต่ก็มีขนาดที่ลดลงแล้ว ก่อนหน้านี้ Long OI มากกว่า Short OI ถึง 10 เท่า โดย ณ ปัจจุบันค่าอยู่ที่ประมาณ 7.13 เท่า โดยค่าที่อยากเห็นคือลดลงจนเข้าใกล้ 1.5 เท่าหรือต่ำกว่านั้น

GMX Open Interest (Source: Dune Analytic)

Bitcoin Realized Cap Hold Wave

ในกลุ่มคนที่ลงทุนถือ Bitcoin ในระยะ 1–2 ปี โดยปกติ Logic ของคนกลุ่มนี้ถ้าราคาสูงขึ้น ปริมาณการถือครองจะลดลง เพราะทำการปรับ Position ทำการขายออกไปบ้าง และเมื่อราคาต่ำลงสัดส่วนการถือก็จะมีการเพิ่มขึ้น เนื่องจากมุมมองของนักลงทุนระยะกลาง/ยาว จะค่อนข้างต่างกัน ในฝั่งของกลุ่มคนที่เก็งกำไรระยะต่ำกว่า 6 เดือนลงมาสัดส่วนมักจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อมีการปรับตัวของราคาที่มากขึ้น

Bitcoin Realized Cap Hold Wave ในวันที่ 3 กรกฏาคม 2023 (Source: CryptoQuant)

แต่เมื่อเราลองดูข้อมูลตั้งแต่ Bitcoin ทำจุดสูงสุดในวันที่ 3 กรกฏาคม 2023 ที่ราคา $31,533 โดยมีสัดส่วนของคนถือ Bitcoin ในระยะ 1–2 ปีอยู่ที่ 27.13% พอมาเทียบกับข้อมูลปัจจุบันที่ราคา Bitcoin ปรับตัวลดงมาอยู่ที่ $25,156 มีสัดส่วนของคนถือระยะ 1–2 ปี อยู่ที่ 22.5% ซึ่งมีสัดส่วนที่ลดลง แต่สิ่งที่น่าสนใจถ้าทำการ Track ย้อนหลังในส่วนของคนที่ถือลงทุนระยะ 2–3 ปี ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นตลอดตั้งแต่วันที่ 3 กรกฏาคม ที่ราคาของ Bitcoin ปรับตัวลดลงมาเรื่อยๆ โดยสัดส่วนในปัจจุบันอยู่ที่ 31.40% ซึ่งโดยปกติส่วนตัวจะดู Signal จากคนถือ 1–2 ปีเป็นหลักจากข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี 2014

Bitcoin Realized Cap Hold Wave ในวันที่ 11 กันยายน 2023 (Source: CryptoQuant)

Relative Valuation

ในส่วนนี้อาจจะมีหลายๆ Indicators ให้เราได้เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็น MVRV Ratio หรือ BTC Rainbow ที่สร้างมาจาก Logarithm Regression แต่วันนี้อาจจะนำเสนอ Long Term Holder NUPL จาก Glassnode ก็เป็นตัวที่น่าสนใจเช่นกัน

Bitcoin Long Term Holder NUPL (Source: Glassnode)

จากภาพเราจะเห็นการแบ่งสีที่ชัดเจนคล้ายๆกับ Rainbow ซึ่งเราสามารถเอามาทำ Money Management ในการเข้าซื้อในโซนสีส้มและแดง ส่วนในโซนสีเขียวและน้ำเงินที่เป็นจุดที่คนเกิดความโลภค่อนข้างมาก จุดนี้เราเอามาวางแผนในการขายทำกำไรได้เช่นกัน จะเห็นว่าราคา ณ ปัจจุบัน อยู่ในโซนสีส้ม คนเริ่มปรับมากลัวอีกครั้ง

Ethereum On-Chain Analysis

ETH Price Analysis

มีการปรับตัวของราคามีแนวโน้มขาขึ้นก่อน Shanghai Upgrade จริง หลังจากการ Upgrade ได้เสร็จสิ้น ราคาขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ $2,114 ก่อนที่จะมีการปรับตัวลดลงของราคาอย่างต่อเนื่อง สวนความต้องการของ Ethereum ที่มีแรงซื้อเข้ามาเพื่อนำไป Staking

ราคาของ Ethereum ก่อนและหลังการอัพเกรดครั้งสำคัญ Shanghai Upgrade

โดยภาพรวม Price Action ณ ปัจจุบันหลังจาก Ethereum มีการปรับตัวลดลงของราคามาทำจุดต่ำสุดในรอบเดือนกันยายนที่ราคา $1,531 ก็ได้สร้างกรอบการเทรดใหม่ในช่วงของราคา $1,531 — $1,745 ซึ่งจากการที่ราคามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใน Time Frame H4 (Change of Character) ตรงนี้ยังมองว่าเป็น Downtrend ใน Time Frame H4 สำหรับ Ethereum ถ้าต้องการที่จะเปลี่ยน Sentiment ตลาดเพื่อกลับเป็น Uptrend ตัวราคาควรที่จะ Break ข่อบบนของ Trading Range และสามารถยืนได้

ราคา Ethereum ณ วันที่ 12 กันยายน 2023

Ethereum Net Flow

จากข้อมูลในอดีตปริมาณสุทธิที่มีการโอนเข้าหรือโอนออกจากทุก Exchange ที่มีความน่าสนใจจะค่า +/- 250,000 $ETH โดยถ้ามีปริมาณการโอนเข้ามาในทุก Exchange มากกว่า 250,000 $ETH (> + 250,000 $ETH) ตรงนี้มองว่าเป็นจุดที่มีนัยสำคัญในการขายทำกำไร ส่วนการจะขายหมดหรือแบ่งส่วนขายขึ้นอยู่กับแผนของนักลงทุน ส่วนถ้ามีปริมาณการโอนออกจาก Exchange มากกว่า 250,000 $ETH (< -250,000 $ETH) ตรงนี้มองว่าเป็นจุดที่มีนัยสำคัญในการซื้อ $ETH

