“จุดแข็งของเราคืออะไร ?” คำถามสุดหินในยุค 4.0

รีวิวหนังสือ : Managing Oneself — ปัญญางาน จัดการตน

Tor Thongchai
Read-it Thailand
3 min readOct 9, 2017

--

เขียนโดย PETER F. DRUCKER แปลโดย ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา

ซ้าย PETER F. DRUCKER ผู้แต่ง / ขวา หนังสือ Managing Oneself แปลโดย สนพ. openbooks

อ่านแล้วได้อะไร

ผมอ่านเล่มนี้ต่อจาก FUTURE : ปัญญาอนาคต (ดู Review) รู้สึกว่าสองเล่มนี้มีความเกี่ยวข้องกันสูงมาก หาก FUTURE แนะให้เราทบทวนเรื่องในอดีต เพื่อสร้างตัวตนใหม่ในอนาคต Managing Oneself ก็ชวนให้เรากลับมาถามตนเองว่าเราเป็นคนแบบไหน เพื่อให้รู้จักพัฒนาตนเองในทางที่ถูกที่ควร

สองเล่มนี้เหมือนเป็นฝาแฝดกัน

Managing Oneself หนังสือเล่มเล็กๆนี้ตั้งคำถามกับสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตเรา นั่นคือ จุดแข็งของเราคืออะไร เป็นคำถามที่ง่าย แต่หลายคนในยุคนี้ยังหาคำตอบไม่เจอ (รวมถึงผมด้วย)

ตลอดทั้งเล่มผู้เขียนทิ้งคำถามสำคัญหลายข้อ ซึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือน ‘แว่นขยาย’ ส่องเข้าไปในความคิด ช่วยให้เราเข้าใจตนเองมากขึ้น อย่างน้อยก็เอาคำถามเหล่านี้เก็บไปคิดต่อ เพื่อให้เราแสวงหาตัวตนที่แท้จริง

ผู้เขียนกล่าวว่าเราควรจะเข้าใจตนเองให้ได้ 3 หัวข้อหลักๆ ดังนี้ (อ้างอิงจาก MIND MAPPING ONESELF ของคุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา)

ไม่ใช่แค่เราเท่านั้นที่ควรเข้าใจ หากแต่ต้องเข้าใจทั้งเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า หรือแม้กระทั่งผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้การทำงานในองค์กรเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพ วิธีการที่ง่ายที่สุด คือ ‘การเข้าไปถาม’

อีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้ผมเก็บไปคิดต่อ คือ ‘อาชีพที่สอง’

ผู้เขียนบอกว่าคนทำงานทุกคนจะถึงจุดสูงสุดของอาชีพเมื่ออายุ 45 ปี หลังจากนั้นจะเริ่มเบื่องาน หรือเจอสภาพที่เรียกว่า หมดไฟ เราจึงควรหาอาชีพที่สองหรืออาชีพคู่ขนานทำไปพร้อมๆกัน ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ

  • ป้องกันความเบื่อหน่ายในอาชีพแรกที่เราทำได้อย่างดีเยี่ยมแล้ว
  • ไม่มีใครคาดการณ์ได้ว่าเราจะตกต่ำตอนไหน จึงเป็นโอกาสในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตที่ดีอีกทางหนึ่ง

Quote of the book

การพัฒนาจากจุดที่ไร้ความสามารถให้ไปสู่จุดกึ่งดิบกึ่งดี จะใช้พลังงานมากกว่าการพัฒนาจากจุดที่เยี่ยมให้ไปสู่จุดที่ยอดเยี่ยม กระนั้นคนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูบาอาจารย์ และองค์กรส่วนใหญ่ กลับมุ่งความสนใจไปที่การสร้างคนไร้ความสามารถให้กลายเป็นคนกึ่งดิบกึ่งดี

