รวมเนื้อหาเพื่อการศึกษา Soft Skills

แนวทางที่ช่วยทำให้เรามีความสุขกับการทำงานมากขึ้น ทำให้เป็นสังคมที่น่าทำงานมากขึ้น น่าอยู่มากขึ้น สามารถพูดคุย สื่อสาร ประสานงานกันได้อย่างมีความสุข มีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่นมากขึ้นครับ

Ponggun
T. T. Software Solution
3 min readDec 7, 2022

--

ทำไมเราถึงควรศึกษา Soft Skills

pixabay.com/id-2944064

ทักษะในการทำงานแบ่งได้หลักๆอยู่สองประเภท คือ Hard Skill กับ Soft Skill

Hard Skills คือ Skill ตาม Job Description ของเราที่ต้องใช้เพื่อทำงานที่ได้รับมอบหมาย

แต่เอาเข้าจริงเรายังต้องการ Skill ที่มากกว่านั้นเพื่อทำให้งานเสร็จได้ เช่นการสื่อสารทั้งกับเพื่อนร่วมงานในทีม / ทีมอื่นๆ, การทำความเข้าใจ เจรจาต่อรองในเนื้อหาของงานที่ได้รับมอบหมาย

Soft Skills จะช่วยทำให้เรามีความสุขกับการทำงานมากขึ้นครับ เพราะช่วยเราปรับมุมมอง ปรับวิธีคิดของเราให้สามารถจัดการกับสถานะการต่างๆได้อย่างเข้าใจแท้จริงและมีประสิทธิภาพ รวมถึงยังช่วยให้เรามองโลกในแง่บวกอีกด้วย เพราะมองอะไรเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น

ในบทความนี้จึงอยากรวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ Soft Skills เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้เบื้องต้นกันนะครับ โดยเป็นเนื้อหาที่ผมเคยอ่านผ่านตามาทั้งหมดแล้วและมองเห็นว่าง่ายต่อการเรียนรู้ เห็นภาพที่เกิดขึ้นจริง

แนะนำเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Feedback is a gift

Feedback คืออะไร

คือ ของขวัญ (Gift) ที่เป็นเสียงสะท้อนต่อความคาดหวังของผู้ให้ ที่ตั้งใจมอบให้เป็นประโยชน์ต่อผู้รับ เพื่อที่ผู้รับสามารถที่จะพัฒนาตัวเองเพิ่มมากขึ้นจากผลของสิ่งที่ผู้รับได้พึงกระทำ

Feedback ที่ดีต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

  • ไม่ตัดสินว่าสิ่งที่ผู้รับทำนั้น “ถูกหรือผิด” ณ สถานะการนั้น (Situation)
  • แต่พยายามสังเกตุ สอบถาม และทำความเข้าใจผู้รับถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการกระทำนี้(Behavior)
  • รวมถึงอริบายถึงผลที่ผู้รับกระทำนั้นก่อให้เกิดผลเสีย (Impact) อย่างไรบ้าง
  • หลังจากนั้นทีมร่วมกันหาวิธีปรับปรุงเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขไม่ให้เกิดเหตุการในลักษณะนี้อีก

ตัวอย่าง

  • S = ประชุมเมื่อเช้า
  • B= นาย A มาไม่ทันประชุม
  • I= ทีมต้องรอนาย Aเป็นเวลา 20 นาที
  • เสร็จแล้วก็ให้ feeback ที่ช่วยกันคลายปัญหา เช่น เสนอให้ประชุมช้าลง, สอบถามว่าทำไมมาสาย ทีใช่วยไงได้บ้าง

แนะนำเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

การทำงานเป็นทีม

pixabay.com/id-1453895/

“ Coming together is a beginning, staying together is progress, and working together is success. ”

- Henry Ford and Edward Everett Hale

แนะนำเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Nonviolent Communication

