Ethereum และการเป็น Backbone สำหรับอินเตอร์เน็ตยุคใหม่

Loom Network ได้สร้าง Layer 2 ของเราขึ้นมาเพื่อใช้ บน Ethereum แทนที่การสร้างแพลตฟอร์ม blockchain อีกอันแทน — ซึ่งเหตุผลมีดังต่อไปนี้

Loom Network Thai
Loom Network Thai
7 min readJun 12, 2018

--

บทความนี้แปลมาจาก Ethereum Will Be the Backbone of the New Internet เขียนโดย James Martin Duffy ถ้ามีส่วนไหนในบทความที่แปลผิด ขอความกรุณาแจ้งให้เราทราบได้ตลอดผ่านทาง Private Note ขอบคุณค่ะ

ในทุกๆ เดือน บริษัทอื่นๆ ก็จะตีพิมพ์ whitepaper เพื่ออ้างว่าพวกเขาสามารถแก้ปัญหา scalability ที่เจอบน Ethereum ได้

ส่วน blockchains แบบใหม่ที่สร้างขึ้นมา ก็กล่าวว่ามันดีกว่า แรงกว่า และฉลาดกว่า Ethereum — พวกเขายังกล่าวอีกว่า มันสามารถที่จะรองรับการทำธุรกรรมเป็นพันครั้ง จนถึงล้านครั้งต่อวินาที (transactions per second (TPS)) อีกทั้งไม่มีค่าใช้จ่ายใน transaction และ มีการยืนยันแต่ละ transaction แทบจะทันทีที่ทำการคอนเฟิร์ม

แต่สำหรับทางเรา Loom Network เมื่อเราตัดสินใจสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการนำสเกลขนาดใหญ่อย่าง decentralized สำหรับเกมส์บนมือถือและ social networks เข้าสู่ mainstream Ethereum ก็ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

ในบทความนี้ เราจะมาอธิบายเหตุผล ว่าทำไมเราถึงคิดว่า Ethereum ถือเป็นผู้ชนะจากผู้แข่งขันทั้งหมดในการเข้ามาเป็นรากฐานของ Web 3.0 รวมไปถึงการเข้ามาเป็น base layer ขั้นต้นที่แพลตฟอร์ม DApp ที่สำคัญทุกอันจะเลือกใช้ในการสร้างระบบบนมันในอนาคต

มาเริ่มฟังเหตุผลที่สำคัญกันนะครับ

1. Ethereum ให้ลำดับความสำคัญกับนักพัฒนา ในการสร้างโปรแกรมบนระบบ มากกว่าแพลตฟอร์มอันอื่นๆ — และนี่คือข้อแตกต่างจากระบบอื่นๆ ที่มีมากขึ้นในทุกๆ วัน

โรงเรียนสอนการโคดบน Ethereum ของเรา ที่มีชื่อว่า CryptoZombies.io นั้นมีผู้ใช้งานมากกว่า 207,623+ users นับตั้งแต่ที่เราเปิดให้ใช้งานเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา — และจำนวนผู้ใช้งานมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีเพิ่มขึ้นมากกว่า 30,000+ users ต่อเดือน โดยที่ไม่มีทีท่าว่าจะลดน้อยลงเลย

Truffle (a development framework สำหรับ Etheruem) มียอดการดาวน์โหลดกว่า 550,000 ครั้ง มีอัตราการเติบโต มากกว่า 45,000+ usersต่อเดือน นับตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา

พูดง่ายๆ ก็คือ จำนวนนักพัฒนาที่สร้างโปรแกรมบน Ethereum ไม่ได้เพียงแต่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ — แต่มัน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย

นี่คือ กราฟแสดงตัวเลขของนักพัฒนาที่ใช้ Ethereum’s Truffle Suite ในแต่ละเดือน ที่ไม่ได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ — แต่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

นั้นหมายความว่าถ้ามี แพลตฟอร์ม blockchain เจ้าอื่น ที่อยากเอาชนะ Ethereum ด้วยการให้นักพัฒนานำของตนเองไปใช้ ก็สามารถพูดได้เลยว่าเจ้าอื่นนั้นไม่สามารถวิ่งตาม จุดที่ Ethereum อยู่ในตอนนี้ได้เลย — เพราะพวกนั้นต้องมีอัตราเติบโตที่มากกว่า อัตราการเติบโตที่ก้าวกระโดดของ Ethereum

ทำไมการที่นักพัฒนามาใช้ระบบ (developer adoption) ถึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ?

เมื่อสิ้นสุดในหนึ่งวัน มันก็ไม่สำคัญว่า blockchain ของคุณสามารถที่จะแบกรับการทำธุรกรรมกี่ครั้งต่อวินาที ถ้าไม่มีผู้ใช้งานในระบบก็ไร้ค่า

ในการที่จะดึงผู้ใช้งานให้รู้สึกคุ้มค่าในการเข้ามาใช้ระบบ คุณก็ต้องดึงดูดนักพัฒนาเป็นจำนวนพอสมควรในการเข้ามาสร้างแอพพลิเคชั่น

ถ้าคุณไม่มีนักพัฒนาสร้างแอพพลิเคชั่นบน blockchain คุณก็เหมือนสร้างเมืองร้าง ไร้ผู้คนขึ้นมานั้นเอง

