Avareume Crypto Market Digest Part#1: Global Macro

Panuwat Ulis
4 min readSep 17, 2023

--

เนื้อหาในบทความ Avareum Crypto Market Digest จะถูกแบ่งออกเป็น 4 Parts เพื่อไม่ให้บทความยาวจนเกินไป และทำให้ผู้อ่านสามารถข้ามไปอ่าน Part ที่สนใจได้ก่อน โดยจะแบ่งหัวข้อออกเป็นดังนี้

Part 1: Global Macro

Part 2: Crypto Market Overview + On-Chain Data

Part 3: Venture Capital H1 2023

Part 4: Wrap Up Avareum Crypto Market Digest

Global Macro Knowledge

ก่อนที่จะไปอัพเดทภาพรวมของตลาดคริปโต ส่วนตัวอยากบันทึกไว้เป็นความรู้ของตัวเองในเรื่องของ Inflation ซักหน่อย จริงๆ เป็นเนื้อหาที่เขียนใน Facebook ส่วนตัว ณ วันที่ 3 กันยายน 2023

Inflation Target 2% มาจากไหน?

จริงๆ มันไม่ได้เริ่มที่สหรัฐอเมริกา คนที่นำมาใช้ก่อนหน้านี้คือฝั่ง New Zealand ในปี 1989 โดยกำหนดเป็น Inflation Range 0–2% หลังจากนั้นทาง European Central Bank ก็ได้นำ Target นี้มาใช้เหมือนกัน โดยกำหนดเป็นตัวเลขที่ 2% ส่วนสหรัฐอเมริกาได้มีการนำ Inflation Target มาใช้ในช่วงปี 2012

ซึ่งหลังจากช่วง Subprime สภาวะเศรษฐกิจเกิดการหดตัว ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องทำการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยจนมีค่าเข้าใกล้ 0% นอกจากนั้นในช่วงปี 2009 ยังมีการทำ Quantitative Easing (QE) เพื่อช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทาง

ข้อมูลอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (FED Fund Rate) ในอดีตจนถึงปัจจุบัน (Source: FRED Economic Data)

จากข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี 1929 จนถึงปัจจุบัน การเกิด Recession แต่ละครั้งจะทำให้มีตัวเลขการว่างงาน (Unemployment Rate) ค่า Peak อยู่ในช่วงประมาณ 5%-20% ซึ่งถ้าเราเทียบกับข้อมูลปัจจุบันที่ Unemployment Rate อยู่ที่ระดับ 3.5% — 3.6% ก็ยังไม่สูงมากนัก ฝั่งภาคการผลิต (ISM Manufacturing PMI) อันนี้เกิดการหดตัวจากค่า Index < 50 แต่ส่วนภาคการบริการ (ISM Service PMI) ตัวเลข Index > 50 อยู่ ซึ่งการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในแต่ละรอบเมื่อถึงจุด Peak ของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ > อัตราเงินเฟ้อ มันมักที่จะตามมาด้วยการเกิด Recession เสมอ

อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 5.50% ซึ่งสูงสุดในรอบ 16 ปีเมื่อเทียบกับช่วง Subprime โดยที่ทาง FED วางแผนที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง 0.25% แต่ความเป็นไปได้ในเดือนกันยายนจาก FED Watcher มีโอกาสแค่ 2% เท่านั้น โดยผลสำรวจมองว่ามีโอกาส 50% ที่จะขึ้นอีก 0.25% ในเดือนพฤศจิกายน และนี้ก็จะเป็นจุด Peak สุดท้าย

FED Watcher ใช้ดูผล Poll ดูความเป็นไปได้ที่ FED จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุม FOMC ในรอบวันที่ 20 กันยายน 2023 (Source: FED Watcher)

Area ที่มีผลพวงที่เชื่อมโยงกันมีด้วยกัน 3 ส่วน

  • การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค (Consumer Spending)
  • ธุรกิจต่างๆ มีความสามารถในการทำกำไรลดลง (Profit Margin Decline)
  • ธุรกิจต่างๆ เริ่มมีการ Lay-Off พนักงานเพิ่มมากขึ้น

