Roadmap ปี 2019 ของ Loom Network

Loom Network Thai
Loom Network Thai
Published in
8 min readApr 26, 2019

บทความนี้แปลมาจากบทความที่เขียนโดย James Martin Duffy ถ้ามีส่วนไหนในบทความที่แปลผิด ขอความกรุณาแจ้งให้เราทราบได้ตลอดผ่านทาง Private Note ขอบคุณค่ะ❤

นี่ก็ผ่านมาซักพักแล้วตั้งแต่ Roadmap Update ครั้งก่อน (Q4 2018 — Q1 2019) และเราก็ไม่ได้มาอัพเดทกันเลย บอกเลยว่ามีหลายสิ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมาเยอะแยะเลย

ถึงเวลาของอัพเดทใหม่ๆ แล้ว

เริ่มจากการย้อนหลายเหตุการณ์สำคัญๆ ที่ผ่านมา:

  • เราได้เพิ่ม 15 External DPos Validator ไปยัง PlasmaChain mainnet (และยังเพิ่ม Validator เข้ามาอยู่เรื่อยๆ ในแต่ละเดือนจนกว่าจะครบ 21 ไปเลย)
  • เราเปิดใช้งานการทำ Staking ของ LOOM token ในเดือนกุมภาพันธ์ และในช่วงสองเดือนแรกก็มีคนเข้ามา stake เป็นจำนวน 149,363,113 tokens นับเป็นกว่า 20% ของเงินหมุนเวียน (Circulating supply) และมูลค่ารวมกว่า $10,000,000+ USD
  • เราเปิดตัว Loom Marketplace บน PlasmaChain ที่เป็น DEX สำหรับไอเทมต่างๆ ของเกมบน Blockchain ที่เอาไว้การเทรดการ์ด Zombie Battleground ในฐานะ Use case แรก (แม้ว่าเกมจะยังเป็นเวอร์ชัน Beta แต่ก็มีการ์ดจำนวน 11,493+ ที่ได้ถูกลิสต์ไว้เพื่อการ Sale และมีการเทรดจำนวน 7,911 เป็นที่เรียบร้อยไปแล้ว)
  • เรา Integrate กับ Top 100 ERC20 token เข้ามาบน PlasmaChain เพื่อซัพพอร์ทการทำธุรกรรมใน Major Stablecoin ทั้ง 6 สกุล
  • เปิดตัว Loom SDK 2.0 ออกมาพร้อมกับฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่หลากหลายรวมทั้งประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น
  • PlasmaChain ได้รับความสำเร็จในการทำ hard fork แบบกระจายศูนย์ (Decentralized hard fork) ที่ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรก
  • ได้เปิด Zombie Battleground เวอร์ชัน Alpha พร้อมกับมีผู้ใช้แอคทีฟโดยเฉลี่ยแล้วจำนวน 2,000 คนต่อสัปดาห์ (แผนการในภายหน้าคือการเพิ่มจำนวนของคนเข้าเล่นเกมและ PlasmaChain Marketplace ให้มากขึ้นอีกเป็นเท่าตัว)
  • Multiple third-party DApps de]y’ทำงานอยู่บน Loom SDK ในกระบวนการผลิต ได้แก่: Neon District, Axie Infinity, CryptoWars, PlasmaBears และอื่นๆ อีกมากมาย

….และยังมีอีกหลายเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาทั้งหมดอีกด้วย (ซึ่งปกติเราจะเล่ารายละเอียดเอาไว้ใน bi-weekly newsletter แต่ละฉบับ)

นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่ของพวกเราเลยครับ

แต่ตอนนี้ผมไม่อยากเอาแต่เรื่องในอดีตมาเล่าให้มากมายแล้ว– มาดูกันดีกว่าว่าต่อจากนี้ไปเราวางแผนจะทำอะไรกันอีก

The Big Picture: PlasmaChain ในฐานะของ Universal Layer 2

มาดูกันที่จุดแรกที่เราจะเริ่มกันเลย

สิ่งที่เราจะโฟกัสหลักๆ ในปีต่อๆ ไปก็คือ PlasmaChain ครับผม ซึ่งจะมองให้เป็น Loom Mainnet ไปเลย

สิ่งที่เราต้องการที่สุดคือการทำให้ PlasmaChain กลายเป็นหนึ่งใน Blockchain ที่ถูกใช้มากที่สุดนั่นเอง

Loom SDK ที่เราได้ใช้กว่าครึ่งปี 2018 ในการพัฒนาขึ้นมานี้ อนุญาตให้นักพัฒนาเข้ามาสร้าง Sidechain เท่าไหร่ที่ต้องการก็ได้ เพื่อขยาย DApp — ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในระยะยาวมากๆ ในการเพิ่ม Scalability ให้กับ Blockchain และหลายเกมและหลาย DApp ก็กำลังใช้งานอยู่ ณ ขณะนี้

แต่ PlasmaChain จะเป็นจุดศูนย์รวมหรือ Central Hub ในการเชื่อมต่อของ Chain เหล่านี้ทั้งหมดกับ Ethereum พูดง่ายๆ คือจะเป็นตัวเชื่อมการสื่อสารกับ Major Blockchain อื่นๆ ครับ ( เช่น Cosmos, EOS และ Tron) และในฐานะ Liquidity Pool ที่เอาใช้ร่วมกันสำหรับ tokenized asset

ดังนั้นจุดประสงค์หลักของบริษัทเราในปีต่อๆ ไป ล้วนจะเกี่ยวข้องกับการเติบโตของ PlasmaChain เพื่อให้กลายเป็น “Universal Layer 2” สำหรับ DApps ประสิทธิภาพสูงกันไปเลย

นี่คือสรุปสั้นๆ ของจุดประสงค์หลักที่เกี่ยวกับ PlasmaChain โดยด้านล่างเราจะมาแยกเล่าแต่ละหัวข้อแบบเจาะลึกรายละเอียดว่าทำไมมันถึงสำคัญ และเราจะทำอย่างไรเพื่อซัพพอร์ทได้บ้าง