ผมก็ไม่แน่ใจว่าอะไรที่ทำให้ Steve Ballmer เกิดอาการคุ้มคลั่งบนเวทีการประชุมนี้นะครับ และเหตุการณ์นี้กลายเป็นเหตุการณ์สุดคลาสสิค และ Meme ในประวัติศาสตร์ แต่ผมเอาวิดิโอของเขามาเพื่อที่จะขยายประเด็นของผมที่ว่า: Developer adoption คือทุกสิ่งทุกอย่าง

แพลตฟอร์ม blockchain ที่มีนักพัฒนาสร้าง real-world applications ในระบบมากที่สุด ก็จะกลายเป็นแพลตฟอร์มที่เป็นตัวหลักที่ได้รับการยอมรับที่กว้างขวางที่สุด สำหรับ Ethereum ไม่เพียงแต่เริ่มต้นได้อย่างยิ่งใหญ่กว่าใครในยุคนี้ แต่ทิ้งห่างคู่แข่งคนอื่นๆ ในทุกๆ วันที่ผ่านไป

แล้วทำไม Ethereum ถึงได้ดึงดูดเหล่านักพัฒนาส่วนมากละ?

2. Ethereum มี toolsที่ดีกว่า และ โครงสร้างพื้นฐานสำหรับในการพัฒนา DApp ที่ดีกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ

Truffle. Infura. Web3.js. OpenZeppelin. Geth. Ganache. MetaMask. CryptoZombies. MyCrypto. Etherscan. ERC20 และ ERC721.

ชื่อที่กล่าวมาข้างต้น คือ tools (ท่ามกลาง tools อื่นๆ) ที่ทีมนักพัฒนาหลายคน ได้ทุ่มเทเวลาอันแสนเหน็ดเหนื่อย กว่าร้อยกว่าพันชั่วโมงกับมัน — อีกทั้งเป็น tools ที่ใช้ได้ฟรี สำหรับ นักพัฒนาคนไหนก็ตามที่อยากสร้าง DApp บน Ethereum

และชุมชนนักพัฒนานี้ ก็จะเติบโตไปตามกาลเวลา ทีมของบริษัทเรารวมไปถึงคนอื่นๆ อย่างต่ำก็หลายสิบคนนั้นกำลังอยู่ในขั้นตอนในการสร้าง tools ให้มากขึ้นไปอีก รวมไปถึงการวางโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับการพัฒนา Ethereum DApp ที่จะทำให้นักพัฒนาบน Ethereum developers ใช้งานได้ง่ายมากยิ่งขึ้นในอนาคต

มีการนำ กฏ Metcalfe’s law มาประยุกต์เข้ากับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ยิ่งนักพัฒนาหลายๆ คนสร้างสิ่งที่มีประโยชน์เพิ่มมากขึ้นเท่าไร ก็จะยิ่งทำให้นักพัฒนาหน้าใหม่ที่เข้ามาสร้างโปรแกรมในระบบทำงานได้ง่ายขึ้น (และสนุกมากขึ้น) ซึ่งประโยชน์ก็จะส่งผลถึงตัวของมันเอง

ส่วนในกรณีที่คุณเป็นนักพัฒนา แล้วคุณอยากสร้างแพลตฟอร์ม blockchain ที่จะมาแทนที่ Ethereum แล้วละก็ คุณก็จำเป็นจะต้องสร้างแพลตฟอร์มที่มีเวอร์ชั่นที่เทียบเท่าได้กับ Ethereum พร้อมทั้ง tools ทั้งหมดบนแพลตฟอร์มของคุณเอง เพื่อที่จะสามารถเอาชนะ Ethereum ที่ง่ายต่อการใช้งานสำหรับเหล่านักพัฒนาในตอนนี้

หรือไม่ก็อีกทาง คุณรู้ไหมครับว่าคุณสามารถสร้างโปรแกรมขึ้นมาบน Ethereum และใช้ประโยชน์จากเครื่องมือมากมายเพื่อสร้างส่ิงที่แตกต่างออกไปจากนี้ 🤔

มาครับเรามาก้าวขึ้นไปอีกขั้น ขั้นที่ลึกกว่านี้ไปอีกดีกว่า

มาพูดถึงเรื่อง ทำไมเหล่านักพัฒนาถึงต้องการเอาเวลาของพวกเขามาใช้ในการสร้าง tools เหล่านี้กัน

และตอนนี้เราจะลงไปให้ลึกกว่าเดิม ประหนึ่งอลิซลงไปในหลุมกระต่าย และได้เห็นว่า Ethereum ทอประกายโดดเด่นเช่นไร

ยังอยู่กับผมไหมครับ? ผมยังไม่ได้พูดถึงใจความสำคัญของการอภิปรายในครั้งนี้เลย — ผมเพิ่งจะเริ่มนะพี่น้อง

3. Ethereum ไม่ได้ทำการเสียสละ decentralization ทิ้งไป

เมื่อพูดถึง Blockchains มันก็จะมีกฎพื้นฐานที่เรียกว่า The Scalability Trilemma เป็นเหมือนกฏฟิสิกส์ที่กล่าวถึง blockchain นั้นสามารถมีได้เพียง 2 ใน 3 องค์ประกอบดั่งต่อไปนี้: decentralization, scalability และ security

มันหมายความว่าเช่นไรกัน ถ้ายกระดับของ security โดยที่คุณเพิ่ม scalability ได้บน blockchain คุณก็ต้องยอมเสียสละ decentralization

ทำไมคำกล่าวนี้ถึงถูกต้อง?