Historical Data

ข้อมูลในช่วงปี 2018 มีข้อมูลที่เป็น Outlier ฝั่งการโอน Ethereum เข้ามา Exchange ค่อนข้างสูง ประมาณ 4.5M $ETH ทำให้กราฟดูค่อนข้างยากเลยตัดข้อมูลชุดนี้ออกเพื่อให้ง่ายต่อการดูตาม Criteria ที่เรา Set ไว้เบื้องต้น

Ethereum Net Flow ในปี 2017 (Source: CryptoQuant)
Ethereum Net Flow ในปี 2019–2020 (Source: CryptoQuant)
Ethereum Net Flow ในปี 2021–2022 (Source: CryptoQuant)
Ethereum Net Flow ในปี 2023 (Source: CryptoQuant)

มีการโอนออกจากที่ผิดปกติในช่วงเวลาล่าสุดคือวันที่ 4 กันยายน 2023 อยู่ประมาณ 293K $ETH ที่ราคา $1,630 ซึ่งถ้าเราดูเทียบในข้อมูล ณ ปัจจุบันในวันที่ 12 กันยายน 2023 นั้นยังไม่มีปริมาณการโอนเข้า หรือ โอนออกที่ผิดปกติในขณะที่ราคาของ Ethereum มีการปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับราคา $1,584

ETH Funding Rate

ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน จนถึง 12 กันยายน 2023 เริ่ม Traders เริ่มเปิด Position ในฝั่ง Short เพิ่มมากขึ้นจะเห็นจาก แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของ Negative Funding Rate (คนเปิด Short Position ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับคนเปิด Long Position) โดยในวันที่ 13 กันยายน 2023 ได้มีการ Spike ของ Negative Funding Rate ซึ่งเกิดจากคนเปิด Short Position ของ $ETH บน DYDX มากขึ้นจนทำให้ Funding Rate ขึ้นไปแตะระดับ -0.0317% จากภาพรวมในเรื่อง Funding Rate ของ Ethereum ตอนนี้ คนมอง Bearish กับ Ethereum มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาที่ผ่านมา

Ethereum Funding Rate ในช่วงเดือนกันยายน 2023 (Source: Coinglass)

Ethereum Staking after Shanghai Upgrade

หลังจาก Shanghai Upgrade นักวิเคราะห์หลายๆคนมองว่า อัตราการนำ Ethereum ไป Stake บน Beacon Chain เมื่อเทียบกับ Total Supply จะเพิ่มขึ้น หลังจากมีการ Upgrade เสร็จสิ้นในวันที่ 12 เมษายน 2023 เวลา 22:27 UTC ( เวลาประเทศไทย คือวันที่ 13 เมษายน 2023, 4:27) โดยข้อมูล ณ วันที่ 12 กันยายน มีปริมาณการ Staking ใน ETH 2.0 บน Beacon Chain ทั้งหมด 26,567,760 ETH (เพิ่มขึ้น 45% หลังจากเสร็จสิ้น Shanghai Upgrade)

อัตราการเติบโตของการนำ Ethereum มา Staking ในแต่ละช่วงเวลา (Source: hildobby ETH Staking )

โดยในช่วงแรกอัตราการเติบโตของการ Staking นั้นค่อนข้างสูงในช่วงปี 2021 โดยมี Growth Rate อยู่ที่ 304.84% และหลังจากนั้นเริ่มเข้าสู่สภาวะตลาดหมีตัว Growth Rate ลดลงอย่างเห็นได้ชัดมาอยู่ที่ 75.84% และเมื่อมีการเสร็จสิ้น Shanghai Upgrade ที่ทุกคนที่นำ $ETH มา Stake บน Beacon Chain สามารถที่จะถอนออกได้ (Withdraw) ทำให้ความกังวลเรื่องการ Staking นั้นลดลง ซึ่งทำให้ Growth Rate กลับมาเพิ่มอีกครั้ง โดยนับตั้งแต่หลัง Shanghai Upgrade จนถึงวันที่ 12 กันยายน 2023 ตัว Growth Rate เพิ่มขึ้นมาเป็น 146.21% โดยที่คนที่ฝากเข้ามาก็ยังมีสัดส่วนที่มากกว่าคนที่ถอน $ETH ออกไป

Inflows และ Outflows ของการนำ Ethereum มา Staking บน Beacon Chain หลัง Shanghai Upgrade (Source: hildobby Inflows & Outflows )

ซึ่งเหตุผลตรงนี้นอกเหนือจากการที่คนมีความกังวลน้อยลง เนื่องจากสามารถที่จะถอน $ETH ได้แล้ว ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อัตราคนถอนออก ณ ช่วงนี้ไม่ได้สูงมากเนื่องจากต้นทุน $ETH ที่มีการ Staking มีราคาที่สูงกว่าราคาตลาด (Market Price) ณ ปัจจุบัน โดยมีสัดส่วนของคนที่ขาดทุนอยู่ในเรื่องต้นทุน เมื่อเทียบกับราคาตลาดปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 77%

ETH Staking Cost vs ETH Market Price (Source: hildobby Price When Staked vs Price Now)
คนที่นำ Ethereum มา Staking ต้นทุนของคนเหล่านี้สูงกว่าหรือต่ำกว่าราคาตลาด (Source: hildobby Stakers In Profit?)