แนวทางการเขียน

  • ผู้เขียน — PETER F. DRUCKER เขียนด้วยภาษาที่กระชับมาก ต้องอ่านอย่างตั้งใจ และคิดตามตลอด จึงจะเข้าถึงเนื้อหาได้อย่างดี อย่างไรก็ตาม ต้องชื่นชมผู้แปล- คุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ที่ถ่ายทอดออกมาให้อ่านเข้าใจง่ายมากขึ้น
  • รูปเล่ม การจัดวางเนื้อหา ทำได้ค่อนข้างดี มีรูปภาพประกอบ ทำให้จินตนาการถึงตัวละครที่ผู้เขียนอ้างถึงได้ดีขึ้น (หลายๆคนผมไม่รู้จัก)
  • ที่ชอบเป็นพิเศษคือท้ายเล่มจะมีบทสรุปให้เราทบทวนสิ่งที่อ่านอีกครั้งหนึ่ง รวมถึง MING MAPPING ที่รวมคำถามหลายๆข้อมาให้อ่านซ้ำเพื่อความเข้าใจอีกด้วย

เล่มนี้เหมาะกับใคร

ผมคิดว่าเหมาะคนที่กำลังเริ่มทำงาน หรือกำลังเจอหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต ว่าเราควรจะไปทางไหน และเหมาะกับคนที่กำลังค้นหาตนเองว่าเหมาะกับอาชีพอะไร

ReaderBox Score เป็นคะแนนจากวิจารณญาณส่วนตัวครับ

ขอขอบคุณ รูป PETER F. DRUCKER จาก website www.entrepreneur.com และรูปหนังสือ Managing Oneself จาก Facebook สำนักพิมพ์ openbooks ครับ

อีกหนึ่งช่องทางสำหรับการติดตามรีวิวหนังสือ

read-it Thailand ตั้งใจนำเสนอ ข้อคิด สาระดีๆ รวมถึงบอกต่อหนังสือน่าอ่าน และขอเป็นพื้นที่ให้เพื่อนๆได้แบ่งปันประสบการณ์การอ่านที่ประทับใจเช่นกัน

หลายครั้งเราอยากอ่านหนังสือดีๆซักเล่ม แต่ไม่รู้จะเริ่มจากที่ไหน หนังสือเล่มไหนดี

read-it Thailand จึงอยากแชร์หนังสือเด็ด ที่ทางเราได้อ่านอง และได้ฟังจากคนรอบตัว ว่าหนังสือเล่มไหนที่ตอบโจทย์นักอ่านมากที่สุด

ทีมงานยินดีที่จะได้รับคำติชม ทั้งเนื้อหาและการนำเสนอจากทุกคนครับ

Facebook Fanpage : read-it Thailand
สรุปข้อคิดจาก Managing Oneself ปัญญางาน จัดการตน
5 หนังสือเด็กที่ผู้ใหญ่ควรอ่าน
4 หนังสือสำหรับคนโสดในวันวาเลนไทน์

เพื่อนๆ สามารถอ่านรีวิวหนังสือเล่มอื่นๆได้จากลิ้งด้านล่างนี้ครับ (กดที่ชื่อเรื่อง)

How to / Business

ได้ทุกสิ่งด้วยสิ่งเดียว — The ONE THING : วิธีบริหารเวลาง่ายๆ ที่ใครก็ทำได้ด้วยหลักการ ‘สิ่งเดียว’

เห็นได้ก่อนใครใน 1 ย่อหน้า : สรุปไอเดียทางธุรกิจแบบง่ายๆ กับ เจ้าของเพจ facebook ‘8 บรรทัดครึ่ง’

Permission To Screw Up : บทเรียนการทำผิดพลาดจากเรื่องจริงของ Kristen Hadeed ผู้ก่อตั้ง Student Maid , สตาร์ทอัพที่มาแรงในอเมริกา (ยังไม่มีแปลไทย)

เข้าใจตนเอง / เข้าใจโลก

พุทธะในปราด้า — PRADA MANDALA : The Essence of Life and Style โดย พลอย จริยะเวช และ ชัยอนันต์ สมุทวณิช พาเราไปเข้าใจเรื่องราว 2 ด้าน ที่เป็นแก่นของมนุษย์ ทั้ง ‘ชีวิต’ และ ‘ศิลปะ’

โตขึ้นจึงรู้ว่า … : บทบันทึกประสบการณ์ตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น จนถึงวัยทำงาน ของ ‘KIDMAKK — คิดมาก’ นักเขียนออนไลน์ชื่อดัง

FUTURE — ปัญญาอนาคต : เรียนรู้อดีตผ่านการเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างตัวตนใหม่ในอนาคตที่ไม่แน่นอน กับ คุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา

--

--