Top-Level Company Objectives:

1. Staking : เป็นการเพิ่มเปอร์เซ็นต์ของ Total Loom Supply ที่ถูก Stake บน PlasmaChain ให้สูงที่สุด

2. End-User Adoption: กล่าวง่ายๆ คือการทำให้ PlasmaChain กลายเป็นหนึ่งใน สิ่งที่ถูกใช้มากที่สุดบนเครื่อข่าย Blockchain โดยวัดจากการนับ DAU (Daily Active User หรือปริมาณของผู้ใช้แอคทีฟในแต่ละวันนั่นเองครับ) และ TVL (Total Value Locked) ที่เกิดขึ้นบน chain

3. Interoperability: การนำเอา PlasmaChain ไป Integrate กับทุก Major Blockchain Network อื่นๆ เพื่อเพิ่มปริมาณผู้ใช้ขาเข้าที่มาจาก Chain อื่นๆ มายัง PlasmaChain พร้อมกันกับเพิ่ม Network Utility ให้กับนักพัฒนา PlasmaChain อีกด้วย

4. On-Chain Fee: มี On-chain fee หรือค่าธรรรมเนียมเพิ่มเติมเข้ามาเพื่อกระตุ้น Validator และ Staker ของ PlasmaChain

สรุปง่ายๆ ก็คือทุกอย่างที่เราจะสร้างขึ้นในปีต่อไปจะเน้นจุดประสงค์หลักเหล่านี้นี่เอง

1. Staking: เพิ่มโอกาสให้แก่ LOOM token ได้รับการ Stake บน PlasmaChain ให้มากที่สุด

เริ่มที่เรื่องง่ายสุดก่อนเลย

การพัฒนา Staking Metric ทั้งในแง่ระยะสั้นและปานกลางนับว่าเป็นหนึ่งในเรื่องที่บริษัทจะต้องให้ความสนใจอย่างมากเพราะเราจะได้รับประโยชน์ในการทำให้ PlasmaChain มีความปลอดภัยและสามารถอัดฉีดมูลค่าเข้าไปยังระบบได้มากยิ่งขึ้นด้วยครับ

ในขณะที่ผมกำลังเขียนอยู่นี้ Staking Dashboard ของเราแสดงให้เห็น 20% ของ LOOM supply ที่ได้รับการ Stake แก่ Validator กำลังหมุนเวียนอยู่ในระบบจนถึงตอนนี้ เมื่อเวลาผ่านไปเราคาดว่ามูลค่าน่าจะเฉียด 50% เลยครับ

ส่วน Delegator เองก็ได้รับกว่า 20% ต่อปีจาก Staked LOOM ของพวกเขาด้วย(โดยหัก Validator Fee ออกไปแล้ว)

เรามีหลายสิ่งที่อยู่ในระหว่างกระบวนการที่สามารถเพิ่ม Token Staking ให้สูงขึ้นมากกว่านี้ได้ โดยหลักๆ ก็จะผ่าการทำให้ Delegation Experience มีความง่ายต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้นสำหรับผู้ที่ถือ Token (token holder) ที่ยังไม่ได้ลอง Stake

a) Integrate Staking ร่วมกันกับ Crypto Wallet หลักๆ ทั้งหมด (รวมทั้งบนมือถือด้วย)

เราได้ทำการเพิ่ม Ledger support เข้าไปยัง staking dashboardแล้ว อาทิตย์ที่แล้วมีการเปิดตัวการซัพพอร์ท Stake บนมือถือสำหรับ Cobo Wallet อีกด้วย

ในสัปดาห์หน้าที่กำลังจะถึง เราจะร่วมมือกับ Wallet Provider เพื่อซัพพอร์ทการทำ Native Staking สำหรับ Trezor, Trust Wallet imToken และอื่นๆ ( และเราจะสนับสนุน Major Wallet อื่นๆ ด้วย — พยายามติดต่อเราตลอดเวลาเพื่อไม่ให้พลาดการ Integrate นะครับ)

ประโยชน์ของการ Integrate ก็คือผู้ใช้จะสามารถ Stake Token ของพวกเค้าได้โดยตรงจาก Wallet ที่ตัวเองถนัดได้เลย

สิ่งนี้จะช่วยลดอุปสรรคต่อ LOOM Holder ในการ Stake Token ของพวกเขาได้ และจะเป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้จำนวน Token ที่ได้รับการ Stake มีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก

เป็น Prototype การ Staking token โดยตรงแรกเริ่ม เข้าสู่ imToken wallet

b) ลงทะเบียนการทำธุรกรรมบน PlasmaChain ด้วย Ethereum wallet — cross-chain UX ที่สามารถใช้งานได้อย่างราบรื่นที่สุด

ล่าสุด PlasmaChain ก็ได้มี Decentralized Hard Fork แรกของตัวเอง ซึ่งก่อให้เกิดหลายฟังก์ชั่นเพิ่มเข้ามาให้ผู้ใช้สามารถลงทะเบียนการทำธุรกรรมบน PlasmaChain โดยใช้ บัญชี Ethereum ของพวกเขาเอง

นั่นหมายความว่าผู้ใช้จะสามารถลงทะเบียนการทำธุรกรรม PlasmaChain ได้โดยการใช้ MetaMask หรือ Ethereum wallet บนมือถือใดๆ ก็ได้

เรากำลังที่จะ Integrate การสนับสนุนนี้กับ Staking Dashboard ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนที่จำเป็นสำหรับการ Transfer และ Delegate Token บน PlasmaChain และปรับปรุงรูปแบบของ UX ได้

เมื่อก่อนผู้ใช้จะต้องเก็บ Phrase ที่เพิ่งได้ Seed ลงไปเพื่อ Private key ของพวกเขาบน PlasmaChain

พอมีการเปลี่ยนแปลงแบบนี้ขึ้น ผู้ใช้จะสามารถใช้ MetaMask wallet ที่มีอยู่ในการลงทะเบียนและเข้าถึง PlasmaChain account ของพวกเขาได้เลย