โดยก่อนหน้าที่จะมี Shanghai Upgrade ทุกคนไม่สามารถที่จะถอน $ETH ออกได้ จึงมี Service Provider ที่ชื่อว่า “Lido” ที่หยิบยื่นทางออกในการแก้ปัญหาดังกล่าวให้ โดยรับหน้าที่นำ $ETH ไป Stake Beacon Chain ผ่าน Validator ที่ได้รับการอนุมัติจากทาง Lido โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องมี 32 $ETH ในการเป็น Validator Node โดยคุณได้รับเหรียญตัวแทนการ Stake ที่เรียกว่า “Derivative Token” หรือ “Liquid Staking Token” (LST) อย่าง $stETH เพื่อที่จะเป็นตัวยืนยันและใช้ Claim $ETH ทีหลัง เมื่อ Shanghai Upgrade เสร็จสิ้น โดยที่ตัวคนฝากสามารถที่จะ Exit จาก $stETH เป็น $ETH ได้ผ่านทาง Curve Finance ที่จะมี Liquidity Pool ระหว่าง $stETH-$ETH Lp ให้ทำการซื้อขายแลกเปลี่ยน ซึ่งอัตราการแลกเปลี่ยนไม่ได้ Peg ไว้เป็น 1:1 แต่จะเป็นไปตามกลไกของ Automated Market Maker Model (AMM) ของ Curve Finance

ซึ่งในปัจจุบันก็มี Service Providers เกิดมาขึ้นหลายเจ้าที่นอกเหนือจาก Lido โดย DeFi ในกลุ่มนี้ถูกเรียกว่า “Liquid Staking Derivative Protocol” หรือเรียกสั้นๆว่า “LSD” ค่อนข้างได้รับความนิยมเป็นอย่างมาเนื่องจากความยืนหยุ่นในการฝากในเรื่องของปริมาณ $ETH ที่เอามาวางที่ Protocol ไม่จำเป็นต้องมีครบจำนวนเพื่อเปิด Validator Node 32 $ETH แต่สามารถเอามาวางปริมาณเท่าไรก็ได้ หรือแม้แต่การเป็น Validator Node กับ Liquid Staking Protocol ก็ยังสามารถวาง $ETH ในปริมาณที่ต่ำลงได้ ตามเงื่อนไขของ Liquid Staking นั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น 16 , 8, หรือ 4 $ETH

จากข้อมูล Dashboard บน Dune Analytic ของ hildobby แสดงให้เห็นว่า %Market Share ในส่วนของการนำ ETH มา Stake บน Beacon Chain ตัว Lido จะมี Market Share สูงที่สุดอยู่ที่ 32.37%

Ethereum Staking Market Share (Source: hildobby ETH Stakers)

โดยถ้าเราแยกตาม Entity ในการนำ $ETH ไป Staking เราสามารถแยกออกเป็น 3 กลุ่ม โดยในแต่ละกลุ่มก็จะมีผู้นำตลาดของกลุ่มตัวเองอยู่

Liquid Staking ในฝั่งของ DeFi
Liquid Staking ในฝั่งของ CeFi
Liquid Staking ในฝั่งของ Staking Pool

Ethereum Validator Node after Shanghai Upgrade

อัตราการเติบโตของ Validator Nodes มีความใกล้เคียงกับอัตราการนำ $ETH มา Staking โดยปัจจุบันหลังจาก Shanghai Upgrade การเติบโตของ Validator Nodes ก็มีค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับปี 2022 โดยมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 149.14% ตัวเลข ณ วันที่ 12 กันยายน 2023 มีปริมาณ Validator Nodes ทั้งสิ้น 830,2149 Nodes

อัตราการเติบโตของ Ethereum Validator Nodes ในแต่ละช่วงเวลา (Source: hildobby ETH Staking )

Ethereum Staking Rate & Yield

สุดท้ายสิ่งที่คนคาดหวัง และมองว่าน่าจะสร้าง Buy Pressure กับ $ETH ได้พอสมควรเนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบ Proof of Stake (PoS) ในฝั่งของ Alternative Layer 1 ตัวอื่นๆ หรือ Layer 0 อย่าง Cosmos และ Polkadot นั้นมีอัตราการ Staking อยู่ที่ 40%-80% เมื่อเทียบกับ Total Supply คนจึงมองว่า Ethereum มีพื้นที่ให้เติบโตมากกว่า เมื่อเทียบกับ Blockchain Network กลุ่มดังกล่าว โดยปัจจุบันอัตราการนำ $ETH มา Staking เมื่อเทียบกับ Total Supply (Ethereum Staking Rate) อยู่ที่ 22.16%

Ethereum Staking Rate (Source: hildobby Percentage of Staked ETH)

ซึ่งการที่มีคน Stake $ETH ในปริมาณมาก มันก็ตามมาด้วย %Yield มีค่าที่ลดลง โดยผลตอบแทนลดลงจาก 5.xx% ลงมาอยู่ที่ 4.06% ต่อปี ณ วันที่ 12 กันยายน 2023

Protocol On Top Ethereum Staking

นอกเหนือจาก Protocol ที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาในเรื่องของการนำ $ETH ไป Stake บน Beacon Chain อย่าง Liquid Staking Protocol แล้ว ยังมีการต่อยอด สร้างเป็น Money Lego on Top ตัว Liquid Staking Protocol อีกที ซึ่งเราจะเรียก DeFi กลุ่มนี้ว่า “Liquid Staking Derivative Finance” หรือเรียกย่อๆ ว่า “LSDFi”