โดยตามธรรมชาติของ blockchains นั้น validator ทุกอัน จำเป็นที่จะต้องรัน computation ทุกอัน ซึ่งจะเกิดขึ้นบน network เพื่อให้แน่ใจว่ามันถูกต้องแม่นยำ

ดังนั้น ถ้าคุณต้องการให้ network มี decentralized ที่เพียงพอแล้วละก็ ต้องให้ users กว่าพันคนทำการรัน validators และจะต้องจำกัดจำนวน Transactions ที่สูงสุดต่อวินาทีจากค่าเฉลี่ยของ user’s PC และค่าความเร็วที่ network สามารถรับได้

ในทางกลับกัน ถ้าคุณต้องการ blockchain ที่มีความเร็ว และ สามารถทำการสเกลได้มากที่สุด คุณควรทำดั่งต่อไปนี้

  • เรียกร้องให้ทุก validators เป็น supercomputers
  • มี validators ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้บน network เพื่อลดจำนวนการเชื่อมต่อ ต่อ node
  • นำ validators ทั้งหมดมาอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เดียวกัน (ประเทศ, data center) เพื่อการลด latency ระหว่าง nodes

ผมคิดว่าคุณคงเห็นว่ามันเป็นไอเดียที่แย่ขนาดไหนสำหรับ blockchain?

และทุกโครงการที่มีการโอ้อวดถึงจำนวน transactions เป็นจำนวนมากต่อวินาทีนั้น ค่อนข้างจะทำให้ decentralization tradeoff — พวกเขาส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ชี้แจงต่อ users และ investors อย่างโปร่งใสเท่าไรนัก

ทำไม decentralization ถึงมีความสำคัญ

ผมมีบทความสองบทความที่แนะนำให้ได้อ่าน จาก Chris Dixon และ Spencer Bogart โดยมีชื่อบทความเหมือนกัน คือ “Why Decentralization Matters”

ในบทความของ Chris Dixon ได้ชี้แจงง่ายๆ ว่า: นักพัฒนามีแรงจูงใจมากขึ้นในการสร้างโปรแกรมในแพลตฟอร์มที่พวกเขารู้ว่ามันจะไม่มีการเปลี่ยนกฏในภายหลัง รวมไปถึงการพรากกลุ่มลูกค้า และ กำไรในอนาคตจากพวกเขา

ในกรณีที่คุณสร้างแอพพลิเคชั่นของคุณบน Facebook หรือ Apple’s App Store ก็ดี คุณก็ต้องมีความเชื่อมั่นในแพลตฟอร์มเหล่านั้นว่าจะไม่แบนคุณในอนาคต และไม่บล็อคกลุ่มลูกค้าบางพวกในการใช้แอพฯของคุณ รวมไปถึงเห็นการอัพเดทของแอพฯ ของคุณอีกด้วย อีกทั้งจะไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้นเพื่อที่แอพฯของคุณจะได้เข้าถึงกลุ่มลูกค้ากลุ่มเดิม

ในอีกแง่หนึ่ง Ethereum ถูกขนานนามว่าเป็น permissionless

Ethereum สามารถใช้โดยใครหรือเหตุผลใดก็ได้ โดยที่ไม่ต้องได้รับคำอนุญาติจากใครก็ตาม

ไม่มีใครก็ตามสามารถห้ามคุณ ในการอัพโหลดชุดโคดเข้าสู่ระบบ Ethereum blockchain และไม่มีใครก็ตามห้าม users ของคุณ จากการดำเนินการดังกล่าว

มาดื่มด่ำกับเรื่องนี้กันสักหนึ่งนาที เพราะว่ามันค่อนข้างทรงพลังมากทีเดียว

นับว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่พวกเรามีแพลตฟอร์ม ที่ไม่มีใครก็ตามสามารถปิดมันได้ รวมไปถึงเซนเซอร์ข้อมูลต่างๆ — ไม่แม้กระทั่งรัฐบาล หรือบริษัทร่วมหุ้นขนาดใหญ่ที่มีอิทธิพลทางการเงินมหาศาลที่จะสั่งปิดได้เช่นกัน อีกทั้ง Rothschilds หรือ Bogdanoffs และ Reptilians รวมไปถึง กลุ่ม conspiracy theory อะไรก็ตามที่คุณสมัครไว้

ถ้าคุณสร้าง DApp บน Ethereum ไม่มีใครสามารถหยุด users ของคุณจากการเข้าถึงแบบไม่ระบุตัวตนได้

ถ้าคุณซื้อ tokens หรือ digital items ที่มีการเก็บไว้ใน network คุณก็มั่นใจได้เลยว่ามันจะอยู่ในนั้นตลอดไป และ ไม่มีใครหน้าไหนสามารถที่จะเอาไปจากคุณได้

และนี่คือคุณสมบัติของ decentralized blockchains ที่ช่วยให้เรามี permissionless และ censorship-resistant นับว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของโลกอินเตอร์เน็ต ที่เรา ถือครอง digital items อย่างเต็มตัว