Side Note: ฟังก์ชั่นนี้เป็นมากกว่าการทำแค่ Staking และมันได้แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาของฟีเจอร์เจ๋งๆ ต่างๆ บน PlasmaChain อีกด้วยเพราะมันจะเปิดให้ทุกผู้ใช้งาน Ethereum ไม่ว่าใครก็ตามได้ลองสัมผัสกับ PlasmaChain DApp เช่นเดียวกันกับที่ได้ลองใช้ DApp บน Ethereum Mainnet เลยครับ — มีเส้นบางๆ กั้นระหว่าง Layer 1 และ Layer 2 แต่เอาเป็นว่าเดี๋ยวเราค่อยมาเก็บตกเรื่องนี้กันต่อในโพสต์หน้านะครับ

c) การปรับปรุง dashboard UI อื่นๆ

ยังมีการปรับปรุงระบบในด้านอื่นๆ ระหว่างช่วงพัฒนาที่ส่งผลต่อภาพรวมการทำงานและ UX สำหรับการ Staking อีกด้วย เช่น:

  • Automatic re-delegation of rewards เพื่อให้รางวัลที่เราได้รับจากการ Stake สามารถถูกนำไป Stake ต่อได้แบบอัตโนมัติ
  • Multiple Delegation per users การมีหลาย Delegation ให้แก่ผู้ใช้จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือก Delegation timeline ได้หลายช่วงจาก Validator เดียวกัน — ตัวอย่าง สามารถที่จะเก็บบางส่วนของ Token เอาไว้เป็นเวลา 1 ปีและอีกส่วนหนึ่งไว้เพียงแค่ 2 อาทิตย์

d) การตามหา Validators เพิ่มเติม

ขณะนี้เราอยู่กำลังในขั้นตอนของการค้นหา Validator เจ้าใหญ่ที่จะเข้ามาใหม่

การมี Validator ที่เชื่อถือได้เอาไว้จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับ Chain ของเรา

ไม่เพียงแค่ทำให้ PlasmaChain ถูกกฎหมายเท่านั้น — แต่ Validators แต่ละตัวยังมาพร้อมกับ Community ที่มีอยู่อีกด้วย

ดังนั้นการมีกลุ่มผู้เข้าร่วมที่หลากหลายและสนใจที่จะเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์และ Stake เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้ PlasmaChain ก็เป็นอีกปัจจัยหลักที่ช่วยเพิ่มจำนวน LOOM token ที่ได้รับการ stake ให้มีเปอร์เซ็นที่มากขึ้นอีกด้วย

2. End-User Onboarding: การเป็นหนึ่งใน Blockchain ทีมีการถูกใช้งานเป็นวงกว้างมากที่สุด

การทำ Stake เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ หากเราต้องการให้ Chain มีความปลอดภัย และจะช่วยให้ Chain เป็นที่ยอมรับมากขึ้นอีกด้วยในระยะสั้น

ส่วนการจะดูความสำเร็จของ Blockchain ใดๆ ในระยะยาวนั้นก็ต้องมาดูกันที่หลายๆ เรื่อง ได้แก่:

1. จำนวนของผู้ใช้งาน Chain นั้นๆ

2. Total Economic Value ของ Token ที่เก็บอยู่บน Chain

3. Value of Fees หรือมูลค่าของค่าธรรมเนียมจากธุรกรรมบน Chain นั้นๆ

เป้าหมายหลักของเราคือเพื่อเพิ่มมาตรวัดเหล่านี้ให้สูงที่สุดเพราะการจะวัดว่า Blockchain Platform นี้ “มีพลังคงเส้นคงวา” แค่ไหนในระยะยาวก็เช็คจากปัจจัยเหล่านี้ทั้งหมด (กรณีเดียวกับ Lock-in effect ที่เกิดขึ้นบนเครือข่ายโซเชียลแบบ Facebook ที่ผู้ใช้ไม่อยากเปลี่ยนไปใช้แพลตฟอร์มอื่นอีกต่อไป เพราะ Network Effect ของ Facebook มอบประโยชน์ให้ผู้ใช้มากกว่าที่อื่น)

ด้านล่างนี้ก็คือแนวทางที่เราจะปรับปรุง #1 และ #2 แล้วค่อยกล่าวถึง #3 ในตอนท้ายของโพสต์นี้ครับ

a) Integrate กับ Chain อื่นที่มีชื่อเสียง — ปรับตัวเข้ากับ Blockchain Community ที่มีอยู่ดั้งเดิม

Integration เหล่านี้มีบทบาทสำคัญอย่างมาก เราจึงขอใช้ส่วนนี้ทั้งหมดของ Roadmap ด้านล่างในการเล่ารายละเอียดกันเลย

แต่เนื่องจากหนึ่งในผลดีหลักๆ จากการ Integration ก็คือการทำให้ PlasmaChain สามารถถูกใช้งานได้โดยผู้ใช้ Bloackchain ที่มีอยู่หลักล้านคน จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากครับในส่วนนี้เกี่ยวกับการมีผู้ใช้ขาเข้ามา

ล่าสุดที่ได้ประกาศออกไปว่าเราได้สร้างIntegration กับ EOS และ Tron เพิ่มเข้ามาจาก Ethereum — เรื่องหลักๆ ต่อจากนี้ก็คือเราได้ประกาศว่ามันสามารถทำงานแบบ Interoperabiliry หรือทำงานระหว่างระบบเข้ากับ Cosmos Hub ได้อีกด้วย

การ Integrate กับ Blockchain อื่นเหล่านี้หมายความว่าผู้ใช้ที่มี Account อยู่บนหนึ่งใน Chain ดังกล่าวที่ว่ามา — หรือผู้ถือ Token ของ Chain นั้นๆ — สามารถมีบัญชีบน PlasmaChain ได้โดยอัตโนมัติ