ซึ่ง Service ต่างๆที่ทำเพิ่มเติมขึ้นมาจะอยู่ในรูปแบบของ LST Index เป็นการรับผลตอบแทนจาก Liquid Staking Derivative หลายๆกลุ่ม, การนำ LST มาใช้ในการกู้เงิน หรือแม้แต่กระทั่งการนำ LST มาใช้ในการ Mint Stable Coin (CDP) ในแบบที่ MakerDAO หรือ Liquity ทำ ซึ่งเนื้อหาในส่วนนี้อาจจะไม่เหมาะกับการ Review ตัว LSDFi แค่เพียงอยากจะแสดงให้ผู้อ่านเห็นว่ามันมีการต่อยอดเพิ่มเติมจาก LSD Protocol เพื่อหาผลตอบแทนเพิ่มเติมในรูปแบบต่างๆ เท่านั้น

Ethereum Road Map

ในเรื่องของการ Upgrade หลังจากเสร็จสิ้น Shanghai Upgrade หัวข้อถัดไปที่คาดกันว่าจะเกิดขึ้นในไตรมาส 4 ปี 2023 จะเป็นการ EIP-4844 Proto-Danksharding ที่จะเป็นการเตรียม Infrastructure ในการ Upgrade ครั้งสำคัญในปี 2024 Sharding Upgrade ที่จะทำให้ Ethereum สามารถทำ Transactions ในปริมาณที่มากขึ้น โดยที่ต้นทุนในเรื่อง Transaction Fee นั้นถูกลง ในการพัฒนา Proto-Dankshard นอกจากจะช่วยเตรียมในเรื่องโครงสร้างในการทำ Sharding Upgrade แล้ว ยังช่วยในเรื่องของการลดต้นทุนในการทำธุรกรรมบน Layer 2 ด้วยเช่นกัน ในความคิดเห็นของผู้เขียนมองว่าการ Upgrade ดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นในเรื่อง Mass Adoption ได้ดียิ่งขึ้น โดยเราสามารถติดตามข้อมูลการ Upgrade ในอดีต และการ Upgrade ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตผ่าน Website: https://ethereum.org/en/roadmap/

Ethereum Layer 2 Scaling Solution

ในส่วนของ Layer 2 ก็เป็นส่วนสำคัญเช่นกันในการกระตุ้นเรื่อง Mass Adoption เป็นเป็นส่วนที่ช่วยให้ Ethereum Network มีการขยาย (Scale Up) การทำ Transactions ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งหัวข้อนี้ก็ถือว่าเป็นหัวข้อใหญ่ และมองว่าเป็น Narrative ในช่วงปี 2024 อาจจะไม่เหมาะในการ Review Layer 2 ทุกตัวว่ามีความแตกต่างกันยังไง แต่อยากจะให้ผู้อ่านเห็นภาพรวมว่าทางฝั่ง Layer 2 นั้นมีการเติบโตในด้านของ TVL, Transactions และ Daily Active Address เป็นอย่างไร

Layer 2 TVL

แน่นอนว่า Total Value Locked (TVL) เงินที่กักเก็บในโลกของ DeFi ทาง Ethereum นั้นยังครอง Market Share อันดับ 1 ประมาณ 58% ซึ่งจากภาพเราจะเห็นว่าเริ่มมี Ethereum Scaling Solution ไม่ว่าจะเป็น L2 และ Side Chain เริ่มติดอันดับเข้ามาเป็น Top 10

  • Arbitrum TVL $2.049B
  • Polygon TVL $900.04M
  • Optimism TVL $772.52M
  • Base TVL $400.72M

เราจะเห็นว่า Alternative L1 ตัวอย่างๆ ในปี 2021 นั้นหลุด Top 10 ไปเรียบร้อยไม่ว่าจะเป็น Solana, Fantom, Near และ L0 อย่าง Polkadot และ Cosmos

Total Value Locked (TVL) ที่อยู่ใน Blockchain Network ต่างๆ (Source: DeFiLlama)

ถ้าเปรียบเทียบในกลุ่ม Rollup ทาง Arbitrum ก็ยังครอง Market Share เป็นอันดับ 1 ตามมา Optimism และ Base Network จาก Coinbase ตามลำดับ

Total Value Locked (TVL) ของ Layer 2 Scaling Solution (Source: DeFiLlama)

Layer 2 Activity

ข้อมูลจาก L2Beat ในส่วนของ Activity เราจะเห็นว่า Layer 2 โดยรวมทั้งหมดมีการเติบโตของ Activity ในที่นี้วัดเป็น “Transactions per Second” (TPS) มีปริมาณที่มากกว่า Ethereum Layer 1 ถึง 5.14 เท่า โดยปัจจุบัน L2 Average TPS อยู่ที่ 52.29 TPS และ Layer 1 Average TPS อยู่ที่ 18.84 TPS

เปรียบเทียบ Layer 2 Activity กับ Ethereum Layer 1 (Source: L2Beat)

Daily Active Addresses

ข้อมูลจาก Artemis ในหัวข้อของ Daily Active Addresses นั้นในส่วน Side Chain อย่าง Polygon มีปริมาณผู้ใช้งานรายวันที่ค่อนข้างใกล้เคียงกับ Ethereum L1 แต่ในส่วน Layer 2 ทั้งในฝั่งของ Optimistic Rollup (Arbitrum, Optimism, Base) และ Zk Rollup (StarkNet, zkSynce, Linea, Polygon zkEVM) ก็ยังมีความห่างพอสมควรเมื่อเปรียบเทียบ Ethereum L1

เปรียบเทียบ Daily Active Addresses ของ Layer 2 กับ Ethereum Layer 1 (Source: Artemis)

