Thai Gov Design x Traffy Fondue UX Design Challenge

ทำอย่างไรให้ชาว กทม. สามารถมีส่วนร่วม ในการแจ้งและ
แก้ปัญหาของเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น?

Natt Phenjati
Thai Gov Design
Published in
2 min readJul 16, 2023

--

ในหนึ่งปีที่ผ่านมา กรุงเทพมหานคร ได้รับเรื่องแจ้งปัญหาจากประชาชนมากกว่า 328,425 เรื่อง ผ่านระบบบริหารจัดการปัญหาเมืองที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยทีมนักวิจัยจาก สวทช. ชื่อ Traffy Fondue (มาจากคำว่า Traffic ฟ้องดู )

หน้าจอ Traffy Fondue Website ในปัจจุบัน (https://share.traffy.in.th/teamchadchart)

โดยเป้าของเจ้า Traffy Fondue คือการยกระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถบริหารจัดการปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งในหนึ่งปีที่ผ่านมาระบบนี้ได้ช่วยลดระยะเวลาแก้ปัญหาใน กทม. โดยเฉลี่ยจาก 57 วัน ต่อเรื่อง เหลือเพียง 5 วันต่อเรื่อง (ข้อมูลจากงาน BMA EXPO 2023)

“แจ้งไปขึ้นกำลังดำเนินการ ค้างมาสองสัปดาห์ ไม่รู้จะได้รับการตอบสนองไหม รออยู่ครับ หวังว่าปีหน้า จะดีกว่าปีนี้ ยังเอาใจช่วย”

— หนึ่งในเสียงจากผู้ใช้งานจริง

ถ้ามองข้ามสถิติที่น่าชื่นชมแล้ว ผมเชื่อว่าคนที่ได้ลองใช้ Traffy Fondue ยังต้องเจออุปสรรคหลายอย่างๆ เช่นการที่พวกเขารู้สึกว่ามันต้อง “รอ” นานเหลือเกินกว่าปัญหาที่ได้แจ้งไป ทำให้พวกเขาเริ่มสงสัยว่าปัญหาของเขานั้นถูกมองข้าม ในอีกฝั่งของคนใช้งานคือเจ้าหน้าที่ กทม. ที่ต้องรับเรื่องแจ้งจำนวนมหาศาลอยู่ตลอดเวลาไร้ซึ่งวันหยุด เราจะเอากระบวนการ UX Design หรือ การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้งานมาช่วยได้อย่างไร

Traffy Fondue UX Design Challenge

ปีนี้ทาง Thai Gov Design จับมือกับทีม กทม. และทีม Traffy Fondue เพื่อมาช่วยให้ชาว กทม. สามารถมีส่วนร่วมในการแจ้งและแก้ปัญหาเส้นเลือดฝอยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเราจะมีโครงการ UX Design Challenge ระยะเวลา 3 เดือนที่จะเปิดรับอาสาสมัครมาทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้าน UX Design

ตัวอย่างขั้นตอนจากโครงการ Design Challenge ครั้งที่แล้ว

เราจะแบ่งโครงการเป็น 3 ช่วง

  1. User Research: การทำความเข้าใจผู้ใช้งานและปัญหาของเขา
  2. Design: สร้างสรรค์ไอเดียเพื่อแก้ปัญหาของผู้ใช้งาน
  3. Validate: ทดสอบไอเดียและนำมาสรุปผล

ด้วยเป้าของ Community เราแล้วขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือช่วงที่ 1 นั้นคือการทำ User Research เพื่อให้ภาครัฐได้เข้าใจถึงปัญหาการใช้งานผ่านมุมมองของคนจริงๆ ช่วงที่ 2 และ 3 นั้นคือการทำให้ผลลัพธ์ของการทำ User Research และสิ่งที่ทีมอาสาสมัครแนะนำเป็นภาพที่ชัดเจนขึ้นมา

ใครจะมาเป็นอาสาสมัครได้บ้าง?

เหล่า UX Designer ที่อยากใช้เวลาว่างหลังเลิกงานมาช่วยให้ กทม. น่าอยู่ขึ้นด้วยมือของเราเอง โดยปีนี้เราจะเปิดรับอาสาสมัครจำนวน 35 คน

โครงการจะเริ่มเมื่อไหร่ และจะเจอกันวันไหน?

ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม จนถึง 20 พฤศจิกายนนี้ หลังจากเริ่มแล้วเราจะเจอกันอาทิตย์ละครั้งในช่วงเสาร์-อาทิตย์ และแยกย้ายกันไปทำงานในเวลาที่ตัวเองสะดวก

อยากเป็นอาสาสมัครต้องทำอย่างไร?

เราจะเปิดแบบฟอร์มให้ลงสมัครกันได้ที่ https://forms.gle/e5PW6cQ686VUCN4C8

--

--