ผู้ใช้จะสามารถเข้าถึง DApp ของ PlasmaChain ได้ง่ายๆ เพียงแค่ใช้ Wallet Software ที่อยู่บน Native Chain ของพวกเขานั่นเอง (MetaMask, Scatter, Trust Wallet, TronLink และอื่นๆ) จึงทำให้ผู้ใช้บน Chain หลักอื่นๆ สามารถเข้ามาใช้ได้อย่างไม่มีสะดุด

นับว่าเป็น Value Prop ขนาดใหญ่สำหรับ PlasmaChain เพราะนั่นแปลว่าผู้ใช้ใดๆ ของ Ethereum, EOS, Cosmos หรือ Tron ก็ถือว่าเป็นผู้ใช้ PlasmaChain ไปโดยปริยาย — เมื่อมีบัญชีรอไว้อยู่แล้ว เราเพียงแค่รอให้พวกเขาเหล่านั้นเข้ามาใช้งาน DApp แรกของพวกเขาเท่านั้นเอง

เราได้ลดมาตรการต่างๆ สำหรับผู้ใช้ Crypto ในการเข้าใช้ PlasmaChain

ดังนั้นที่เหลือหลังจากนี้คือมอบ DApp ที่พวกเขาอยากได้และ กระตุ้นความอยากที่จะ Transfer และเก็บ Token ของพวกเขาลงบน PlasmaChain เท่านั้นเอง

และนี่คือการปูเข้าสู่ช่วงถัดไปเลยครับ

b) Developer Onboarding

Blockchain จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อมี DApps ทำงานอยู่บนนั้น — เพื่อการรับรองผู้ใช้ส่วนโดยส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับ Developer ที่พัฒนา DApp ที่ใครๆ ก็ต้องการใช้

เรามองเห็นแรงดึงดูดโดยธรรมชาติที่ล่าสุดเราจึงเห็น 20+ DApps หลักๆ ที่กำลังถูกสร้างใน Loom Network — และอีกมากมายที่กำลังจะเข้ามาในแต่ละสัปดาห์

อยากให้ทุกคนเลือกว่านี่เป็น Platform เดียวที่พวกเขาต้องการ — ไม่ใช่แค่เพราะพวกเขาโดนจ้างมาสร้างบน Loom แทนที่จะเป็นกับทางเลือกอื่น 😉

นับว่าเป็นเรื่องที่ดีในการมี Organic Traction ในระดับนี้ภายในคอมมูนิตี้ — แต่เราก็มีความต้องการให้มีการยกระดับมากขึ้นไปอีกในปีต่อๆ ไป

ตอนนี้เรามุ่งเป้าไปที่การปรับปรุง Documentation เพื่อนให้ง่ายต่อนักพัฒนาในการเริ่มสร้าง DApp แรกบน Loom ได้จากการมีตัวอย่างที่ชัดเจนจาก Use Case ต่างๆ ที่มักเกิดขึ้น (เราได้ระบุข้อความอย่างชัดเจนในการเรื่องข้อดีต่างๆ ของ PlasmaChain ที่มีเหนือ Blockchain Platform คู่แข่งอื่นๆ ให้แก่นักพัฒนาอีกด้วยครับ — อย่างเช่นความสามารถในการส่งต่อ DApp ให้กับ End User บน Chain หลักๆ ใดก็ได้โดยแค่ใช้ Native wallet software out of the box)s

เป้าหมายคือเพื่อช่วยให้นักพัฒนาที่เข้าใจพื้นฐานของ Solidity และการ Deploy DApps ด้วย Truffle (ซึ่งสามารถศึกษาได้จากบทเรียนสอน CryptoZombies.io ได้เลย) และช่วยให้พวกเขาสามารถผลิต DApp แรกขึ้นมาบน PlasmaChain และผู้ใช้จากทุกๆ Major Blockchain สามารถเข้ามาใช้งานได้

เรายังกำลังจะเปิดตัว PlasmaChain Mainnet ให้แก่นักพัฒนาได้ใช้งานในอนาคตอันใกล้นี้อีกด้วย จนกระทั่งตอนนี้เราได้คัดเลือก devs ที่จะยอมให้ deploy ไปยัง mainnet อย่างจริงจัง เนื่องจากเรายังอยู่ในขั้นตอนของการต้อนรับ validators ที่เข้ามาใหม่ และพยายามดูให้แน่ใจเสมอว่าเครือข่ายจะมีความเสถียรไปตลอดรอดฝั่ง

ตอนนี้เมื่อ PlasmaChain mainnet มีความเสถียรจากกลุ่มของ validator ที่หลากหลาย ทำให้การรับนักพัฒนากลายเป็นจุดโฟกัสหลักของเราในปีที่เหลือต่อจากนี้ครับ

c) การนำ DeFi ไปยัง PlasmaChain

ที่จริงแล้วผมไม่ได้เล่าถึงเรื่องนี้ใน roadmap เพราะว่าเรายังไม่ได้ประกาศมันออกไป

ใครที่ติดตาม Loom มาสักพักแล้วก็จะรู้ว่าเราชอบเซอร์ไพรส์กันอยุแล้ว 😉

แต่เพราะว่าเราอัพเดท roadmap กันแต่ 6 เดือนครั้ง เกริ่นๆ ให้อ่านนิดนึงน่าจะดีกว่า

DeFi เนี่ยก็คือพื้นที่ไว้สำหรับจัดเก็บ interest ขนาดใหญ่ แล้วก็จะโตขึ้นเรื่อยๆ

ดังนั้นจึงเป็นที่มาให้เราเริ่มถามตัวเองว่าจะมีฟีเจอร์จาก DeFi หรือบริการใดที่ไม่เคยมีใน blockchain ไหนมาก่อนที่สามารถเพิ่มลงบน PlasmaChain ได้ และดึงผู้ใช้ให้เข้ามาเก็บ tokenized value บน PlasmaChain ได้มากขึ้น?