Stable Coin Overview

หลังจากที่มีการประกาศในวันที่ 16 มิถุนายน 2023 ที่ Blackrock ทำเรื่องยื่นขอเปิด BTC ETF กับทาง SEC ได้มี Stable Coin โอนเข้ามารวมทุก Exchange เพิ่มขึ้น ทำให้ Stable Coin Exchange Balance เพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ $25.25B ในวันที่ 9 กรกฏาคม 2023 ก่อนที่จะมีการปรับตัวลดลงมาหลังจากที่ หลาย Firm ถูกปฏิเสธในการพิจารณา BTC ETF โดยข้อมูลปัจจุบันในวันที่ 11 กันยายน 2023 ทุก Exchange มี Stable Coin Balance อยู่ที่ $21.87B ซึ่งนับว่ามีการไหลออกของ Stable Coin ออกจากทุก Exchange (Net Flow Out)ประมาณ $3.38B

Stablecoin Exchange Flow (Source: Nansen)

Stable Coin Market Cap

ข้อมูลจาก DeFiLlama เรายังคงเห็นว่า Stable Coin Market Cap. ยังมีแนวโน้มเป็นขาลงอยู่ โดยมี Market Cap ณ ปัจจุบันอยู่ที่ $124.20B โดยถ้าเรามองว่า Stable Coin ถือว่าเป็นสภาพคล่อง เป็นน้ำเลี้ยงให้กับโลกคริปโต นั้นแปลว่า สภาพคล่องตอนนี้ลดลง การที่จะดันราคาตลาดคริปโตให้เกิด New High นั้นอาจจะเกิดได้ยาก

มูลค่าตลาดของ Stable Coin (Source: DeFiLlama)

การเปลี่ยนแปลงของ Stable Coin แต่ละตัว ตลาดตอนนี้ Stable Coin ที่ถือครอง Market Share ส่วนใหญ่จะเป็น USDT ที่มีสัดส่วนสูงถึง 66.79% เลยทีเดียว ตั้งแต่เหตุการณ์ของ SVB ที่ทำให้ USDC นั้นหลุด Peg และเหตุการณ์ที่ทาง Paxos ไม่เป็น Issuer ให้กับทาง Binance ในการ Mint BUSD ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสกุลเงินของ Stable Coin ไปเป็น USDT

มูลค่าตลาดของ Stable Coin แต่ละตัว USDT, USDC และ BUSD (Source: DeFiLlama)

Smart Money

ข้อมูลต่างๆ ถูกอ้างอิง ณ วันที่ 12 กันยายน 2023

Smart Money Stable Coin Allocation

เมื่อ Smart Money มอง Bearish กับตลาด กลุ่มคนเหล่านี้ก็จะเพิ่มสัดส่วนการถือ Stable Coin มากขึ้น โดย Threshold ที่แบ่งสัดส่วนการ Bullish และ Bearish กับตลาดจะมีสัดส่วนการถือ Stable Coin ในช่วง 20%-25%

  • Bullish View: %Stable Coin Allocation < ช่วง 20%-25%
  • Bearish View: %Stable Coin Allocation > ช่วง 20%-25%
Smart Money Stable Coin Allocation

จากภาพอ้างอิงจากข้อมูล ณ วันที่ 12 กันยายน 2023 ถึงแม้ว่า Smart Money จะมีมุมมองที่กลับมาดีกับตลาดเป็น Bullish View ในช่วงต้นปี 2023 ก็ตาม แต่เราจะเห็นว่าตอนนี้ Smart Money เริ่มเพิ่มสัดส่วนในการถือ Stable Coin กลับมาอีกครั้งจากจุดต่ำสุดที่เคยถือ Stable Coin ที่ 10.8% โดยปัจจุบันกลับมาถือ Stable Coin เพิ่มขึ้นเป็น 16% โดยก่อนหน้านี้ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2023 ได้มีการเพิ่มสัดส่วนการถือ Stable Coin สูงถึง 19.90%

DeFi

ถึงแม้ว่าในช่วงต้นปี 2023 มูลค่าที่กักเก็บ (Total Value Locked, TVL) บน DeFi จะมีการเพิ่มไปจาก $43.36B ไปทำจุดสูงสุดในรอบครึ่งปีแรกในเดือนเมษายนที่ $59.48B แต่หลังจากนั้นก็มีการปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ $42.96 ณ วันที่ 12 กันยายน 2023 มุมมองส่วนตัวมองว่าตลาดยังไม่กลับมา ณ ตอนนี้ ด้วยเรื่องสภาพคล่องอย่าง Stable Coin ที่หายไปด้วย และ TVL ของโลก DeFi ที่ใช้ในการทำ Activities ต่างๆ

DeFi Total Value Locked (Source: DeFiLlama)

ในส่วนของการหา Protocol ที่น่าสนใจในโลก DeFi หรือกลุ่มที่มีความน่าสนใจ เราอาจจะดูในหลายๆ ปัจจัย

  • TVL อยู่ในอันดับต้นๆ (แยกราย Protocol)
  • มีการเปลี่ยนแปลง % ของ TVL ในปริมาณมากในแต่ละช่วงเวลา 24hr, 7D, หรือ 1Month
  • เป็นกลุ่ม DeFi (Category) ที่มี TVL ติดอันดับต้นๆ เช่น 1 ใน 10 ของ DeFi Protocol
  • หาจากการจัดลำดับของ Fee หรือ Revenue ในระยะเวลาที่เราสนใจ

เงื่อนไขทั้งหมดนี้ใช้ได้กับ Protocol ที่มีการ List เข้ามาใน DeFiLlama เท่านั้น ดังนั้นเราก็อาจจะพลาด Narrative บางอย่างที่มีคนเล่นกันในตลาด

ยกตัวอย่างการหาผ่าน DeFi Category

ในโลกของ DeFi ทาง DeFiLlama แบ่งออกมาเป็น 33 กลุ่ม โดยถ้าเรา Focus ไปที่กลุ่มที่ติด Top 10 มีกลุ่มไหนบ้าง?