Image by pikisuperstar on Freepik

การสื่อสารอย่างสันติ (Nonviolent Communication) คือการตัดอารมณ์ออกไปเพื่อไม่ให้คิดไปเอง แต่จับไปที่ความรู้สึก ความต้องการ และสิ่งที่อยากร้องขอ ของคนพูดและฟัง เปิดให้แสดงความต้องการอย่างตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม ไม่โทษหรือโยนความผิดไปให้คนอื่น ซึ่งประกอบไปด้วย

การสังเกต (Observation) การหาหลักฐาน/ข้อมูลดิบหลักการสำคัญในเรื่องนี้ คือ การใช้เฉพาะสิ่งที่เป็นข้อมูลจริงๆที่มีการระบุรายละเอียด และจับต้องได้ โดยปราศจากความเห็นหรือการให้น้ำหนัก ใดๆ

ความรู้สึก (Feeling) การระบุให้ชัดเจนว่าเรารู้สึกอย่างไร กับเรื่องนี้

ความต้องการ (Need) ความต้องการที่เป็นพื้นฐานของ ความรู้สึกนี้

คำขอ (Request) ขอให้อีกฝ่ายลงมือทำเพื่อบรรลุความ ต้องการนั้นๆ

ตัวอย่าง

  • “น้องพล แม่เห็นถุงเท้าใช้แล้ววางกองอยู่ใต้โต๊ะกาแฟ” (Observation)
  • “แม่ ไม่ชอบเลย” (Feeling)
  • “เพราะแม่อยากให้ห้องที่ทุกคนใช้ร่วมกันเป็นระเบียบกว่านี้” (Need)
  • “ลูกจะเอาถุงเท้าไปเก็บในห้องตัวเองหรือใส่ลงเครื่องซักผ้าได้ ไหม” (Request)

ภาษาหมาป่า

เตะบอลกันแบบนี้ในห้องเรียนแย่มาก ทำไมถึงทำแบบนี้

ภาษายีราฟ — การสื่อสารอย่างสันติ (Nonviolent Communication)

เด็กๆรู้ไหมว่าคุณครูให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของทุกๆคนมากที่สุด คุณครูเป็นห่วงว่าการเตะบอลในห้องเรียนอาจจะก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้

  • เมื่อเด็กๆได้ฟังภาษายีราฟก็จะทำให้เข้าใจถึงความเป็นห่วงและหวังดีที่คุณครูมีให้ และหยุดกิจกรรมที่กำลังทำอยู่อย่างสมัครใจ

แนะนำเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Empathic Communication

Brené Brown on Empathy

การสื่อสารอย่างเห็นใจ (Empathic Communication)

  1. เพิ่มความใส่ใจ และลดการยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง
  2. เปิดกว้างรับฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูดให้มากกว่าที่เป็นอยู่
  3. ละเว้นการตัดสิน ประเมินค่าสถานการณ์ และชะลอการให้คำแนะนำ
  4. ‘ฟัง’ ให้มากขึ้น พยายามทำความเข้าใจสถานการณ์ในมุมของผู้อื่น และมีความอดทนที่จะฟังคนอื่นพูดจนกระทั่งเขาพูดจบ
  5. นอกจากรับฟังถึงบทสนทนาที่เป็นภาษาพูดเชิงข้อมูลแล้ว ลองพยายามที่จะฟังให้ลึกถึงสิ่งที่ภาษาพูดไม่สามารถสื่อออกมาได้
  6. ลองเช็กกับคู่สนทนาดูว่าสิ่งที่ตัวเองเข้าใจผ่านอวัจนภาษานั้นถูกต้อง พยายามอย่าด่วนสรุปสมมติฐานเอาเอง

แนะนำเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สรุป

ส่วนตัวผมเป็นคนชอบสะสมบทความที่น่าสนใจไว้เรื่อยๆ เลยคิดว่าถ้ามีโอกาสได้นำมาสรุปรวมและแบ่งปันกัน น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อื่นได้มากขึ้นนะครับ

Happy Coding and Living : )

นายป้องกัน

--

--

Ponggun
T. T. Software Solution

Development Manager, Web Developer with ASP.Net, ASP.net Core, Azure and Microsoft Technologies