เรามีไอเดียที่ยังอยากเก็บเป็นเซอร์ไพรส์ไว้ก่อน แต่สัญญาว่าจะมาเล่าต่อภายในเดือนหน้า และส่งมาให้ทุกคนได้ใช้ในกลางปี 2019 แน่นอนครับ

เป้าหมายของ service นี้ก็เพื่อจูงใจผู้ใช้ให้มา transfer และ store หรือเก็บ token ของพวกเขาบน PlasmaChain — เนื่องจากการมีมูลค่าทางเศรษฐกินที่เยอะเก็บอยู่บน blockchain จะเพิ่ม network effect และทำให้ third-party devs มีความต้องการแพลทฟอร์มนี้มากขึ้นนั่นเอง (ผู้ใช้ที่พร้อมจ่าย) และทำให้ Chain ที่ยังมีพลังงานกับ Chain ใหม่ที่อาจจะเข้ามาในอนาคตมีการผนึกรวมกำลังกันได้

d) ผู้ใช้แบบไวรัลที่เข้ามาจากเกมส์— ซึ่งนับว่าเป็นเหมือนม้าไม้โทรจัน ทีซุ่มเงียบเข้ามาเพื่อการทำให้ blockchain ได้รับการใช้งานมากที่สุด

เราได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ในอดีตที่ผ่านมา — ขึ้นชื่อว่าเป็นโพสท์ที่มีคนแชร์เยอะสูงสุดเลยก็ว่าได้ เกี่ยวกับหัวข้อ เกมจะเป็นตัวเร่งให้มีการรับเอา Blockchain ไปใช้อย่างมาก

ปัญหาที่ blockchain กำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ไม่ใช่เรื่อง scalability แล้ว — แต่เป็นเกี่ยวกับการทำให้ DApp ดีพอที่ทำให้คนอยากใช้ต่างหาก การลด UX barrier ลงพอให้ผู้ใช้โดยเฉลี่ยสามารถเข้ามาได้ง่ายๆ สบายๆ

ผู้คนที่อยู่ในจักรวาลของ Blockchain จะรู้ว่าเทคโนโลยีนี้ก็คือการปฏิวัติดีๆ นี่เอง — แต่ในตอนนี้ก็ยังไม่มีใครมั่นใจว่าเราจะมีมันไปเพื่ออะไร เพราะคนส่วนใหญ่ยังไม่เคยเห็น “killer DApp” หรือ DApp เจ๋งๆ ที่ดึงดูดมากพอจนโด่งดังไปทั่วท่ามกลางผู้ใช้

แต่หากเมื่อไหร่ที่ “killer DApps” เข้ามาจริง เราก็ต้องการให้ PlasmaChain ลูกรักเป็นตัวเลือกที่น่าเลือกที่สุดท่ามกลางนักพัฒนาในการสร้างครับ โดยวิธีที่ดีที่สุดก็คือการทำให้มันเป็น Chain ที่มีบัญชีผู้ลงทะเบียนเยอะที่สุดนั่นเอง

และทางที่ดีที่สุดก็คือการพาผู้ใช้หลักสิบยันหลักแสนเข้ามายัง PlasmaChain ให้ได้ภายในระยะเวลาอันสั้นผ่านทางช่องทางที่เรียกว่าเกม

ผู้ใช้ Beta ของเกม Zombie Battleground ก็ได้รับประสบการ์จากการเล่นที่ไหลลื่นเป็นที่เรียบร้อย เพราะเพียงแค่ install แอพผ่าน Apple App Storeหรือ Google Play บนมือถือก็เริ่มเล่นได้แล้วครับ — โดยที่ไม่ต้องมีประสบการณ์ในการใช้ Blockchain มาก่อน (หรือแม้แต่การต้องมารู้ว่าเกมกำลังรันอยู่บน blockchain ที่เราเพิ่งจะสร้างบัญชีไป) ถ้ายังไม่ลองก็ลองเลย

ผู้ใช้จะสามารถเก็บ Cryptoasset ภายในเกมจากการเล่นและชนะรางวัลต่างๆ และภายหลังพวกเขาก็จะได้เรียนรู้ว่าจะเอาไอเทมที่ได้ไปขายใน marketplace เพื่อ cryptocurrency ได้อย่างไรอีกด้วย

แน่นอนว่าไอเทมหรือ cryptocurrency ที่พวกเขาได้ต้องถูกเก็บลงบน PlasmaChain อยู่แล้วทำให้สามารถเอาออกมาที่ Ethereum หรือ Network ที่เรา integrate ด้วยได้อยู่แล้ว หรืออาจจะเก็บเอาไว้บน PlasmaChain เพื่อเอาไปใช้ต่อบน DApp อื่นภายใน network ก็ยังได้ครับ

การที่ PlasmaChain สามารถมอบประสบการณ์การใช้ blockchain แบบ zero-friction จึงเป้นวิธีที่ง่ายที่สุดในการจะมีผู้ใช้ใหม่ที่ไม่เคยมี Crypto currency มาก่อนเข้ามาเป็นจำนวนมหาศาล — กลุ่มเป้าหมายขนาดใหญ่ที่ chain อื่นไม่สามารถมีได้เพราะยังมี onboarding friction อยู่ PlasmaChain จึงเปรียบเสมือนประตูหลักของการเข้ารับประสบการณ์แรกของการใช้ blockchain ของผู้ใช้ใหม่นั่นเอง

Zombie Battleground คือเกมภายในบ้านของเราที่จะเป็นอุโมงค์เชื่อมเข้าสู่ PlasmaChain และยังเป็นตัวอย่างให้แก่นักพัฒนาเกมอื่นๆ เห็นด้วยว่าพวเขาจะสามารถสร้างอะไรบน Loom Network ได้บ้าง

หากนักพัฒนาอยากสร้างเกมบน blockchain พวกเขาจะต้องมาเลือกว่าแพลทฟอร์มไหนที่เขาจะเลือก และคำตอบก็คือแพลนทฟอร์มที่มี UX ที่ดีที่สามารถทำให้เกมเมอร์ที่มีอยู่สามารถเข้ามาเล่นเกมของพวกเขาได้ทันทียังไงล่ะ — และเราได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ โดยการแสดงตัวอย่างให้เห็นไปเลย