ใช่แล้วครับ ผมกำลังพูดถึง Ready Player One. ที่คุณถือครอง digital items อย่างสมบูรณ์แบบ โดยที่ไม่มีใครสามารถพรากไปจากคุณได้ blockchains นั้นอนุญาติให้เราทำ เรื่องบ้าๆ ใหม่ๆ บนเกมส์ออนไลน์ได้ รวมไปถึงโลกสเมือนจริง — เหมือนคุณ มีร่างอวตาร ที่ไม่ได้ถือครองโดยบริษัทไหนก็ตาม และสามารถมี ตัวตนระหว่างสองโลก

แพลตฟอร์ม centralized อื่นๆ ไม่มีรับประกันแบบนี้

ทุกๆ แพลตฟอร์มก็มักจะออกมาป่าวประกาศว่าตัวเองเป็น“มือปราบ Ethereum ” ด้วยการตัดสินใจตัด decentralization ทิ้งเพื่อเพิ่มระดับของ scalability ให้สูงขึ้น และประกาศราวกับว่ามันเป็นจุดเด่น

และการตัดทิ้งนี้ช่างเย้ายวนให้ทำ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ตลาดต้องการอยู่แล้ว

Users ผู้ที่ไม่รู้เรื่องอะไร ก็จะคอมเพลนเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่สูง และเรื่อง transaction ที่เชื่องช้า — ดังนั้นเราจะโทษถึงสิ่งที่นักพัฒนาพยายามจะสร้างในสิ่งที่ตลาดต้องการไม่ได้หรอก

ในบทความของ Spencer Bogart ที่มีชื่อว่า Why Decentralization Matters, เขาได้กล่าวว่า:

ผมว่ามันไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจที่ users หน้าใหม่และนักพัฒนา จะถูกดึงดูดไปให้ใช้ networks อันใหม่: เพราะมันมีการปรับปรุง throughput และ functionality สองสิ่งที่ทั้ง users และ developers สามารถจับต้องได้ทันที ในขณะที่ประโยชน์ของ “decentralization” ที่เป็นจุดเด่นนั้น แทบจะไม่สามารถจับต้องได้เลย

มองตามช่วงเวลาสั้นๆ เหล่า users อาจถูกล่อลวงให้ใช้ scalable blockchains มากกว่าเพราะ performance ของมัน โดยที่ไม่ทันตระหนักถึงความสำคัญของ decentralization จนกระทั่งวันหนึ่ง ที่ทุกอย่างพังทลายลง เมื่อนั้นถึงจะเริ่มหันมาตระหนัก

เขายังกล่าวต่ออีกว่า:

พูดตามความเป็นจริง ปราศจาก decentralization แล้วละก็ crypto networks ก็เหมือนสูญเสียคุณสมบัติที่สำคัญในการเป็น “permissionless” และ “censorship-resistant” — ที่ทุกคนสามารถใช้ network และใครก็ตามสามารถสร้างโปรแกรมบนมันได้

จากที่กล่าวมาทั้งหมด ประเด็นสำคัญของ decentralized blockchain ทั้งหมด คือ การให้ hard-promise — an immutable ledger ทื่เปิด, การเข้าร่วมแบบไม่เลือกปฏิบัติ ในอีกแง่หนึ่ง เราสามารถทนกับ decentralization ที่ไร้ประสิทธิภาพ เพราะว่าเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้ network ใช้งานได้ ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้

Blockchains อันอื่นๆ ที่ ทำได้ถึง 1,000 TPS หรือมากกว่านั้น โดยการมี nodes ที่เล็กและจำกัดจำนวนในการ validate ทุก transactions — 21 ในกรณีของ EOS และ 101 ในกรณีของ Lisk

แต่ network ที่รันโดย 21 nodes ต้องการให้คุณจำเป็นต้องมีความเชื่อใจในทั้ง 21 publicly-identifiable nodes ว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใน protocol หรือมีการห้ามบุคคลบางจำพวกในการใช้มันในอนาคตด้วยเพื่อบางเหตุผล

มันค่อนข้างจะเป็นเรื่องยากมากกว่าสำหรับ malicious entity ที่จะส่งอิทธิพลกับกว่าพัน Ethereum nodes ที่ anonymous โดยเซนเซอร์เฉพาะบาง transactions เท่านั้น สำหรับมันแล้วนั้นง่ายกว่าที่จะได้รับอิทธิพลมากกว่า 15 จาก 21 publicly-known block producers หรือ ทั้ง 15 block producers ในการสร้างกลุ่มพันธมิตร และเปลี่ยนกฏที่จะก่อประโยชน์ให้แก่พวกเขา เหมือนกับที่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มแบบ centralized หรือสำหรับหน่วนงานรัฐ หรือเอกชนที่ใช้การกดดันใน entities เหล่านี้ในการเซนเซอร์ transactionsหรือ users บางส่วน

ตามที่ Spencer เสริมว่า:

แพลตฟอร์ม semi-decentralized นี้ ก็อาจมีความกดดันจากทางสังคมและเศรษฐกิจเช่นเดียวกันกับที่มันทำกับแพลตฟอร์ม centralized ในการเซนเซอร์ users และกิจกรรมต่างๆ และจะกลายเป็นว่า แพลตฟอร์ม semi-decentralized มีแนวโน้มไปสู่ผลลัพธ์ที่เหมือนกับอันเดิมที่ควรจะถูกแก้ไข