ซึ่งอาจจะเกิดส่วนไหนก่อนก็ได้แล้วมีผลกระทบเป็นแบบลูกโซ่ไปในพื้นที่ที่เหลือ

ดังนั้นถ้าเราอ้างอิงจาก Economic Cycle ที่คุณ Ray Dalio ได้เคยอธิบายไว้

การจับจ่ายใช้สอยของอีกคน จะเป็นรายได้ให้กับอีกคน ถ้าการจับจ่ายใช้สอยลดลง รายของคนคนนึ่งในระบบเศรษฐกิจก็จะลดลงด้วย ส่งผลให้กิจกรรมต่างๆในระบบเศรษฐกิจค่อยๆลดลง เพื่อที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อ ถ้าเรามองในมุมของ Demand/Supply การที่ลด Demand หรือ ความต้องการที่จะซื้อให้ลดลง จะส่งผลต่อราคาของสินค้าและบริการให้มีการลดลงในที่สุด

การเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ยังส่งผลต่อกิจกรรมในส่วนของการกู้เงินด้วยเช่นกัน ทำให้ต้นทุนการเงินของคนที่ทำธุรกิจสูงขึ้น เมื่อมีการกู้เงินน้อยลง คนทำธุรกิจก็อาจจะไม่ขยายธุรกิจของตัวเอง การผลิตลดลง รายได้ของธุรกิจนั้นๆลดลง ลดต้นทุน ปลดคนออกมา คนตกงานทำให้กำลังการซื้อลดลง

Leading Indicators

  • LEI
  • 10 Year — 2 Year Treasury Bond (Invert Yield Curve)
  • 10 Year — 3 Month Treasury Bond (Invert Yield Curve)

Note: ในช่วงปี 1980–1982 อาจจะใช้สมมุติฐานที่ว่า เมื่อ Long Term Bond กลับมามีผลต่างกับ Short Term Bond เป็นบวกอีกครั้ง หลังจากนั้นไม่นานก็จะเกิด Recession โดยระยะเวลาที่จะเกิดจะอยู่ในช่วง 6 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งจากทั้ง 10Y-2Y และ 10Y-3M นั้นยังไม่มีตัวไหน Recovery กลับมาเป็นบวก นั้นแปลว่า ถ้าเราจะพูดว่าโอกาสที่ Recession จะเกิดในช่วงนี้ อาจจะมีโอกาสน้อย โดยเราอ้างอิงจากตัวเลขทางเศรษฐกิจด้วยที่ อัตราการว่างงานยังไม่สูงมาก Job Opening ยังเปิดรับในปริมาณที่เยอะอยู่ และในส่วนของ Consumer Spending ที่ยังไม่ได้แย่จนเกินไป

Invert Yield Curve 10 Year — 3 Month Treasury Bond (Source: FRED Economic Data)
Invert Yield Curve 10 Year — 2 Year Treasury Bond (Source: FRED Economic Data)

Leading Indicator อีกตัวที่ทาง Legendary Trader อย่าง Stanley Druckenmiller แนะนำให้ดู ก็คือ “ตลาดหุ้น” นั้นเอง ซึ่งถ้าเราละเอียดหน่อย ก็ต้องลงไปดูในแต่ละ Sectors เพราะธุรกิจในแต่ละกลุ่มนั้นมีความ Sensitive กับสภาวะเศรษฐกิจไม่เหมือนกัน ส่วนตัวผมมองว่าถ้าเราไม่ได้ลงไปดูละเอียดขนาดนั้นก็ใช้ Index ในการ Monitor

Example เป็นการดู Invert Yield Curve + Technical Analysis ของ S&P 500 Index + Moving Average 200 Period

S&P 500 Index + Moving Average 200 วัน

Note: เหตุผลเรื่องการเลือก Period ใน Day Time Frame ของตลาดหุ้น 200 Period คือปริมาณ Trading Day ในตลาดหุ้นในระยะเวลา 1 ปี ถ้ามองในเรื่องกรอบแนวโน้มระยะยาว ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงจาก 1 ปีที่ผ่านมา เรามักมองว่ามันเกิดการเปลี่ยน Trend

Market Condition Right now!!!!