ส่วนในระยะกลางจนถึงระยะยาว เกมเหล่านี้จะช่วยให้ PlasmaChain เติบโตจนเข้าถึงผู้ใช้จำนวนมหาศาลด้วย Cryptocurrency ที่มีอยู่และทำให้มันเป็นแพลทฟอร์มที่นักพัฒนา DApp ไม่ว่าประเภทไหนก็อยากเลือก

และจะไม่พูดถึงไม่ได้เลยว่านักพัฒนาเหล่านี้ยังจะสามารถเข้าถึงผู้ใช้ blockchain ดั้งเดิมจำนวนมหาศาลผ่าน…

3. Interoperability หรือการทำงานร่วมกัน : Integration เข้ากับ Blockchain Network หลักอื่นๆ ที่มีอยู่

ที่ผมได้เล่าไปในตอนแรกว่าการทำ integration กับ blockchain network อื่นที่มีอยู่จะเป้นเรื่องที่เราเพ่งความสนใจในเดือนข้างหน้า

ในระยะสั้นสิ่งนี้จะเป็นตัวขับเคลื่อนบริษัทของเราจากการที่ให้นักพัฒนาสามารถเข้าถึงฐานผู้ใช้ของทุก chain หลักอื่นๆ ได้

ทำไมเลือกแค่แพลทฟอร์มเดียวทั้งที่เราสามารถสร้าง DApp ขึ้นมาสำหรับทุกๆ แพลตฟอร์มได้ทันที?

ถ้าหาก blockchain platform เดี่ยวๆ เป็นไปตาม Metcalfe’s law นั่นก็แปลว่าแพลตฟอร์มที่ integrate และเชื่อมกับหลาย blockchain platform (โดยที่แต่ละที่ก็มีฐานผู้ใช้เป็นของตัวเอง) ก็จะได้รับผลประโยชน์นั้นเป็นเท่าตัวมาจากหลายๆ แพลตฟอร์มรวมกัน

Interoperability นำมาสู่มูลค่าเพิ่มเติมที่เข้ามายังแต่ละ chain ที่เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย — และส่วน hub ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อ chain เหล่านี้ก้จะยังได้มูลค่าเหล่านี้เป็นมหาศาลตามอีกด้วย

ในปีข้างหน้า จุดที่เราจะโฟกัสในเรื่องนี้ได้แก่ …

a) การสร้าง integration เริ่มต้นเข้ากับ Tron, EOS และ Cosmos

มีทั้งหมด 3 แพลตฟอร์มที่ได้บอกไป ว่าเราจะทำการ integrate เข้ากับ PlasmaChain

เราเลือกที่จะให้ความสำคัญกับแพลตฟอร์มเหล่านี้โดยเลือกจาก a) จำนวน active user ที่นับได้ b) ความสะดวกในการ integration (ทั้ง Loom และ Cosmos ต่างก็ขึ้นอยู่กับ Tendermint ในแง่ของการใช้ BFT consensus ส่วน Loom กับ Tron ต่างก็ซัพพอร์ท Solidity contract ทำให้การ integration เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้ง่ายๆ)

การ integration เหล่านี้ยังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการและจะค่อยๆ ปล่อยออกมาทีละตัวในเดือนถัดๆ ไป

b) Wallet Integration อย่างแนบเนียบ — ลงทะเบียนด้วย Native EOS/Tron/ Ethereum account ที่ใช้อยู่ได้เลย

เช่นเดียวกันกับที่เราได้เพิ่มฟังก์ชั่นในการ log in สู่ PlasmaChain account และสร้างการ Transaction โดยใช้ Ethereum account ที่มีอยู่ เพราะเราก็จะทำคล้ายๆ กันกับกรณีของ EOS และ Tron นั่นเอง

จากที่ได้กล่าวไปว่าสิ่งนี้จะช่วยให้ผู้ใช้ใดๆ ของ Ethereum,EOS และ Tron สามารถที่จะทำงานกับ PlasmaChain DApp ได้ง่ายๆ โดยใช้ browser plugin หรือ mobile wallet ที่พวกเขามีอยู่ได้เลย (MetaMask, Scatter, TronLink, etc.)

ถ้าใครนึกไม่ออกให้นึกถึงเวลานักพัฒนาเว็บที่สามารถใช้ OAuth ในการให้ผู้ใช้สามารถ log in ไปยังแอพฯ ของพวกเขาผ่าน Google หรือ Facebook login ก็ได้ครับ

PlasmaChain DApp จะให้ผู้ใช้สามารถล็อคอินและยืนยันตัวตนโดยใช้บัญชี Ethereum, EOS หรือ Tron ที่มีอยู่แทนที่จะต้องไปลงทะเบียน account ใหม่นั่นเอง

c) Integrate เข้ากับเครือข่ายอื่นๆ ในอนาคตที่สามารถเข้าถึงผู้ใช้ได้สูง

เมื่อเวลาผ่านไป blockchain ที่แตกต่างกันสามารถมีความนิยมที่สูงขึ้นหรือลดลงก็ได้ และเป็นไปได้ว่าก็จะมีแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่เข้ามาจับ Market share ได้ในอนาคต

ถ้าหากมีเครือข่ายใหม่ๆ เข้ามาที่สามารถจับเอากลุ่มการตลาดขนาดใหญ่ได้ เราก็จะไม่รอช้าในการที่จะ integrate เข้ากับ PlasmaChain เช่นกัน

และจากการที่ PlasmaChain จะ Integrate เข้ากับทุก Chain ใดๆ ที่ได้รับความนิยม เราจึงการันตีกับนักพัฒนาที่กำลังใช้แพลตฟอร์มได้เลยว่า DApp ที่พวกเขากำลังสร้างอยู่จะตามทันโลกอนาคตเสมอ

สุดท้ายจึงอยากให้มอง PlasmaChain ว่าคือหนทางของนักพัฒนาในการหนีจากความล้าหลังนั่นเองครับ