Top 10 DeFi Category (Source: DeFiLlama)

ซึ่งกลุ่มที่มีการเติบโตของ TVL อย่างต่อเนื่องในช่วง Bear Market จากตอนแรกอยู่อันดับ Top 20 แต่ ณ ปัจจุบันไต่ขึ้นมามี TVL ติด Top 10 ได้อย่าง Real World Asset (RWA) ก็เป็นกลุ่มที่ค่อนข้างหน้าสนใจที่เราจะเข้าไปทำการบ้าน โดยถ้าเราดูการเติบโต TVL ของ RWA จะเห็นว่ามีการเติบโตแบบก้าวกระโดดในช่วงเดือนกรกฏาคม 2023

Real World Asset (RWA) TVL (Source: DeFiLlama)

ส่วนในอันดับต้นๆ ที่แต่ก่อนเคยอยู่ในกลุ่มของ Lending/Borrowing และ DEX แต่กลับถูกแซงด้วย Liquid Staking ก็มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2023 ก่อนที่จะเกิด Shanghai Upgrade ในเดือนเมษายน 2023 ตรงนี้เราก็สามารถเข้าไปดูได้ว่า Protocol ไหนถือครอง TVL เป็นอันดับ 1

Liquid Staking Derivative (LSD) TVL (Source: DeFiLlama)

การหา Token ที่น่าสนใจผ่านการ Screen ด้วย Revenue คือรายได้ที่ Protocol แบ่งกลับไปให้ Token Holder เรากำลังหา Protocol ที่อยู่ใน Real Yield Narrative ไม่ว่าจะอยู่ใน Category ไหนก็ตาม ถ้ามีปริมาณรายได้เพิ่มขึ้นมาติดอันดับต้นๆ ก็เป็น Protocol ที่น่าสนใจที่เราจะไปทำการบ้านต่อ อย่างในตัวอย่างอาจจะมี Protocol บางตัวที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน

  • Friend Tech (SocialFi)
  • Maestro Bot (Trading Bot)
  • Aerodrome (ve 3,3)
  • Unibot (Trading Bot)
  • Banana Gun (Trading Bot)

ทำให้เราสามารถไปทำการบ้านเจาะเฉพาะกลุ่มได้อีกที ว่า Protocol ที่เข้ามาติดอันดับตรงนี้ มีตัวอื่นที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันอีกหรือไม่

DeFi Protocol Fee/Revenue Comparison (Source: DeFiLlama)

ทั้งหมดนี้เป็นวิธีเบี้องต้นในการที่เราใช้งาน DeFiLlama ใช้หาเหรียญที่มีความน่าสนใจซึ่งทั้ง TVL ที่เป็นตัวบอกว่าเงินกำลังไหลไปที่ Protocol นั้นๆ (Fund Flow) ซึ่งจากข้อมูลในอดีตการที่ Protocol นั้นๆมีการเติบโตของราคา มักจะมีการเพิ่มขึ้นของราคา Token ตามไปด้วยมีความสัมพันธ์ในเชิงบวก (Positive Correlation) ส่วนการเติบโตของรายได้ ในจุดที่ Protocol นั้นๆ มีการทำรายได้ที่ดีมากๆ แบบต่อเนื่อง แล้วตลาดยังไม่รับรู้ ตรงนี้เป็นการหา Protocol ที่ราคาไม่สมเหตุสมผล (Miss Pricing) แล้วเข้าไปลงทุนหรือเก็งกำไร เนื่องจาก Protocol นั้นๆ มีส่วนลดของราคาเมื่อเทียบกับมูลค่าที่ควรจะเป็น

ในหัวข้อ DeFi ก็เหมือนกับในส่วนของ Layer 2 Scaling Solution ที่ไม่สามารถจะ Review หลายๆ Protocol ที่น่าสนใจได้ เนื้อหาจัดทำขึ้นให้เห็นภาพรวมในโลก DeFi ยังไม่กลับมา DeFi TVL ยังอยู่ในขาลงอยู่ เพียงแต่กระตุกความคิดของผู้อ่านว่าในสภาวะตลาดแบบนี้ ถ้ามี Protocol ที่ยังคงการเติบโตของ TVL ได้ค่อนข้างสวนทางกับภาพรวม ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนก็มองว่าค่อนข้างเป็นกลุ่ม DeFi ที่น่าสนใจ รวมไปถึง Protocol ที่ยังสร้างการเติบโตของรายได้ในช่วงตลาดหมีแบบนี้ ก็มองว่าเป็นตัวที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง โดยเราสามารถ Scan หาได้จากวิธีการที่เขียนไว้เบื้องต้น

On-Chain Other Parameters

Blockchain Daily Active Addresses

ภาพรวมของ Daily Active Addresses ยังคงมีแนวโน้มขาขึ้น ซึ่งปริมาณ Address อาจจะเกิดจากบุคคลคนเดียวกันมีหลาย Address และ New Users ที่เข้ามาในโลกคริปโตที่เพิ่มมากขึ้นจากการเริ่มรับรู้ในเรื่องของ Blockchain มากขึ้น

Blockchain Daily Active Address (Source: Artemis)