ถ้านักพัฒนาไม่สามารถเชื่อได้ 100% ว่า base layer จะยังคงเป็น permissionless และ censorship-resistant เสมอแล้วละก็ มันก็ค่อนข้างมีแรงจูงใจอันน้อยนิดที่จะให้เหล่านักพัฒนามาสร้างโปรแกรมกับเราบนแพลตฟอร์ม เมื่อเทียบกับการใช้ web server ธรรมดาแบบดั้งเดิม

การเสียสละ base-layer decentralization เพื่อเป้าหมายระยะสั้น เพื่อการดึงดูด users ด้วยการดึง throughput ให้สูงขึ้น การทำแบบนี้กับแพลตฟอร์มช่างเป็นการบิดเบือนเป้าหมายที่แท้จริงของการเริ่มนำ blockchain มาใช้ตั้งแต่แรก

และยิ่งไปกว่านั้น การทำให้ throughput เพิ่มขึ้นบน Layer 1 ยังไม่ใกล้เคียงกับการ scalable เลย

มันอาจจะทำให้คุณได้รับประโยชน์เบื้องต้น แต่ก็เป็นพื้นฐานของปรากฎการณ์ bottlenecked ที่เป็นตามธรรมชาติของ blockchains แบบทั่วไปและไม่ใช่วิธีที่จะทำให้เกิด scalabilityได้อย่างแท้จริง

ซึ่งนำเรามาถึงประเด็นถัดไป…

4. มันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลยที่จะรันแอพพลิเคชั่น decentralized ทุกอันบนโลกบน single blockchain: การ Scaling จึงจำเป็นต้องเกิดขึ้นบน Layer 2

มันคงเป็นเรื่องไร้สาระถ้าคุณพยายามที่จะรัน 100 เกมส์ยอดนิยม และโซเชียล แอพฯ ทั้งหมดบน supercomputer เครื่องยักษ์ หนึ่งเครื่อง

ในทำนองเดียวกัน มันก็ค่อนข้างจะเป็นเรื่องไร้สาระที่ทึกทักเอาว่า ทุก แอพพลิเคชั่นแบบ decentralized บนโลกใบนี้ ที่คาดการณ์ว่าจะมาในอนาคตนั้นจะรันบน blockchain แค่อันเดียว

Facebook แค่เพียงอย่างเดียว ก็ต้องการเป็นร้อย เป็นพัน servers ในการปฏิบัติการ แต่ยังมีคนบางพวกที่คิดว่า decentralized Facebook คงจะแค่ใช้เพียงหนึ่ง blockchain อันมหึมากับทุกๆ DApp ที่มีอยู่หรอกหรือ? 🤔

มามองตัวเลขคร่าวๆ กันครับ

Facebook มียอด 30,000+ ไลค์ / คอมเมนต์ ต่อวินาที ส่วน Nasdaq สามารถเห็น 20,000+ เทรดต่อวินาที และ เกมส์ MMO ที่เหมือน PlayerUnknown’s Battlegrounds รองรับมากกว่า 1ล้าน ผู้ใช้พร้อมกันในการอัพเดทด่านเกมส์

น่าจะต้องมี แอพฯ และเกมส์ที่มีไซส์ขนาดนี้จำนวนโหล หรือสองโหล ก่อนที่มันจะเกินกว่า 1 ล้าน TPS ในผลรวม

แล้วคุณจะทำอย่างไร ถ้าจำนวนผู้ใช้ทวีคูณเป็นสองเท่า?

เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าการรัน DApp ทุกๆ อัน บน chain อันเดียวกัน ไม่ใช่แนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องเท่าไร

มันไม่สำคัญว่า blockchain สามารถทำธุรกรรมเป็นพันครั้งต่อวินาที หรือล้านครั้งต่อวินาที — เพราะไม่มี blockchain เดี่ยวๆ อันไหนที่จะแรงเพียงพอในการรองรับ decentralized applications ทั้งหมดบนโลกใบนี้ บน chain อันเดียว

Scaling จะเกิดขึ้นบน Layer 2

การแก้ปัญหาเป็นอะไรที่ชัดเจน — แอพพลิเคชั่นเหล่านี้ต้องการที่จะมีการแยกออกจากกันบน blockchains หลากหลายอัน

เราตระหนักถึงเรื่องนี้ล่วงหน้าที่ทาง Loom เมื่อเราได้นำเสนอไอเดียเกี่ยวกับ application-specific sidechains เราคาดการณ์ว่า แอพลิเคชั่นของ decentralized จะได้รับความนิยมและเติบโตจนเทียบเท่าได้กับ 1 ใน 10 ของ สเกลของ Facebook และวิธีรันที่เป็นไปได้วิธีเดียว คือ การรันระบบของมันบน dedicated chains ของมันเอง

และแน่นอนที่สุด ถ้าคุณใส่พวก DApps ที่มีความต้องการที่จะมี transactions กว่าพันครั้งต่อวินาทีบน blockchains เดี่ยวๆ ของตัวมันเองแล้วละก็ พวกเขาก็จะเสี่ยงต่อปัญหาเดียวกันที่เราพูดถึงข้างต้นใน “เพราะเหตุใด Decentralization ถึงมีความสำคัญ”