4. การมี On-Chain Fees

หัวข้อสุดท้ายที่อยากเล่าในวันนี้ก็คือค่าธรรมเนียมบน chain ครับ

ในแง่ระยะสั้นเราได้จัดสรร Token supply ส่วนใหญ่ว่าจะเป็นค่าตอบแทนที่การันตีสำหรับ Validator ของ PlasmaChain และใครก็ตามที่ได้ stake LOOM token เอาไว้ เพื่อดึงดูดให้ให้คนเข้ามา stake token และสร้างความปลอดภัยให้กับเครือข่ายอีกด้วย

แต่เมื่อเวลาผ่านไปที่ block reward จะมีจำนวนลดลง ทุกๆ เครือข่ายจำเป็นจะต้องมีค่าธรรมเนียมเข้ามาเพื่อที่จะอยู่รอดในระยะยาวให้ได้ Ethereum ก็ได้วางแผนที่จะทำแบบนี้เช่นเดียวกันด้วยค่าธรรมเนียมที่มี Low-level Inflation เพื่อการTransfer และการใช้ DApp ; Bitcoin ไม่มี inflation เข้ามาเกี่ยวข้องทำให้ต้องการค่าธรรมเนียมจากการ Transfer สุดท้ายแล้วต้องมากพอที่จะสนับสนุน cost ทั้งหมดของ miner ในการรักษาความปลอดภัยของ network

ในกรณีของ PlasmaChain เราก็ตั้งใจที่จะมีค่าธรรมเนียมที่เก็บกับ Validator ทั้งจาก DApp hosting fee และจากบางบริการหลักที่สร้างไว้ใน Chain ที่ทุก DApp จะแบ่งปันกัน

a) DApp hosting fees

ในตอนแรกสุดเลยเราจะไม่เก็บเงินจากนักพัฒนาครับ

แล้วหลังจากนั้นเมื่อเครอข่ายมีความสมบูรณ์มากขึ้น เราถึงค่อยเก็บค่าธรรมเนียมจากนักพัฒนา DApp ที่ต้องการ host DApp ของพวกเขา

สิ่งที่แตกต่างหลักๆ ระหว่าง PlasmaChain และ Ethereum ก็คือสำหรับ PlasmaChain แล้ว นักพัฒนาจะจ่ายแค่ค่าบริการรายเดือนเพื่อ host DApp — คล้ายๆ กับการ host เว็บไซต์แบบดั้งเดิมไงครับ — ซึ่งตรงข้ามกับการให้ผู้ใช้จ่ายค่าธรรมเนียมในแต่ละครั้งที่เข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับ DApp

b) Core chain service ที่มีค่าธรรมเนียม

มีหลาย core service ที่เราอยากให้มีบน PlasmaChain ซึ่งจะมีค่าธรรมเนียมสำหรับ Validator/Staker ด้วย

หนึ่งในนั้นก็คือ Loom Marketplace นี่เอง ที่เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเพื่อ NFT asset โดยล่าสุดก็ได้ถูกใช้ในการซื้อและขายการ์ด Zombie Battleground แต่หลังจากนี้เราจะเปิดให้เกมอื่นๆ สามารถ integrate ได้ในฐานะ Marketplace สำหรับไอเทมภายในเกม

แม้แต่เกมที่สร้างขึ้นบน Loom Network ที่อยู่ใน DAppChain ที่แยกออกมาของพวกเขา พวกเขาก็ต้องการให้ asset ภายในเกมไปอยู่บน PlasmaChain เช่นกัน ในการทำเช่นนี้ผู้ใช้ก็ตะได้ประโยชน์จากสภาพคล่อง หรือ Shared liquidity ของ Loom Marketplace ครับ และเช่นเดียวกันกับผู้ใช้จำนวนมากของ Ethereum/EOS/Tron ที่ได้ยืนยันตัวตนด้วย PlasmaChain โดยผู้ใช้เหล่านี้ต่างก็มีเงินพร้อมจ่ายกันอยู่แล้ว (ยังไม่ได้กล่าวถึง free market ที่มีไอเทมในเกมแสดงอยู่ด้านหน้าของผู้ใช้เหล่านั้นอีก)

ในแต่ละ Transaction บน Marketplace ค่าคอมมิชชั่นจะมอบสู่ Validator ของ PlasmaChain — ดังนั้นเมื่อจำนวนของเกมดังๆ บน PlasmaChain เพิ่มขึ้น ค่าคอมมิชชั่นที่ได้ก็จะได้รับโดย Validator และ staker

นอกจากนี้ในแง่ของการเป็น Marketplace เรายังมีสิ่งที่ยังไม่ได้ประกาศออกไปเกี่ยวกับ DeFi service วางแผนไว้สำหรับ PlasmaChain ทีสามารถมีค่าธรรมเนียมเก็บกับ validator ได้อีก

c) Fractional validation of child chains

เรามองเห็นว่าบาง DApp ก็ไม่ได้ต้องการความปลอดภัยแบบเต็มรูปแบบ (full security) เท่าไหร่และ decentralization ของ Plasmachain — หรือไม่เช่นนั้นมันคงจะเมคเซ้นส์ในแง่เศรษฐศาสตร์สำหรับบาง DApp ให้ชำระค่าธรรมเนียมที่จำเป็นในการสนับสนุน validators

ดังนั้นเราจึงกับลังปรับแผนมุมมองของระบบใหม่ให้อนุญาติ validator ของ PlasmaChain ในการ Opt-int เพือใช่ hardware capacity ที่เหลือในการทำ validation ให้กับ DAppChain ตัวลูกที่เชื่อมอยู่กับ PlasmaChain นั่นเอง

สำหรับ Validators ที่มีค่าใช้จ่าย Operation ส่วนใหญ่เป็นในเรื่องของกำลังคนในการจัดการ Hardware ให้ได้ตลอดเวลา เพื่อแน่ใจว่าการทำงานจะไม่ Offline นะ ทำให้บางครั้ง validator มองว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญในการเพิ่ม hardware ในการ validate เพื่อมี Network ที่เพิ่มเข้ามาเพราะว่ายังไงซะพวกเขาก็ได้ทำการ Validate PlasmaChain อยู่แล้ว