ถ้าเราใช้เงื่อนไขที่กล่าวมา มานั่งดูสภาวะตลาด ณ ปัจจุบัน รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจ เราจะเห็นว่าตัว Invert Yield Curve จากในกราฟที่ผมใช้คือ 10Y-2Y มันก็ยังไม่ได้กลับมาเป็นบวก ดังนั้นมันก็มีโอกาสที่ตลาดหุ้นจะมีการปรับตัวลดลงจากเดิมเช่นกัน ถ้าเข้าสู่ Recession จริงๆ เพราะฉะนั้นการที่ตลาดหุ้นสหรัฐมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น มันเป็นเพราะ Fund Flow จากที่อื่นที่มันดูแย่กว่า ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐหรือเปล่า? แล้วมันมีความ Make Sense ไหมการที่ราคาของหุ้นในตลาดมีการปรับตัวของราคาเพิ่มขึ้น มันคือ Fact ที่เกิดจากการทำรายได้ของบริษัทนั้นๆ เพิ่มขึ้นจริงไหม?

ตัวเลขเศรษฐกิจภาพรวมในเดือนสิงหาคม 2023

ในเดือนสิงหาคมตัวเลขอัตราการว่างงานลดลงเล็กน้อยจาก 3.6% มาอยู่ที่ 3.5% ส่วนตำแหน่งงานที่เปิดรับในเดือนสิงหาคมมีการเปิดรับจำนวนที่ลดลงน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้มาอยู่ที่ 9.58M ตำแหน่ง ซึ่งสิ่งที่อาจจะไม่เป็นไปตามที่ FED คาดการณ์ไว้คือตัวเลขอัตราการว่างงานที่มีการปรับตัวลดลงมาเล็กน้อย แทนที่จะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น FED ต้องการเห็นว่าสิ่งที่ทำ ในการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนั้นมันได้ผล ส่วนในด้านดัชนีการผลิตค่า Index ยังคงต่ำกว่า 50 อยู่นั้นแปลว่าการผลิตอยู่ในสภาวะที่หดตัว มีการผลิตน้อยลง แต่ส่วนภาคบริการยังคงขยายตัวอยู่ แต่ขยายตัวน้อยกว่าเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา

ในการประชุม FOMC ครั้งล่าสุดประธาน FED คุณ Jerome Powell ได้กล่าวว่าตัวเลขของอัตราเงินเฟ้อ ณ ปัจจุบันยังสูงอยู่ และพูดเตือนออกมาว่ามันจะต้องมีความเจ็บปวดเพิ่มขึ้นแน่นอน เพราะว่าทาง FED กำลังเตรียมที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งแน่นอน โดยเน้นย้ำว่าเป้ายังคงเหมือนเดิมต้องกดอัตราเงินเฟ้อให้ลงมาที่เป้าหมาย 2% ให้ได้ โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่ได้ระบุชัดเจนว่าจะขึ้นเดือนไหนอีก เพราะต้องคอยดูข้อมูลเศรษฐกิจที่เข้ามาใหม่ในแต่ละเดือน โดยที่ FED จะต้องพิจารณาข้อมูลที่เข้ามาอย่างถี่ถ้วนและรอบคอบ ซึ่งจากผลสำรวจมีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ในเดือนกันยายน ส่วนโอกาสที่จะขึ้นครั้งสุดท้ายในเดือนพฤศจิกายนนั้นมีโอกาสประมาณ 50% จากผลสำรวจ

สาเหตุที่ Powell ได้พูดว่า Inflation ยังคงสูงอยู่ เนื่องจากข้อมูลในเดือนมิถุนายนและกรกฏาคมที่ตัว Core Inflation นั้นได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.2% ในแต่ละเดือน มันกำลังจะส่งสัญญาณบอกว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ทาง FED ได้เพิ่มขึ้นนั้น มันยังกดอัตราเงินเฟ้อไว้ไม่อยู่ นั้นจึงอาจจะเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ FED คิดที่จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นไปเป็น 5.50% — 5.75% จากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั้งหมด 11 ครั้งของทาง FED ที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยขึ้นมาอยู่ในช่วง 5.25% — 5.50% ถือว่าเป็นระดับสูงสุดในรอบมากกว่า 22 ปี ของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา นอกจากในส่วนของอัตราดอกเบี้ยที่จะช่วยกดอัตราเงินเฟ้อแล้ว ทาง FED ยังดำเนินนโยบายลด Balance Sheet (Quantitative Tightening) ต่ำสุดในรอบ 2 ปี