แต่ถ้าคุณใส่พวกมันไว้ใน sidechain เพื่อ blockchain ที่มี decentralized อย่างเพียงพอ(เช่น Ethereum) — คุณก็จะได้สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทั้งสองโลกเลยทีเดียว

Sidechains ให้ scalability ที่สูงขึ้น โดยที่ไม่ต้อง เสียสละ security

Sidechain สามารถใช้ consensus algorithm ที่ต่างออกไป (เช่น DPoS) เพื่อให้เหมาะสำหรับ DApps ที่มีความต้องการ TPS ที่ค่อนข้างจะสูงมาก หรือ low-latency ในขณะเดียวกันก็สามารถเก็บ tokens หรือ ข้อมูลที่มีความต้องการรักษาความปลอดภัยระดับสูงบน main chain

ด้วยวิธีการนี้ ถึงแม้ว่า sidechain จะ decentralized น้อยกว่า main chain แต่ทว่าความไว้วางใจที่ต้องการจาก users นั้นก็ลดลงด้วย เนื่องจาก User มีตัวเลือกในการย้าย real value เข้าสู่ main chain เพื่อการเก็บรักษาอย่างปลอดภัย (และยิ่งปลอดภัยมากกว่าถ้าคุณรักษาความปลอดภัยของ ทรัพย์สินบน Layer 2 ด้วย Plasma Cash).

ด้วยการใส่ DApp ของคุณบน sidechain เข้าสู่ decentralized mainnet นั้น คุณจะได้รับประโยชน์จาก scalability ที่สูงมากขึ้นจากการนำเสนอจาก blockchain ที่เร็วกว่าเดิม ในขณะที่พยายามคงสถานะของ trust ที่เหมือนเดิม และ การการันตีเรื่อง security ที่ได้รับมาจาก layer พื้นฐานแบบ decentralized

ในบทความของ Spencer ได้ขอสรุปที่เหมือนกับของพวกเราว่า :

เส้นทางในอนาคต: Layer พื้นฐานของ decentralized ที่สูงขึ้น ด้วยการเพิ่มขึ้นของ centralization (อย่างมีประสิทธิภาพ) บน higher layers

และในความเป็นจริงนี้ ดูเหมือนจะเป็นแนวความคิดเดียวกันกับที่คุณ Vitalik Buterin มองเห็นไว้ :

คุณสามารถรัน StarCraft บน blockchain ซึ่งเรื่องพวกนี้สามารถเป็นไปได้ ด้วยการมี security ระดับที่สูงขึ้น และ scalability ที่อนุญาตให้สิ่งอื่นๆ อีกมากมายมาสร้างบนมันได้

Ethereum เป็น layer พื้นฐานที่มีความปลอดภัย และไม่ได้มี features ที่มากเกินไป

~Vitalik Buterin

Ethereum มอบ layer พื้นฐานที่มีความปลอดภัยให้สำหรับการแก้ปัญหาในการสร้างโปรแกรมบน Layer 2 ตอนนี้เราสามารถเข้าใจได้แล้วว่า:

  1. Scaling ต้องทำบน Layer 2
  2. คุณสมบัติสำคัญที่สุดบน Layer 1 คือ decentralization

ดังนั้นคำถามที่จริงจังก็คือ ถ้าไม่ใช้ Ethereum แล้ว layer พื้นฐานอะไรที่คุณจะสร้าง Layer 2 ของคุณบนมัน ?

เราก็พอเห็น chains บางส่วนที่เป็น decentralization เช่นเดียวกับที่ Ethereum เป็น

อ้างอิงตาม การรายงานของ ConsenSys เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า มีเพียง “แค่ 17,000 nodes รันระบบ Ethereum blockchain ข้ามผ่านทั้งหกทวีป จึงทำให้มันกลายเป็นแพลตฟอร์ม decentralized blockchain ที่ทรงอำนาจที่สุดที่มีอยู่บนโลกใบนี้ ”

และ features เพิ่มเติมอันอื่นๆ ที่ blockchain เจ้าอื่นๆ มอบให้ อาทิเช่น higher throughput, gas-less transactions, low-latency transactions และ อื่นๆ อีกมากมายนั้น สามารถทำให้เกิดขึ้นง่ายๆบน Layer 2 เพราะเป็นหนึ่งในบริการบน Ethereum

จริงๆ แล้ว features ที่กล่าวถึงมาทั้งหมดนั้นเหมือนกับสิ่งที่เราสร้างขึ้นมา ใน Loom Network กับ ZombieChain — พวก Layer 2, gas-free, low-latency DPoS sidechain สู่ Ethereum

และนี้คือหนึ่งในหลายๆ วิธีการแก้ไขการสเกลบน Layer 2 ที่อยู่ภายใต้การพัฒนา

เป็นเรื่องยากแก่การเข้าใจว่าทำไมนักพัฒนา ถึงอยากที่จะหาอะไรมาแทนที่ Ethereum แทนที่จะทำให้เป็นเรื่องง่ายด้วยการสร้างบนมันซะ 🤔

เป็นการละเว้นแรงจูงใจที่เห็นได้ชัดที่จะทำให้พวกเขาสามารถระดมทุนได้หลายร้อยล้านดอลลาร์ใน ICO… 😉