การ Setup เช่นนี้จะเพิ่มโอกาสให้กับ Validator ให้สามารถเก็บ extra fee หรือค่าธรรมเนียมพิเศษที่เพิ่มมากขึ้นจากการ Validating additional chain ต่างๆ — และส่งต่อสัดส่วนของ rewards นั้นไปยัง LOOM Staker ของพวกเขาได้ด้วย จะทำให้สามารถเก็บมูลค่าของทั้งเครือข่ายที่มาจาก DAppChain กลับไปสู่ LOOM Staking pool ได้อย่างมีประสิทธิภาพเลยครับ

ที่กล่าวมานี้ยังอยู่แค่ในช่วงของการวางแผนเท่านั้นแต่ก็นับว่าเป็นทิศทางการเติบโตของ PlasmaChain ในระยะยาวที่เรามองเห็นได้ — หนึ่ง Chain ตรงกลางที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนสะพานเชื่อมเข้ากับ blockchain ใหญ่หลักๆ และมี key shared service ให้มากมาย (Marketplace, DeFi, token liquidity etc.) และเครือข่ายของ chain ลูกที่ได้รับการ validate แล้วบางส่วนที่กำลังรันแอพพลิเคชั่นที่ต้องการ time-to-confirmation สูงมากๆ และ throughput สูงๆ ของ validator จำนวนหนึ่ง

มาถึงช่วงสุดท้ายแล้ว…

ผมหวังว่าบทความนี้จะทำให้คุณได้เข้าใกล้สิ่งที่เรากำลังโฟกัสให้เกิดขึ้นใน Loom Network ในปี 2019 ที่เหลือนี้

เป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องรู้เสมอว่า Blockchain space นั้นกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วอยู่เรื่อยๆ เรามี insight เกี่ยวกับอุตสาหกรรมในด้านนี้ที่เราไม่เคยนึกถึงมันมาก่อนแม้แต่ในช่วง 2–3 เดือนที่ผ่านมา แต่ insight นี้เนี่ยแหละที่ทำให้เราเริ่มมาคิดถึงการปรับมาตรฐานเล็กๆ น้อยๆ ให้ดีขึ้นในการลำดับความสำคัญ เพราะเราเริ่มมีความเข้าใจมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วว่าตลาดกำลังไปในทิศทางใดบ้าง และฟีเจอร์อะไรที่เราจะต้องมีในการที่จะตามเทรนตลาดนั้นให้ทันครับ

เช่นเดียวกันเลยกับเวลาที่นักบินจะบินจาก London ไปยัง NYC

นักบินรู้อยู่แล้วแหละว่าทิศทางใดที่พวกเขาควรจะบินนับตั้งแต่จุดเริ่มต้น — แต่ระหว่างทางเขาก็ต้องเจอกับลมแรงที่มาปะทะอยู่ตลอด จึงเป็นเรื่องสำคัญที่นักบินจะต้องปรับตัวให้ได้จนกว่าจะพาเครื่องบินไปสู่จุดหมายที่พวกเขาต้องการยังไงล่ะครับ

ในอีก 6–12 เดือนข้างหน้ายังไงก็มีความเป็นไปได้สูงว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงใน market ที่เป็นสิ่งเกินความคาดการณ์ของเราในขณะที่กำลังเขียนอยู่นี้ — และอะไรที่เราต้องเปลี่ยนในการที่จะรับมือให้ได้

แต่แน่นอนครับ ผมเชื่อว่าความสามารถในการปรับตัวของทีมเรานั้นเร็วพอที่จะเปลี่ยนแปลงและตามทัน การปรับตัวนี่แหละ asset ของเรา

ขอยกประโยคของ Charlse Darwin เลยแล้วกัน:

ไม่ใช่เผ่าพันธุ์ที่แข็งแรงที่สุดหรือฉลาดที่สุดที่จะอยู่รอด แต่เป็นเผ่าพันธุ์ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้มากที่สุด”

โพสต์นี้ผมตั้งใจเขียนให้มันดูอลังการนิดนึง เพื่อให้เราเข้าประเด็นมากที่สุด

แม้ว่าอาจจะต้องเรียงลำดับความสำคัญของบางฟีเจอร์ที่เรากำลังสร้างและโค้ดอยู่ใหม่ แต่รับรองว่าทิศทางยังไงก็ยังเหมือนเดิมแน่นอนครับผม

และหัวใจสำคัญของทิศทางนั้นยังไงก็ยังเป็นในเรื่องของการยึดมั่นที่จะให้เป็นที่ยอมรับของนักพัฒนาและผู้ใช้อยู่เสมอ

2019 จะต้องเป็นปีของเรา!

Loom Network เป็นแพลตฟอร์มที่มีไว้สำหรับการสร้าง highly scalable DPoS sidechains เข้าสู่ Ethereum โดยที่มีจุดโฟกัสไปที่การเสกลเกมส์และโซเชียล แอพฯ ขนาดใหญ่

อยากรู้เรื่องราวไปมากกว่านี้? เริ่มอ่านจากที่นี่เลยครับ

คุณเป็นแฟนเกมส์ blockchainหรือเปล่าครับ ? ลองมาเช็ค Zombie Battlegroundเกมส์การ์ดแรกของโลกในระบบ PC & mobileที่รันระบบทั้งหมดบน blockchain

ถ้าคุณอ่านบทความนี้แล้วชื่นชอบ และอยากรู้ข่าวสารอัพเดทของเรา มาสมัครรับ private mailing list ของเราได้เลยครับ

https://loomx.io

ติดตามข่าวสารและพูดคุยกับทีมงาน Loom Network เป็นภาษาไทยได้ทางนี้ค่ะ!
ห้องแช็ท Telegram
แฟนเพจ Facebook

--

--