Developer Activities

Developer Activity มีประมาณเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2020 โดยจะมีช่วงที่เป็นหลุมในบางช่วง ซึ่งตรงกับเดือนธันวาคม ส่วนนี้มองว่า Developer ลดกิจกรรมพัฒนาลง เพื่อไปพักผ่อนในช่วงคริสต์มาสและช่วงปีใหม่ โดยที่จุด Peak ของ Developer Activity ไปตรงกับช่วงเดือนที่ Terra Luna ล่มสลาย หลังจากนั้นเข้าสู่ช่วงตลาดหมี จะเห็นว่าแนวโน้ม Developer Activity ลดลงอย่างเห็นได้ชัด สิ่งที่ต้องจับตามองก็คือ “Pivot Point” การเปลี่ยนแนวโน้มของ Developer Activity น่าจะเป็นสัญญาณหนึ่งที่กำลังบอกเราว่าตลาดกำลังกลับมาดีขึ้นแล้ว

Developer Activity (Source: Artemis)

NFT Transactions

ในส่วนปริมาณ Transactions ของตลาด NFT นั้น มีปริมาณสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 หลังจากที่มีการ Search หาคำคำนี้มากที่สุดในเดือนมกราคม 2022 หลังจากนั้นตลาด NFT ก็เข้าสู่สภาวตลาดหมี แนวโน้มในการทำ Transactions มีแนวโน้มที่ลดลง

NFT Transactions (Source: Artemis)

Sentiment Analysis & Google Trend

หลังจากที่ได้เห็นข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับ On-Chain ในหลายๆ Metrics แล้วเราลองมาดูในฝั่งของ Sentiment Analysis กันบ้างว่าคนมีความโลภความกลัวหรือมีการค้นหาในโลกออนไลน์เกี่ยวกับ Blockchain และ Crypto Currency เป็นยังไงบ้าง

Fear & Greed Index

เราใช้ Sentiment Analysis ของ Bitcoin เป็นตัววิเคราะห์ในส่วนนี้ จากช่วง 2–3 เดือนที่ผ่านมา Fear & Greed อยู่ในระดับ Index =50 คือคนส่วนใหญ่มองเป็นกลางกับ Bitcoin (Neutral) และหลังจาก Bitcoin มีการปรับตัวลงมาจากระดับราคา $28K ลงมาแถวๆ $26K คนส่วนใหญ่เริ่มมีความกลัวมากขึ้นโดยค่า Index ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ Index = 40 และปัจจุบันหลังจากที่ Bitcoin มีการลดลงของราคาต่ำกว่า $25K เล็กน้อย คนเริ่มกลัวมากขึ้น Index = 30

Fear & Greed Index ณ วันที่ 12 กันยายน 2023

ภาพที่เราอยากจะเห็นคือคนกลัวขั้นสุด โดยค่า Index อยู่ต่ำกว่า 20 กลายเป็น “Extreme Fear”

ข้อมูลในอดีตของ Fear & Greed Index ตั้งแต่ปี 2018 จนถึงปี 2023

Google Trend

เราจะลองมาดูการ Search ของทั้งโลกว่าตอนนี้การค้นหาคำว่า Blockchain, Crypto Currency, DeFi และ NFT มีความสนใจอยู่ในระดับไหน

จากข้อมูลย้อนหลังในส่วนของการค้นหาคำว่า “Blockchain” และ “Crypto Currency” นั้นมีจุด Peak ในช่วงเดือนธันวาคมปี 2017 ที่เหมือนกัน หลังจากนั้นเมื่อตลาด Crash การค้นหา 2 คำนี้ก็ลดลงเรื่อยๆ แล้วไปถึงจุด Bottom ในช่วงปี 2020 แต่เป็นคนละเดือนกัน

การ Search ค้นหาคำว่า “Blockchain” ตั้งแต่ปี 2004 จนถึง 2023 (Source: Google Trend)
การ Search ค้นหาคำว่า “Crypto Currency” ตั้งแต่ปี 2004 จนถึง 2023 (Source: Google Trend)

ซึ่งเมื่อเราเปรียบเทียบจากการเปลี่ยนแนวโน้มของการ Search ใน 2 คำนี้ และได้ทำการเปรียบเทียบกับ Price Action , Trading Volume ที่เกิดขึ้น เราสามารถที่จะอนุมานได้ว่า “มีโอกาส” ที่ตลาดจะเกิดการกลับตัวเปลี่ยนแนวโน้มแล้ว

ข้อมูลในอดีตของมูลค่าตลาดคริปโต

ในส่วนของสถานะการ Search ณ ปัจจุบันเหมือนว่าจะ Settle ไม่ลงต่ำอีกแล้ว ซึ่งต้องมาคอยดูว่าจะมีการ Search ที่เพิ่มขึ้นจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแนวโน้น ณ ปัจจุบัน และสอดคล้องกับ Price Action ของตลาดคริปโตหรือไม่ ถ้าเป็นไปตามข้อมูลในอดีต ส่วนตัวมองว่าเรามีโอกาสที่จะผ่านจุด Bottom ในรอบนี้แล้ว

DeFi Trend

สำหรับการ Search คำว่า DeFi ในอดีต เกิดการ Spike ในช่วงปลายปี 2020 เป็นช่วง OG DeFi หลายตัวเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น Uniswap, AAVE, Maker, Compound ซึ่งมีจุด Peak ของการ Search ในช่วงเดือนกรกฏาคม 2021 และเดือนมกราคม 2022 ก่อนที่ตลาดจากพังจาก Luna Crash ในเดือนพฤษภาคม หลังจากนั้นทั้งเงินที่กักเก็บในระบบ DeFi (DeFi Total Value Locked) และ การ Search หาคำว่า DeFi ก็เป็น Downtrend ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งถ้าดูจาก Chart แล้วก็ยังหาจุดที่เป็น Bottom ของการ Search ไม่ได้

DeFi Total Value Locked ในช่วงปลายปี 2020 จนถึงช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ Luna Crash (Source: DeFiLlama)
การ Search ค้นหาคำว่า “DeFi” ตั้งแต่ปี 2004 จนถึง 2023 (Source: Google Trend)