“มันเหมือนกับ Ethereum… แต่ว่าดีกว่า”

มันก็คือการเปลี่ยนแปลงให้ดีกว่าเดิม

ใช่ครับ ตามความเป็นจริง คุณสามารถที่จะสร้าง layer พื้นฐานที่ดีขึ้นกว่าเดิม และยังมี decentralization ให้อย่างเพียงพอ อีกทั้งเพิ่ม features เพิ่มเติมอีกนิดหน่อย

แต่ทว่าคุณจะต้องโน้มน้าวให้เหล่านักพัฒนามาร่วมกับคุณ ให้มาลองใช้แพลตฟอร์มที่ยังไม่มีการทดลองใช้ — ซึ่งในขณะเดียวกัน นักพัฒนาบน Ethereum สามารถนำไอเดียที่ดีของคุณไปทำให้เกิดผลบน Layer 2 chain บน Ethereum

ซึ่งค่อนข้างจะเป็นเรื่องเสี่ยงเลยทีเดียว

ในกรณีที่แพลตฟอร์ม Layer 2 ถูกแฮค หรือ ถูกขโมยจากผู้อื่น ผู้ใช้ก็จะได้รับความสูญเสียน้อยมากเพราะโทเคนและข้อมูลส่วนใหญ่จัดเก็บไว้อย่างปลอดภัยบน Layer 1 (Ethereum)

แต่ถ้าหากคุณสร้างLayer 1 แบบ blockchain ขึ้นมาใหม่ แล้วเก็บโทเคนที่ Users ซื้อมันมาด้วยเงินสดบน Layer 1 ก็มีความเป็นไปได้ที่โคดของคุณจะถูกถอดรหัสเพราะ the gate ที่อ่อนแอ — ในกรณีที่มีการโจรกรรม users ที่มีศักยภาพของคุณ ผู้ถือครองทรัพย์สินกว่าหลายพันล้านเหรียญดอลลาร์ที่เป็นหุ้นนั้นก็จะเสียไป

ในวงจรของการ programming มีกฏที่กล่าวว่า “Don’t roll your own crypto.”

ผมขอพูดต่อ หลังจากที่เราเห็นเหตุการณ์ครั้งแรกที่สำคัญ ของวงการ blockchain ที่มีการโจรกรรมเกิดขึ้น เงินหลายล้าน หลายพันล้านดอลลาร์ ที่นำไปลงทุนในโทเคน หายไปต่อหน้าต่อตา จนเราได้ยินคำพูดที่ติดปากของเหล่าblockchain engineers กล่าวว่า :

Don’t roll your own Layer 1.

ซึ่งโยงมาให้ผมสามารถพูดถึงประเด็นสุดท้ายได้ว่า…

5.แพลตฟอร์มแบบใหม่ยังไม่ได้รับการทดสอบ ในขณะที่ Ethereum‘s securityได้รับการทดสอบแล้วในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา

ในขณะที่ผมเขียนบทความนี้ขึ้นมา ก็มีค่า การคำนวณถึง $61 billion ใน ETH

ซี่งถือเป็นแรงจูงใจทางการเงินที่สูงมากสำหรับใครบางคนที่พยายามแฮค หรือ มาก่อกวนใน network

ในช่วงระยะเวลาสามปีที่ผ่านมา แฮคเกอร์พันกว่าคนพยายามที่จะเจาะระบบ Ethereum แต่ทว่าล้มเหลว

จนกระทั่งวันนี้ เกือบเป็นระยะเวลา 3 ปี นับตั้งการปล่อยตัว Ethereum’s mainnet ก็ยังไม่มีใครเจอข้อผิดพลาดในเรื่อง security ของแพลตฟอร์ม

Note:ข้อผิดพลาดใน smart contracts ส่วนบุคคลที่นักพัฒนาได้ปล่อยมาบนระบบนั้นมีอยู่ แต่ผมพูดถึงแพลตฟอร์มหลักต่างหาก

นับวันที่ไม่พบข้อผิดพลาดบนระบบ(ถึงแม้ว่ามีหลายคนพยายามสร้างมันขึ้นมา) ก็ยิ่งเป็นข้อพิสูจน์ว่าแพลตฟอร์มนั้นมีความปลอดภัยและจะไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ ในอนาคต

โดยเรื่องนี้ก็เหมือนกับสิ่งที่คุณNassim Taleb เรียกว่า The Lindy Effect:

The Lindy effect คือแนวความคิดที่เกี่ยวกับชีวิตในอนาคตที่จะช่วยขยายเวลาของสิ่งของที่ไม่มีวันหมดอายุ อย่างเช่นเทคโนโลยี หรือแนวความคิดเกี่ยวกับสัดส่วนกับอายุปัจจุบันของพวกเขา ดังนั้นทุกช่วงเวลาของการอยู่รอด ก็จะขยายช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่ออกไปอีก

โดยแท้จริงแล้วเมื่อตอนแพลตฟอร์ม blockchain เริ่มต้นขึ้นมาใหม่ๆ
นักพัฒนาทั้งหลายก็ค่อนข้างจะมีความทุลักทุเลในการใช้เพราะมันยังไม่มีการทดสอบระบบ