ตัวเลขเศรษฐกิจเดือนสิงหาคม 2023 (Source: Forex Factory)

จากภาพรวมเศรษฐกิจที่กล่าวมาข้างต้น คงต้องรอผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งสุดท้าย ดูจากโอกาสแล้วมีความเป็นไปได้จะขึ้นครั้งสุดท้ายในเดือนพฤศจิกายน 2023 มากกว่าอีก 0.25% ซึ่งจะทำให้ FED Fund Rate จบที่ 5.75% และหลังจากนั้นจะเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยเพื่อกดให้อัตราเงินเฟ้อลดลงให้เข้าใกล้ 2% (Inflation Target) โดยตัวเลขที่เราต้องเคยติดตามคือ อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) จะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด และการจับจ่ายใช้สอยต่างๆ (Customer Spending) ควรจะส่งผลไปในทางเดียวกัน และรอดูการ Confirm ว่าเป็น Recession อย่างเป็นทางการ ซึ่งหลังจากนี้ตลาดจะเริ่มค่อยๆ Recovery และสิ่งที่เราคาดหวังคือการกระตุ้นเศรษฐกิจในที่สุด โดยการที่จะทำให้ตลาดคริปโตกลับไปทำจุด All Time High ใหม่นั้น มันจะต้องพึ่งเม็ดเงินจากฝั่ง Traditional ซึ่งตอนนี้สภาพคล่องหายไปจากตลาดจากการที่ FED ทำ Quantitative Tightening (QT) เราจะเห็นได้จาก FED Balance Sheet ลดลง

FED Balance Sheet (Source: Federal Reserve System)

นอกจากนี้ถ้าดูในเรื่องสภาพคล่องของตลาดตัว M2 YoY ก็อาจจะเป็น Indicator ตัวหนึ่งที่ใช้บอกได้เช่นกัน ซึ่งถ้าตัวเลขต่ำกว่า Threshold 4% ตรงนี้จะถือว่าสภาพคล่องค่อนข้างต่ำ และถ้าค่ายิ่งติดลบ แปลว่าสภาพคล่องในตลาดหายไปเยอะมาก ซึ่ง Indicator ตัวนี้ถือว่าเป็น Lagging Indicator เนื่องจากข้อมูลไม่ได้อัพเดทเป็นเดือนปัจจุบัน จะช้ากว่า 2 เดือน

Money Supply M2 YoY

ดังนั้นจากข้อมูลข้างต้น การจะดันมูลค่าตลาดคริปโตให้สูงขึ้นได้ ตัวแปรเรื่องสภาพคล่องก็ต้องกลับมาอยู่ในสภาวะที่ดีขึ้นด้วย มุมมองส่วนตัวการที่ตลาดจะกลับมาดีในปีนี้เป็นไปได้ยากมาก เหตุผลจากสภาวะเศรษฐกิจและสภาพคล่องในตลาด

Part ถัดไปเราจะพูดถึงในฝั่งของ คริปโตกันบ้างว่ามีกิจกรรมอะไรบนโลกคริปโตที่สามารถที่จะบอกเราได้บ้างว่าตอนนี้ ตลาดคริปโตเริ่มกลับมาน่าสนใจหรือยัง ไม่ว่าจะเป็นในฝั่งของเหรียญหลักอย่าง Bitcoin และ Ethereum หรือคนที่สนใจลงทุนในกลุ่มของ DeFi มี Sector ไหนที่น่าสนใจบ้าง เราจะไปพูดคุยกันใน Avareum Crypto Digest Part 2: Crypto Market Overview ผ่านการมองด้วย On-Chain Data

--

--