NFT Trend

ปลุกกระแส NFT เริ่มจาก CryptoKitties และคนเริ่มรู้จัก NFT มากขึ้นจากกระแส Crypto Punk และ BAYC ซึ่งถ้าเทียบช่วงที่มีการ Search คำคำนี้แล้วเป็น Peak Spike ขึ้นมาจะเป็นช่วงเดือนเมษายน 2021 ถ้าเราเทียบ Floor Price ของทั้งคู่ ณ เวลานั้น

  • Crypto Punk ราคาเฉลี่ย 30 $ETH
  • BAYC ราคาเฉลี่ย 0.54 $ETH

และหลังจากนั้นก็เริ่มมีอีกหลายๆตัวที่ดังๆ เกิดตามมาไม่ว่าจะเป็น MAYC , Doodle, Pudgy Penguin, Azuki และ CloneX เป็นต้น

การ Search ค้นหาคำว่า “NFT” ตั้งแต่ปี 2004 จนถึง 2023 (Source: Google Trend)

โดยจุด Peak ของการ Search นั้นอยู่ในช่วงเดือนมกราคา 2022 ซึ่ง Floor Price บาง Collection ก็เริ่มปรับตัวลดลงตั้งแต่เดือนตุลาคม 2021 ในส่วนของ BAYC, MAYC, Doodle, Azuki, และ CloneX นั้นมีการปรับตัวของ Floor Price ในช่วงเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม 2022 ซึ่งเมื่อดูปริมาณการ Search ในปัจจุบันของ NFT ก็ยังเป็น Downtrend อยู่

จากบทสรุปการใช้ Google Trend อาจจะช่วยเป็น Trigger หนึ่งว่าคนเริ่มสนใจในสิ่งๆนั้นแล้วหรือยัง? Sentiment เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเดียวกับ Price Action หรือไม่ ซึ่งถ้าคนเริ่มสนใจในสิ่งๆ ไหน เรามองว่ามันเป็น Demand หรือ Buy Pressure ที่จะทำให้สิ่งๆนั้นเกิดการปรับตัวของราคาเพิ่มขึ้น

บทส่งท้าย

ก่อนที่จะไปดูในส่วนใน Part#3 ในส่วนการลงทุนของ Venture Capital ในครึ่งปีแรกของปี 2023 สิ่งที่อยากให้ผู้อ่านได้จากบทความน Part#2 ที่เกี่ยวกับภาพรวมของตลาดคริปโต ผมอยากจะสรุปออกมาเป็น Key Take A Way เนื่องจากเนื้อหาในส่วนนี้ค่อนข้างยาว

  • ตลาดคริปโตมีโอกาสน้อยมากที่มูลค่ารวมทั้งตลาดจะกลับไปทำ New High ในช่วงสิ้นปี 2023 ด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจและสภาพคล่องในตลาดคริปโตก็ยังมีไม่เยอะเราสามารถดูได้จาก Trading Volume ที่ลดลง, DeFi TVL ยังมีแนวโน้มเป็นขาลง และมูลค่าของ Stable Coin ที่เป็นเหมือนท่อน้ำเลี้ยงในตลาดก็ลดลงเช่นกัน ถึงแม้ว่าจะมีข่าวดีในเรื่อง Bitcoin ETF ก็ตาม แต่เรื่องนี้ทาง SEC สามารถเลื่อนพิจารณาไปได้ไกลที่สุดก็เดือนมีนาคม 2024
  • ถึงแม้ว่าตลาดจะยังคงอยู่ในช่วง Bear Market แต่ก็เป็นโอกาสที่ดี ที่จะหา Project ที่ยังคงมี Activity อยู่ ยังคงพัฒนาหรือมีการเติบโตของ Total Value Locked (TVL) ในช่วงตลาดหมีแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการ Staking $ETH ที่เพิ่มขึ้น และ Protocol ใหม่ๆที่สร้างขึ้นมาสนับสนุน ล้วนแล้วแต่เป็น Project ที่เติบโตในช่วงสภาวะตลาดหมี ที่เราสามารถที่จะนำมาพิจาณนาเพื่อทำการบ้านต่อ
  • การใช้ DeFiLlama ในการหา Project ที่น่าสนใจโดยมองแบบ Top Down ในการหา Sector ที่มีการเติบโตของ TVL อย่างต่อเนื่อง หรือแม้แต่ Bottom Up ในการ Focus ไปที่ Protocol ที่มีการเติบโตของรายได้ (Fee/Revenue) แล้วค่อยขยายไปหา Project ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ก็เป็นวิธีที่ค่อนข้างน่าสนใจในการเฟ้นหา Gem
  • การถือครองสัดส่วน Stable Coin ของ Smart Money ส่วนตัวมองว่าเป็นมุมมองที่ค่อนข้างน่าสนใจ ซึ่ง Smart Money มีการถือ Stable Coin มากสุดประมาณ 37% ในช่วงเดือนกรกฏาคมจนถึงพฤศจิกายน 2022 ซึ่ง ณ ตอนนี้ Smart Money มีมุมมองที่ดีกับตลาดมากกว่าเดิมเมื่อเทียบกับครึ่งปีหลังของปี 2022 เนื่องจากสัดส่วนที่ถือครอง Stable Coin อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 20% ที่เป็น Threshold ที่แบ่งระหว่าง Bull และ Bear
  • การใช้ Google Trend ถือว่าเป็นเครื่องมือที่วัด Sentiment Analysis แบบหนึ่งที่ทำให้เห็นว่าคนเราสนใจในสิ่งไหนมากขึ้นเป็นพิเศษ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยใช้ Key World ที่เราสนใจ ในการค้นหา

--

--