แล้วถ้ามัน exploitable ละ? หรือ แล้วถ้ามันไม่ใช่ decentralized อย่างแท้จริง? ทำไมฉันต้องทุ่มเทเวลาทั้งหมดในการสร้าง DApp ของตัวเองขึ้นมาบนระบบมัน ในเมื่อฉันยังไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่ามันจะอยู่รอดไปถึงสองปีนับจากตอนนี้ไหม ?
การที่ chain สามารถอยู่รอดปลอดภัยโดยไม่มีการก่อกวนระบบแบบหนัก ยิ่งทำให้ได้รับความไว้วางใจ และ ความนิยมในสายตาของนักพัฒนา

และผมคงต้องกล่าวย้ำอีกครั้ง ว่า Ethereum ได้เริ่มนำหน้าไปก่อนใครนับจากจุดนี้

สำหรับแพลต์ฟอร์ม blockchainแบบใหม่ที่จะปล่อยตัวในตอนนี้ ก็อาจต้องใช้เวลาหลายปีก่อนที่จะได้รับความไว้วางใจจากเหล่านักพัฒนา แต่ในขณะเดียวกัน Ethereum ก็จะยังคงนำหน้าต่อไปเพราะนักพัฒนาทั้งหลายได้นำไปใช้ และ สนับสนุนด้าน infrastructure. (และที่ยังไม่ได้กล่าวถึง real live DApps และ end-users)
ด้วยความที่ Ethereum เริ่มต้นมาก่อนใครๆ ที่เป็นแพลตฟอร์มด้าน smart contract ดังนั้นมันจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในจุดยืนด้านความปลอดภัยเมื่อเปรียบเทียบกับ blockchain น้องใหม่

โดยเฉพาะเรื่องที่เรากล่าวไปข้างต้นว่า แพลตฟอร์ม smart contract ใหม่ๆ ก็จะใส่ สิ่งใหม่ๆ เพื่อดึงดูดนักพัฒนาไป ซึ่งจริงๆ แล้วสามารถสร้างได้ง่ายๆ บน Layer 2 — ที่ยังมั่นใจได้ในด้านการรับประกันถึงความปลอดภัยบน Ethereum

ข้อสรุป: Ethereum นั้นไม่ได้มีความสมบูรณ์แบบหรอก — แต่ ณ จุดนี้ ก็ยังไม่มีอะไรมาแทนที่ de facto Layer 1 ที่มีไว้สำหรับแอพพลิเคชั่น decentralized ได้

JavaScript ก็ไม่ใช้ programming language ที่สมบูรณ์แบบที่สุดและมีปัญหาร้ายแรงที่รบกวนอยู่เป็นเวลานาน แต่นั้นก็ไม่สามารถหยุดยั้งมันในการกลายเป็น de facto programming language สำหรับ Web 2.0.

ผมจึงขอคาดการณ์ไว้ว่า เราก็จะเห็นเรื่องนี้เกิดขึ้นกับ Ethereum ที่มีเพื่อ Web 3.0

ถึงแม้ว่าจะมีข้อเสียและจุดอ่อน แต่ทว่าก็มีเหล่าคนหัวกระทิในวงการนี้ที่พยายามช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น — รวมไปถึงสร้าง tools และ infrastructure เพื่อทำให้ปัญหาน้อยลง

และตอนนี้ผมก็ได้กล่าวมาถึงบทสรุปทั้งหมดของการเขียนเรื่องอธิบายเชิงเหตุผลให้กับเหล่านักพัฒนาได้เข้าใจ (เอาเลยครับ ถ้าคุณอยากที่จะกลับไปดูคลิป Steve Ballmer อีกรอบ ผมจะไม่บอกใครหรอกครับ 😉)
มันก็มีความเป็นไปได้ว่าในอนาคตก็อาจจะมีโปรเจ็คใหม่ๆ ออกมาที่ยื่นข้อเสนอที่ดีไปกว่า Ethereum และอาจทำให้เหล่านักพัฒนาบน Ethereum ย้ายค่ายไปซบอกทางนั้น …
แต่ผมไม่มีทางพนันด้วย ERC20s ของผมโดยเด็ดขาด

Loom Network เป็นแพลตฟอร์มที่มีไว้สำหรับการสร้าง highly scalable DPoS sidechains เข้าสู่ Ethereum โดยที่มีจุดโฟกัสไปที่การเสกลเกมส์และโซเชียล แอพฯ ขนาดใหญ่

อยากรู้เรื่องราวไปมากกว่านี้? เริ่มอ่านจากที่นี่เลยครับ

คุณเป็นแฟนเกมส์ blockchainหรือเปล่าครับ ? ลองมาเช็ค Zombie Battlegroundเกมส์การ์ดแรกของโลกในระบบ PC & mobileที่รันระบบทั้งหมดบน blockchain

ถ้าคุณอ่านบทความนี้แล้วชื่นชอบ และอยากรู้ข่าวสารอัพเดทของเรา มาสมัครรับ private mailing list ของเราได้เลยครับ

ขอขอบคุณ Robert Hacala, mcullinan, และ ConsenSys.

https://loomx.io

ติดตามข่าวสารและพูดคุยกับทีมงาน Loom Network เป็นภาษาไทยได้ทางนี้ค่ะ!
ห้องแช็ท Telegram
แฟนเพจ Facebook

--

--